หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ระยะห่างที่พอดีจากจีน โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 87 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ระยะห่างที่พอดีจากจีน โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ พิมพ์
Monday, 28 April 2008

ระยะห่างที่พอดีจากจีน  โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์


จริงอยู่หรอก ไม่ว่าจะประท้วงการวิ่งคบเพลิงโอลิมปิคในเมืองไทยสักเพียงใด ก็ไม่มีผลกระทบต่อนโยบายของจีนที่มีต่อทิเบตอย่างแน่นอน หากมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนแน่ แต่ไม่จำเป็นว่าผลกระทบนั้นจะเป็นเรื่องเลวร้ายสำหรับไทยเสมอไป

ประท้วงหรือไม่ประท้วง เป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดระยะห่างที่พอเหมาะระหว่างไทยและจีน

ระยะห่างนั้นควรอยู่ที่ไหนกันแน่?

อำนาจอันใหญ่ล้นเหลือนั้น โบราณท่านเปรียบว่าเหมือนไฟ อยู่ไกลก็หนาว อยู่ใกล้ก็ร้อน ฉะนั้นระยะห่างที่พอเหมาะก็คือไม่ไกลเกินไป และไม่ใกล้เกินไป

เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งต้องรู้จักใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่ในสังคมอย่างฉลาด อย่าให้เสียดุลที่พอดีๆ เช่น รัฐมนตรีต่างประเทศหรือนายกรัฐมนตรี ไม่ควรไปเยือนจีนเป็นทางการในช่วงนี้เป็นอันขาด เพราะจีนจะใช้เป็นเครื่องมือโฆษณาโอลิมปิคของตัว ซึ่งเท่ากับกลบกระแสทิเบตลงนั่นเอง

และเท่ากับดึงให้ไทยกลายเป็น "สมุน" จีนอย่างออกหน้า ในยามที่ประชากรครึ่งโลก (ในตลาดสินค้าไทยเสียด้วย) กำลังรังเกียจการกระทำของจีนในทิเบต

วัดในญี่ปุ่นแห่งหนึ่งปฏิเสธที่จะให้วิ่งคบเพลิงผ่านบริเวณ เพื่อแสดงการประท้วง ญี่ปุ่นไม่เคยอ้างความเป็นเมืองพุทธเหมือนไทยเสียด้วย ฉะนั้นไทยจะน่ารังเกียจระดับน้องๆ จีนในยามนี้ ถือว่าอยู่ใกล้จีนเกินไปจนร้อน

ในทางตรงกันข้าม รัฐบาลไทยจะส่งหนังสือแสดงความห่วงใยอย่างยิ่งต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงของจีนในทิเบตก็ไม่ควรเหมือนกัน หนึ่งก็เพราะขว้างงูไม่พ้นคอ และสองเพราะประเทศเล็กๆ ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของจีนอย่างไทย จะอยู่ไกลจีนเกินไปจนหนาว

การขยับถอยห่างให้ได้ระยะอันพอเหมาะทำเป็นทางการได้ยาก ด้วยเหตุดังนั้น การขยับทางสังคมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

ไทยถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในน้อยประเทศที่คบไฟโอลิมปิคผ่าน เพราะเก็งว่าคบเพลิงจะผ่านไทยอย่าง "เรียบร้อย" ดี และรัฐบาลไทยก็ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากพยายามทำให้ "เรียบร้อย" คบเพลิงโอลิมปิคจึงเผาไหม้ทั้งสิทธิมนุษยชนในทิเบตและย้ำรอยความเป็น "สมุน" ของไทยไปพร้อมกัน

ฉะนั้นรัฐบาลไทยน่าจะดีใจด้วยซ้ำ ที่มีกลุ่มบุคคล โดยเฉพาะคนไทย วางแผนประท้วงคบไฟเป็นสัญลักษณ์ อย่างน้อยก็เพื่อแสดงให้จีนเห็นว่า แม้ดูเหมือนไทยอยู่ใกล้จีนจนร้อนก็จริง แต่รัฐบาลไทยนั้นดำรงอำนาจอยู่ด้วยความเห็นชอบของประชาชน และส่วนหนึ่งของประชาชนไทยมิได้ชื่นชมจีนอย่างมืดบอดเหมือนชนชั้นนำ

รัฐบาลไทยไม่เกี่ยวกับการประท้วง และพยายามจะทำทุกอย่างที่ทำได้ในระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้การวิ่งคบเพลิงเป็นไปโดย "เรียบร้อย" ที่สุด ไม่ต่างจากการกระทำของรัฐบาลสหรัฐ, ฝรั่งเศส หรือประเทศอื่นๆ ที่มีการประท้วง

แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยจะไม่ปล่อยให้ตำรวจออกมาแสดงอาการข่มขู่ประชาชนที่ต้องการประท้วง เช่น เรียกเขาว่า "ผู้ไม่หวังดี" (ต่อใครไม่ทราบ เพราะเขาคงทำด้วยความหวังดีต่อประเทศไทยยิ่งกว่าผู้มียศมีตำแหน่งเหล่านั้นด้วยซ้ำ) ถึงสันติบาลมีหน้าที่ตรวจสอบและติดตาม ก็ไม่จำเป็นต้องออกมาให้สัมภาษณ์เปิดเผย ตรงกันข้าม หากสามารถติดต่อกันได้ ก็น่าจะตกลงกันในกติกาการประท้วง (อย่างลับๆ) ว่าแค่ไหนจึงเหมาะสำหรับตั้งระยะห่างของไทยจากจีนด้วยซ้ำ

คนดังทั้งหลายที่ประท้วงด้วยการถอนตัว ไม่ร่วมการวิ่งแห่คบเพลิง (ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน) ก็ควรประกาศให้ประชาชน (และจีน) ได้รู้ไว้ด้วย เพื่อแสดงว่าอย่างน้อยสังคมไทยส่วนหนึ่งรับการกระทำป่าเถื่อนของจีนต่อประชาชนและภิกษุชาวทิเบตไม่ได้ พร้อมกันนั้นก็ไม่ควรกีดกันสื่อมิให้ออกข่าวเกี่ยวกับคนเหล่านี้ หรือการประท้วง

นักศึกษาจีนและชาวจีนในประเทศไทย ก็มีสิทธิจะออกมาแสดงการสนับสนุนการวิ่งคบเพลิงเช่นกัน ตำรวจต้องป้องกันมิให้เกิดการเลียะพะขึ้นเท่านั้น (อย่างที่ตำรวจได้ทำดีอยู่แล้ว)

ประชาชนจีนจะบอยคอตสินค้าไทยหรือไม่? คำถามนี้คาดเดาไม่ถูก แต่ในช่วงที่การประท้วงจีนในกรณีทิเบตระบาดไปครึ่งโลก ถึงจะประท้วงและบอยคอต ประชาชนจีนก็ต้องประท้วงและบอยคอตอีกหลายประเทศ ไม่ใช่ไทยเพียงประเทศเดียว นายทุนข้ามชาติไทยคงเดือดร้อนไปสักพัก แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่เดือดร้อนอะไร ไม่กระทบต่อตลาดข้าวหอมมะลิของไทยในปีนี้แน่ เพราะฮ่องกงยังคงต้องการข้าวชั้นดีของไทยเหมือนเดิม ส่วนหนึ่งก็ส่งต่อเข้าประเทศจีน ลูกเสี่ยออกไปประท้วงไทยเสร็จกลับเข้าบ้าน ก็ยังเรียกข้าวหอมมะลิไทยไปเจี๊ยะพรึบอยู่นั่นเอง

ส่วนนายทุนข้ามชาติไทยนั้น ก็ต้องยอมรับผลบ้าง ลื้อชอบแสดงความรักชาติทางทีวีบ่อยๆ ถึงตอนนี้ลื้อก็ลองรักชาติด้วยการกระทำบ้าง และลื้อควรเรียนรู้การเผชิญกับปฏิกิริยาของ "ภาคสังคม" เป็น เพราะในโลกปัจจุบัน ธุรกิจเข้ามาแทรกแซงชีวิตผู้คนจนเหมือนอากาศ จะให้เขายอมลื้อโดยไม่หือเลยย่อมเป็นไปไม่ได้

อันที่จริงแรงกดอันหนักของจีนเหนือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น รู้สึกกันในทุกประเทศของอาเซียน อเมริกาที่เลวร้ายลงอย่างหนักกลับได้รับการต้อนรับในอาเซียนดีขึ้น ก็เพราะต่างต้องการสร้างดุลยภาพกับจีน การเป็น "สมุน" ของนักเลงพร้อมกันสองคน ก็เป็นส่วนหนึ่งของการวางระยะห่างกับนักเลงไว้ให้พอดีๆ แม้กระนั้นก็มิใช่ว่า เราไม่ควรสร้างอำนาจต่อรองของเราเองขึ้นด้วย แม้ไม่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในการต่อรอง แต่เรามีอำนาจทางวัฒนธรรมและสังคมที่จะใช้ต่อรองได้บ้าง

การประท้วงการวิ่งคบเพลิงจึงเป็นความหวังดีต่อชาติอย่างยิ่ง ทั้งไม่กระทบต่อนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อจีนด้วย นอกจากนี้การสร้างอำนาจต่อรองทางสังคมและวัฒนธรรมเช่นนี้ ก็ยังอาจส่งสัญญาณให้อาเซียนหันมาร่วมมือกันในการสร้างอำนาจต่อรองกับนักเลงใหญ่ทั้งสองด้วย ซึ่งจะยิ่งเพิ่มอำนาจต่อรองของทุกประเทศมากขึ้น

จีนซึ่งเพิ่งมีประสบการณ์ในการเข้ามาสัมพันธ์กับประเทศอื่นอย่างเสมอภาคกันเป็นครั้งแรก ต้องเรียนรู้ว่า ความเป็นมิตรของเพื่อนบ้านนั้น ไม่อาจได้มาด้วยแสนยานุภาพทางทหารและเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีการเอื้อประโยชน์ต่อกันตามควร การผดุงเผด็จการทหารเอาไว้ในพม่า เพื่อตักตวงผลประโยชน์ตามใจชอบ (อย่างที่อเมริกันทำในระหว่างสงครามเย็น) จนกระทั่งเกิดการรวนเรในอาเซียน ไม่มีทางสร้างความสัมพันธ์ที่สนิทใจในหมู่อาเซียนได้ การใช้ประโยชน์จากแม่น้ำนานาชาติ อย่างไม่ต้องถามไถ่ปรึกษาหารือกับเพื่อนบ้านเลย คือการรังแกกันโดยตรง

ระยะห่างที่พอดีๆ กับจีน จึงมีความสำคัญแก่เพื่อนบ้านเล็กๆ ของจีนอย่างยิ่ง การประท้วงคบเพลิงโอลิมปิค จึงเป็นการส่งสัญญาณที่ดีทั้งแก่จีนและอาเซียนด้วยกัน

ใครทำอะไรกับจีน ก็คิดให้ยาวหน่อย

ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11006

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >