หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow ค่ายยุวสิทธิมนุษยชน arrow ค่ายเยาวชนนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2549
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 82 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ค่ายเยาวชนนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2549 พิมพ์
Friday, 19 January 2007

ค่ายเยาวชนนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1

ระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2549
ณ ครัวชมวาฬ หาดบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธ์


Imageกิจกรรมค่ายเยาวชนนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ครั้งที่ 1 ซึ่ง ยส. ได้ร่วมกันจัดขึ้นกับ Amnesty International Thailand, มูลนิธิ 14 ตุลา, ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย (YPD) และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2549 ที่หาดบ่อนอก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยมีโครงการจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอก แต่ได้รับการต่อต้านจากชาวบ้านในชุมชน โดยมีคุณเจริญ วัดอักษร ผู้นำการคัดค้าน และเสียชีวิตลงเนื่องจากถูกฆาตกรรม ด้วยเหตุแห่งการคัดค้านโครงการดังกล่าว  

การจัดค่ายในครั้งนี้มีน้องๆ เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 42 คน เป็นเด็กมัธยมปลายจากโรงเรียนต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เช่น ร.ร.บางกะปิ และ ร.ร.อัสสัมชัญ จำนวน 18 คน และน้องๆ ที่บ่อนอก จาก ร.ร.ประจวบวิทยาลัย และ ร.ร.หว้ากอวิทยาลัย จำนวน 24 คน ซึ่งการจัดค่ายครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย น้องๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าสนุกและได้ความรู้ ไม่เคยคิดมาก่อนว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องใกล้ตัวและไม่ยากอย่างที่คิด และทำให้ได้เข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น 

Imageเราเปิดค่ายกันวันที่ 16 ตุลาคม หลังจากที่ทำกิจกรรมแนะนำตัว ชี้แจงวัตถุประสงค์ กฎ กติกาค่าย เรียบร้อยแล้ว ก็เข้าสู่กิจกรรม Human Rights Walk Rally เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน เช่น ฐานกล้วยของฉันหายไปไหน โดยเริ่มจากการแจกกล้วยน้ำว้าให้น้องคนละ 1 ใบ โดยให้แต่ละคนจำลักษณะกล้วยของตัวเองให้ได้ และนำมารวมกันในถัง ในรอบแรกทุกคนสามารถจำกล้วยของตนได้ จากนั้นให้ทุกคนปอกเปลือกแล้วเอามารวมกัน รอบหลังนี้ เมื่อให้เลือกกล้วยของตัวเองอีกครั้ง จะหาค่อนข้างยาก เพราะเหมือนกันหมด ซึ่งกิจกรรมนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์ ว่าคนImageเรามักจะเลือกปฏิบัติต่อคนอื่น โดยพิจารณาเพียงลักษณะภายนอกที่มองเห็น เช่น เพศ เชื้อชาติ สีผิว ภาษา แต่เนื้อแท้แล้วทุกคนมีความเป็นมนุษย์เหมือนๆ กัน และมีศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน และอีกฐานหนึ่งที่สนุกมากคือฐาน จินตนาการของฉันโดยให้น้องแต่ละคนใช้จินตนาการจากวัสดุที่ใช้แล้ว 6 ชิ้น เช่น แกนกระดาษชำระ ปากกาเมจิกหมึกหมด ขวดน้ำพลาสติก ฯลฯ ว่าจะสามารถนำวัสดุเหล่านั้นไปใช้ทำประโยชน์อะไรได้อีกบ้าง ซึ่งกิจกรรมนี้ได้สะท้อนถึงจินตนาการหรือความคิดที่เป็นอิสระของแต่ละคน และจินตนาการเป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด จะมีใครเอาไปจากเราไม่ได้ เช่นเดียวกับสิทธิมนุษยชนที่เป็นสิ่งที่ติดตัวเราทุกคนมาตั้งแต่เกิด ใครจะมาแย่งเอาจากเราไปไม่ได้เช่นกัน ซึ่งน้องๆ ต่างสนุกสนานและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมฐานต่างๆ เป็นอย่างดี 

Imageวันต่อมา (17 ต.ค.) เริ่มด้วยกิจกรรมเรือมนุษย์ โดยกิจกรรมนี้น้องๆ ต้องสมมุติตัวเองเป็นบุคคลต่างๆ ที่มีสถานภาพแตกต่างกันไป ทั้งหมด 8 ตัวละคร เช่น พระ คนแก่ รัฐมนตรี เด็ก แรงงานต่างด้าว ฯลฯ โดยสมมุติเหตุการณ์ว่าทุกคนอยู่บนเรือที่ลอยลำอยู่กลางทะเล แต่ประสบกับพายุใหญ่จนเรือรั่ว และกำลังจะจม ซึ่งในเรือมีเพียงแพยางที่สามารถบรรทุกคนได้เพียง 6 คน โดยให้น้องๆ แต่ละกลุ่มช่วยกันแก้ปัญหานี้ ซึ่งกิจกรรมนี้จะทำให้เรียนรู้ถึงการเคารพในความแตกต่างและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของแต่ละคน ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตรอดอย่างเท่าเทียมกัน แม้จะมีความแตกต่างกันทางImageสภาพร่างกาย เพศ วัย เชื้อชาติหรือสถานภาพทางสังคมก็ตาม  และอีกกิจกรรมหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากน้องๆ มากก็คือ กิจกรรมชุมชนในฝัน โดยให้น้องๆ ช่วยกันวาดชุมชนในฝันลงบนกระดาษและระบายสีอย่างสวยงาม แต่สักพักก็มีเจ้าหน้าที่ของรัฐ (สวมบทบาทโดยพี่ๆ ทีมงานนั่นแหละ) มาบอกว่าชุมชนของพวกเขาต้องถูกรื้อย้ายออกไป เพราะจะมีโครงการของรัฐมาสร้างตรงนี้ พร้อมทั้งใช้ปากกาเมจิกเขียนทับลงบนชุมชนที่น้องๆ วาดไว้ ซึ่งกิจกรรมนี้ทำให้น้องๆ ได้เข้าใจถึงความรู้สึกของชาวบ้านในชุมชนที่ต้องได้รับผลกระทบจากโครงการที่ไม่เป็นธรรมจากรัฐ 

Imageช่วงบ่ายเป็นการลงพื้นที่ศึกษาชีวิตชาวประมงและชมป่าชายเลนบริเวณหาดบ่อนอก ซึ่งจะได้รับผลกระทบอย่างมากหากมีการสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นที่นี่ น้องๆ ต่างเพลิดเพลินกับการเดินชมป่าชายเลนซึ่งยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ได้เห็นการทำประมงหาปลาของชาวบ้าน เนื่องจากบริเวณนี้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำหลายชนิดและชาวบ้านที่นี่ช่วยกันดูแลและหวงแหนทรัพยากรในชุมชนของพวกเขาไว้เป็นอย่างดี

เช้าวันที่สาม (18 ต.ค.) เริ่มด้วยกิจกรรมสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยให้น้องๆ แสดงความคิดเห็นต่อปัญหาสังคม 4 ด้าน ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม-ศาสนา-วัฒนธรรม และการศึกษา ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง และส่งผลกระทบต่อตัวเราอย่างไร Imageซึ่งน้องๆ ออกมานำเสนอในหลากหลายรูปแบบ บ้างก็ทำในรูปแบบ Talk Show หรือโต้วาที แต่ในบางประเด็นเช่น การเมือง เศรษฐกิจ น้องๆ ยังตีโจทย์ไม่แตก แต่ไม่เป็นไร เพราะช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับบทบาทเยาวชนนักพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ที่จะทำให้น้องๆ ได้เข้าใจว่าตนเองจะมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในสังคมของเราได้อย่างไร ซึ่งน้องๆ ก็ทำได้ดีมาก บ้างก็จัดรายการวิทยุ ออกมาแสดงละคร  จัดการชุมนุมเรียกร้องสิทธิ เดินขบวน ทำสื่อรณรงค์เป็นต้น และค่ำคืนสุดท้ายที่Imageทุกคนรอคอยก็มาถึง... หลังจากการรับประทานอาหารเย็น เริ่มด้วยการแสดงละครจากน้องๆ แต่ละกลุ่ม และพี่เลี้ยง ตามด้วยการเฉลยบัดดี้ ที่ทำเอาหลายคนประหลาดใจที่บัดดี้ของเราคือคนนี้นี่เอง ว้าว... หลังจากกิจกรรมที่สนุกสนาน ก็ตามด้วยการเปิดใจ พูดถึงความรู้สึกและความประทับใจที่มีต่อพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ และต่อค่ายครั้งนี้ ทำเอาหลายคนปล่อยโฮออกมาเกินต้านทาน ยิ่งน้องที่ตลอดค่ายแทบไม่ได้พูด ก็พูดออกมาอย่างตื้นตันใจ ท้ายสุดแต่ไม่สุดท้าย พี่ทีมงานได้ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญแบบกะทัดรัด มีการผูกข้อไม้ข้อมือ พูดคุย อวยพรกัน ให้กำลังใจกันอย่างเนืองแน่น จนพี่ๆ ผลิตด้ายไม่ทัน (ฮา... ฮา...) แถมด้วยข้าวต้มรอบดึกแสนอร่อยจากฝีมือพี่กระรอก (เจ้าของที่พักและภรรยาคุณเจริญ วัดอักษร)

การจัดกิจกรรมทุกอย่างไม่อาจสมบูรณ์ได้ หากขาดการทบทวนและประเมินผล ดังนั้นในวันสุดท้ายก่อนการอำลากลับบ้าน เราก็ให้น้องๆ ช่วยกันระดมความคิดว่าได้รับอะไรบ้างจากกิจกรรม 3 วันที่ผ่านมา และคิดว่าจะนำสิ่งที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง  ซึ่งหลายคนก็บอกว่าได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน (ทำเอาพี่ๆ ยิ้มแฉ่ง) หรืออย่างน้อยบางคนก็ได้เพื่อนต่างสถาบันที่ได้ร่วมกันแบ่งปันความคิดเห็น ประสบการณ์ และความรู้ต่างๆ มากมาย ส่วนการนำกลับไปใช้นั้น ศักยภาพของเยาวชนนี่ดูถูกไม่ได้จริงๆ บางคนคิดถึงการตั้งกลุ่มหรือชมรมสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน กลับไปจัดกิจกรรมImageเพื่อเผยแพร่ในโรงเรียน และชุมชน จัดทำ Web Site ป้ายนิเทศน์ แผ่นพับ เล่าให้เพื่อนๆ ฟัง ผ่านวิทยุชุมชน และจัดเวทีปราศรัยเพื่อให้ชาวบ้านรู้เท่าทันสถานการณ์ปัจจุบัน เห็นไหมค่ะ ความคิดสร้างสรรค์และพลังใจของเยาวชนนี่สุดยอดจริงๆ

สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณน้องๆ นักศึกษาปีสามและปีสี่จากรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่มาช่วยเป็นพี่เลี้ยงที่แสนดี คอยดูแลน้องๆ ค่ายอย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง อีกทั้งยังเป็นมือขวาและมือซ้ายที่ยอดเยี่ยมของพี่ทีมงานส่วนกิจกรรมสันทนาการ หากขาดนายหนึ่งจากกลุ่มรองเท้าแตะกับน้องนุช น้องฝน นักศึกษาไฟแรงจาก ม.วลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช ค่ายนี้คงเงียบเหงาและขาดสีสันที่สนุกสนานเช่นนี้ และที่ลืมไม่ได้คงต้องขอขอบพระคุณองค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ไทยแลนด์ ที่เป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งนี้ รวมทั้งองค์กรร่วมจัดทุกองค์กรที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี หวังว่าค่ายหน้าคงได้ร่วมงานกันอีกนะคะทุกคน สวัสดีค่ะ

ความคิดเห็น
เขียนโดย เปิด 2008-11-11 12:44:17
คิดถึง อ.ธนพร พลสังข์ มากๆค่ะ ศิษย์เก่า รร.กันตม
เชิญชวน
เขียนโดย ไม่บอก เปิด 2008-01-22 13:44:08
เด็กหว้ากอฯยินดีต้อนรับ 
เเน่จริงมาดิ :eek :roll 8)
ไม่รู้
เขียนโดย D.D. เปิด 2007-11-14 09:52:33
อยากไปบ้างจังเเต่คนล่ะปีอ่ะ  
อยากไปเเค่หว้ากอ อย่างเดียว :) :grin :zzz

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า