หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow บทเรียนเพื่อความกินดีอยู่ดี โดย วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1024 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

บทเรียนเพื่อความกินดีอยู่ดี โดย วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พิมพ์
Thursday, 09 November 2006

บทเรียนเพื่อความกินดีอยู่ดี

โดย วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์


เมื่อเร็วๆ นี้ Augusto Lopez Claros บรรณาธิการของ World Economic Forum"s Global Competitiveness Report 2006-2007 ได้เขียนบทความสรุปประสบการณ์ของเขาว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จทางเศรษฐกิจประเทศต่างๆ

ภาคธุรกิจและนักธุรกิจชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ตลอดจนแขกรับเชิญจากทั่วโลกร่วมประชุมประจำปีที่เรียกว่า World Economic Forum ที่เมือง Davos ในสวิสเซอร์แลนด์ (เพื่อประชุมและได้เล่นสกีด้วย ?) เพื่อหารือ วิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญของโลก ในงานประชุมนี้จะมีการบันทึกสิ่งที่มีการนำเสนอ ตลอดจนความเห็นที่เกิดขึ้น และพิมพ์ออกมาเป็นเอกสาร

นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำรายงานอันดับความสามารถในการแข่งขันประเทศต่างๆ ในโลกอีกด้วย Claros เป็น Chief Economist ของ World Economic Forum และบรรณาธิการรายงานฉบับล่าสุดนี้ ในการจัดทำรายงานเขาต้องเดินทางไปพบผู้นำประเทศและบุคคลต่างๆ ทั่วโลก ตลอดจนเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานถึง 3 ปี

Claros ตั้งคำถามว่าอะไรเป็นปัจจัย นโยบาย และสถาบัน ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างที่สุดในการทำให้ประเทศนั้นๆ มีผลิตภาพ (Productivity หรือความสามารถในการผลิต ซึ่งเป็นหัวใจของความกินดีอยู่ดีของประชาชน) อันนำไปสู่การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เขาสงสัยว่าทำไมบางประเทศดูจะทำได้ดีกว่าประเทศอื่นๆ ในการทำให้ความกินดีอยู่ดีของประชาชนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง บทเรียนที่เขาพบมีดังนี้

บทเรียนที่หนึ่ง อย่าอยู่กินเกินฐานะของตนเอง ประเทศ "เกิดใหม่และมาแรง" (Emerging Countries) จำนวนมากที่ประสบวิกฤตในรอบทศวรรษที่ผ่านมามีสาเหตุพื้นฐานมาจากการไร้ความสามารถของรัฐบาลในการจัดการด้านการคลัง กล่าวคือรัฐบาลไม่สามารถควบคุมการใช้จ่ายเงินได้กอปรกับเก็บภาษีได้อย่างไม่สมดุลกัน หรือกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ด้วยการขาดดุลงบประมาณ สิ่งที่ผิดตามมาก็คือหนี้สาธารณะขนาดใหญ่

การมีหนี้สาธารณะขนาดใหญ่ทำให้เกิดภาระในการใช้หนี้ของภาครัฐข้ามระยะเวลาจนไม่มีทรัพยากรเพียงพอไปลงทุนในด้านการศึกษา สาธารณสุขและโครงสร้างพื้นฐานสามด้านซึ่งเป็นหัวใจหลักในการเพิ่มพูนความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจ

บทเรียนที่ 2 การเก็บภาษีในอัตราต่ำไม่ใช่วิธีแก้ไขที่มหัศจรรย์ มีหลักฐานน้อยนิดว่าอัตราภาษีต่ำโดยตัวของมันเองช่วยให้เกิดการเจริญเติบโต หลักฐานที่เห็นกันชัดกว่าก็คือประเทศที่มีการเก็บอัตราภาษีสูง เช่น นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ เดนมาร์ก ฯลฯ รัฐบาลสามารถจัดสรรรายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งไปในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ

ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ว่า รายได้จากภาษีระดับหนึ่งถูกนำไปใช้ในการศึกษาฝึกฝน อบรม จัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมชั้นยอด หรือถูกใช้ไปในเรื่องที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ หรือถูก "ปล้น" เอาไป

บทเรียนที่ 3 คอร์รัปชั่นคือตัวฆ่าการเติบโต รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จ รัฐบาลที่ซื่อสัตย์เท่านั้นจึงจะมีความน่าเชื่อถือสำหรับประชาชน เมื่อประชาชนเห็นว่าผู้นำทำงานเพื่อชาติอย่างแท้จริง มิได้ทำเพื่อตัวเองญาติพี่น้องและพรรคพวก ประชาชนก็จะให้การสนับสนุน

บทเรียนที่ 4 ระบบยุติธรรมที่ถูกทำนองครองธรรม ภาคเอกชนมีความจำเป็นต้องมีระบบยุติธรรมที่เชื่อถือได้ เพราะเมื่อหากมีข้อขัดแย้งก็จะทำให้จบได้ในเวลาอันควรด้วยต้นทุนที่ไม่สูงเกินไป และสามารถมั่นใจได้ว่าคำพิพากษามิได้เอนเอียงไปเพราะเหตุผลอื่น

บทเรียนที่ 5 ความชั่วร้ายของเรดเทป เรดเทปทำให้เกิดต้นทุนที่สูงมาก การบริหารงานที่เชื่องช้าเป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างน่าเบื่อหน่าย เป็นอุปสรรคต่อการเกิดของธุรกิจใหม่ๆ มีการพบว่าบ่อยครั้งในประเทศที่ "เกิดใหม่และมาแรง" ที่ต้องการชนชั้นนักธุรกิจเป็นอย่างยิ่งนั้น รัฐบาลกลับเป็นผู้สร้างอุปสรรคในการเกิดบริษัทใหม่ๆ ขึ้นมาเสียเอง

บทเรียนที่ 6 การศึกษาเป็นเสาหลัก การลงทุนในการศึกษากำลังพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนขึ้นทุกทีว่าเป็นตัวผลักดันสำคัญของผลิตภาพ เมื่อเศรษฐกิจโลกซับซ้อนยิ่งขึ้น ยิ่งมีความจำเป็นสูงยิ่งขึ้นในการยกระดับการฝึกฝน อบรมของแรงงานเพื่อให้แน่ใจได้ว่าแรงงานสามารถปรับตัวได้อย่างง่ายดายกับเทคโนโลยีล่าสุด

ผลตอบแทนจากการลงทุนด้านการศึกษานั้นสูงอย่างยิ่ง รัฐบาลที่ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้อย่างเหมาะสม ขณะนี้กำลังเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างเป็นกอบเป็นกำ

บทเรียนที่ 7 คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเป็นจักรกลใหม่ของการสร้างการเจริญเติบโต จากเมื่อก่อนความสนใจอยู่ที่การอ่านออกเขียนได้ขั้นพื้นฐาน ปัจจุบันจำเป็นต้องการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ จากงานวิจัยพบว่ามีสหสัมพันธ์สูงระหว่างอันดับในการแข่งขันของประเทศในรายงานดังกล่าวกับอัตราการเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ ดังนั้น อินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือจึงมีส่วนอย่างสำคัญในการเพิ่มพูนอัตราการเติบโตของผลิตภาพ

บทเรียนที่ 8 ให้อำนาจผู้หญิง มีหลักฐานเด่นชัดจากงานวิจัยว่าการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนแก่ประเทศอย่างคุ้มค่าก็คือ การให้การศึกษาแก่ผู้หญิงโดยเฉพาะแก่เด็กผู้หญิง การที่ผู้หญิงได้รับการศึกษา มีการจ้างงาน และมีสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เป็นการให้อำนาจแก่ผู้หญิงและให้โอกาสเธอในการกำหนดสิ่งแวดล้อมรอบตัวเธอเอง

นอกจากนี้การอ่านออกเขียนได้ยังช่วยลดจำนวนลูกที่เธอให้กำเนิดในชีวิต รวมทั้งขจัดอคติในการมีลูกผู้หญิงอีกด้วย

ความสามารถในการแข่งขันก็คือการใช้ทรัพยากรซึ่งรวมไปถึงมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้หญิงที่ได้รับการศึกษามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจและการเมืองก็จะทำให้เกิดผลพวงในด้านผลิตภาพและการเจริญเติบโตตามมาด้วยอย่างสำคัญ

ในโลกสมัยใหม่ที่ซับซ้อน หากรัฐบาลของประเทศได้กำหนดนโยบายโดยตระหนักถึงบทเรียนข้างต้นแล้ว โอกาสของความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืนของสังคมนั้นก็จะมีสูงกว่าสังคมอื่นที่ไม่ตระหนักถึง

จากหนังสือ พิมพ์มติชน ปีที่ 29 ฉบับที่ 10470
วันที่ 09 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

Link...(http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01act05091149&day=2006/11/09

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >