หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow เลือกอย่างฉลาด : พระวิชิต ธมฺมชิโต
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1119 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

เลือกอย่างฉลาด : พระวิชิต ธมฺมชิโต พิมพ์
Wednesday, 23 September 2009

เลือกอย่างฉลาด

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 21 มิถุนายน 2552

หลายท่านอาจรู้สึกว่าทุกวันนี้ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัยไหน ฐานะใด หรือทำงานอะไร ดูเหมือนว่ามีอะไรมากมายให้เราต้องเลือกอยู่ตลอดเวลา

ตั้งแต่เช้าเราต้องเลือกว่าจะใส่ชุดไหนไปทำงาน กินข้าวกับอะไร เดินทางโดยเส้นทางไหน ฟังข่าวสถานีไหน แล้วก็ตัดสินใจไปอีกทั้งวัน จนตกค่ำก็ต้องตัดสินใจเลือกจะดูโทรทัศน์รายการไหน ถึงเวลาจะนอนบางคนยังต้องเลือกว่า วันนี้จะใช้เครื่องสำอางชุดไหนบำรุงผิวดี

การมีโอกาสได้เลือก ได้ตัดสินใจถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เป็นเสรีภาพ เป็นความอิสระที่คนในยุคนี้ภาคภูมิใจ เพราะรู้สึกว่ามีอิสระเต็มที่ในการเลือกใช้ชีวิตของตนเอง

แต่ด้วยความซับซ้อนและมายาของโลกทุกวันนี้ สิ่งที่เราคิดว่าได้เลือกอย่างเต็มที่นั้น เมื่อมองในภาพรวมแล้วกลับเป็นเพียงส่วนเสี้ยวเล็กๆ ท่ามกลางความหลากหลายอีกมากมายที่เราอาจไม่เคยแม้กระทั่งคิดว่าจะยังมีทางเลือกแบบนั้นอยู่ด้วย

การไม่มีโอกาสได้เลือกของเราครอบคลุมตั้งแต่เรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ เช่น อาหารการกินที่ทุกวันนี้เราต้องกินผัก กินเนื้อสัตว์กันอยู่เพียงไม่กี่ชนิด ในขณะที่พืชผักแมลงและอาหารพื้นบ้านมีอีกมากมายที่อร่อยและมีคุณค่าทางอาหารสูง แต่เราไม่มีโอกาสได้ลิ้มลอง

รายการโทรทัศน์ปัจจุบันที่มีมากมายหลายช่องตลอด 24 ชั่วโมง แต่รายการในแต่ละช่องนั้นกลับแทบจะไม่มีความแตกต่างกันในเนื้อหาสาระเลย

ห้างสรรพสินค้าก็เช่นกันถึงแม้จะมีอยู่แทบทุกมุมถนน ไม่ว่าขนาดใหญ่โตแค่ไหนก็ตาม แต่แทบจะไม่มีสินค้าหรือบริการใดๆ ที่แตกต่างกันเลย

และด้วยความเคยชินกับพฤติกรรมที่ "คิดว่าตนได้เลือกแล้ว" เมื่อมีโอกาสให้เลือกได้จริงๆ หลายคนกลับไม่กล้าเลือกไม่กล้าลองในสิ่งแปลกใหม่

เราเลือกที่จะไม่ชิมอาหารพื้นบ้านแปลกๆ เช่นเดียวกับที่เราไม่เลือกที่จะใช้วิธีการพักผ่อนแบบอื่นที่นอกเหนือไปจากการนอนดูโทรทัศน์ และก็ไม่เคยคิดถึงการไปเลือกหาซื้อของที่อื่นนอกจากในห้างใหญ่ๆ เหล่านั้น

หลายๆ ครั้ง เราเลือกที่จะไม่เลือก โดยปล่อยให้คนอื่นมาช่วยเลือกแทน แม้เรื่องที่สำคัญที่สุดในชีวิตอย่างเช่นการตายของเรา เราเลือกที่จะไม่พูดถึง ไม่บอกความตั้งใจของเราให้ญาติได้รู้ชัดๆ แต่ปล่อยให้เป็นเรื่องของหมอของพยาบาลให้มาเลือกแทนเราทั้งหมด

มายาภาพที่ทำให้ ‘คิดว่าตนได้เลือก' ถือเป็นการลิดรอนสิทธิอย่างหนึ่ง และได้พัฒนาตนให้มีความแยบยลจนเราจับแทบไม่ได้

แต่เดิมการจำกัดสิทธิยังไม่ได้พัฒนาให้แนบเนียนมากนัก เราจึงมีการตั้งกฎระเบียบข้อห้ามให้ถือบังคับกันอย่างเคร่งครัด ผู้ที่ฝ่าฝืนก็มีบทลงโทษกันตรงๆ ให้หลาบจำ

แต่ทุกวันนี้วิธีการลิดรอนสิทธิทำได้อย่างแนบเนียนจนผู้ถูกลิดรอนสิทธิไม่รู้ตัว มิหนำซ้ำยังทำให้คนจำนวนมากวิ่งเข้าไปอยู่ภายใต้กรอบการจำกัดสิทธินั้นด้วยความยินดี

ในด้านการลงโทษผู้ที่ละเมิดกรอบที่จำกัดไว้ก็พัฒนาไปมาก ไม่มีการใช้กำลังบังคับ กักขัง หรือใช้ความรุนแรงให้รู้สึกระคายเคือง แต่กลับซุ่มออกฤทธิ์อยู่ในจิตใจลึกๆ คอยเตือนว่าเราได้เดินห้างที่เปิดใหม่หรือยัง มีเสื้อตามแฟชั่นที่มาใหม่หรือยัง ทำให้เรารู้สึกอยากอยู่ตลอดเวลา

สำหรับใครที่คิดว่าจะแหกวงล้อมนี้ไปสู่เสรีภาพ ต้องการสวยอย่างเป็นตัวของตัวเอง หรือจะสวยภายในอย่างเบญจกัลยาณี เธอก็จะถูกลงโทษแบบนิ่มๆ แต่บาดลึกไปถึงภายใน

เริ่มตั้งแต่ส่งผ่านคำพูดที่เต็มไปด้วยความปรารถนาดีของเพื่อนฝูงหรือคนที่เธอรักและศรัทธาผ่านคำว่า ไม่สวย ไม่ดี เชย โบราณ หรือสุดโต่ง จนถึงอาจไม่อยากเดินด้วย เพื่อนชายก็เริ่มไม่อยากมองหรือเลิกคบไป

ภายใต้สังคมที่สร้างมายาภาพแห่งความจริงให้ดูเหมือนว่าเราได้เลือกอย่างหลากหลาย พร้อมทั้งมีกลไกป้องกันการแหวกวงล้อมที่ดูนุ่มนวลแนบเนียนนี้ ยากนักที่ใครจะท้าทายออกไปได้

หากมองในฐานะชาวพุทธที่ผู้สนใจศึกษาและปฏิบัติ ต้องบอกว่านี่คือรูปแบบการปรับตัวของกิเลสไปอีกขั้นหนึ่งที่ควรต้องรู้เท่าทัน

เราคงต้องพยายามมองให้ออกว่าการเลือกและทางเลือกต่างๆ ที่มีในสังคมนั้น มันมีอยู่แค่นั้นจริงๆ หรือเปล่า หรือถูกสร้างขึ้นมาอย่างแยบยล เพื่อผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มเท่านั้น

การมีชีวิตที่อิสระในโลกแห่งเสรีทุกวันนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย คงต้องหมั่นหยิบอาวุธคือปัญญามาใช้คิดพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ในสังคมนี้ให้มากขึ้น ไม่เช่นนั้นคงไม่เท่าทันกับความก้าวหน้าและความแยบยลของกิเลส

อย่างไรก็ตามการใช้ชีวิตที่อิสระมากขึ้นในแนวพุทธ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นคนขวางโลก ต่อต้านสังคม หรือต้องอยู่อย่างสมถะแบบพระเท่านั้น

หัวใจของการใช้ชีวิตแนวพุทธน่าจะเป็นการอยู่อย่างรู้เท่าทัน เข้าใจความเป็นไปของสังคม ซึ่งจะทำให้เราไม่จมอยู่ในกระแสของการกินการใช้ เพื่อความสบายกายสบายใจ มีหน้ามีตาในสังคมไปวันๆ

การเลือกกินเลือกใช้เลือกปฏิบัติของชาวพุทธ จึงควรเป็นการเลือกที่ไม่ขัดแย้งกับหลักพื้นฐานในการพัฒนาตน กล่าวคือไม่เลือกสิ่งที่จะทำให้ศีลต้องด่างพร้อย และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติสมาธิ เจริญปัญญา

เราอาจไม่จำเป็นต้องเลือกในสิ่งที่แตกต่าง แต่เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการเลือกนั้นควรต้องแตกต่าง

โดย... พระวิชิต ธมฺมชิโต

ที่มา คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >