หน้าหลัก arrow อยู่กับปวงประชา arrow แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 กับ "การพัฒนาคน" : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 527 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 124: เรียนรู้โลกยุคใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชีวิต จิตวิญญาณ!?
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 124


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 กับ "การพัฒนาคน" : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Wednesday, 12 January 2011

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 กับ "การพัฒนาคน" จากมุมมองของคริสตชน

พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ตามที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาในฉบับร่างของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ มีนาคม 2529 เห็นว่า เป็นแผนที่สมบูรณ์กว่าแผนที่แล้วๆ มา มีความคิดที่ดีหลายประการ มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะ "พัฒนาคน" และสังคมพื้นฐาน คือ "ครอบครัว" ตลอดจนชุมชน ให้ทุกคนอยู่ด้วยกันโดยสมบูรณ์พูนสุข ยึดถือศาสนาเป็นหลักธรรมในการเจริญชีวิต ดังในวิสัยทัศน์ที่ให้ไว้ในปฐมบทว่า "สังคมไทยที่พึงปรารถนาในอนาคต คือ สังคมที่มีความสงบ สังคมที่คนมีความสุข เป็นสังคมที่มีสมรรถภาพ มีความเมตตากรุณา เคารพในสิทธิมนุษยชน มีครอบครัวอบอุ่น มีชุมชนที่เข้มแข็ง และมีหลักธรรมของศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิตของคนในสังคม"

แผนฯ 8 ยังนับได้ว่าเป็นแผนที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกล มิได้หมกมุ่นอยู่กับปัญหาปัจจุบัน แต่อาศัยการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์สังคมโลกปัจจุบันอันมีกระแสโลกาภิวัตน์ ได้พยายามมองไกลออกไป ข้ามทศวรรษ และศตวรรษนี้ออกไปอีก และยังจะมีผลดีต่อไปยาวนานกว่านั้น หากมุ่งมั่น หมั่นเพียรพัฒนาคนต่อไป เพราะเป้าหมายหลักคือ คน

แผนฯ 8 เป็นแผนที่ว่าด้วยปัญหาที่สำคัญที่สุด เพราะเกี่ยวข้องกับ "ชีวิตคน" อันเป็นพระคุณประเสริฐสุดที่พระเจ้าผู้สร้างประทานมา เป็นแผนที่กล่าวถึงการพัฒนาคน ทั้งแต่ละคนและทุกคนในสังคมอย่างกว้างในทุกด้าน รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนในโลก

ข้อดีอีกประการหนึ่งของแผนฯ 8 คือ ความลึกซึ้งและความแม่นยำในการวิเคราะห์จับมูลเหตุของปัญหาในสังคมไทยปัจจุบัน อันเกิดจากข้อบกพร่องของแผนพัฒนาคนฯ และการดำเนินการพัฒนาที่แล้วๆ มา "ซึ่งมุ่งเน้นการแข่งขัน เพื่อสร้างความมั่งคั่งในด้านรายได้ ทำให้คนไทยและสังคมไทยมีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น ก่อให้เกิดพฤติกรรมของคนในสังคม คือ การย่อหย่อนในศีลธรรม จริยธรรม ขาดระเบียบวินัย การเอารัดเอาเปรียบ... ส่งผลให้วิถีชีวิตและค่านิยมดั้งเดิมที่ดีงามของไทยเริ่มจางหายไปพร้อมๆ กับการล่มสลายของสถาบันครอบครัว ชุมชน วัฒนธรรมท้องถิ่น... ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงเป็นลำดับ... อันก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยทั่วไปอย่างกว้างขวาง" (ส่วนที่ 1 ข้อ 1.4 - 1.5) จากนี้แผนฯ 8 ก็เสนอความพยายามหันมามุ่ง "พัฒนาคน" โดยสนับสนุนให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ ทัศนคติของคนไทย ให้เข้าสู่สัจธรรม ศีลธรรมอย่างที่คริสตศาสนาสอนว่า ให้มีการกลับใจ เปลี่ยนวิถีชีวิตให้เป็น "ชีวิตใหม่" นั่นเอง ซึ่งหมายถึงการมุ่งด้านจิตใจของ "คน" ด้วย

แผนฯ นี้ยังกล้าเสนอยุทธศาสตร์ใหม่คือ การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐกับประชาชนให้เกิดขึ้นมากที่สุด และให้มีการปรับระบบบริหารจัดการ เพื่อให้มีการนำแผนไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล เป็นการเสนอให้มีการปรับเปลี่ยนระบบ ทั้งจากภาครัฐและจากประชาชนให้มีการหันหน้าเข้าหากัน สมัครสมานสามัคคีกัน เพื่อความดีส่วนรวมต้องมี "การกลับใจ" ทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายประชาชนนั่นเอง

แผนฯ 8 ยังแสดงความใจกว้าง ยอมรับความผิดพลาดในอดีต ยอมเปลี่ยนแนว และทิศทางใหม่ ถือว่าแผนฯ นี้เป็นเพียง "ก้าวแรกของการนำวิธีการใหม่ในการพัฒนาประเทศมาใช้" (ปฐมบท) และเรียกร้องให้ทุกคน ทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจกัน โดยยึดหลักประสานงานกัน เกื้อกูลกัน เพื่อความสำเร็จสมบูรณ์ของส่วนรวม แผนฯ นี้ยังยอมรับว่า เป็นเพียง "การเริ่มกระบวนการ ที่ทุกภาคส่วนของสังคมจะร่วมกันก้าวเดินไปสู่เป้าหมายเดียวกัน... เป็นกระบวนการเรียนรู้ในอันที่จะอยู่ร่วมกันอย่าง รู้ - รัก - สามัคคี..." จึงไม่ถือว่าเป็นแผนการที่เบ็ดเสร็จสมบูรณ์แล้วแต่ยังจะต้องมีการพัฒนา ปรับเปลี่ยนต่อไปอีก โดยอาศัยความร่วมมือของทุกคน ทุกฝ่าย

อาจสรุปได้ว่า แผนฯ 8 เสนอแนวคิด ทิศทาง และยุทธศาสตร์ใหม่ที่ดี และถูกต้องในการพัฒนาสังคม ประเทศชาติของเรา ควรที่เราทุกคนนำมาศึกษาและหาทางร่วมกันนำไปปฏิบัติให้เกิดผล

แนวคิดใหม่ ที่ใคร่จะกล่าวถึงในที่นี้คือ แนวคิดแบบองค์รวม เมื่อมุ่งพัฒนาคน ก็ต้องคำนึงถึงด้านต่างๆ ของคน รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จำต้องประสานกัน จะมุ่งเน้นเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง หรือต่างหน่วยต่างแยกกันทำไม่ได้

ยุทธศาสตร์ใหม่ที่สำคัญสองประการของแผนฯ 8 นี้ ก็น่านำมาศึกษาเช่นกัน กล่าวคือ การพัฒนาประชารัฐ พยายามเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐกับประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ การเสริมสร้างหลักนิติธรรมในการบริหารรัฐกิจ การแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี และยุทธศาสตร์การปรับระบบการบริหารจัดการ เพื่อให้มีการนำแผนไปสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างเกิดผลดี

ยุทธศาสตร์ใหม่สองประการนี้ จะไม่เกิดผลหากไม่มีการ "กลับจิตกลับใจ" ทั้งทางฝ่ายรัฐและฝ่ายประชาชน

ในฐานะนักการศาสนาเพื่อสังคม ข้าพเจ้าถือว่า แผนฯ 8 นี้ให้ความสำคัญแก่ศาสนาในการพัฒนาคน และสังคม เรียกร้องศาสนาให้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศตามเจตนารมณ์อันดีของแผนนี้ ข้อนี้ทำให้คิดได้สองประการ คือ 1. เป็นการให้เกียรติแก่ศาสนาในฐานะที่มีบทบาท หน้าที่ "อบรมบ่มจิตใจคนแต่ละคน และทุกๆ คน" ในสังคม ซึ่งนับได้ว่าเป็นบทบาทหน้าที่สูงส่งอันขาดเสียมิได้ในสังคมมนุษย์ ในแง่นี้ ก็ถือว่า ศาสนามีสิทธิที่จะทำหน้าที่ของตนในสังคม 2. ศาสนาต่างๆ ซึ่งอยู่คู่สังคมบ้านเมืองเสมอมาเป็นเวลานาน จนบัดนี้ยังไม่สามารถหล่อหลอมจิตใจคน ประชาชนให้มีคุณภาพดี มีศีล มีธรรมกันได้อย่างที่คิดและปรารถนา ดูในแง่นี้ก็ถือได้ว่า แผนฯ นี้เรียกร้องท้าทายศาสนาทั้งหลายให้พร้อมใจกันทำตามบทบาทหน้าที่ในสังคมมากขึ้น

สืบเนื่องจากความคิด ความเข้าใจเช่นนี้ ข้าพเจ้าใคร่ขอเสนอข้อคิดบางประการตามคำสอนของคริสตชน เพื่อแสดงความพร้อมที่จะร่วมมือด้วยน้ำใสใจจริง เพื่อเสริมแผนฯ 8 นี้ให้สมบูรณ์และมีประสิทธิผล


1. ศาสนาควรช่วยกันปลูกฝัง และปลุกจิตสำนึกเรื่องคุณค่าและศักดิ์ศรีของชีวิตมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งชี้นำหนทางและสนับสนุนกิจกรรมที่นำชีวิตมนุษย์สู่ความสมบูรณ์สมศักดิ์ศรีของแต่ละคนและในสังคม

แผนฯ 8 กล่าวถึงคุณภาพของชีวิตคน ศักยภาพของคนด้านจิตใจ จึงควรที่ศาสนาจะช่วยกันให้ความหมายว่าการเป็นคนสมบูรณ์นั้นเป็นอย่างไร เพื่ออะไร ข้อที่ควรระวังก็คือ คุณภาพและศักยภาพของชีวิตคน มิใช่หมายถึงประสิทธิภาพในการผลิตเพียงเท่านั้น ถ้าเป็นเช่นนี้ ก็ยังเป็นเพียงเชิงเศรษฐกิจอยู่ มีการแข่งขันเป็นพื้นฐานและเป้าหมายก็คือ การมีมากขึ้น ยังมิใช่เป็นการ "เป็นคนมากขึ้น"

ข้าพเจ้าแน่ใจว่า ทุกศาสนามีคำสั่งสอนถึงชีวิตคนที่สมบูรณ์ และเสนอหนทางอันทำให้บรรลุถึงชีวิตเช่นนั้น เราจึงควรมาร่วมมือร่วมใจกันในด้านนี้ โดยช่วยกันปลุกจิตสำนึกในประชาชน ให้รู้และเข้าใจถึงความประเสริฐ ถึงเกียรติและศักดิ์ศรีของชีวิตคน ทั้งสนับสนุนส่งเสริมให้ทุกคนหันเข้าสู่วิถีทางอันนำไปสู่บูรณภาพแห่งชีวิตนั้นด้วย

คริสตศาสนาสอนว่า ทุกชีวิตมาจากพระเจ้า จึงเป็นของประทานอันประเสริฐ ชีวิตคนมีศักดิ์ศรีอันสูงส่ง เพราะถูกสร้างมาตามพระฉายาพระเจ้าผู้สร้าง และได้รับเกียรติยกขึ้นเป็นบุตรของพระเจ้าโดยทางพระเยซูคริสตเจ้าพระผู้ไถ่กู้ ชีวิตอันมีค่าและมีศักดิ์ศรีเช่นนี้ จะมีความหมายและจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อ มีความรัก เช่นเดียวกับพระเยซูคริสตเจ้า ผู้ทรงรักเราแบบหวังดีต่อผู้อื่นเห็นแก่ผู้อื่น แบ่งปันและเสียสละให้เพื่อนมนุษย์ได้ แม้กระทั่งชีวิตของพระองค์เอง เป็นการออกจากตนเอง เป็นคนเพื่อคนอื่น และเมื่อทรงรับทรมานและสิ้นพระชนม์เพื่อเราทั้งหลาย ได้ทรงกลับคืนพระชนม์ มีชีวิตใหม่ เพื่อบันดาลชีวิตใหม่ให้เราทุกคน เป็นชีวิตที่มีความหวังและความหมายใหม่ อันบันดาลให้เรารักเพื่อนมนุษย์ทุกคนอย่างแท้จริง การ "พัฒนาคน" ในความหมายนี้ เป็นประดุจการย่างเข้าสู่แดนลึกที่สุดในตัวคน นั่นคือ แดนหัวใจ มโนธรรม และชีวิตมนุษย์เอง


2. ศาสนาควรช่วยกันติดตาม ประเมินผลการพัฒนาประเทศ เพื่อรักษาความสมดุลและให้เป็นไปตามเจตนารมณ์อันดีของแผนฯ นี้

สังคมโลกของเรายังมีทั้งความดีและความชั่ว คนดีและคนไม่ดีปะปนกันอยู่ การ "พัฒนาคน" ตามเจตนารมณ์ของแผนฯ นี้ เรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนทัศนคติ แนวทางปฏิบัติและพฤติกรรมหลายอย่างของคนไทยเรา นับว่าเป็นกระบวนการที่ต้องการเวลาอันยาวนาน มิได้เป็นไปโดยอัตโนมัติ ประหนึ่งว่า ถ้ามีปัจจัยแวดล้อมบางอย่างแล้ว ก็จะสำเร็จไปได้อย่างรวดเร็วทันตา ศาสนาจึงต้องเข้ามามีบทบาทเตือนสติในเรื่องนี้ ทั้งยังต้องให้กำลังใจแก่คนที่พยายามทำดีให้มีความพากเพียรมานะ อดทน กล้าหาญต่อไป ไม่ย่นย่อท้อถอย ต้องหมั่นกระตุ้นเตือนผู้มีอำนาจรับผิดชอบ มิให้รีบด่วน ใจร้อน รีบเร่งรัดตัดตอนทำเพื่อผลงานของตนเอง หรือของพรรคพวก ให้ด่วนสำเร็จลงในวาระในสมัยของตน แต่ให้มีความพากเพียร เพื่อความดีของส่วนรวมอย่างแท้จริง

เรายังต้องยอมรับกันว่า เมื่อพูดถึง "การพัฒนา" โดยทั่วไปมักเข้าใจในเชิงเศรษฐกิจอย่างฝังใจ และแผนฯ 8 นี้ก็เช่นกัน มีความตั้งใจจะพัฒนาคน จึงเป็นหน้าที่ของบรรดาศาสนาที่จะต้องช่วยกันเตือนสติว่า ความมั่งคั่งและอำนาจ ตลอดจนเทคโนโลยีและวิทยาการต่างๆ ที่มนุษย์เรามีอยู่นั้น หากมิได้มีความเข้าใจเชิงศีลธรรมและจริยธรรมเป็นแนวทางโน้มนำไปยังความดีแท้ของมนุษย์แล้วไซร้ ความมั่งคั่ง อำนาจ และวิทยาศาสตร์นั่นเองจะกลับเป็นปฏิปักษ์ต่อมนุษย์ เป็นนายที่โหดร้ายต่อมนุษย์เอง

อนึ่ง "การพัฒนาคน" ที่แท้จริงนั้น ต้องคำนึงถึง "มิติภายใน" ของมนุษย์แต่ละคน และของทุกคน เพราะโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ย่อมมุ่งแสวงหาสัจจะความดี ความงามเที่ยงแท้ ไม่จอมปลอม ในข้อนี้ศาสนาต้องช่วยกันเป็นพิเศษ


3. ศาสนาควรช่วยกันเตรียมความพร้อมของประชาชนต่อการรับการกระจายอำนาจ งบประมาณและรายได้ที่แผนฯ นี้มีแนวทางให้เกิดขึ้น

เป็นที่น่ายินดีว่า แผนฯ 8 นี้มีขึ้น โดยการร่วมมือของประชาชน ตลอดจนองค์กรเอกชน และมีเจตนาที่จะกระจายอำนาจและรายได้ออกสู่ชนบท แต่เราก็ต้องยอมรับกันว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบทรอบนอกนั้น ยังต้องการการเตรียมพร้อมเป็นพิเศษเพื่อรองรับการกระจายดังกล่าว เป็นต้นว่า ในด้านการจัดการ การทำงานเป็นกลุ่ม การรับผิดชอบร่วมกัน ความสำนึกในสิทธิและหน้าที่ ในคุณค่าและภูมิปัญญาของตนและของชุมชน เหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาคน ศาสนาจึงควรมีบทบาทในการช่วยให้การอบรมเรื่องเหล่านี้ให้กับประชาชน เพื่อปลุกจิตสำนึกในเรื่องดังกล่าว เป็นการช่วยให้ประชาชนค่อยๆ มีความพร้อมที่จะรับอำนาจและรายได้มาเพื่อเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมอย่างแท้จริง


4. ศาสนาควรช่วยกันใน "การพัฒนาประชารัฐ"

ส่วนที่ 7 ของร่างแผนฯ 8 นี้ กล่าวถึงการพัฒนาประชารัฐไว้อย่างน่าฟังว่า "การพัฒนาให้รัฐและประชาชนมีความเข้าใจที่ดี มีความรับผิดชอบและมีความเอื้ออาทรต่อกัน ทั้งนี้เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและประชาชนดำเนินไปในเชิงสร้างสรรค์ และเสริมสร้างสมรรถนะซึ่งกันและกัน"

จากประสบการณ์ของเราท่านทั้งหลาย ความสัมพันธ์อย่างที่หวังไว้นี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีการ "กลับใจ" ของทั้งสองฝ่ายด้วยกันคือ ทั้งฝ่ายรัฐ และฝ่ายประชาชนที่จะต้องหันหน้าเข้าหากัน ตามความเห็นของข้าพเจ้า ฝ่ายที่จะกลับใจได้ยากกว่าคือ ฝ่ายรัฐ เพราะภาครัฐนั้นเป็นสถาบันที่มีเอกสิทธิ์และอำนาจ มีทรัพยากรและบุคลากรจำนวนมาก ได้กำหนดกรอบและกลไกต่างๆ ขึ้นมา ซึ่งมีข้อบกพร่องและข้อจำกัดหลายประการ อันส่อแสดงถึงการรวบอำนาจและใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกไม่ควร และใครเล่าจะเป็นผู้ให้ฝ่ายรัฐได้เปลี่ยนทัศนคติ เปลี่ยนพฤติกรรม ให้หันมายึดหลักความชอบธรรม หลักนิติธรรม ให้ประชาชนมีหลักประกันในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐได้

จึงใคร่เสนอว่า ศาสนาควรจะเข้ารับบทบาทอย่างพิเศษในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นบทบาทที่ท้าทายอย่างมาก เพราะเกี่ยวกับจิตใจของผู้มีอำนาจที่มีเครื่องมือแห่งอำนาจพร้อมอยู่ในมือ สำหรับภาคประชาชนนั้นเราก็ต้องช่วยกันดังกล่าวมาแล้วในข้อที่ 3 และดังที่เรากำลังกระทำกันอยู่บ้างแล้ว


5. ศาสนาควรช่วยกันสนับสนุนให้ชุมชน และประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นับเป็นความฉลาดรอบคอบของแผนฯ 8 ที่พูดถึงการร่วมมือกันระหว่างรัฐกับชุมชน และประชาชนในการควบคุมดูแล การใช้ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังพูดถึงการสร้างเสริมวินัยและประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัด ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด เรื่องนี้จะเป็นไปได้ยากมาก หรือเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่มีการเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมอันมาจาก "ความโลภ" ทั้งของฝ่ายรัฐและประชาชน

ศาสนาจึงต้องเข้ามามีบทบาทในเรื่อง ลด ละเลิก ความโลภ โดยปลูกฝังความเข้าใจในความหมายของทรัพยากรธรรมชาติว่า เป็นของประทานอันประเสริฐจากพระผู้สร้าง ที่ทรงใจกว้าง โดยมีสายพระเนตรยาวไกล คิดไปถึงลูกหลานเหลนของเราในกาลข้างหน้าด้วย ศาสนาเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้มิใช่ด้านการเทศน์สอนเท่านั้น แต่ควรทำด้วยการปฏิบัติ ด้วยพฤติกรรมของสถาบันศาสนาและของผู้เทศน์สอนเอง ก็จะนับว่าเป็นการพัฒนาศาสนาเอง และช่วยพัฒนาสังคมประเทศชาติด้วย

ข้าพเจ้าหวังว่า ข้อคิดต่างๆ เหล่านี้ คงกระตุ้นเตือนศาสนิกทุกศาสนาให้หันมาสนใจศึกษาแผนฯ 8 นี้ และพยายามช่วยกันทำให้เกิดผลอย่างแท้จริง ในการพัฒนาคน สังคม ประเทศชาติไทย มิใช่เป็นเพียงแผนที่เขียนขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามระบบและขั้นตอนในการบริหารจัดการของรัฐ และการปกครองประเทศชาติเท่านั้น ข้าพเจ้าทราบแน่อยู่แก่ใจว่า ความพยายาม "พัฒนาคน" ดังมีอยู่ในแผนฯ นี้ เป็นการยากลำบากมีอุปสรรคมากมาย และกินเวลายาวนาน จึงภาวนาอธิษฐานขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า มาค้ำจุนและเกื้อกูลบรรดาผู้มีน้ำใจดีทั้งหลาย ทุกคนด้วย


***************************************

ที่มา : วารสาร "ผู้ไถ่" ฉบับที่ 40 พฤษภาคม - สิงหาคม 2539

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >