หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 521 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

แนวคิดของสหพันธ์สภาพระสังฆราชเอเชียจากการประชุม FABC ครั้งที่ 7 : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Thursday, 23 December 2010

แนวคิดของสหพันธ์สภาพระสังฆราชเอเชียจากการประชุม FABC ครั้งที่ 7
พระศาสนจักรในเอเชียที่ฟื้นตัวทำพันธกิจแห่งความรักและบริการ

พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์

 

บทนำ

พระศาสนจักรในเอเชียรู้สึกกระชุ่มกระชวย และมีความฝันถึงชีวิตที่สมบูรณ์ในพระเยซูเจ้า ความฝันของเรามีฐานมาจากพระคุณต่างๆ ที่ได้รับในรอบศตวรรษที่แล้วนี้ นั่นคือสังคายนาวาติกันที่ 2 และการที่พระศาสนจักรในเอเชียรวมตัวกันเป็นสหพันธ์สภาพระสังฆราช มีการสร้างงานอภิบาลมากขึ้น มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มีการเป็นอิสระหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคม มีความสัมพันธ์กันมากขึ้น โดยเฉพาะพระสังฆราชมีการประชุมในระดับเอเชียบ่อยๆ สตรีเข้ามามีบทบาทในสังคมและในพระศาสนจักรมากขึ้น

กระนั้นก็ดีชาวเอเชียยังต้องเผชิญกับความเสื่อมเสียที่มีผลกระทบต่อชีวิตอยู่หลายด้าน เช่น สิ่งแวดล้อม ระบบโครงสร้างที่ยังบีบคั้นชีวิตมนุษย์ และเรื่องการเมือง

โอกาสที่เรามาร่วมชุมนุมในปีศักดิ์สิทธิ์ เราผู้นำพระศาสนจักรท้องถิ่นในเอเชียตั้งใจที่จะฟื้นฟูตน (พระศาสนจักร) ตามการดลใจของพระจิต และตามคำเรียกร้องของพระสันตะปาปาในสาสน์ที่มีถึงพวกเราในเอเชีย (เอกสาร Ecclesia in Asia) ฉะนั้น ความคิดหลักคือ พระศาสนจักรในเอเชียมุ่งที่จะพัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์ในองค์พระคริสตเจ้า


ความใฝ่ฝันที่จะฟื้นฟูพระศาสนจักรให้ทำพันธกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเริ่มเข้าสหัสวรรษใหม่ถือเป็นวิกฤตกาลและในเวลาเดียวกันก็เป็นเวลาแห่งการเริ่มต้นใหม่ มีความเคลื่อนไหวหลายประการที่ทำให้เห็นว่า พระศาสนจักรในเอเชียได้รับการฟื้นฟูควบคู่ไปกับพระศาสนจักรสากล ใน Vision ของ renewal เอามาจากปาฐกถาของท่านฯ เยเนโร ในวันแรก ยังมีบางข้อที่ไม่ค่อยตรงเท่าที่ควร จึงนำมาเรียบเรียงใหม่

1) ค.ศ. 1970 - 1974 เราในเอเชียรวมกันตั้งเป็นสหพันธ์สภาพระสังฆราชเอเชียที่มนิลา โดยพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 และยืนยันว่าการประกาศข่าวดีเป็นหน้าที่หลักของพระศาสนจักรท้องถิ่น เราเน้นเพราะเห็นว่าที่ผ่านมาการทำพันธกิจประกาศข่าวดี เรามักจะรอคำสั่ง แนวทางหรือคำแนะนำจากโรม เมื่อรวมกลุ่มกันแล้วพิจารณาดูว่าในระดับเอเชียมีวัฒนธรรม มีอะไรหลายๆ อย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของเราเอง ฉะนั้น เราถือว่าหน้าที่ของการประกาศข่าวดี เป็นหน้าที่หลักของพระศาสนจักรท้องถิ่น ผู้ทำหน้าที่ประกาศข่าวดีต้องเป็นพระศาสนจักรท้องถิ่นจริงๆ ในปี ค.ศ. 1974 (FABC /1) เราตั้งใจที่จะประกาศข่าวดีโดยการเสวนาและอยู่ฝ่ายคนที่มีจำนวนมากในเอเชีย นั่นคือ คนหนุ่มสาว คนยากจน และผู้ที่นับถือศาสนาอื่น และวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นที่น่าสังเกตว่าในปี ค.ศ. 1974 เป็นปีที่มีการชุมนุม Synod เดือนตุลาคม ที่กรุงโรม ถึงได้พูดว่า เราเดินไปพร้อมกับพระศาสนจักรสากล Synod ครั้งนี้พูดถึง Evangelization in the modern time ในปี ค.ศ. 1975 มีเอกสารสำคัญ คือการประกาศพระวรสารในโลกสมัยนี้ (Evangelii Nuntiandi) เป็นเอกสารที่ใช้อ้างอิงกันมาก

2) ค.ศ. 1978 (FABC ประชุมที่กัลกัตตา) เราใฝ่ฝันให้พระศาสนจักรของเราสนใจ และรับคุณค่าของศาสนาอื่นและวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่น ให้เป็นพระศาสนจักรที่ภาวนา ไตร่ตรอง มีชีวิตจิต มีเอกสารของพระศาสนจักรออกมาอีก 1 เล่ม

3) ค.ศ. 1982 (FABC ที่สามพราน) เราตั้งใจให้พระศาสนจักรเป็นกลุ่มชุมชนแห่งความเชื่อศรัทธา รู้จักภาวนาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน (พูดถึงกลุ่มภาวนาต่างๆ ของพระศาสนจักร)

4) ค.ศ. 1986 (FABC ที่โตเกียว) เราพยายามเป็นพระศาสนจักรที่มีความร่วมมือ และรับผิดชอบร่วมกันในทุกระดับจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะฆราวาส และจะส่งเสริมชีวิตครอบครัว ที่กรุงโรมมี Synod เกี่ยวกับฆราวาสแพร่ธรรม และออกเอกสารเกี่ยวกับชีวิตครอบครัว

5) ค.ศ. 1990 (FABC ที่บันดุง อินโดนีเซีย) เราตั้งใจก้าวสู่ทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 20 ด้วยการหาความหมายของพันธกิจสำหรับช่วงพิเศษนี้ โดยตั้งใจเดินไปด้วยกันกับชาวเอเชีย สู่ชีวิตที่สมบูรณ์ในพระอาณาจักรด้วยการบริการรับใช้ด้วยความรักเมตตา

6) ค.ศ. 1995 (FABC ที่มนิลา) เราตั้งใจให้พระศาสนจักรใฝ่ใจและสนใจทำพันธกิจเพื่อส่งเสริม ปกป้องชีวิต และนำชีวิตที่สมบูรณ์ในองค์พระเยซูคริสตเจ้าสำหรับทุกสิ่งและทุกคน
ทั้งหมดที่กล่าวข้างต้นนี้ ชี้ให้เราเห็นว่าพระศาสนจักรในเอเชีย สนใจชีวิตมนุษย์ สิ่งแวดล้อม หรือสิ่งสร้างทั้งหลาย จุดนี้เราได้รับอิทธิพลจากพุทธและฮินดู การสนใจสิ่งสร้างและสิ่งแวดล้อมมาจากในเอเชีย


ความหมายของการฟื้นฟูพระศาสนจักรในเอเชีย

- การฟื้นฟูเป็นงานของพระจิตเจ้า ซึ่งเราสังเกตได้ในเหตุการณ์ความเป็นไปต่างๆ ในโลกนี้ อันแสดงให้เห็นอิทธิพลแห่งความรอดที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงนำมาให้โลก และกำลังมุ่งไปสู่บูรณภาพโดยองค์พระจิตเจ้า ฉะนั้น การฟื้นฟูเป็นทั้งของประทานที่มาจากเบื้องบน และเป็นงานของมนุษย์ผู้เป็นศิษย์ของพระเยซูคริสตเจ้า

- พระศาสนจักรในเอเชียเข้าใจดีว่า

พระเยซูเจ้าทรงตั้งพระศาสนจักรให้เป็นเครื่องหมายและเครื่องมือ แห่งการเนรมิตฟ้าใหม่แผ่นดินใหม่ ในองค์พระคริสตเจ้า โดยอาศัยการอุทิศตนปฏิบัติความรักเมตตา

เราถือว่าการฟื้นฟูเช่นนี้เป็น "พันธกิจ" ที่เราต้องทำในโลกแห่งความเป็นจริงของเอเชีย เพื่อเสริมสร้างพระอาณาจักร โดยเคารพต่อคุณค่าที่มีอยู่แล้วในเอเชีย และด้วยการเอาใจใส่ต่อคนมากมายหลายจำพวก เพื่อให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้นโดยร่วมกันรับผิดชอบ มีสมานฉันท์ เคารพต่อความแตกต่าง นี่เป็นความจริงของเอเชียที่เราถือว่ามีคุณค่าที่ดีงามหลายอย่าง เป็นของขวัญของพระจิต เราต้องเคารพคุณค่าที่ดีงามนี้

เราถือว่าคุณภาพของคริสตชนสำคัญกว่าปริมาณ คุณภาพจะเด่นชัดขึ้นด้วยการให้บริการแห่งความรักเมตตา และให้ชีวิตจิตที่ลึกซึ้ง อันสะท้อนให้เห็นชีวิตใหม่ ตามจิตตารมณ์ของพระเยซูเจ้า และในวิถีทางใหม่แห่งการเป็นพระศาสนจักรในเอเชีย (เดิมถือเอาจำนวนสำคัญกว่า การรายงานต้องระบุตัวเลขด้วย) เราเคารพต่อความหลากหลาย เมื่อมีความหลากหลาย เราต้องให้คุณภาพของเราเด่นขึ้น โดยถือชีวิตเป็นหลัก


ประเด็นที่ท้าทายพันธกิจแห่งการบริการด้วยความรักเมตตาของเรา

1) โลกาภิวัตน์ ในแง่เศรษฐกิจและสังคม แม้มีส่วนดี แต่ก็ทำให้ชาวเอเชียจำนวนมากมายตามไม่ทันถูกผลักไปอยู่ขอบของสังคม

ในด้านวัฒนธรรม คุณค่าที่ดีงามได้รับความกระทบ และกำลังเลือนสลายไป

2) ลัทธิมูลฐานนิยม ก่อให้เกิดความคิดและการประพฤติปฏิบัติแบบสุดขั้ว ทำให้เกิดการแตกแยกและความรุนแรง ท้าทายให้พระศาสนจักรต้องทำงานเพื่อสันติและการประสานกลมเกลียวกัน

3) การเมือง แม้ประชาธิปไตยกำลังงอกขึ้น แต่ก็ยังมีการปฏิบัติที่น่าสงสัย และประชาชนยังมีส่วนร่วมน้อย มีแนวโน้มที่รวมอำนาจไว้ในส่วนกลาง ก่อให้เกิดการฉ้อฉล รัฐบาลไม่มีเสรีภาพพอที่จะทำงานในด้านเศรษฐกิจและการเมือง เพราะถูกครอบงำด้วยองค์การระดับภาคต่างๆ

4) สิ่งแวดล้อม อันเป็นผลของการพัฒนาของครึ่งหลังศตวรรษที่แล้ว แม้จะมีกฎเกณฑ์เพื่อปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ก็มิได้มีการเอาใจใส่ถือตามกัน

5) ลัทธินิยมระบบทหาร โดยสนับสนุนความรุนแรงเพื่อระงับความขัดแย้ง มีการค้าอาวุธ เสริมกองทัพ ทำให้เกิดสงครามย่อย ล้วนท้าทายพระศาสนจักรให้ร่วมมือกับศาสนาอื่นเพื่อสันติภาพ


เราควรไตร่ตรอง หาวิธีแก้ไขปัญหาท้าทายเหล่านี้แบบชาวเอเชีย

- เอเชียร่ำรวยและสวยงามเพราะความหลากหลาย แม้ในพระศาสนจักรของเราด้วย (ตัวอย่างเรื่องของการแต่งกายของพระสังฆราชตามจารีตตะวันออก ที่เราเห็นกันในงานเปิดปีปีติมหาการุณย์)

- ชาวเอเชีย แม้บางเผ่าเป็นชนกลุ่มน้อย แต่กำลังมีความสำนึกยิ่งขึ้นว่าตนมีพลังที่จะพัฒนาตนเองได้ ไม่ต้องรอให้ผู้อื่นมาพัฒนาให้

 - เราชาวเอเชีย เห็นว่าปัญหาท้าทายดังกล่าวสลับซับซ้อน แต่ไม่ตัดแยกจากกัน หากเกี่ยวพันโยงใยซึ่งกันและกัน จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาปัญหาเหล่านั้น "แบบบูรณาการ" และเราคิดว่าเราชาวเอเชียน่าจะนำวิธีการเช่นนี้มาใช้ให้เห็นเป็นตัวอย่างแก่โลกโดยรวม (ดู EA.6 All of this indicates an innate spiritual insight and moral wisdom in the Asian soul, and it is the core around which a growing sense of "being Asian" is built. This "being Asian" is best discovered and affirmed not in confrontation and opposition, but in the spirit of complementarity and harmony. In this framework of complementarity and harmony, the Church can communicate the Gospel in a way which is faithful both to her own Tradition and to the Asian soul.) เราพิจารณาศึกษาไตร่ตรองปัญหา สถานการณ์ของเราตามพื้นฐานของชาวเอเชีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการทำงานของพระศาสนจักรสากล


งานอภิบาลที่ต้องสนใจ และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง

1) เยาวชน หนุ่มสาว ซึ่งมีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของชาวเอเชีย พวกเขาเป็นความหวัง เป็นอนาคตก็จริง แต่ก็อยู่ในสภาพที่ล่อแหลม และมักตกเป็นเหยื่อของสังคมปัจจุบันที่แข่งขันเอาเปรียบกัน พระศาสนจักรควรเผชิญปัญหาด้วยกันกับเขา โดยทัศนคติที่ว่า พวกเขาเป็นขุมพลัง ให้เขาร่วมรับผิดชอบในการแก้ปัญหาด้วยกัน ไม่ใช่ถือว่าเขาเป็นตัวปัญหา

2) ผู้หญิง แม้ชาวเอเชียให้คุณค่าแก่ชีวิตและความสัมพันธ์ในครอบครัว แต่มีการปฏิบัติหลายอย่างที่เป็นการดูถูก และไม่เคารพเพศหญิง พระศาสนจักรจึงควรปลุกจิตสำนึกในเรื่องศักดิ์ศรีของผู้หญิง โดยถือตามแบบอย่างของพระเยซูเจ้า ไม่มองข้ามศักดิ์ศรีของผู้หญิง

3) ครอบครัว ชาวเอเชียมีธรรมเนียมแต่โบราณกาล ถือว่าครอบครัวเป็นของประทานที่มีคุณค่าควรเคารพ แต่ปัจจุบันเราเห็นครอบครัวมากมายกำลังเสื่อมสลาย เพราะค่านิยมที่โถมโจมตีครอบครัว เราถือว่าครอบครัวเป็นเครื่องหมายและเครื่องมือแห่งความรักของพระตรีเอกภาพในโลกนี้ จึงจำเป็นที่พระศาสนจักรต้องอภิบาล โดยพยายามทำให้ครอบครัวเป็นแหล่งประกาศข่าวดีที่มีประสิทธิภาพ มิใช่เป็นเพียงเป้าหมายของงานอภิบาลของเราเท่านั้น

4) กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของชาวเอเชียและประชากรของพระศาสนจักร เป็นกลุ่มชนที่ยังรักษาคุณค่าดั้งเดิมของสังคมไว้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็กำลังถูกทำลายและถูกเบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบในทุกด้าน พระศาสนจักรต้องช่วยเหลือพวกเขาในด้านสิทธิและเศรษฐกิจ ให้การศึกษาเพื่อรักษาคุณค่าที่ดีงามของเขาไว้ในสภาพปัจจุบัน

5) ผู้อพยพ และผู้ลี้ภัย ในสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ มีการอพยพทั้งภายในและออกไปนอกประเทศ และผู้ลี้ภัยอันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคม การเมือง และการสงคราม (เป็นสงครามย่อย) พระศาสนจักรถือว่า สภาพการณ์เช่นนี้ ทำให้มนุษย์ไม่เป็นมนุษย์ ไร้ศักดิ์ศรีและครอบครัวแตกแยก ซึ่งเป็นปัญหาทางศีลธรรมนั่นเองที่พระศาสนจักรต้องสนใจ โดยร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้ผู้อพยพ ผู้ลี้ภัยเป็นผู้ประกาศข่าวดีเองด้วย


พลังผลักดันตอบสนองของเรา อะไรเป็นพลังผลักดัน

- เราถือแนว "บูรณาการ" ในการบริการแห่งความรักเมตตา เราถือว่าความเชื่อจากการฟัง การเห็นและการเป็นประจักษ์พยานแห่งชีวิตทั้งชีวิต ต้องสัมผัสได้ มิใช่มาจากมิติใดมิติหนึ่งโดยเฉพาะ

- ประเด็นที่น่าสนใจต่างๆ ของชีวิต ชาวเอเชียเรียกร้องให้มีการร่วมมือกันในทุกระดับ จะต่างคนต่างทำมิได้ ฉะนั้นต้องมีการเสวนาหาทางร่วมมือกัน และรับผิดชอบร่วมกัน นี่เป็นแรงผลักดันของเราชาวเอเชีย

- การร่วมมือและร่วมรับผิดชอบมาจากการรับรู้ในพระคุณต่างๆ ของพระจิต ที่มีอยู่ในทุกคน ทุกกลุ่ม นอกพระศาสนจักรก็มีพระจิตทำงานอยู่ด้วย


บางประเด็นที่น่าสนใจในทางปฏิบัติ

1) การเป็นประจักษ์พยานด้วยการดำเนินชีวิตตามพระวาจา แยกให้เห็นชัดขึ้น

2) การฝึกอบรมกลุ่มต่างๆ ในเรื่องการเคารพเชื่อฟัง ชีวิตแห่งการภาวนา ชีวิตที่อุทิศตน

3) ผลดีและผลเสียของสื่อสารมวลชนในสมัยโลกาภิวัตน์

4) การให้ฆราวาสมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมในสาขาต่างๆ ตามความถนัด เช่น ด้านธุรกิจ การเมือง

5) การเป็นปากเป็นเสียงเพื่อความดีส่วนรวมแล้วแต่กรณี

6) การศึกษาอบรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อพัฒนาชีวิตแบบบูรณาการ

7) การสร้างกลุ่มชนพื้นฐานโดยมีพระวาจา หลักธรรม เป็นหลักยึด (ASIPA เอาแบบมาจาก LUMKO จากการประชุม FABC ที่บันดุง)

8) การสร้างและสนับสนุนกลุ่มธรรมทูตในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นนักบวชและฆราวาส

9) การสร้างกลุ่มแลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อช่วยเหลือกัน เรียกว่าธรรมทูตก็ได้ (ทั้งนักบวชและฆราวาส)


บทสรุป

พระศาสนจักรในเอเชียปวารณาตนที่จะเดินหน้าจาริกเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ด้วยความยินดี และวางใจในพระเป็นเจ้า เพื่อแบ่งปันความรักของพระเยซูเจ้าพระผู้ไถ่ให้แก่พี่น้องชาวเอเชีย

-----------------------------------------------------------

ที่มา : สำนักเลขาธิการ สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทย รายงานการเสวนากลุ่มเทวศาสตร์ในงานพัฒนา (SAT)
15-16 มีนาคม 2543 ณ ศูนย์คณะพระมหาไถ่แห่งประเทศไทย พัทยา

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >