หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 686 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


“พระ”ผู้ใช้ “ศาสนธรรม”นำพาชาวบ้านสร้าง “สันติวิธี พิมพ์
Wednesday, 01 November 2006

“พระ” ผู้ใช้ “ศาสนธรรม”
นำพาชาวบ้านสร้าง “สันติวิธี”


พระอธิการเอนก จนฺทปฺญโญ  พระนักอนุรักษ์ ชาวล้านนา

ธัญลักษณ์  นวลักษณกวี : สัมภาษณ์


ท่ามกลางปัญหาผลกระทบจากการทำสวนส้มที่ชาวบ้านในเขตลุ่มน้ำฝาง ต้องเผชิญตลอดระยะเวลา 4 -5 ปีมาจนถึงขณะนี้ พระสงฆ์รูปหนึ่งได้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน วัดได้เป็นศาสนสถานให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนอันเกิดจากการแผ่ขยายตัวของพื้นที่สวนส้มของกลุ่มนายทุน โดยการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำฝาง และเมื่อปัญหานี้กลับไม่ได้รับการแก้ไขอย่างที่ควรเป็น สถานการณ์ความขัดแย้งกลับรุนแรงยิ่งขึ้น พระสงฆ์รูปนี้ยังคงทำหน้าที่ให้ขวัญและกำลังใจ ใช้หลักธรรมโน้มนำชาวบ้านมิให้ท้อถอย หรือแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงตอบโต้ 

พระอธิการเอนก  จนฺทปฺญโญ เจ้าอาวาสวัดคลองศิลา หมู่บ้านสันทรายคองน้อย ต.เวียง อ.ฝาง     จ.เชียงใหม่ พระสงฆ์ผู้ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 4 ปี 2545 ประเภทบุคคลดีเด่น

  • พระนักอนุรักษ์ผู้พลิกผืนป่าเสื่อมโทรมที่ชื่อ ป่าเวียงด้ง หรือ ดงแม่หลักหมื่น จนกลายเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ นำชาวบ้านเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและตระหนักถึงคุณค่าสิ่งแวดล้อม
  • ผู้นำในการต่อสู้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ยึดมั่นในหลักสันติธรรม ดำเนินงานด้วยกุศโลบายทางพุทธศาสนาผสานกับประเพณีท้องถิ่น แสวงหาแนวทางในการแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างเกื้อกูล
  • ประสานความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน ในการร่วมวิจัยศึกษาผลกระทบทางสุขภาพ จากการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่กรณีสวนส้มในพื้นที่ลุ่มน้ำฝาง อ.ไชยปราการ อ.แม่อาย และ อ.ฝาง   

ผู้ไถ่ : อยากทราบถึงสถานการณ์ปัญหาความขัดแย้งในขณะนี้ 

พระอธิการเอนก : ความขัดแย้งเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ช่วงที่มีการแก้ปัญหาตามที่ชาวบ้านได้เรียกร้องไป และมีมติคณะรัฐมนตรีออกมาซึ่งได้แต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ คณะทำงานส่วนต่างๆ มีทั้งชาวบ้าน ผู้ประกอบการ นักวิชาการ และส่วนราชการ แต่ปรากฏว่าทางผู้ประกอบการสวนส้มรายใหญไปปลุกปั่นให้ข้อมูล ผิดๆ กับชาวบ้านที่ปลูกส้มรายย่อยให้ออกมาต่อ ต้านชาวบ้านที่เรียกร้องเรื่องปัญหาสวนส้ม ว่าทำให้ราคาส้มตกต่ำ ทำให้เกิดการพูดจากระทบกระทั่งกัน ไม่พอใจกัน ขณะนี้คณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์และแกนนำชาวบ้านได้รับแรงกดดันจากทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย รวมทั้งส่วนราชการที่วางตัวไม่เป็นกลาง ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ได้มีการร้องเรียนเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหามาเป็นเวลาตั้ง 4 – 5 ปี เรามีหนังสือมีการไปพบปะและร้องเรียนตั้งแต่ระดับ อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล) ไปจนถึงระดับรัฐมนตรี โดยไม่มีใครสนใจและไม่มีใครแก้ไข แต่พอมาปีนี้จากการที่รัฐมนตรีประพัฒน์ลงมาพื้นที่ และได้มีการสั่งการจากนายกฯ ให้มีมติคณะรัฐมนตรีออกมา มีการแต่งตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาขึ้นมา ทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ไปปลุกปั่นรายย่อยให้ออกมาร้องเรียนต่อต้าน มีการไปยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ ส.ส. (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) นายอำเภอและทางจังหวัด  ปรากฏว่าพอสวนส้มได้รับผลกระทบมีการร้องเรียนเช่นนี้ทาง ส.ส. นายอำเภอ และทางจังหวัด มีการตื่นตัว ซึ่งเป็นข้อสังเกตว่า ทำไมชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบได้รับความเดือดร้อนมาเป็นเวลา 4 - 5 ปี เราดำเนินการร้องเรียนต่างๆ ทำไมถึงไม่ออกมา แต่พอผู้ประกอบการเดือดร้อนขึ้นมานิดหน่อยกลับออกมาและกล่าวโจมตีชาวบ้านที่ร้องเรียนปัญหาสวนส้มว่า เป็นผู้ทำลายการลงทุน ทำลายเศรษฐกิจ ทำให้ราคาส้มตกต่ำ ข้อนี้ทำให้เราคิดว่า เอ๊ะ! ทำไมส่วนราชการถึงวางตัวไม่เป็นกลาง ทั้งๆ ที่นายอำเภอก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการคนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาจากมติครม.ในฐานะที่ท่านเป็นหน่วยงานราชการ ท่านควรจะวางตัวเป็นกลางไม่ควรเข้าไปฝักใฝ่ฝ่ายใด เพราะว่าทุกฝ่ายก็คือประชาชนที่ท่านจะต้องดูแล รักษาความสงบ และให้ความอุ่นใจ 


ผู้ไถ่ : ทราบมาว่าขณะนี้ชาวบ้านไม่กล้าออกมาเรียกร้อง  

พระอธิการเอนก : มีการคุกคาม ข่มขู่ เฝ้าดูพฤติกรรมติดตามดูชาวบ้าน แกนนำที่เรียกร้องก็มีมือปืนมีเจ้าหน้าที่ไปสอดส่องติดตาม บางอำเภอ เช่น อ.แม่อาย ทำให้แกนนำชาวบ้านตลอดจนญาติพี่น้องแกนนำเกิดการหวาดผวา กลัว บางคนต้องให้ลูกหลานออกไปจากพื้นที่ ไปหลบก่อน 


ผู้ไถ่ : คิดว่าคณะทำงานแก้ไขปัญหาสวนส้มที่มีการแต่งตั้งขึ้นมาจะช่วยชาวบ้านได้หรือไม่ 

พระอธิการเอนก : คณะกรรมการที่ทางจังหวัดแต่งตั้งขึ้นมา โดยส่วนของทางราชการทำให้ชาว บ้านมองว่าวางตัวไม่เป็นกลาง ทำให้เกิดความท้อใจและหมดความมั่นใจว่าการแก้ไขเป็นไปในลักษณะที่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็คงไม่ส่งผลดีกับชาวบ้านผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน เพราะฉะนั้นแกนนำชาวบ้านจึงมีการประชุมปรึกษาหารือกันว่าเราจะยื่นหนังสือไปทางรัฐมนตรีเพื่อให้ได้รับการแก้ไขหรือสั่งการลงมา เพราะว่าเราอยากให้ทางจังหวัดลงมาทำความเข้าใจกับชุมชนชาวบ้านในท้องถิ่น แม้กระทั่งระดับอำเภอก็ไม่มีการประชาสมพันธ์หรือทำความเข้าใจกับชาวบ้านเลย เราเคยขอร้องและร้องเรียนไปทางจังหวัด ถึงประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาให้ลงมาทำความเข้าใจเขาก็บอกว่าไม่มีเวลา ส่วนทางอำเภอเราคิดว่าพึ่งไม่ได้เพราะเห็นพฤติกรรมของท่านวางตัวไม่เป็นกลาง การแก้ไขปัญหาถ้าเป็นในลักษณะนี้ยังไม่มีการแก้ไขหรือตักเตือนในระดับสูงลงมา ระดับอำเภอระดับจังหวัด คงจะไม่เป็นที่คาดหวังถึงความเป็นกลาง 


ผู้ไถ่ : กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำฝางจะทำอย่างไรต่อไป

พระอธิการเอนก : มีการปรึกษาหารือกันว่าเราจะมีการร้องเรียนและรวมตัวกันลาออกจากคณะกรรมการแก้ไขฯ และมีการยื่นหนังสือไปทางรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่าเราไม่ได้รับการคุ้มครอง แต่ถูกข่มขู่ คุกคาม และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากส่วนราชการ ในระดับอำเภอซึ่งเป็นสาเหตุที่เราจะลาออก  


ผู้ไถ่ : หลังจากนั้นแล้ว แนวทางของกลุ่มอนุรักษ์จะเดินหน้าอย่างไร 

พระอธิการเอนก : ในส่วนของภาระหน้าที่ที่จะต้องต่อสู้กับความเป็นธรรมหรือเรียกร้องให้มีการแก้ไขก็คงต้องทำไปตลอด ตราบใดที่เรายังได้รับผลกระทบอยู่ยังไม่มีการแก้ไขเราก็ต้องทำไป ก็คงจะต้องทำตามประสาของชาวบ้าน ถ้าเราทำในรูปแบบของคณะกรรมการรูปแบบของทางราชการแล้วเราไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งตามรูปแบบของชาวบ้านเราที่เคยใช้กันมาคือ การใช้สันติวิธี ใช้ความอดทน อะลุ่มอล่วย การเจรจากัน ส่วนนี้ทางวัดเราก็เป็นหลักให้ เราไม่อยากให้ชาวบ้านแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรง ด้วยความโมโห เราพยายามไม่ให้เกิดสถานการณ์การเผชิญกันที่รุนแรง ซึ่งก็ได้ผลดีและชาวบ้านก็เชื่อฟังมาตลอด  


ผู้ไถ่ : ท่านรู้สึกหนักใจ ท้อใจ ในการดูแลแก้ไขปัญหาให้ชาวบ้านบ้างไหม 

พระอธิการเอนก : ทีแรกเราก็ตั้งความหวังในส่วนราชการเพราะเมื่อก่อนเราแก้ปัญหาในส่วนของชาวบ้านเรา มีการเจรจาพูดคุยกันและตกลง แต่เมื่อไม่เป็นไปตามที่เจรจาที่ตกลง เมื่อไปถึงส่วนราชการทุกระดับก็มีความมั่นใจว่าปัญหาคงจะแก้ได้ จากที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการและส่วนราชการ แต่ปรากฏชัดออกมาว่าวางตัวไม่เป็นกลางเราก็หมดความหวังว่าจะพึ่งส่วนราชการ ถ้ายังเป็นภาพลักษณ์แบบนี้ก็ไม่มีความหวังแล้ว ก็คงต้องอาศัยตนเอง ชุมชนของชาวบ้านที่จะแก้ไขกันเอง ส่วนชาวบ้านก็ท้อถอยว่าเขาเป็นชาวบ้านได้ทำตัวเป็นพลเมืองดีของชาติมาด้วยดีตลอด ทำไมเมื่อมีความเดือดร้อนขึ้นมาถึงไม่ได้รับความสนใจและเอาใจใส่จากภาครัฐเลย ก็มีการท้อใจบ้าง แต่ที่ยังมีกำลังใจกันอยู่ก็คือทางส่วนของวัดเราที่ให้คติให้ธรรมะกับชาวบ้าน 


ผู้ไถ่ : ท่านให้คติ ให้โอวาทอย่างไรแก่ชาวบ้านในสถานการณ์เช่นนี้ 

พระอธิการเอนก : เราไม่ได้ให้ธรรมะโดยตรง แต่เราจะให้ตามสถานการณ์ ยกตัวอย่างว่า ชาวบ้านทนไม่ไหวแล้ว โมโหแล้ว จะไปบุกรุกล่ะ ส่วนของใครก็จะเข้าไปรื้อทำลายแล้ว ตรงจุดนี้พระก็เข้าไปบอกว่า อย่าทำอย่างนั้นเลยถ้าทำแบบนั้นก็เป็นผลเสียทั้งสองฝ่าย ฝ่ายเขาก็เสียหายทรัพย์สินฝ่ายชาวบ้านก็จะเสียทีเขา ร้องเรียนฟ้องร้องก็จะเป็นข้อพิพาทกันทำให้เสียเวลา เอาเวลามาแก้ไขให้มันตรง

อีกตัวอย่างหนึ่ง เมื่อมีการบุกรุกป่า ชาว บ้านร้องเรียนเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนรับผิดชอบ เขาก็ไม่สนใจที่จะแก้ไขปัญหาปล่อย ให้มีการบุกรุกต่อไป ชาวบ้านก็คิดตามประสาชาวบ้านว่า “เออ เมื่อนายทุนเอาได้และเจ้าหน้าที่ไม่จัดการ ชาวบ้านก็ควรจะไปเอาอย่างน้อยได้คนละ 4 - 5 ไร่ หรือคนละไร่ก็ยังดีเพราะปล่อยไว้นายทุนก็เอาไป เราไปร้องเรียนบอกเจ้าหน้าที่ เขาก็ไม่มีการปราบปราม เราไปเอากันบ้างดีกว่า” เขาจะพูดลักษณะนี้ก็จะทำกันตามแบบชาวบ้าน พระก็เข้าไปบอกว่า “อย่าทำอย่างนั้นเลย ถ้าทำแบบนี้ก็เหมือนเราไปตกหลุมพรางนายทุนเพราะชาวบ้านเราก็คงจะรักษาไว้ไม่ได้ ถึงจะได้กันคนละไร่ 5 ไร่ ต่อไป 5 ปี 10 ปี ก็ต้องขายให้นายทุนเพราะว่าทุนที่จะทำไม่มี” เราก็พูดคุยให้สติชาวบ้านในลักษณะนี้ ส่วนหนึ่งเมื่อส่วนราชการเขาไม่มาทำ ชาวบ้านเราก็รักษาดูแลกันเอง เรารักษาดูแลของเรา เราก็ได้รับประโยชน์ของเรา   


ผู้ไถ่ : ท่านเองมีหลักอย่างไรที่ใช้ยึดถือ ทำให้มีกำลังใจช่วยชาวบ้าน

พระอธิการเอนก : คือจิตสำนึกว่าเราเป็นคนในชุมชนในหมู่บ้าน เมื่อชุมชน หมู่บ้านได้รับผลกระทบ ได้รับความเดือดร้อน ความเดือดร้อนและผลกระทบนี้ก็ต้องมาถึงตัวเรา เพราะฉะนั้นในฐานะที่ว่าอยู่ในสถานะที่จะช่วยเขาได้ ถึงไม่ได้ช่วยโดยตรงก็จะช่วยทางอ้อม ถึงตนเองไม่ได้เข้าไปช่วยก็อาจจะสื่อหรือหาวิธีอื่นมาช่วยเหลือเขาได้ เรามีความคิดและจิตสำนึกแบบนี้เราจึงมาทำงานนี้     

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >