หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow มือสมัครเล่นก็เป็นเลิศได้ : รินใจ
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 94 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

มือสมัครเล่นก็เป็นเลิศได้ : รินใจ พิมพ์
Wednesday, 30 September 2009

มือสมัครเล่นก็เป็นเลิศได้

ริมธาร ฉบับเดือน มิถุนายน 2552

เขาเป็นนักธุรกิจชาวอเมริกันที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วจากนิตยสารการลงทุน ซึ่งเขาเองเป็นทั้งเจ้าของและบรรณาธิการ เพียงไม่กี่ปีนิตยสารรายเดือนดังกล่าวทำกำไรให้เขานับล้านเหรียญ และสร้างชื่อเสียงให้แก่เขาจนสามารถกระทบไหล่บรรดารัฐมนตรีคลังและนายธนาคาร ระหว่างประเทศได้อย่างสบาย

เขาชอบฟังเพลงคลาสสิค ยิ่งผลงานของมาห์เลอร์ (Mahler) ด้วยแล้ว เขาถึงกับหลงใหลเลยทีเดียว เพียงแค่ได้ฟังซิมโฟนีหมายเลข ๒ ของเขาเป็นครั้งแรกจากการแสดงสด เขาถึงกับลืมไม่ลง เขาเคยลางาน ๑๘ เดือนเพื่อศึกษาดนตรีของมาห์เลอร์โดยเฉพาะ เขาเดินทางไปสนทนากับทุกคนที่ได้ชื่อว่าเชี่ยวชาญผลงานของวาทยกรและนักแต่ง เพลงชาวออสเตรียผู้นี้ ความดื่มด่ำซาบซึ้งในดนตรีของมาห์เลอร์ทำให้เขาถึงกับคว้าไม้ของวาทยกรมานำ จังหวะดนตรีเสียเอง แล้วเขาก็ได้ "แจ้งเกิด" เมื่อหาญกล้ามาเป็นวาทยกรให้กับวงอเมริกันซิมโฟนีออเคสตราที่ลินคอล์นเซน เตอร์ ท่ามกลางสายตาของนักการเมืองและนักการเงินที่มาประชุมสุดยอดของกองทุนการ เงินระหว่างประเทศ (IMF) เมื่อ ๒๗ ปีที่แล้ว

นับแต่วันนั้น ชีวิตของกิลเบิร์ต คาแปลน (Gilbert Kaplan) ก็เปลี่ยนไป เขากลายเป็นวาทยกรที่โดดเด่นในวงการเพลงคลาสสิคระดับโลก ทั้งๆ ที่เขาไม่เคยเรียนหรือฝึกฝนทักษะด้านนี้อย่างเป็นระบบมาก่อนเลย แต่เป็นที่ยอมรับกันว่าหากเป็นซิมโฟนีหมายเลข ๒ ของมาห์เลอร์แล้ว ไม่มีใครที่เป็นวาทยกรได้ดีหรือเด่นเท่าเขา จะว่าไปเขาแทบไม่เคยกำกับเพลงไหนนอกจากซิมโฟนีหมายเลข ๒ ของมาห์เลอร์เลย แต่เท่านี้ก็เพียงพอแล้วที่ทำให้เขากลายเป็นดาวเด่นในวงการ เพราะงานชั้นครูซึ่งยาวถึง ๙๐ นาทีชิ้นนี้ถือกันว่าเป็นงานที่เล่นยากที่สุด วาทยากรที่มีชื่อเสียงหลายคนต้องยอมแพ้ให้กับซิมโฟนี้ชิ้นนี้ ส่วนนักดนตรีที่เจนจัดบางคนก็ไม่อาจเล่นให้ถูกจังหวะได้ในบางช่วงของเพลง

แผ่นเสียงบันทึกซิมโฟนีหมายเลข ๒ ของมาห์เลอร์ภายใต้การกำกับของเขา ได้รับการคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในแผ่นเสียงโดดเด่นแห่งปี รวมทั้งติดอันดับเพลงคลาสสิคขายดีที่สุดในสหรัฐและอังกฤษ แม้แต่ผลงานของเลนนาร์ด เบิร์นสไตน์ (Leonard Bernstein) วาทยกรชื่อก้องโลกก็ยังต้องเป็นรอง ว่าจำเพาะเพลงของมาห์เลอร์แล้ว ไม่มีเพลงใดที่ขายดีเท่ากับเพลงซิมโฟนีหมายเลข ๒ ที่มีเขาเป็นวาทยกร

กิลเบิร์ต คาแปลน ถือว่าเป็น "มือสมัครเล่น" ของวงการเพลงคลาสิค เพราะเขาไม่ได้ร่ำเรียนมาทางนี้หรือเป็นวาทยกรโดยอาชีพ แต่ปัจจุบันเขากลายเป็นผู้รู้อันดับต้นๆ ด้านซิมโฟนีหมายเลข ๒ ของมาห์เลอร์ ที่วาทยกรมืออาชีพจำนวนมากต้องมาปรึกษาหรือขอความรู้จากเขา รวมทั้งเงี่ยหูฟังความเห็นของเขาที่มีมุมมองใหม่ๆ อยู่เสมอ เขายังได้รับเชิญไปสอนให้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำ เช่น ฮาร์วาร์ด ออกซฟอร์ด และสถาบันด้านคีตศิลป์ระดับโลกอีกมากมาย นอกจากนั้นยังมีงานเขียนของเขาอีกมากมายตามนิตยสารชั้นนำ

มักมีความเข้าใจกันว่า วงการเพลงคลาสสิคนั้นเป็นของ "มืออาชีพ"เท่านั้น แต่กิลเบิร์ต คาแปลน ได้แสดงให้เห็นว่า แม้แต่ "มือสมัครเล่น" ก็มีความสามารถไม่น้อยหน้า "มืออาชีพ" และอาจทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ ความสามารถของคนเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริญญาหรือสถาบันที่เรียนจบ หากอยู่ที่การฝึกฝนด้วยความมุ่งมั่นและมีฉันทะหรือใจรักต่างหาก

มองในแง่นี้ กิลเบิร์ต คาแปลนจึงเป็นเรื่องราวของมือสมัครเล่นที่หาญกล้ามาท้าทายมืออาชีพ ด้วยการเสนอการตีความใหม่ๆ เกี่ยวกับเพลงของมาห์เลอร์ โดยมีความรู้ที่สั่งสมจากการศึกษาวิจัยอย่างหนัก(ในยามว่างจากงานอาชีพ)มา เป็นตัวรองรับ

อันที่จริง มิใช่แต่วงการเพลงคลาสิคเท่านั้น ในวงการอื่น ๆ ก็มีมือสมัครเล่นที่กล้าท้าทายมืออาชีพ และสามารถก่อผลกระทบอย่างมากไปทั่ววงการ ชนิดที่มืออาชีพรุ่นหลังๆ ก็ต้องหันมาเรียนรู้และอาศัยผลงานดังกล่าวเป็นฐานในการสร้างองค์ความรู้ต่อ ไป

เจน จาคอบส์ (Jane Jacobs) เป็นคนหนึ่งที่น่ากล่าวถึง แม้เธอเป็นนักเขียนและบรรณาธิการนิตยสารทางด้านสถาปัตยกรรม แต่เธอมิใช่สถาปนิก มิหนำซ้ำยังเรียนไม่จบมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ แต่เมื่อหนังสือของเธอเรื่อง "ความตายและชีวิตของเมืองใหญ่ในอเมริกา" (The Death and Life of Great American Cities) ตีพิมพ์เมื่อปี ๑๙๖๑ วงการสถาปัตยกรรมและการวางผังเมืองในสหรัฐอเมริกาก็สั่นสะเทือนไปทั้งประเทศ และทำให้ทิศทางการพัฒนาเมืองในอเมริกาเปลี่ยนแปลงไป

หนังสือเล่มนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนังสือว่าด้วยการวางผังเมืองที่ ทรงอิทธิพลที่สุดเท่าที่เคยเขียนโดยชาวอเมริกัน เป็นหนังสือที่ได้รับการอ่านอย่างแพร่หลายทั้งโดยคนทั่วไปและมืออาชีพด้าน ผังเมืองและสถาปัตยกรรม ทั้งๆ ที่เธอเป็น "มือสมัครเล่น"ของวงการ แต่เธอวิพากษ์วิจารณ์การวางผังเมืองสมัยใหม่ได้อย่างเผ็ดร้อนและแหลมคม ความเห็นของเธอสวนทางกับแนวคิดกระแสหลักเวลานั้นที่เน้นการแบ่งเมืองเป็น ส่วนๆ เช่น เขตที่อยู่อาศัย เขตที่ทำงาน เขตโรงงาน โดยมีทางด่วนเป็นตัวเชื่อม มีการสร้างตึกสูง เปิดพื้นดินให้โล่ง หรือทำเป็นสนามหญ้า ซึ่งหมายถึงการรื้อทำลายย่านใจกลางเมืองเก่า เพราะมองว่าไร้ระเบียบและสกปรก

เธอชี้ให้เห็นว่าการวางผังเมืองแบบนั้นทำลายเครือข่ายความสัมพันธ์ของผู้คน ทำให้เมืองขาดความหลากหลายและความมีชีวิตชีวา และทำให้ถนนกลายเป็นของรถยนต์ ตรงข้ามกับเมืองอย่างเก่าที่ถนนไม่เพียงเป็นทางสัญจรของผู้คนเท่านั้น หากยังเป็นที่ว่างให้เด็กเล่นอย่างสนุกสนาน ส่วนผู้ใหญ่ก็ออกมานั่งเล่นหน้าบ้าน ทักทายเพื่อนบ้าน หรือทำกิจกรรมร่วมกันอยู่ริมถนน

สิ่งที่เธอเน้นย้ำก็คือเมืองมิได้หมายถึงอาคารและถนนเท่านั้น แต่ได้แก่ความมีชีวิตชีวาของผู้คนและความสัมพันธ์ฉันมิตรในละแวกหรือชุมชน เดียวกัน หนังสือของเธอกระทบใจคนอ่านเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็ทำให้นักวางผังเมืองได้คิดขึ้นมา เพราะนอกจากแนวคิดของเธอจะแหลมคมแล้ว แต่ยังอุดมด้วยข้อมูลจากระดับ "รากหญ้า" หรือผู้คนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการพัฒนาเมืองแบบใหม่ ผลก็คือนโยบายการพัฒนาเมืองในอเมริกาได้เปลี่ยนไป การทำลายย่านเก่าๆ ของเมือง ต้องชะงักหรือเพลาลง การสร้างทางด่วนผ่านเมืองไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไป การวางผังเมืองมิได้แบ่งโซนอย่างเคร่งครัดเหมือนก่อน แต่มีความยืดหยุ่น และอนุญาตให้มีกิจกรรมใช้สอยที่หลากหลายขึ้น

แม้ไม่ใช่นักวางผังเมืองหรือสถาปนิก แต่มือสมัครเล่นอย่างเจน จาคอบส์ก็สามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนจนถึงกับโค่นทฤษฎีผังเมืองของมืออาชีพใน วงการได้ ผ่านมา ๔๐ ปีแล้ว หนังสือเล่มนี้ของเธอก็ยังมีอิทธิพลอยู่ หลายมหาวิทยาลัยกำหนดให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มแรกสำหรับคนที่เรียน ผังเมืองในอเมริกาต้องอ่าน อย่างน้อยก็เพื่อเข้าใจเมืองในฐานะของผู้อาศัย ไม่ใช่มุมมองของนักออกแบบที่นึกฝันแต่การสร้างผลงานที่สวยแหวกแนว แต่ไม่สัมพันธ์กับชีวิตของผู้คน

ทั้งกิลเบิร์ต คาแปลน และเจน จาคอบส์ เป็นตัวอย่างที่ชี้ว่าเราทุกคนมีศักยภาพในทางสติปัญญามิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน หากมีความพากเพียรพยายาม ที่ขับเคลื่อนด้วยใจรักหรือความมุ่งมั่น ก็สามารถพัฒนาสติปัญญาให้เจริญงอกงามจนรุดหน้าเท่าทันผู้อื่น หรือก่อผลกระทบที่กว้างไกลได้ โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นมืออาชีพหรือมีปริญญารองรับเท่านั้นจึงจะเป็นเลิศได้ แม้เป็นมือสมัครเล่นก็สามารถทัดเทียมหรือเป็นหนึ่งได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้นหากคุณเป็นมือสมัครเล่นก็อย่าคิดว่าตัวเองนั้นด้อยกว่ามืออาชีพหรือ ผู้รู้ทั้งหลายเสมอไป ใช่หรือไม่ว่า "แฟนพันธุ์แท้" ที่ชนะเลิศเกือบทั้งหมดเป็นมือสมัครเล่นในแวดวงที่ตัวเองรู้จริง

ในอีกด้านหนึ่งโดยเฉพาะกรณีอย่างเจน จาคอบส์ได้แสดงให้เห็นว่าแม้เป็นมืออาชีพหรือ "ผู้เชี่ยวชาญ" ก็มีสิทธิผิดพลาดได้ การเชื่อมืออาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญ โดยไม่ตั้งคำถามเลย ย่อมอาจก่อผลเสียได้ ชนิดที่พากันลงเหวลงคูได้หมด จะว่าไปแล้ว วิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกก็เป็นผลมาจากความผิดพลาดของมืออาชีพ และผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและเศรษฐกิจทั้งนั้น อาทิ ตราสาร เช่น หุ้นกู้ หรืออนุพันธ์ ที่กลายเป็น "ขยะ" และทำให้เงินลงทุนมหาศาลต้องสูญเปล่า ส่งผลให้ธุรกิจจำนวนมากรวมทั้งสถาบันการเงินชั้นนำหลายแห่งต้องปิดกิจการ หรือเกิดวิกฤตการเงินขึ้นมา ใช่หรือไม่ว่าตราสารเหล่านี้ก็เคยได้รับการรับรองว่ามีความน่าเชื่อถือสูง จากบริษัทจัดอันดับชั้นนำทั้งหลาย ใช่แต่เท่านั้นสถาบันการเงินที่ปิดกิจการและประสบภาวะวิกฤตตอนนั้นก็ล้วน บริหารโดยมืออาชีพที่มีชื่อเสียงระดับโลกทั้งนั้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญนับไม่ถ้วนทำงานให้หรือเป็นที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด

"สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง" ฉันใดก็ฉันนั้น ความเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้ จึงมิใช่หลักประกันแห่งความถูกต้องเสมอไป แล้วอะไรล่ะที่จะเป็นเครื่องบ่งบอกว่าสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้บอกนั้น เป็นความจริงหรือถูกต้อง คำตอบคือไม่รู้ แต่ถ้าถามตรงกันข้ามว่า มีเครื่องบ่งชี้บ้างไหมว่าสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้รู้พูดนั้นอาจผิดพลาด ได้ คำตอบคือ "พอจะมี"

เมื่อสี่ปีที่แล้วฟิลิป เท็ทล็อค (Philip Tetlock) นักจิตวิทยาในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้ทำการศึกษาคำทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ รวม ๘๒,๓๖๑ ครั้งโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน ๒๘๔ คน เพื่อหาตัวชี้วัดว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้คำทำนายนั้นถูกต้องหรือผิดพลาด เขาไม่พบว่าความแม่นยำของคำทำนายนั้นเกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านี้เลย คือ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ อุดมการณ์ทางการเมือง หรือการเข้าถึงแหล่งข้อมูล ของผู้เชี่ยวชาญ แต่ข้อสรุปที่น่าสนใจก็คือ เมื่อมองย้อนหลัง เขาพบว่า ตัวชี้วัดที่ดีที่สุดที่บอกได้ว่าผู้เชี่ยวชาญนั้นๆ มีสิทธิผิดมากกว่าถูก นั่นคือ "ชื่อเสียง" หรือความเด่นดัง สื่อชอบไปสัมภาษณ์หรือเชิญคนไหนมาออกรายการมากเท่าไร คำทำนายของคนนั้นมักจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงมากเท่านั้น

ฟิลิป เท็ทล็อค อธิบายว่า สื่อมวลชนมักนิยมผู้เชี่ยวชาญที่มีความมั่นใจในตนเอง พูดมีพลังยืนยันความเห็น และชอบ "ฟันธง" ผู้เชี่ยวชาญประเภทนี้มีวิธีการพูดที่ดึงดูดผู้คนและทำให้รายการของสื่อได้ รับความสนใจจากผู้ชม แต่ข้อเสียของผู้เชี่ยวชาญประเภทนี้คือมักจะมองด้านเดียว ไม่ค่อยยอมรับข้อมูลที่แย้งกับความรับรู้ของตน สนใจแต่หลักฐานที่สนับสนุนความเห็นของตน จึงมีแนวโน้มที่จะมองสถานการณ์ไม่รอบด้าน ดังนั้นคำทำนายของเขาจึงมีโอกาสผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้มาก

อันที่จริงมิใช่แต่สื่อเท่านั้นที่ชอบคนซึ่งมั่นใจในความคิดของตนและกล้า ฟันธง คนทั่วไปก็นิยมบุคคลประเภทนี้ด้วยเช่นกัน นอกจากเงี่ยหูฟังแล้วยังมักยกให้เป็นผู้นำด้วย เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการเปิดเผยงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำซึ่งมีข้อสรุปสอดคล้องกับงาน ศึกษาข้างต้น คาเมรอน แอนเดอร์สัน (Cameron Anderson) และเกวิน คิลดัฟฟ์ (Gavin Kilduff) ได้แบ่งอาสาสมัคร ๖๘ คนออกเป็นกลุ่มๆ ละ ๔ คน โดยมอบหมายให้ทำกิจกรรมร่วมกันในกลุ่ม จากนั้นก็ให้ทุกคนให้คะแนนเพื่อนในกลุ่มตามบุคลิกลักษณะ ในเวลาเดียวกันก็มีกรรมการอิสระที่เฝ้าสังเกตพฤติกรรมของแต่ละคน และให้คะแนนตามบุคลิกลักษณะด้วยเช่นกัน ผลปรากฏว่าทั้งสมาชิกในกลุ่มและกรรมการมีความเห็นตรงกัน กล่าวคือให้คนที่กล้าพูดและชอบแสดงความเห็นในกลุ่ม ได้คะแนนด้าน "สติปัญญา" มากกว่าคนอื่น

รอบต่อมาเขาให้ทุกกลุ่มแก้โจทย์คณิตศาสตร์ เมื่อทำงานเสร็จก็มีการให้คะแนนสมาชิกในกลุ่ม ผลที่ออกมาคล้ายกับรอบแรก คือคนที่ชอบตอบหรือแสดงความเห็นมากกว่าคนอื่น ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นผู้นำกลุ่มและมักจะถูกมองว่าเก่งทางคณิตศาสตร์ ด้วย แต่เมื่อมีการตรวจคำตอบที่ได้ ก็พบว่าคนที่ได้คะแนนสูงสุดหาใช่คนที่ตอบถูกมากที่สุดไม่ เขายังพบอีกว่า ร้อยละ ๙๔ ของคำตอบที่ได้เป็นคำตอบที่มาจากคนแรกที่แสดงความเห็นในกลุ่ม

การทดลองดังกล่าวชี้ว่าคนที่มั่นใจในความคิด กล้าพูดและแสดงความเห็นก่อนใคร มักได้รับการนับถือว่าเป็นผู้นำและเป็นคนฉลาด ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงความเห็นของเขาไม่ได้ถูกต้องหรือดีกว่าคนอื่นเลย ข้อสรุปดังกล่าวน่าเป็นข้อเตือนใจอย่างดีว่า อย่าเชื่อ "ผู้นำ" โดยไม่ตั้งคำถาม และอย่าคิดว่าคนที่เชื่อมั่นตนเอง คิดเร็วพูดเร็ว วาจาฉาดฉาน เป็นคนเก่งหรือผู้รู้เสมอไป สติปัญญาของเขาอาจไม่แตกต่างจากเราซึ่งเป็น "ผู้ตาม"เลยก็ได้

ไม่ว่า ผู้นำ ผู้รู้ หรือผู้เชี่ยวชาญ จะพูดอย่างไร เราฟังไว้ก่อนเป็นดีที่สุด แต่อย่าเพิ่งเชื่อตาม ควรไตร่ตรองด้วยตนเอง ในกาลามสูตร มีข้อเตือนใจจากพระพุทธเจ้าในทำนองเดียวกันว่า "อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์..(หรือ)เพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของ เรา"

แม้คุณจะเป็น มือสมัครเล่น คุณก็สามารถเก่งได้ไม่แพ้ มืออาชีพ และแม้คุณจะเป็น "ชาวบ้าน" ความเห็นของคุณก็อาจเหนือกว่าของผู้เชี่ยวชาญ ในทำนองเดียวกันคนที่พูดน้อย ไม่รวบรัดฟันธง แสดงความเห็นช้า อาจมีความคิดที่ดีกว่าคนที่พูดจาองอาจ เสียงดังฟังชัด มั่นใจในตนเอง และคิดได้รวดเร็ว

ถึงที่สุดแล้วภาพลักษณ์ไม่สำคัญเท่ากับเนื้อหา สถานภาพ ปริญญา หรือความเด่นดังไม่สำคัญเท่ากับสติปัญญาและความสามารถภายใน

โดย... รินใจ

ที่มา คอลัมน์ ชวนสังคมคิด : http://www.budnet.org/

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >