หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ก้าวให้พ้นหล่มความขัดแย้ง : เชาวลิต บุณยภูษิต
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 80 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ก้าวให้พ้นหล่มความขัดแย้ง : เชาวลิต บุณยภูษิต พิมพ์
Wednesday, 10 March 2010
ก้าวให้พ้นหล่มความขัดแย้ง

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 27 ธันวาคม 2552

ผมเคยนำเสนอในบทความ "มองให้กว้าง คิดให้ไกล ใฝ่ให้สูง" (โพสต์ทูเดย์ 9 มีนาคม 2551) ว่า การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่พึงปรารถนาต้องเริ่มที่ประชาชนแต่ละคนปกครองตัวเองได้ ประชาชนที่ปกครองตัวเองได้คือประชาชนที่ใช้หลักความถูกต้องดีงามในการตัดสินใจ (ธรรมาธิปไตย) ถ้าเราปกครองตัวเองไม่ได้ ก็มาปกครองกันเองไม่ได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ ต้องพัฒนาคุณภาพของคนให้ปกครองตนเองได้

ในห้วงเวลา 4-5 ปีนี้ สังคมเราตกและติด "หล่ม" การต่อสู้เรียกร้องกันในนามของสิ่งที่เรียกขานกันว่า "ประชาธิปไตย" บางคนถึงขนาดเสียชีวิต เสียอวัยวะ เกิดการทำร้ายเบียดเบียนกันระหว่างคนไทยด้วยกันเอง แต่ต่างกลุ่ม ต่างสี ต่างหน้าที่กัน คงไม่เกินเลยหากจะพูดว่าถึงขนาดยอมเป็นยอมตายกันเพื่ออุดมคติของตัวโดยไม่รู้ว่าจะได้ลิ้มลองรสหรือเสพเนื้อแท้ของ "ประชาธิปไตย" กันหรือไม่

บางขณะที่ความขัดแย้งเขม็งเกลียว ส่งผลให้สังคมปั่นป่วนด้วยเหตุความวุ่นวายทางการเมืองจนเกิดสภาพที่ไม่เอื้อต่อการใช้ชีวิตเยี่ยงภาวะปกติ และยากจะพัฒนาชีวิตตนให้เจริญ รวมถึงพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า สภาพของสังคมเราทุกวันนี้คงไม่ต่างจากสภาพที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) กล่าวไว้หนังสือ "อุดมธรรมนำจิตสำนึกของสังคมไทย" เมื่อปี 2537 ว่าสังคมไทยมีลักษณะ 3 อย่าง คือ มองแคบ คิดใกล้ และใฝ่ต่ำ

มองแคบ คือมัวแต่มองกันไปกันมาอยู่ในหมู่คนไทยเอง เหมือนกับไก่ในเข่งที่รอเขาจะเอาไปเชือดทำเครื่องเซ่นไหว้ มองกันไปมาก็เจอแต่หน้ากัน ก็กระทบกระแทกกัน แล้วก็ตีกันในเข่ง แต่ถ้ามองกว้างออกไปภายนอกก็จะเห็นสภาพความเป็นไป มองเห็นปัญหาของมนุษยชาติ ปัญหาของประเทศ ปัญหาของโลก ที่จะช่วยกันคิดหาทางแก้ไข แล้วก็จะเห็นศักยภาพของตนเองในการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาของประเทศ ตลอดถึงของโลก รวมถึงสร้างสรรค์โลกด้วย

คิดใกล้ คือ คอยตามรับจากคนอื่น จึงคิดใกล้หรือคิดสั้น หยุดอยู่แค่ที่เขาทำให้เท่านั้น ไม่คิดเลยออกไปว่าเราจะมีส่วนสร้างสรรค์ให้แก่สังคมและโลกได้อย่างไรบ้าง แต่ถ้าคิดไกลต้องใช้ปัญญาค้นหาเหตุปัจจัยแห่งความเจริญและความเสื่อม ลงมือสร้างสรรค์เหตุปัจจัยให้พร้อมที่จะนำสู่อนาคต และพัฒนาตนให้ถึงที่สุด

ใฝ่ต่ำ คือ มุ่งแต่จะหาวัตถุบำเรอความสุข และหลงเพลินอยู่กับการเสพสิ่งสนองปรนเปรอความรู้สึกพึงใจ ไม่ใฝ่ธรรมคือ ถือความถูกต้องดีงามเป็นใหญ่ ใฝ่สร้างสรรค์สิ่งดีงามให้แก่ชีวิตและสังคม

สังเกตได้ว่ากลุ่มต่างๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องส่วนมาก (อาจจะทุกกลุ่ม?) มักจะอ้างสิทธิเสรีภาพกันในแง่มุมเดียว คือในแง่มุมที่จะได้ผลประโยชน์จากเสรีภาพ หรือการแสดงออกได้ตามใจชอบ แต่ละเลยการมองในด้านสิทธิเสรีภาพในการสร้างเหตุ หรือเสรีภาพในการใช้ศักยภาพของตนสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่สังคม พระพรหมคุณาภรณ์ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า "ต้องมองเสรีภาพในส่วนเหตุนี้ให้หนัก คือมองว่า ทำอย่างไรจะให้ศักยภาพที่มีอยู่ของคนแต่ละคน ออกไปเอื้ออำนวยประโยชน์แก่สังคมได้เต็มที่ ...เสรีภาพส่วนนี้แหละที่คนมักจะมองข้าม การปกครองประชาธิปไตยมีเนื้อหาสาระสำคัญอยู่ที่เสรีภาพส่วนนี้ กล่าวคือสังคมที่พัฒนาดีแล้วในประชาธิปไตย จะพยายามเปิดช่องทางที่จะมาเอาศักยภาพของคนแต่ละคนออกไปใช้ทำประโยชน์แก่สังคมให้เต็มที่ ใครมีเท่าไร ก็ทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้เท่านั้น ถ้าได้อย่างนี้เมื่อไร สังคมประชาธิปไตยก็จะพัฒนา จะก้าวหน้า" (หนังสือ "การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย")

อาจจะเป็นเพราะประชากรของสังคมเราคิดถึงเสรีภาพในแง่แรก คือเสรีภาพในการแสดงออกแต่ด้านเดียว ตู้โทรศัพท์สาธารณะถูกทุบทำลายจนกระจกแตกละเอียด ป้ายรถเมล์โดนทำลาย สะพานหรือกำแพงถูกพ่นสี (Graffiti) เพียงเพื่อสนองความเมามัน ความคึกคะนอง ใช้ทางเท้าเป็นที่ทำกิจการส่วนตัว เปิดเครื่องเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้าน สายไฟและเหล็กเสาไฟฟ้าแรงสูงถูกขโมยไปชั่งกิโลขาย จนเป็นเหตุให้เสาใกล้เคียงล้มตาม ไฟฟ้าดับ กิจการการผลิตที่ต้องใช้ไฟฟ้าเสียหาย มองเลยออกไปถึงการโกงกินของผู้มีอำนาจในมือ (ซึ่งก็คือฉ้อฉลเอาทรัพยากรของส่วนรวมไปเป็นของตัวโดยไม่สุจริต) พฤติกรรมที่สร้างความเสื่อมเสียให้แก่สถาบันทางการเมือง การมุ่งสร้างความวุ่นวายปั่นป่วนให้แก่ประเทศ ฯลฯ เพียงเพื่อได้แสดงออกตามชอบใจ ได้สนองความความพึงพอใจของตนเอง

คนเหล่านั้นไม่คิดถึงแง่มุมที่ว่าการทำลายสมบัติของสาธารณะเหล่านั้นคือ การผลาญทรัพย์สินของส่วนรวม ซึ่งตัวก็เป็นเจ้าของส่วนหนึ่งด้วย เป็นการตัดโอกาสในการใช้สาธารณูปโภคของคนอื่นๆ ลดการขยายบริการ ขยายโอกาส การสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้แก่ส่วนรวม (ซึ่งก็รวมถึงตัวคนทำลายด้วย) เพราะต้องเจียดงบประมาณการสร้างมาใช้ซ่อมแซม ทำลายโอกาสการอยู่อย่างสงบเรียบร้อยของเพื่อนบ้าน ไม่คิดถึงจุดหมายร่วมในการนำพาประเทศผ่านพ้นห้วงยามความถดถอย ตลอดจนถึงประเทศเสียโอกาสความก้าวหน้าในสังคมโลก ถ้าทุกฝ่ายมองไกลถึงเป้าหมายร่วมคือ ผลประโยชน์ของประเทศชาติ ผลประโยชน์ของโลกเป็นหลัก พฤติกรรมต่างๆ ข้างต้นคงจะหาได้ยาก

กล่าวเฉพาะพฤติกรรมของนักการเมืองส่วนหนึ่งที่เราชอบมองในแง่ลบกันก็เช่นกัน ผู้แทนเป็นอย่างไรก็สะท้อนไปถึงประชาชนที่เลือกมาด้วย คุณภาพของผู้แทนก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของคนเลือก เพราะความเป็นจริงเป็นดังที่พระพรหมคุณาภรณ์กล่าวไว้ว่า "คนที่เป็นนักการเมืองก็คือ บางคนในประชาชนนั้นแหละมาเป็น" คุณภาพประชาธิปไตยจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของประชาชนด้วย (หนังสือ "เบื่อการเมือง : เรื่องขุ่นใจก่อนเลือกตั้ง") แต่ครั้นจะมองหาความผิด ต่างฝ่ายต่างก็ยืนอยู่ในมุมของตัวเอง แล้วเพ่งมองหาความผิดพลาดไปที่มุมอื่นๆ ต่างคนต่างฝ่ายต่างก็มองเห็นความบกพร่องของฝ่ายอื่น จนลืมนึกถึงว่าตนอาจจะมีส่วนในความผิดพลาดอย่างไรบ้าง สะสมหรือส่งเสริมเหตุปัจจัยแห่งความผิดพลาดอะไรบ้าง เพื่อจะได้หาส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา

คนไทย โดยเฉพาะสื่อมวลชน นักการเมือง นักเคลื่อนไหว นักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ คอลัมนิสต์ นักพูด น่าจะพอกันเสียทีกับการวิพากษ์วิจารณ์ที่ขาดการหาข้อมูลที่รอบด้าน บางครั้งทำไปเพียงเพื่อสนุกสนาน มีอคติต่อกัน ซึ่งเมื่อดูแล้วไม่ต่างจากการพูดพล่อยๆ เฮฮา ขาดความรับผิดชอบในวงสุรา!

สังคมไทย ซึ่งประกอบขึ้นจากหน่วยย่อยคือราษฎรแต่ละคน จึงต้องร่วมมือกันเลิกพฤติกรรม "มองแคบ คิดใกล้ ใฝ่ต่ำ" แล้ว "มองให้กว้าง คิดให้ไกล ใฝ่ให้สูง" กลับมาพิจารณาตัวเราเองว่าจะพัฒนาตนเองได้แค่ไหน จะมีส่วนช่วยสร้างสรรค์สังคมไทยได้อย่างไรบ้าง เพื่อร่วมแรงร่วมใจกันนำพาประเทศไทยให้พ้นจากหล่ม และก้าวไปในสังคมโลกได้อย่างสง่างามเสียที

โดย... เชาวลิต บุณยภูษิต

ที่มา คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >