หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ครบรอบ 31 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 205 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ครบรอบ 31 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 พิมพ์
Wednesday, 17 May 2006

ครบรอบ 31 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516
ตัวแทนภาคประชาชนวิพากษ์รัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยมไม่เคยหมดไป
ซ้ำกลับแยบยลซับซ้อนมากขึ้น ใช้ความรุนแรงกับประชาชนมากขึ้น


Imageด้านพระไพศาล วิสาโล พระปัญญาชนและนักสันติวิธีชี้ หากนายกฯ ทักษิณยังใช้อำนาจและเม็ดเงินเป็นเครื่องมือยึดติดวิธีคิดวิธีทำแบบเดิมๆ รังแต่จะนำประเทศไปสู่กับดักแห่งความรุนแรง เสนอทางออก นายกฯ ต้องเปิดหน้าต่าง สร้างสะพาน สมานใจ
ส่วน น.พ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสบอก คนไทยควรขอบคุณนายกฯ ที่ให้บทเรียนเรื่องระบอบธนาธิปไตยที่เห็นเรื่องเงินเป็นใหญ่ พร้อมให้ข้อสอบนายกฯ และรัฐบาลทำเรื่องประชาธิปไตยโดยตรงที่ให้อำนาจประชาชนมีส่วนร่วมบริหารประเทศ ปรับปรุงประชาธิปไตยแบบตัวแทน และแยกอำนาจ 3 ประสานต้นเหตุคอร์รัปชั่น


เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547 ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 16 สี่แยกคอกวัว ถ.ราชดำเนินกลาง เนื่องในโอกาสครบรอบ 31 ปี ของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 มูลนิธิ 14 ตุลา ได้จัดพิธีกรรมรำลึกถึงวีรชนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในวันนั้น ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย ญาติวีรชน, ตัวแทนจากภาครัฐ, องค์กรพัฒนาเอกชนหลายองค์กร, สื่อมวลชน และประชาชนผู้สนใจ รวมประมาณ 300 คน โดยในช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 8.30 น. ได้มีพิธีกรรมทางศาสนา จาก 3 ศาสนาทั้งพุทธ คริสต์ และอิสลาม ซึ่งได้ร่วมกันภาวนาเพื่อรำลึกถึงผู้จากไปในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) พร้อมด้วยซิสเตอร์จากคณะอุร์สุลิน, คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ และศูนย์การศึกษาต่อเนื่องด้านสังคม ในฐานะตัวแทนคาทอลิก ได้ร่วมกันอ่านบทภาวนาเพื่อรำลึกถึงเพื่อนร่วมชาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น พร้อมทั้งภาวนาให้กับผู้ที่ที่มีชีวิตอยู่แต่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงในครั้งนั้นด้วย

จากนั้นบุคคลสำคัญทั้งจากภาครัฐบาลและตัวแทนภาคประชาชน ได้กล่าวสดุดีวีรชนประชาธิปไตย อาทิ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รองนายกรัฐมนตรี, นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา, นายสุชน ชาลีเครือ ตัวแทนจากวุฒิสภา, นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, นายณิปไทย ศาสนนันทน์ ตัวแทนญาติและวีรชน 14 ตุลา, นางดาวัลย์ จันทรหัสดี ตัวแทนชาวบ้านนักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชน เป็นต้น

Imageนายณิปไทย ศาสนนันทน์ ตัวแทนญาติและวีรชนผู้สูญเสียชีวิตจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 กล่าวทั้งน้ำตา เรียกร้องให้ภาครัฐหันมาใส่ใจกับวีรชนผู้พิการจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นและญาติวีรชนซึ่งกำลังได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากมูลนิธิสงเคราะห์ผู้ประสบภัย บ้านมนังคศิลาจะปิดตัวเองภายในสิ้นปีนี้ แสดงให้เห็นว่าภาครัฐไม่ได้ใส่ใจและให้ความสำคัญกับบุคคลเหล่านี้เลย “เหตุการณ์ในครั้งนั้นเราได้สูญเสียเพื่อน – พี่น้องไปมากมาย มีทั้งผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ พิการ ทุพพลภาพและจิตฟั่นเฟือน ยังความเศร้าสะเทือนใจให้กับเพื่อนพี่น้องญาติมิตรตลอดมา หลายคนที่มีชีวิตอยู่ในวันนี้ล้วนมีอายุมากขึ้นตามกาลเวลา แต่ดูเหมือนการต่อสู้ของบุคคลเหล่านี้จะยังไม่สิ้นสุดเพราะต้องดิ้นรนต่อสู้กับความอยู่รอดของชีวิต ความไม่เป็นธรรมในสังคมและการเอารัดเอาเปรียบจากผู้มีโอกาสมากกว่าของนายทุนขุนศึกทั้งหลายผู้ได้รับผลพวงจากการเสียสละของวีรชน กลับมียศฐาบรรดาศักดิ์ใหญ่โตในบ้านเมือง มีทรัพย์สินมูลค่ามหาศาล มีพวกพ้องบริวารมากมายคอยห้อมล้อม โดยลืมหันกลับมามองประชาชนผู้ด้อยโอกาสที่เคยเสียสละเพื่อส่วนรวม”

นางดาวัลย์ จันทรหัสดี ตัวแทนชาวบ้านนักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชน ในกรณีคัดค้านการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จ.สมุทรปราการ กล่าวว่า การต่อสู้กับอำนาจรัฐเมื่อ 31 ปีที่ผ่านมาเป็นการต่อสู้กับอำนาจเผด็จการ แต่อำนาจเผด็จการกลับไม่เคยหมดไป ปัจจุบันอำนาจเผด็จการกลับแยบยลและซับซ้อนมากขึ้น “เราได้เห็นการต่อสู้ของอำนาจเงิน อำนาจการโกงกินประเทศชาติ การแสวงหาประโยชน์โดยผู้มีอำนาจรัฐ และเราได้สูญเสียนักสู้ชาวบ้านไปแล้ว 16 คน โดยไม่สามารถจับผู้กระทำผิดได้ นั่นเกิดจากอำนาจใด?” ทั้งนี้ นางดาวัลย์ได้เรียกร้องให้คนไทยทุกคนไม่ปล่อยให้อำนาจเผด็จการในทุกรูปแบบมาทำลายประเทศชาติและประชาชนอีกต่อไป

หลังจากนั้น ได้มีการปาฐกถาในหัวข้อ “เปิดหน้าต่าง สร้างสะพาน สมานใจ : ทางออกจากกับดักแห่งความรุนแรงในยุคทักษิณ” โดย พระไพศาล วิสาโล พระปัญญาชนและนักสันติวิธี จากวัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ พระไพศาล ได้กล่าวเชื่อมโยงให้เห็นว่า นับตั้งแต่การเคลื่อนไหวของนักศึกษาและประชาชน ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 มาจนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (2535) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น “การปฏิวัติทางวัฒนธรรม” ของประชาชนซึ่งมุ่งเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการอยู่ร่วมกันโดยสันติ แต่กลับถูกตอบโต้จากฝ่ายรัฐด้วยความรุนแรงมาโดยตลอด ดังนั้นการแสวงหาหนทางที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติจึงเป็นภารกิจสำคัญ การแก้ไขความขัดแย้งโดยสันติวิธีคือความจำเป็นของคนไทยทั้งชาติ
แต่ผ่านมา 31 ปี เรามีรัฐธรรมนูญที่ให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้นและมีส่วนร่วมในกิจการท้องถิ่นและของชาติ แต่ในแง่ของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและการแก้ไขความขัดแย้งกลับไปได้ไม่ไกลซ้ำบางส่วนกลับถดถอยกว่าเดิม เนื่องจาก 4 ปีของรัฐบาล นายกฯ ทักษิณ สะท้อนลักษณะอำนาจนิยมคือมีแนวโน้มจะใช้ความรุนแรงกับประชาชนที่ประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐและมีการรวมศูนย์อำนาจ ปฏิเสธการมีส่วนร่วมของประชาชน มองแต่ตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลักโดยมิได้คำนึงถึงด้านจริยธรรมและสังคม รวมถึงการเอื้อผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มพวกพ้อง “อำนาจและเม็ดเงินเป็นเครื่องมือที่นายกฯ ทักษิณ เชื่อมั่นและไว้วางใจมากที่สุด ซึ่งมีแต่จะนำสังคมไทยไปสู่ความขัดแย้งที่ลุกลามและรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งหากนายกฯ ซึ่งยึดติดในวิธีคิดและวิธีทำแบบเดิมจะเป็นกับดักให้รัฐบาลติดอยู่กับการสร้างความรุนแรงเชิงโครงสร้างมากขึ้น และนำพาทั้งประเทศให้ติดกับดักแห่งความรุนแรงทั้งหมด”

พระไพศาล ได้เสนอแนวทางออกจากกับดักแห่งความรุนแรงว่า “หากนายกฯ ต้องการนำพาประเทศออกจากกับดักแห่งความรุนแรง นายกฯ จะต้องคิดใหม่ทำใหม่ ด้วยอุปมาอุปมัย 3 ประการคือ 1.เปิดหน้าต่าง หน้าต่างเมื่อเปิดออกย่อมทำให้เราสามารถเห็นโลกภายนอกได้ชัดเจนขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยให้แสงแดดสาดส่องนำความสว่างเข้ามาแทนที่ความมืด รัฐบาลโดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ควรเปิดใจเพื่อขยายวิสัยทัศน์ให้มีความรอบด้าน ไม่จำกัดคับแคบอยู่เฉพาะมิติเศรษฐกิจ หากครอบคลุมไปถึงมิติทางสังคม วัฒนธรรม จริยธรรมและสิ่งแวดล้อม เพื่อทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างสมดุลทุกมิติ เปิดใจรับฟังคำวิจารณ์หรือความเห็นที่ต่างจากตน เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้สื่ออย่างเสรีหรือมีเวทีที่จะแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่กระทบต่อวิถีชีวิตของตน ทางด้านประชาชนก็ควรเปิดหูเปิดตารับรู้ความเป็นไปของผู้คนที่มีอัตลักษณ์และวิถีชีวิตต่างจากตน เปิดใจรับรู้สุขทุกข์ ความใฝ่ฝันของผู้คนต่างศาสนา ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม การรับฟังผู้ที่คิดต่างจากตนจะช่วยให้เกิดปัญญาและมีจิตไม่คับแคบ 2.สร้างสะพาน สะพานเป็นสื่อกลางให้ผู้คนติดต่อสัมพันธ์กันและเกิดความร่วมมือกัน การกระจายอำนาจคือการสร้างสะพานเพื่อให้ประชาชนเขามามีส่วนร่วมกับรัฐในการขับเคลื่อนผลักดันประเทศให้รุดหน้าสู่ความผาสุก ประชาชนจะมาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับรัฐบาลได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลก้าวไปหาประชาชน เคารพและรับฟังเขา 3.สมานใจ ใจที่ประสานเข้าด้วยกันในฐานะเพื่อนร่วมชาติและเพื่อนร่วมทุกข์ย่อมนำไปสู่สันติสุข รัฐบาลและประชาชนควรตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างความสมานฉันท์ในชาติด้วยขันติธรรมและเมตตาธรรม”

ทางด้าน นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ซึ่งร่วมในงานปาฐกถาครั้งนี้ ได้กล่าวว่า คนไทยควรขอบคุณคุณทักษิณที่แสดงให้เห็นว่าอำนาจเงินได้ใช้ช่องว่าทางการเมืองเข้ายึดกุมอำนาจรัฐและเป็นอำนาจเผด็จการ ประชาชนได้เรียนรู้จากของจริงว่าธนาธิปไตยเป็นอย่างไรสังคมจึงต่อต้านระบบดังกล่าว “ระบบธนาธิปไตย คือเงินเป็นใหญ่ วันนี้ไปที่ไหนมีแต่คนคุยเรื่องคอร์รัปชั่น ผลประโยชน์ทับซ้อน เผด็จการทั่วไปหมด ที่ว่ามาเป็นการเรียนรู้ของสังคมที่ต้องการดิ้นรนแสวงหาประชาธิปไตยอยางแท้จริง เราควรขอบคุณคุณทักษิณที่ให้บทเรียนแก่สังคม เราขอแผ่เมตตา” พร้อมกันนี้ นพ.ประเวศ ยังได้ให้ข้อเสนอแนะซึ่งเป็นข้อสอบให้นายกฯ ทักษิณและรัฐบาลว่าจะทำได้หรือไม่ 3 ประการคือ 1.สร้างความเข้าใจให้เกิดประชาธิปไตยโดยตรงที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง 2.ปรับปรุงประชาธิปไตยแบบตัวแทน ลดอำนาจเงินที่เข้ามาสู่การเมือง 3.ควรแยกอำนาจ 3 ประสานที่เป็นต้นเหตุแห่งมหาคอร์รัปชั่นคือ อำนาจการเมือง อำนาจราชการ และอำนาจธุรกิจ ทุกวันนี้อำนาจธุรกิจยึดกุมอำนาจการเมือง และการเมืองได้สยบข้าราชการหมดแล้ว ดังนั้นหากไม่สามารถทำลาย 3 ประสานได้ คอร์รัปชั่นจะแก้ไม่ได้

รายงานโดย ธัญลักษณ์ นวลักษณกวี

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >