หน้าหลัก arrow อยู่กับปวงประชา arrow เทวศาสตร์การท่องเที่ยว (THEOLOGY OF TOURISM) : พระคุณเจ้าบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 399 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 124: เรียนรู้โลกยุคใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชีวิต จิตวิญญาณ!?
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 124


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


เทวศาสตร์การท่องเที่ยว (THEOLOGY OF TOURISM) : พระคุณเจ้าบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Wednesday, 03 February 2010

บทความจาก สังคมพัฒนา ฉบับ ผู้ไถ่ ฉบับที่ 2/2530 "นานาทัศนะ" ปีท่องเที่ยวไทย


เทวศาสตร์การท่องเที่ยว (THEOLOGY OF TOURISM)

โดย พระคุณเจ้าบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์

การเดินทางในสมัยพระคัมภีร์ (Travel in the bible)

       ดังปรากฎในสมัยพระคัมภีร์ว่า การเดินทางของประชาชนนั้นเป็นไปเพื่อเหตุผลต่างๆ ที่สำคัญ โดยเริ่มตั้งแต่ในหนังสือพระพันธสัญญาเดิม ที่มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางอยู่ดังเช่น ในครั้งที่อับราฮัมได้เดินทางไปในถิ่นที่ไม่มีผู้ใดรู้จักมาก่อน หรือการที่โมเสสนำพาชาวยิวไปยังถิ่นทุรกันดารเป็นระยะเวลานานถึง 40 ปี จนมาถึงดินแดนแห่งพระสัญญา และท้ายที่สุด คือเหตุการณ์ที่ชาวยิวได้ถูกเนรเทศไปสู่ดินแดนแห่งนครบาบิโลนนานถึง 1 ศตวรรษ แล้วจึงเดินทางกลับ
       และต่อมาในหนังสือพระพันธสัญญาใหม่ ที่พระเยซูเจ้าได้เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อการประกาศข่าวดี เช่นกันกับที่นักบุญเปาโลและศิษย์ติดตามคนอื่นๆ ในยุคแรกๆ ของพระศาสนจักรก็ได้เดินทางไปยังตะวันตกผ่านไปยังกรีกและโรม เพื่อเผยแพร่คำสั่งสอนของพระเยซูเจ้า

       นอกจากนี้แล้ว ยังมีปรากฎอีกว่าการเดินทางในพระคัมภีร์นั้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งอิสรภาพ ดังปรากฎในหนังสืออพยพที่ชนชาติยิวได้เป็นอิสระจากการตกเป็นทาสของอียิปต์ในสมัยของฟาโรห์ และในการเดินทางกลับของชนชาติยิวจากดินแดนที่ถูกเนรเทศแห่งนครบาบิโลน ดังถ้อยคำของอิสยาห์ "the mountains will be leveled and the valleys filled in"

       "จงจัดเตรียมทางไว้รับเสด็จพระเป็นเจ้าเถิด
       จงทำทางให้ตรงเพื่อพระองค์เสด็จ
       จงถมที่ลุ่มทุกแห่งให้เต็ม
       ปราบเนินเขาและภูเขาทุกแห่งให้ราบ
       ถนนไหนคดเคี้ยวต้องทำให้ตรงไป
       ทางขรุขระก็ต้องปราบให้เรียบ" ลูกา 3: 4-6

       ซึ่งหมายถึง หนทางที่พระเจ้าได้เตรียมไว้สำหรับชนชาติยิวที่เดินทางกลับมาสู่กรุงเยรูซาเล็ม และในฐานะที่เราเป็นคริสตชน เราได้เชื่อมโยงถึงการกลับมาของพระเยซูคริสตเจ้ากับการได้มาซึ่งอิสรภาพ

       ดังนั้น จึงเป็นที่ปรากฎอย่างชัดเจนว่า การเดินทางครั้งสำคัญๆ ในพระคัมภีร์นั้น เป็นการกระทำตามพระบัญชาของพระเจ้า ในอันที่จะให้เป็นไปตามแผนการของพระองค์


การเดินทางในประวัติศาสตร์ (Travel in History)

       เมื่อเรามองย้อนไปสู่ประวัติศาสตร์ของชาวเอเชียซึ่งก็ได้บอกถึงบรรพบุรุษของเรา ผู้ซึ่งเดินทางข้ามทะเลมาเพื่อสำรวจหาแผ่นดินใหม่ที่อุดมสมบูรณ์สำหรับการตั้งถิ่นฐาน
       แต่ในประวัติศาสตร์ระยะหลังๆ ต่อมานั้น การเดินทางที่เกิดขึ้นบ่อยๆ นั้นมักจะเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งชัยชนะ ซึ่งการเดินทางรูปแบบนี้ถูกประณามไปทั่วทุกหนทุกแห่ง
       ในช่วงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษ 500-1500 เป็นต้นมา เราก็ได้พบเห็นเรื่องราวของนักเดินทางทั้งในเอเชียและในตะวันตกที่ต่างก็แสวงหาความมหัศจรรย์ตื่นเต้นในการท่องเที่ยวอยู่อย่างมากมาย เช่น มาร์โคโปโล นอกจากนี้ยังมีบรรดานักเรียน นักศึกษา และพระภิกษุต่างๆ ที่ต่างก็เดินทางไปด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น เพื่อไปศึกษาหาความรู้ หรือเพื่อไปเผยแพร่ศาสนา จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือไปยังประเทศอื่นๆ ซึ่งการเรียนรู้นี้เป็นที่ประจักษ์ในความเชื่อของมนุษย์ทุกคนว่า ไม่ว่าปรัชญา เทวศาสตร์ ศิลปะ และการแพทย์นั้น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่สามารถแบ่งแยกได้
       โดยแท้จริงแล้ว ผู้ที่เป็นนักเดินทางทั้งหลายทั้งในเอเชียและในยุโรป ต่างก็เป็นผู้รักสันติ เขาได้พบกับความตื่นเต้นอย่างแท้จริงในการที่ได้ไปพบเห็นถึงวัฒนธรรมของชนชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ไปเพื่อการค้าขาย, เพื่อการเรียนรู้ หรือผู้ที่ไปเผยแพร่ศาสนาก็ตาม เขาเหล่านี้มีความเคารพในวัฒนธรรมใหม่ๆ ต่อสถานที่ที่เขาได้ไปเยือนมา ดังนั้นไม่มีใครที่จะปฏิเสธได้ว่า การเดินทางเช่นนั้นได้ช่วยให้โลกดีขึ้น ผู้ที่เดินทางในประวัติศาสตร์ (ยกเว้นผู้ที่ได้รับชัยชนะต่ออีกฝ่ายหนึ่ง) ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีพระคุณต่อโลก เพราะการเดินทางได้ช่วยให้ประชาชนได้พบกับสถานที่ที่อยู่อาศัย การเดินทางได้ช่วยแพร่ขยายความรู้ออกไป ซึ่งรวมทั้งศิลปะและความชำนาญทางด้านหัตถกรรม และที่สำคัญที่สุด การเดินทางได้ช่วยให้ประชาชนได้พบเห็นและเข้าใจว่า มนุษย์ทุกคนเป็นพี่น้องกัน เป็นครอบครัวเดียวกันในองค์พระคริสตเจ้า


การท่องเที่ยวในสมัยปัจจุบัน (Travel Today)

       สิ่งใดที่เป็นจริงในหมู่นักเดินทางในอดีต ก็ไม่เป็นจริงสำหรับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ เพราะเขาเหล่านั้นไม่ได้มาเพื่อแบ่งปันในสิ่งที่เขามี หรือเพื่อเรียนรู้จากประชาชนที่เขาได้ไปพบมา ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้เขาก็ไม่สามารถเข้าไปใกล้ชิดกับประชาชนที่เขามีโอกาสได้ไปเยือนมา โดยความเป็นจริงแล้ว เป้าหมายดังกล่าวนี้ ไม่เคยแม้แต่จะได้รับการพิจารณาตามจุดมุ่งหมายแห่งการท่องเที่ยวเลย การท่องเที่ยวที่เข้ามาแทนที่ในโลกปัจจุบันนี้ ได้เสนอแต่สิ่งที่เป็นความสนุกสนานและการพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น และเราต่างก็ทราบถึงผลที่เป็นการไปทำลายคุณค่าทางวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตอยู่ของแต่ละบุคคล

       ทิศทางและแนวทางสำหรับทางเลือกเพื่อการท่องเที่ยว (Orientation and Guidelines for Alternative Tourism)
ดังจะเห็นว่า มนุษย์เรามีความสัมพันธ์กับธรรมชาติในโลกนี้ และทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มาจากพระเจ้า เพื่อความดีงามของมนุษย์ทั้งชายและหญิง
       เช่นกันกับที่เรามีวัฒนธรรม มีความรู้ความชำนาญ มีโบราณวัตถุที่มีชื่อเสียงในสมัยต่างๆ อยู่รวมไปถึงสิ่งที่บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของชาติต่างๆ ไว้ ไม่ว่าจะเป็นรำไทย, เพลงอินเดีย, ศาสนาพุทธ หรือวิธีการรักษาโรคโดยวิธีการฝังเข็มของชาวจีน ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีชื่อเสียงที่เราทุกคนมีอยู่ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ถ้าเราสามารถเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของนักเดินทางที่เป็นผู้สืบทอดมรดกต่างๆ เหล่านี้ให้แก่เรา เราก็จะต้องทำหน้าที่ๆ จะต้องแบ่งปันให้กับผู้อื่นด้วยจิตสำนึกแห่งการสืบทอด และในฐานะที่เราเป็นชาวเอเชีย สิ่งที่เราพอจะแบ่งปันกันได้ก็คือคุณค่าทางศาสนา และคุณค่าทางจิตใจที่เรามีอยู่ ด้วยสำนึกแห่งการเข้าใจดีและการเปิดใจกว้างยอมรับต่อชีวิตด้วยความเต็มใจ มันเป็นการดีที่จะเตือนตัวเราเองว่า เราควรที่จะเปิดตัวเราในการเรียนรู้จากผู้อื่น มนุษย์ทุกคนมีหลายสิ่งหลายอย่างที่พร้อมที่จะสอนและแบ่งปันให้กับเรา เช่นกันกับที่พระเยซูคริสตเจ้าที่ได้มองเห็นว่าโลกเป็นหนึ่งเดียว และมนุษย์ทั้งชายและหญิงต่างเป็นครอบครัวเดียวกัน ซึ่งก็เช่นเดียวกับที่นักเดินทางในอดีตมิได้มาเป็นธุระในเรื่องของเขตแดน และไม่มีความรู้สึกว่าตนเองมีอำนาจเหนือคนอื่น อันเป็นสิ่งที่ช่วยให้เขาได้พบกับคุณธรรมในถิ่นที่ๆ เขาได้ไปพบปะมา
       อนึ่งรูปแบบของการเดินทางที่มีวัตถุประสงค์เพื่อได้มาซึ่งชัยชนะ เพื่อการขูดรีดหรือเพื่อแสวงหาผู้หญิงในราคาถูก รูปแบบการเดินทางเช่นนี้ไม่มีสิทธิที่จะดำรงอยู่ประเทศใดก็ตามที่ให้ความสนับสนุนส่งเสริมต่อการกระทำเช่นนี้ ก็เท่ากับว่าเป็นการทรยศต่อประชาชนในประเทศนั้น


บทสรุป

       เราคงต้องพยายามทบทวนถึงความหมายแห่งการเดินทางในอดีต ทั้งในพระคัมภีร์และในประวัติศาสตร์ ที่นักเดินทางรุ่นเก่าได้ปฏิบัติมาด้วยวิธีการอันชาญฉลาด ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนารูปแบบของการท่องเที่ยวไปอย่างมากมาย โดยที่มิได้ยึดถือรูปแบบของการท่องเที่ยวในอดีต จึงเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นอย่างมากมาย เกิดการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน มีการใช้อำนาจบังคับขูดรีดโดยคนกลุ่มหนึ่งไปยังคนอีกกลุ่มหนึ่งอย่างขาดสำนึก
       และเมื่อใดก็ตามที่เราสามารถเข้าใจอย่างลึกซึ้งอีกครั้งถึงความมุ่งหมายแห่งการท่องเที่ยวที่เป็นคุณค่าที่ดีงามในอดีต เมื่อนั้น เราจะพบรูปแบบที่เป็นทางเลือกใหม่ของการท่องเที่ยวที่ต่างฝ่ายต่างมีการปฏิบัติซึ่งกันและกันอย่างเสมอภาคบนพื้นฐานของความเคารพต่อกัน เหมือนกับคำกล่าวที่กล่าวกับประชาชนในสมัยปฐมกาลว่า "จงยอมต่อโลก" ซึ่งไม่ใช่เป็นการยอมต่อคนอื่น แต่หลักการที่สำคัญที่สุดคือ เราเป็นพี่น้องกันและมีพระบิดาเจ้าองค์เดียวกัน

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >