หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow เสวนา ก้าวผ่านความรุนแรงด้วยศาสนธรรม (ตอนที่ 1) โดย อ.ประมวล เพ็งจันทร์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 84 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

เสวนา ก้าวผ่านความรุนแรงด้วยศาสนธรรม (ตอนที่ 1) โดย อ.ประมวล เพ็งจันทร์ พิมพ์
Friday, 10 October 2008
-ตอนที่ 1-

เสวนา ก้าวผ่านความรุนแรงด้วยศาสนธรรม

วันที่ 27 สิงหาคม 2551
ณ ห้องประชุมชั้น 10 อาคารสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย

Imageเนื่องจากสถานการณ์สังคมไทยในปัจจุบันที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งและความเกลียดชัง จนถึงขั้นทำร้ายร่างกายกันจนได้รับบาดเจ็บ และมีผู้เสียชีวิตไปแล้วนั้น เพียงเพราะมีความคิดเห็นทางการเมืองที่ไม่ตรงกัน ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผลในการกล่าวหากัน จนเกิดความแตกแยกขึ้นในสังคมไทย จากที่เคยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข สงบร่มเย็น ผู้คนมีจิตใจเมตตากรุณาต่อกัน แต่ปัจจุบันประชาชนอยู่ท่ามกลางความเกลียดชังและใช้อคติทำร้ายกัน โดยไม่จำเป็นต้องมีเรื่องโกรธแค้นเป็นการส่วนตัว เพียงแต่เห็นว่าอยู่คนละฝ่าย ก็ถือว่ามิใช่มิตรกัน ซึ่งเป็นการปลูกฝังความรู้สึกเกลียดชังให้เกิดขึ้นในจิตใจ ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น

จากเหตุผลดังกล่าว คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) จึงได้จัดเสวนาหัวข้อ "ก้าวผ่านความรุนแรงด้วยศาสนธรรม" เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม ชั้น 10 อาคารสภาพระสังฆราชฯ เพื่อให้ทุกคนหันมาหยุดคิดและพิจารณาสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยใจที่สงบ เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยใช้หลักศาสนธรรมในการยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อเป็นการยุติความขัดแย้งและสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังทั้งสิ้น 52 คน จากคณะนักบวชชาย-หญิง เจ้าหน้าที่หน่วยงานในพระศาสนจักรคาทอลิก และโรงเรียนคาทอลิก

วิทยากรโดย อ.ประมวล เพ็งจันทร์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ใช้เวลา 66 วัน กับการเดินทางกว่า 1,000 กิโลเมตร เพื่อเดินทางจากเชียงใหม่สู่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี อันเป็นบ้านเกิด และเป็นผู้เขียนหนังสือ "เดินสู่อิสรภาพ"


-------------------------------------------------------------------------------------


ชีวิตที่ผ่านความรุนแรง
 

ความรุนแรงที่ยังคงฝั่งอยู่ในใจ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2514 อายุประมาณ 16-17 ปี ขณะทำงานเป็นกรรมกรรับจ้างอยู่ที่ อ.บ้านนา จ.สุราษฎร์ธานี ปีนั้นครูโกมล คีมทอง ถูกฆ่าตาย ที่ อ.บ้านส้อง จ.สุราษฎร์ธานี  และมีการปราบปรามผู้ก่อการร้ายโดยกองกำลังของฝ่ายราชการ  ซึ่งผมเป็นกรรมกรอยู่ในเขตพื้นที่สีแดง  ภาพที่ยังอยู่ในความทรงจำจนถึงทุกวันนี้ คือ เมื่อมีการปราบปราม เพื่อนผมจำนวนหนึ่งได้จบชีวิตลง เลือดที่ผมเห็น ชีวิตที่จบลง เป็นความเจ็บปวดที่ไม่รู้จะใช้คำใดๆ บอกเล่าได้มากไปกว่าเป็นความกลัว แม้ขณะนั้นอายุเพียง 17 ปี แต่ได้ผ่านการใช้ชีวิตและรับผิดชอบชีวิตมา ทำให้รู้สึกว่าการใช้ชีวิตที่มีอยู่คงไม่สามารถดำเนินไปได้ด้วยการทำงานแบบนี้อีกต่อไป จึงเดินทางกลับบ้านที่เกาะสมุย สิ่งที่บอกกับทางบ้านเมื่อกลับไปถึง คือ อยากจะบวช ตามคติของชาวพุทธ เมื่อเกิดความกลัวและมีความรู้สึกที่เป็นความรุนแรงภายในจิตใจ ก็มีความศรัทธาว่าการบวชจะช่วยชำระและผ่อนความรู้สึกกลัวให้คลายลง แม้ทางบ้านจะไม่เห็นด้วยกับวิธีคิดและความปรารถนาของผม แต่ด้วยคติความเชื่อที่ว่า ถ้ามีผู้ต้องการจะบวช ไม่ควรจะหักห้าม มีแต่แม่ที่เจรจาเชิงต่อรองว่า ถ้าบวชตอนนี้บวชได้เพียงเป็นสามเณรเท่านั้น ยังบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้ ให้รออีกสักหน่อย เมื่อถึงเวลาที่จะบวชเป็นพระได้แล้วจึงค่อยบวช ผมมีความรู้สึกอยากจะบวช จึงต่อรองกับแม่ว่าจะบวชเป็นสามเณร แล้วจะอยู่รอให้เป็นพระภิกษุ จึงค่อยลาสิกขา ด้วยการเจรจาแบบนี้ สุดท้ายก็ได้บวชเป็นสามเณร และด้วยคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับแม่ คือ จะบวชรอจนอายุครบบวชพระภิกษุแล้วค่อยลาสิกขา แต่ด้วยเงื่อนไขนี้เอง ทำให้มีโอกาสเรียนรู้ว่า การมีชีวิตเป็นนักบวชมีความหมายต่อชีวิต การได้รู้ความหมายของชีวิตผ่านคำสอนทางศาสนา ทำให้รู้สึกว่าการบวชนั้น คงไม่ใช่เป็นเพียงการรอเวลาที่จะบวชพระตามประเพณีแล้วจึงกลับคืนสู่การประกอบอาชีพที่เหมือนเดิมอีก ที่สำคัญการบวชครั้งนั้น ได้มีการพบปะกับท่านผู้รู้ที่เป็นครูบาอาจารย์ และเป็นนักปราชญ์ของพุทธศาสนา คือ ท่านพุทธทาสภิกขุ ที่วัดสวนโมกข์ จากเหตุการณ์ตอนนั้นทำให้ความคิดที่จะสึกได้เปลี่ยนไป คิดจะศึกษาหาความรู้ และได้รับคำแนะนำให้มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหาร

ในปี พ.ศ.2518 ได้เข้ามาสู่กรุงเทพฯ และเรียนหนังสือที่วัดบวรนิเวศวิหาร ในปี พ.ศ.2519 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ยังจำได้ไม่ลืม คือ มีมวลชนไปล้อมวัดบวรฯ ซึ่งจอมพลถนอม กิตติขจรได้บวชเป็นสามเณรมาพำนักอยู่ ในฐานะที่เรียนหนังสือที่นั่น จึงรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น ได้ไปรับฟังข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เหตุการณ์สะเทือนใจที่ไม่ต่างจากที่เคยได้พบเห็นที่ จ.สุราษฎร์ธานีก็ได้เกิดขึ้นซ้ำอีก แต่ครั้งนี้เกิดในเมืองหลวง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และที่ท้องสนามหลวง


ความงดงาม...  ท่ามกลางความรุนแรง

Imageผมรู้สึกว่าความรุนแรงได้ตามมาอีกครั้งหนึ่ง จึงเกิดความคิดว่าจะเอาอย่างไรกับชีวิต ซึ่งได้รับคำแนะนำที่ดี ที่มีผลทางการปฏิบัติในเวลาต่อมา ผมซึ่งยังเป็นพระและได้มีผู้สนับสนุนให้ไปศึกษาต่อทางพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดีย ตอนนั้นผมไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับประเทศอินเดียเลย มีแต่ภาพที่นึกคิดเอาเองว่า อินเดียเป็นดินแดนแห่งต้นกำเนิดของพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้นอินเดียจึงเต็มไปด้วยบรรยากาศของการเรียนรู้ทางพุทธศาสนาที่ดี จึงเดินทางไปประเทศอินเดีย แต่เมื่อได้ไปเห็นจริงๆ กลับไม่เป็นอย่างที่คิดไว้ในตอนต้น  โดยเฉพาะเมื่อต้องไปเรียนหนังสือ ซึ่งตอนนั้นไม่ได้เรียนจบปริญญาใดๆ จากเมืองไทย ความรู้ของผมถูกเทียบเท่ากับชั้นมัธยมตอนปลาย เพราะฉะนั้นผมต้องไปเริ่มต้นเรียนหนังสือระดับชั้นปริญญาตรี และชีวิตการเรียนหนังสือของผมที่นั่น เป็นชีวิตที่ต้องพบกับความรุนแรงมาก การไปอยู่โดยประกาศตนว่าไม่ได้เป็นฮินดู (ในแบบฟอร์มมีให้เลือกแค่เป็นฮินดูหรือไม่เป็นฮินดู) ซึ่งเมื่อเลือกว่าไม่ใช่ฮินดู ก็ต้องไปอยู่หอพักที่เป็นมุสลิม

ต่อมาได้พบความยุ่งยากในการมีชีวิตอยู่ในหอพักมุสลิม เพื่อนร่วมหอพักมีความรู้สึกรังเกียจผม ที่สุดก็ต้องแก้ไขปัญหา โดยไม่คิดว่าจะใช้วิธีการนี้ คือ การได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัวชาวคริสต์ ที่ขออนุญาตเรียกท่านว่าแม่ ตอนนั้นท่านอายุ 84 ปี และด้วยเหตุอันใดไม่ทราบ ตอนที่ท่านเชิญชวนให้ผมไปพักอาศัยอยู่ในบ้านของท่าน เพื่อไม่ให้พบกับความยุ่งยากในการมีชีวิตอยู่ในหอพัก ต่อมาจึงได้รู้ว่าแม้ท่านจะนับถือศาสนาคริสต์ แต่ท่านก็มีคติความเชื่อของชาวอินเดีย ท่านซึ่งมีลูกสาว 4 คน สามีทำงานเป็นเจ้าหน้าที่การรถไฟอินเดีย (เวลานั้นอินเดียกับปากีสถานยังไม่ได้แบ่งแยกประเทศ) ขณะที่แม่ตั้งท้องลูกคนที่ 4 ได้สามเดือน สามีได้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ท่านเสียใจต่อการสูญเสีย แต่ยังมีความหวังว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าจะประทานลูกชายมาให้ เพราะฉะนั้นคนที่อยู่ในท้องจะต้องเป็นผู้ชาย แต่สุดท้ายก็เป็นลูกสาว ด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาว่าพระผู้เป็นเจ้าจะต้องประทานลูกชายมาให้ท่านอย่างแน่นอน และท่านก็รอว่าลูกของท่านที่ไม่ได้เกิดจากท่านจะต้องกลับมาหาท่าน ซึ่งท่านได้เล่าให้ฟังในเวลาต่อมา ว่าวันที่ท่านพบกับผม คือ ผมมีเพื่อนคนหนึ่งที่รู้ว่าผมมีปัญหาในการอยู่และถูกกลั่นแกล้ง และคิดจะหาที่พักใหม่ให้ผม พาผมไปที่บ้านหลังใหญ่นี้ ที่มีเพียงหญิงชราอยู่บ้านและหลานๆ ผ่านไปมา จึงเข้าไปถามว่าบ้านส่วนที่ไม่มีคนอยู่จะให้ผมอยู่ได้หรือไม่ ท่านเล่าให้ผมฟังว่า ท่านกำลังอ่านพระคัมภีร์ และมีคนพาผมมาหาท่าน ท่านจึงรู้สึกว่าผม คือลูกของท่านที่กลับมาอยู่กับท่าน ท่านจึงให้ผมอยู่ และได้บอกกับท่านว่าผมมีค่าใช้จ่ายเพียงแค่นี้จะรับได้หรือไม่ ท่านบอกว่าเท่าไรก็ได้ ซึ่งต่อมาท่านก็ไม่ได้เก็บค่าเช่าบ้านผม รวมทั้งเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการศึกษาของผมในเวลาต่อมาด้วย ผมเล่าถึงท่าน เพราะอยากให้ทุกท่านทราบว่า ในท่ามกลางความรุนแรง ผมได้พบสิ่งที่ตรงกันข้าม และเป็นบทเรียนครั้งหนึ่งที่ได้จดจำมาจนถึงปัจจุบันนี้


แม่... ความทรงจำที่งดงาม

เมื่อผมเรียนจบปริญญาตรี และได้จากลาท่าน คำพูดตอนที่ผมขอลาท่านไปเรียนหนังสือต่อที่อื่น คือ ขอให้ผมได้กลับมา แม้ไม่ได้กลับมาตอนที่ท่านมีชีวิต ก็ขอให้กลับมาเพื่อจะเอาทรายกลบท่านในหลุมฝั่งศพ แต่ผมกลับไม่ได้ทำ...

ผมกลับไปอินเดียอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2550 ได้ไปคารวะหลุมฝั่งศพของท่าน ผมขอให้หลานของท่านพาผมไปที่โบสถ์ ซึ่งเป็นโบสถ์ที่ศักดิ์สิทธิ์มากในอินเดีย ภาษาท้องถิ่นเรียกว่าสารธนะเชิร์ช อยู่ที่เมืองเมืองสารธนะ ที่นี่แม่เคยพาผมไป เพื่อขอพรให้ผมเรียนหนังสือประสบความสำเร็จและขอให้พระแม่ (รูปพระนางมารีย์ในศาสนาคาทอลิก) คุ้มครองผมให้ประสบกับสิ่งดีงามในชีวิต ตอนนั้นผมไปเพราะเกรงใจแม่ เพราะแม่อยากจะพาไป ไปเพราะแม่รักผม แต่การไปในครั้งนี้ ผมไปนั่งคุกเข่า และร้องไห้ออกมา สิ่งหนึ่งที่ระลึกได้คือ ช่วงที่เป็นวัยหนุ่ม ผมเต็มไปด้วยความคิดเชิงเหตุผล ไม่สามารถทะลุเข้าถึงความหมายของหญิงชราคนหนึ่งที่รักผม และปรารถนาให้ผมพบสิ่งที่ดีงามได้ จนกระทั่งอายุ 50 กว่าปี จึงได้กลับไปอีกครั้งหนึ่ง ไปนั่งที่หน้าพระแม่ ด้วยความรู้สึกว่าผมใช้เวลานานมาก กว่าจะรู้ถึงความหมายที่ลึกซึ้ง สูงส่ง ที่ผมมีบุญได้ประสบ ผมเล่าเรื่องนี้ เพื่อจะบอกว่าในท่ามกลางความรุนแรงที่อยู่ภายในใจผม ผมได้พบว่ามีสภาวะที่ตรงกันข้าม ทั้งที่ได้เรียนรู้ผ่านพุทธศาสนา เรียนรู้ผ่านผู้มีพระคุณของผมที่นับถือพระผู้เป็นเจ้า ทั้งการเรียนรู้ชีวิตในเวลาต่อมาอีกหลายครั้ง ทำให้มีความรู้สึกว่าความรุนแรงที่ยิ่งใหญ่มันอยู่ในใจของเรา และได้ผลิดอกออกผลมาเป็นคำพูด เป็นการกระทำและเป็นความคิดที่เบียดเบียนตัวเราเองและผู้อื่นในสังคม


ทุกศาสนามีความศักดิ์สิทธิ์สูงส่ง

การกลับไปอินเดียครั้งล่าสุดนี้ ผมไม่มีศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นเครื่องบ่งบอก แต่ผมมีศาสนธรรมของทุกศาสนาที่ชาวอินเดียเคารพนับถือเป็นหลัก เพราะฉะนั้นผมได้กราบคารวะศาสนสถานของศาสนาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่เทพมณเฑียรของชาวฮินดู โบสถ์ศักดิ์สิทธิ์ที่สารธนะ หรือที่โบสถ์อื่นๆ ในรัฐเกราล่า ไปนั่งสวดมนต์และภาวนา ได้ค้นพบความหมายที่มากมาย ไปที่สุวรรณวิหารของศาสนาซิกข์ วัดสำคัญของศาสนาเชน  รวมทั้งมัสยิดของชาวมุสลิม ผมพบว่าสิ่งที่ผมมีบุญได้สัมผัส คือ ทุกศาสนามีความศักดิ์สิทธิ์สูงส่ง ทำให้จิตใจที่หยาบ มีความนุ่มนวลอ่อนโยนลง และที่สำคัญมาก คือได้พบความหมายที่ยิ่งใหญ่ของการมีชีวิตอยู่  นั่นคือ การได้สัมผัสรับรู้ความยิ่งใหญ่สูงส่งศักดิ์สิทธิ์ผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ซึ่งแต่ละคนจะมีโอกาสสัมผัส โดยศรัทธาที่ตัวเองมีอยู่ผ่านจารีตประเพณีหรือครอบครัว เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าเวลาที่เราพบกันในวันนี้ คงไม่ได้เป็นไปโดยความบังเอิญ องค์พระผู้เป็นเจ้าท่านประทานโอกาสนี้มาให้ เราจึงได้มาพบกัน

 

Image

 ติดตามอ่าน ตอนที่ 2 ได้ในวันพุธหน้าค่ะ 

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >