หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow น้ำ : นิธิ เอียวศรีวงศ์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 723 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

น้ำ : นิธิ เอียวศรีวงศ์ พิมพ์
Wednesday, 23 January 2008


Image

ปัญหาเรื่องน้ำของเมืองไทยซึ่งหลายฝ่ายมองเห็นล่วงหน้านั้น ที่จริงไม่ใช่ปัญหาเรื่องน้ำล้วนๆ แต่เป็นปัญหาเรื่องคนมากกว่า ตราบเท่าที่ยังไม่มองปัญหาจากมิติของคน และแก้ปัญหาน้ำโดยไม่เอาคนเป็นตัวตั้งแทนเทคโนโลยี ตราบนั้นก็น่ากลัวว่าคนไทยจะต้องลุกขึ้นมาตีกันตายด้วยเรื่องน้ำ...



น้ำ

โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

ชาวบ้านอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร หลายร้อยคน กับชาวบ้านจังหวัดกำแพงเพชรอีกหลายร้อยคน วิวาทกันด้วยเรื่องน้ำในแม่ปิง ชาวสามง่ามไม่พอใจที่ชาวกำแพงเพชรซึ่งอยู่ริมคลองชลประทานท่อทองแดง ปิดเขื่อนแล้วสูบน้ำเข้าไร่นาของตน โดยไม่ยอมเปิดทางให้น้ำไหลลงมายังอำเภอสามง่าม

คุณสุวิทย์ วัชโรทยางกูร รองผู้ว่าฯพิจิตร ต้องลงมาห้ามทัพ ขอให้ทั้งสองฝ่ายเคารพกฎกติกาที่ทางชลประทานอำเภอในจังหวัดกำแพงเพชรวางเอาไว้ จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นกำหนดการปิด-เปิดเขื่อนให้เป็นที่พอใจแก่ทั้งสองฝ่าย

ข่าวประเภทนี้มีมาไม่ต่ำกว่าสี่ทศวรรษแล้ว ระยะแรกๆ ก็เป็นข้อพิพาทระหว่างตำบล, ต่อมาก็อำเภอ และปัจจุบันก็เป็นจังหวัด ในอนาคตคงเป็นระหว่างภาค และระหว่างประเทศ (อย่างที่อาจพบได้ในยุโรป, เอเชียใต้, และแอฟริกาเหนือ)

น้ำจืดกำลังไม่พอใช้สำหรับชีวิตคนบนโลกนี้ นักวิชาการประมาณว่าหากใช้กันอย่างประหยัด ก็พอสำหรับคนไม่เกิน 8 พันล้านคน หากถึง 10 พันล้านคนเมื่อไร เป็นได้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง หากเกินจากนั้นขึ้นไปก็มิคสัญญี

ว่าเฉพาะในประเทศไทย สำนึกความขาดแคลนน้ำจืดดูจะเป็นที่ยอมรับกันแพร่หลายอยู่แล้ว ก๊อกน้ำแทบทุกก๊อกนอกบ้านเรือนล้วนมีป้ายเตือนให้ใช้น้ำอย่างประหยัดทั้งนั้น โรงแรมแนะให้ใช้ผ้าเช็ดตัวหลายๆ วัน ชักโครกที่กดให้มีน้ำมากและน้อยในอันเดียวกันเพื่อกิจกรรมที่ต่างกัน กำลังเป็นที่นิยม

และข้าราชการบางคนเสนอว่าควรลดพื้นที่ปลูกข้าวลง เพราะข้าวกินน้ำมาก

อันที่จริงก็เป็นข้อเสนอที่ฉลาด เพราะผู้คนจำนวนมากต้องไหลออกจากภาคเกษตร เนื่องจากพืชเศรษฐกิจส่วนใหญ่ต้องลงทุนสูง ทำให้ใช้น้ำน้อยลงไปอีกด้วย

และแน่นอนว่ากฎหมายน้ำก็มีการพูดถึงมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ จนในที่สุดตัวร่างกฎหมายกำลังเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ก่อนการเลือกตั้ง

ในสมัยทักษิณ แนวคิดเรื่องการจัดการน้ำแบบไทยๆ ได้บรรลุถึงจุดสุดยอด นั่นคือมองการจัดการจากด้านเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหลัก รัฐบาลทักษิณเพียงแต่พร้อม (หรืออยาก) จะลงทุนไม่อั้นเท่านั้น ในขณะที่ความคิดซึ่งมีมาก่อนก็ไม่ได้แตกต่างกัน (ไม่ว่าจะเป็นอีสานเขียว หรือโขงชีมูล ท่อมุดภูเขาส่งน้ำจากสาละวินเลี้ยงแม่ปิง เชื่อมแม่น้ำใหญ่ในภาคกลางเข้าหากัน เขื่อนขนาดใหญ่ ฯลฯ แล้วแต่ใครจะคิดศัพท์ให้มีเสน่ห์ทางการเมือง หรือให้ขลังด้วยภาษาเทคโนโลยี เช่น Water Grid ขึ้นมา) เพียงแต่ไม่กล้าลงทุน

จัดการน้ำด้วยเทคโนโลยีราคาแพงเป็นความใฝ่ฝันของนักการเมืองและข้าราชการ เพราะได้ผลงานประจักษ์ในทันที แถมยังมีลาภติดปลายนวมเป็นก้อนใหญ่ นับตั้งแต่กู้เงินขึ้นไปจนถึงก่อสร้าง หรือแม้แต่เดินเครื่อง

แต่เทคโนโลยีควรเป็นเรื่องสุดท้ายที่จะพิจารณาว่าควรใช้เทคโนโลยีอะไร ระดับไหนจึงจะมีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับสังคมไทย

ประสิทธิภาพหมายถึงการลงทุน (ทางเศรษฐกิจ, สังคม และวัฒนธรรม) ต่ำสุด แต่ได้ผลมากที่สุด

ก่อนจะตัดสินใจเรื่องเทคโนโลยี จึงจำเป็นต้องศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการใช้น้ำในสังคมไทย ใครใช้น้ำทำอะไรบ้าง และใช้ในลักษณะอะไร (ใช้อย่างไร, ใช้มากน้อยในฤดูกาลต่างๆ, วิธีการจัดการน้ำที่มีอยู่แล้ว, ฯลฯ)

ศักยภาพของผู้คนหากจะปรับเปลี่ยนการใช้น้ำ, และต้นทุนน้ำ เป็นต้น (ใครก็ตามที่คิดคำว่า 'ต้นทุนน้ำ' ขึ้นมานี้ ต้องจัดว่า 'ฉลาด' -clever- อย่างยิ่ง เพราะตั้งใจแต่แรกที่จะจำกัดความหมายให้เหลือเพียงน้ำที่หยดได้เท่านั้นเป็นต้นทุน แท้จริงแล้วต้นทุนของน้ำย่อมรวมถึงความชื้นในอากาศ, อุณหภูมิ, ก้อนเมฆ, และปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้น้ำเหล่านี้กลั่นตัวหยดลงมา เช่น ป่าอันอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น, คุณภาพของน้ำ, น้ำใต้ดิน, ระบบนิเวศและกระบวนการทางชีวเคมี, ความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมในต้นแม่น้ำซึ่งอยู่นอกประเทศไทย ฯลฯ การจำกัดความหมายของคำว่า 'ต้นทุนน้ำ' ให้แคบเหลือเพียงน้ำสะอาดที่หยดในประเทศไทยเท่านั้น ทำให้สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างบ้าเลือด)

พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เรื่องของคนมาก่อนเทคโนโลยี

แต่ความสนใจเรื่องคนในบรรดา 'นักน้ำ' มีน้อยมาก หลงใหลได้ปลื้มกับเทคโนโลยีจนหมดตัว เพราะประโยชน์ที่จะได้รับแก่ตนเอง หรือเพราะเชื่อเทคโนโลยีอย่างมืดบอดก็ตาม แม้ว่าบางเทคโนโลยีที่นำมาใช้กับน้ำ ยังไม่เคยมีการคำนวณหาต้นทุน-กำไรในทางเศรษฐศาสตร์เลย (แม้นักเศรษฐศาสตร์พยายามเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นเทคโนโลยิสต์ไปแล้วก็ตาม)

แม้ว่าเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และคนก็จัดการน้ำด้วยเทคโนโลยีมาแต่ดึกดำบรรพ์ การตัดสินใจใช้เทคโนโลยีชนิดใด ก็ต้องอาศัยความรู้เรื่องคนเป็นเกณฑ์ ปราศจากความรู้เรื่องคน เทคโนโลยีที่ตัดสินใจเลือกใช้มักมีลักษณะครอบจักรวาล ทุกคนใช้น้ำเหมือนๆ กันหมด ทั้งๆ ที่วิถีชีวิตคนแตกต่างกันอย่างมาก ย่อมต้องการเทคโนโลยีที่หลากหลายและอ่อนไหวพอสำหรับความแตกต่างในวิถีชีวิตและศักยภาพของตน ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ทำลาย 'ต้นทุนน้ำ' (ในความหมายกว้างอันเป็นความหมายที่แท้จริง) ไปพร้อมกัน

ความรู้เรื่องคนก็ยังไม่พอ ทำให้ความรู้ในการเลือกเทคโนโลยีก็ไม่พอตามไปด้วย แม้กระนั้นก็มีความพยายามผลักดันกฎหมายน้ำออกมา ฐานคิดคือเทคโนโลยีเหมือนเดิม ดังนั้น จึงอัดข้าราชการและ 'ผู้รู้' เข้าไปเต็มคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ แทบจะไม่มีตัวแทนภาคประชาชนเลย (เพราะไม่เห็นความสำคัญของความรู้เรื่องคนดังที่กล่าวแล้ว) ผลในภายหน้าที่พอจะมองเห็นได้จากกฎหมายน้ำประเภทนี้คือกรณีพิพาทไปทั่วประเทศไทย

ดังกรณีชาวบ้านสามง่ามกับกำแพงเพชรที่กล่าวข้างต้นสะท้อนสภาวะอะไรหลายอย่างที่น้ำกำลังถูกจัดการด้วยราชการอยู่

ประการแรก ชาวบ้านได้คลองชลประทานมาฟรี รวมถึงการดูแลรักษาคลองส่งน้ำนี้ก็ฟรี ไม่มีใครมีส่วนร่วมในการสร้างและรักษา ฉะนั้น จึงไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวคลอง หรือเงื่อนไขอื่นๆ ที่เอื้อต่อการผลิตของตน ยิ่งไปกว่านั้นยังไม่รู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ต้องประนีประนอมและเอื้อประโยชน์ของกันและกัน ขอเพียงให้ได้ใช้น้ำตามความต้องการของตนเองเป็นพอ คนอื่นไม่เกี่ยว

ในกรณีนี้กระทบถึงแม่น้ำปิงทั้งสาย ฉะนั้น ที่จริงแล้วยังมีชาวบ้านอื่นๆ นอกจากสามง่ามได้รับผลกระทบด้วย แต่สาวไปไม่ถึงต้นเหตุ หรืออย่างไรไม่ทราบได้

ครั้นเกิดกรณีพิพาทขึ้น ก็ไม่สามารถหันไปหาใครมาเป็นคนกลางได้ เพราะไม่มีหน่วยงานใดที่ชาวบ้านเชื่อถือพอจะมาเป็นคนกลางให้ได้ โอกาสที่เจรจากันอย่างสันติ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับรู้สถานการณ์ของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างชัดแจ้ง ก็ไม่เกิดขึ้น ฉะนั้น จึงไม่แปลกที่ต่างฝ่ายต่างตั้งข้อเรียกร้องของตนโดยอาศัยผลประโยชน์ของฝ่ายตนเป็นที่ตั้ง กลายเป็นข้อเรียกร้องที่เด็ดขาด ถอยไม่ได้ ปิดทางสำหรับการต่อรองประนีประนอมมาตั้งแต่ต้น

เหลืออยู่ทางเดียวคือใช้กำลังเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเรียกร้องของตน (โดยทั่วไปมักใช้วิธีรื้อฝาย, รื้อเขื่อน หากถูกขัดขวางก็พร้อมจะ 'ลุย')

น่าสังเกตด้วยว่า กฎกติกาสำหรับการใช้น้ำนั้นมีอยู่แล้ว คือกฎกติกาซึ่งสำนักงานชลประทานกำแพงเพชรได้วางเอาไว้ เข้าใจว่าไม่ได้มาจากการเจรจาตกลงระหว่างชาวบ้านที่ใช้น้ำร่วมกัน โดยมีเจ้าหน้าที่ชลประทานคอยป้อนข้อมูลด้านเทคนิคซึ่งชาวบ้านอาจไม่ทราบ กลายเป็นระเบียบที่ทางราชการกำหนดขึ้นฝ่ายเดียว นอกจากนี้ กฎกติกานี้ได้วางเอาไว้ตั้งแต่เมื่อไรไม่ทราบได้ การใช้น้ำของชาวบ้านอาจเปลี่ยนไปจากเมื่อครั้งที่วางกฎ เพราะเปลี่ยนพืชหรือเปลี่ยนการจัดการแรงงานในไร่นาหรือเพราะเหตุอื่นใดก็ตามที กฎกติกาซึ่งครั้งหนึ่งเป็นที่ยอมรับกลับกลายเป็นกฎกติกาที่ไม่อาจปฏิบัติตามได้ หรือเท่ากับไม่มีกฎกติกาเหลืออยู่

จากเหตุพิพาทเรื่องน้ำ ลุกลามเป็นการวิวาทที่อาจคุกคามความสงบสุขของสาธารณะ กลายเป็นเรื่องของมหาดไทยซึ่งไม่เกี่ยวกับสาเหตุการวิวาท มหาดไทยจะทำอะไรได้นอกจากส่งรองผู้ว่าฯเข้ามาระงับเหตุ และรองผู้ว่าฯจะทำอะไรได้นอกจากบอกให้ใจเย็นๆ ต้องเคารพกฎกติกาที่สำนักงานชลประทานวางเอาไว้ พร้อมกับสัญญาว่าจะมีคณะกรรมการที่ทั้งสองฝ่ายไว้ใจมาจัดการเปิดปิดเขื่อนในภายหน้า อันเป็นสิ่งที่อยู่พ้นอำนาจหน้าที่ของมหาดไทย

ปัญหาเรื่องน้ำของเมืองไทยซึ่งหลายฝ่ายมองเห็นล่วงหน้านั้น ที่จริงไม่ใช่ปัญหาเรื่องน้ำล้วนๆ แต่เป็นปัญหาเรื่องคนมากกว่า ตราบเท่าที่ยังไม่มองปัญหาจากมิติของคน และแก้ปัญหาน้ำโดยไม่เอาคนเป็นตัวตั้งแทนเทคโนโลยี ตราบนั้นก็น่ากลัวว่าคนไทยจะต้องลุกขึ้นมาตีกันตายด้วยเรื่องน้ำ

เราไม่อาจหวังทางออกจากปัญหาใหญ่ๆ เยี่ยงนี้จากการรัฐประหาร เราจะหวังทางออกจากสภาที่มาจากการเลือกตั้ง และรัฐบาลจากการเลือกตั้งได้หรือไม่

Image

จาก : มติชนกรุ๊ป - MTC Group 
Link : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=17497&catid=16


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >