หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ณ เวลาแห่งความเงียบ : พระวิชิต เปานิล
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1262 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ณ เวลาแห่งความเงียบ : พระวิชิต เปานิล พิมพ์
Wednesday, 20 October 2010

ณ เวลาแห่งความเงียบ


โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 26 กันยายน 2553

เพื่อนคนหนึ่งบอกผมว่า เธอมักรู้สึกเหงา ระคนด้วยเศร้านิดๆ ยามต้องนั่งรถทางไกลช่วงใกล้ค่ำ เธอว่าเป็นบรรยากาศที่ชวนให้คิดถึงบ้าน คิดถึงเหตุการณ์เศร้าๆ ในอดีต

สิ่งที่เธอพอทำได้ถ้ามีคนไปด้วยก็คือ ต้องพยายามหาเรื่องคุยหรือหากิจกรรมอะไรวุ่นๆ มาทำ เมื่อช่วงเวลานี้ผ่านไปแล้ว ก็จะนั่งต่อไปคนเดียวได้

ถ้าเป็นไปได้มากกว่านั้น เธอบอกว่าจะหลีกเลี่ยงการเดินทางไกลคนเดียวในเวลาเย็นๆ แบบนี้ไปเลย
ส่วนเพื่อนอีกคน ทุกครั้งที่คุยกันทางโทรศัพท์ ผมต้องได้ยินเสียงโทรทัศน์คลอไปด้วยเสมอ เขาบอกว่าสิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อกลับเข้าห้องพัก คือเปิดโทรทัศน์ไว้เป็นเพื่อน โดยไม่ได้คิดด้วยซ้ำว่ามีรายการอะไรบ้าง

รุ่นน้องอีกหลายคนที่บ้านอยู่ต่างจังหวัดต้องมาเช่าห้องพักอยู่กับเพื่อน มักบอกว่า ช่วงนี้ไม่ค่อยอยากรีบกลับห้อง เพราะว่าเพื่อนกลับไปเยี่ยมบ้านกันหมด เหงาไม่อยากอยู่คนเดียว

แม้แต่คนที่ปากก็บอกว่าชอบอยู่คนเดียว แต่เอาเข้าจริงๆ เมื่อกลับถึงบ้านก็มักต้องฟังเพลง ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือการ์ตูน หรือไม่ก็หยิบโทรศัพท์มาคุยกับเพื่อนจนกว่าจะถึงเวลานอน

ในยุคดิจิตอลที่อะไรๆ รวดเร็วฉับไวมากขึ้น มันได้สร้างทัศนะใหม่เกี่ยวกับเวลาให้เราด้วย โดยพยายามบอกว่าเวลาทุกๆ วินาทีมีค่า ต้องทำอะไรสักอย่างที่ไม่ใช่การนั่งอยู่เงียบๆ คนเดียว ซึ่งถือว่าเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

นักเศรษฐศาสตร์บอกเราเสมอว่าแค่นั่งอยู่เฉยๆ ก็ต้อง ‘จ่าย' ค่าเสียโอกาสในการทำอะไรไปมากแล้ว ด้านนักการตลาดเลยต้องหาวิธีไปกระตุ้นคนที่ยังอยู่เฉยๆ เหล่านี้ให้เกิดการบริโภคขึ้นให้ได้ อย่างน้อยก็ควรต้องเปิดวิทยุ โทรทัศน์ ได้ใช้ไฟฟ้า ดูโฆษณา หรือต้องจ่ายค่าโทรศัพท์ในช่วงเวลานั้นไปบ้าง

พอชีวิตเราถูกกระตุ้นให้วิ่งให้ตื่นตัวจนเคยชิน ยามใดที่ความว่าง ความเงียบคืบคลานเข้ามา เราจะรู้สึกผิดปกติ รู้สึกเหงา ว้าเหว่ จนทนไม่ได้ขึ้นมาทันที

ความเงียบ... ความเหงา... รวมทั้งความเศร้าเล็กๆ จึงไม่ได้เป็นเรื่องบุคลิกภาพของแต่ละคนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นผลผลิตอีกอย่างหนึ่งที่เราต้องรู้ทันว่าสังคมยุคนี้ได้สร้างไว้ให้ เรา

ทั้งๆ ที่ตอนเราว่างหรืออยู่ในความเงียบ เราอาจไม่จำเป็นต้องรู้สึกว้าเหว่ เหงา เศร้า หรือจะต้องมีความรู้สึกผิดก็ได้

หลายท่านอาจเคยมีประสบการณ์ดีๆ ที่พบว่า ความเงียบบางครั้งได้ผ่านเข้ามาพร้อมๆ กับ ความสงบของจิตใจและความสุขในชีวิต

การได้อยู่เงียบๆ คนเดียว ถือว่าเป็นโอกาสดีให้เราได้ครุ่นคิดถึงบางเรื่องราวอย่างล้ำลึกและต่อเนื่อง จนทำให้เกิดการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยในเวลาที่เร่งรีบจำกัด

เมื่ออยู่เงียบๆ เราจะเห็นความคิดความรู้สึกของเราชัดเจนขึ้นมาก ชัดจนหลายคนรู้สึกกลัว หรือยอมรับอารมณ์ ความรู้สึก หรือแม้แต่ความจริงเกี่ยวกับตนเองไม่ได้

ด้วยเหตุนี้ สำหรับผู้ที่ไม่เคยชินหรืออยากลองฝึกอยู่เงียบๆ คนเดียว อาจต้องมีการเตรียมความพร้อมของจิตใจกันก่อน

บางคนเลือกเริ่มต้นด้วยการหาหนังสือเล่มบางๆ ที่ไม่ต้องเร่งรีบอ่านให้จบ เป็นเรื่องเบาๆ ที่เปิดพื้นที่ว่าง ให้เราได้คิดได้ฝันทบทวนถึงสิ่งที่งดงามในชีวิต

ใครที่ชอบธรรมะ อาจเริ่มต้นด้วยหนังสือธรรมะ เลือกเล่มที่มีรูปเล่มสวยงามน่าอ่านก่อน ใช้เวลาว่างนั้นค่อยๆ อ่านไป คิดทบทวนไปเรื่อยๆ

ถ้ายังไม่ชินกับความเงียบของบรรยากาศรอบตัว ก็หาเพลงเย็นๆ ของศิลปินที่ตัวเองชอบ มาเปิดคลอไปด้วย

บางจุดที่เนื้อหาหนังสือน่าสนใจให้ขบคิดเป็นพิเศษ ก็ควรวางภาระในการอ่านนั้นลงชั่วคราว แล้วให้เวลาอยู่กับตัวเองสักพัก ค่อยๆ พิจารณาใคร่ครวญเรื่องนั้นไปอย่างเงียบๆ ระวังเพียงแต่อย่าให้ฟุ้งซ่านไปจนไม่มีสติรู้ตัวว่ากำลังพิจารณาเรื่องอะไรอยู่

เราอาจทอดเวลาช่วงนี้ให้เนิ่นนานขึ้นอีก โดยใช้บรรยากาศแห่งความสงบเงียบนี้ สำรวจตรวจตราทำความเข้าใจชีวิตและจิตใจของตนเองให้มากขึ้น

เมื่อคุ้นเคยกับความเงียบมากขึ้นแล้ว ลองใช้เวลาเงียบๆ นี้อย่างมีสติโดยไม่ต้องพึ่งพาหนังสือหรือเสียงดนตรีดูบ้าง

เมื่อทำบ่อยเข้าเราจะพบความจริงว่า ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายในชีวิตประจำวันของเรานั้น มีช่วงเวลาเงียบๆ แทรกให้เราได้อยู่กับตัวเองเต็มไปหมด อาจเป็นช่วงเวลารอรถติดไฟแดง รออาหารที่สั่งไว้ หรือแม้แต่ช่วงเวลาสั้นๆ ที่เราทำกิจวัตรบางอย่าง เช่น ดื่มน้ำ หรือหวีผม

หากเราลองใช้ช่วงเวลาเล็กๆ น้อยๆ เหล่านั้นอยู่กับตัวเองเงียบๆ นอกจากเราจะไม่ต้องรู้สึกหงุดหงิดรำคาญกับการรอแล้ว เราอาจพบกับความสุข ความสงบได้อย่างไม่น่าเชื่อ

ถึงเวลานั้น ช่วงเวลาระหว่างการเดินทางยามโพล้เพล้ หรือเมื่อต้องอยู่ในห้องคนเดียวตอนที่เพื่อนๆ กลับไปเยี่ยมบ้านกันหมด ก็จะไม่ใช่ช่วงแห่งความเหงาความเศร้าของเราอีกต่อไป

แต่จะกลับกลายเป็นช่วงที่นำความสงบ ความนิ่ง ความรู้ตัวมาให้กับเราแทน

ในเมื่อคนยุคใหม่ยังสามารถรู้สึกเหงาท่ามกลางสังคมอันโกลาหลวุ่นวายนี้ได้ ทำไมเราจะไม่ลองมองหาความเงียบและเรียบง่าย ท่ามกลางความวุ่นวายเร่งรีบนี้บ้าง

แล้วทุกๆ ครั้งที่ว่าง ที่เงียบ จะไม่ใช่ช่วงเวลาที่ เหงา เศร้า และว้าเหว่สำหรับเราอีกต่อไป

โดย.....พระวิชิต เปานิล

ที่มา คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >