หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนกับคำสอนด้านสังคม arrow การค้าเสรี กับคำสอนด้านสังคม
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 87 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


การค้าเสรี กับคำสอนด้านสังคม พิมพ์
Monday, 30 October 2006


ปิดเล่ม

การค้าเสรี กับคำสอนด้านสังคม

อัจฉรา  สมแสงสรวง
ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องด้านสังคม


Imageตลอดเวลาแห่งประวัติศาสตร์มนุษยชาติ   เราไม่สามารถขจัดคำที่เรียก อาณานิคม ออกไปได้ การล่าอาณานิคม หรือการเข้าครอบครอง และการตกเป็นเมืองขึ้น เป็นไปเพื่อจุดเป้าหมายทางศาสนา ทางทหาร การเมือง และทางเศรษฐกิจ  โดยเฉพาะเป้าหมายหลังสุดนี้ เริ่มขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 60 เป็นต้นมา  เมื่อโลกตะวันตกที่เลือกแนวพัฒนาประเทศแบบเสรีนิยม  ได้ใช้นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจมาเปลี่ยนวัฒนธรรมการผลิตเพื่อกินเพื่อใช้  เป็นการผลิตเพื่อขายเพื่อผลกำไร  และเพื่อผลประโยชน์กลับคืนสู่กลุ่มคนหยิบมือเดียว ซึ่งคนเหล่านี้มีโอกาสมากกว่าในระดับสังคม เข้าถึงแหล่งทุนและแหล่งเทคโนโลยีได้ง่ายกว่า  การได้เปรียบทางการผลิตที่เหนือกว่านี้ทำให้ต่างก็เร่งผลิตกันมากมาย  ไม่ช้าไม่นานก็เกิดการผลิตล้นตลาดจำเป็นต้องหาตลาดมารองรับผลผลิตส่วนเกิน และเมื่อแหล่งวัตถุดิบในประเทศของตนเริ่มร่อยหรอ จำเป็นต้องหาแหล่งวัตถุดิบในราคาถูก  ซึ่งต้องมองออกไปยังต่างประเทศ  โดยเฉพาะประเทศยากจนที่ยังมีแหล่งวัตถุดิบราคาถูก และเป็นตลาดรองรับผลผลิตส่วนเกิน ซึ่งกลไกที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือแก้ไขภาวะล้นเกินของสินค้า และการดึงกลับซึ่งทรัพยากร รวมทั้งต้นทุนราคาถูกก็คือ การค้าระหว่างประเทศ  และหากเกิดความขัดแย้งขึ้นมา ประเทศที่มีพละกำลังทางทุนนิยมสูงกว่า ก็จะใช้เงื่อนไขทางการเมืองหรือทางทหารเข้ามาแทรกแซง โดยอ้างว่ามาแก้ไขความขัดแย้ง และเพื่อดูแลผลประโยชน์ของคนในชาติที่เข้าไปอยู่ในประเทศคู่ขัดแย้ง ในที่สุดสถานภาพของประเทศคู่ค้านั้น ก็คืออาณานิคม ซึ่งบทเรียนอันขมขื่นที่ประเทศเคยตกเป็นอาณานิคมได้รับ คือ ถูกดูดกลืนทรัพยากรธรรมชาติ ถูกยัดเยียดให้ซื้อสินค้า รวมทั้งการจำต้องรับเอาวัฒนธรรมของประเทศที่เหนือกว่าเข้ามาด้วย  ในขณะที่คนในชาติของตนเองต้องตกอยู่ในสภาพที่ยากจน และด้อยโอกาสทางสังคมในหลายๆ ด้าน 

ข้อตกลงทางการค้าเสรีแบบทวิภาคี  กำลังเดินย่ำอยู่บนเส้นทางประวัติศาสตร์นี้  ประเทศที่อ่อนแอกลายเป็นอาณานิคมของประเทศทุนนิยมที่เข้มแข็ง  ซึ่งในปัจจุบันนี้ คือสหรัฐอเมริกา ที่เร่งให้ประเทศต่างๆ  จัดทำข้อตกลงทางการค้าเสรีกับตน  จากบทเรียนที่เม็กซิโก 1  ชิลี แคนาดา และอาร์เจนตินาได้รับ ก็เป็นตัวอย่างที่กำลังบอกกับประเทศอื่นๆ ที่กำลังเดินตามมา


บรรทัดฐานในการพิจารณาการค้าเสรี

บรรทัดฐานที่หนึ่ง  ตั้งอยู่บนอุดมการณ์เศรษฐกิจเสรีนิยมแนวใหม่  มองว่าทุนสำคัญกว่าคน  โดยตลาดเป็นกลไกที่สำคัญในการทำกำไร  จะมีปัจเจกบุคคล  การแข่งขัน บริโภคนิยม ซึ่งเป็นคุณค่าแบบวัตถุนิยมเป็นตัวชี้นำ  ผลที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่เป็นผู้ผลิต คือ ผลกระทบด้านการจ้างงาน  นโยบายเกี่ยวกับภาคเกษตรต้องเปลี่ยนไปตามข้อตกลงการค้าเสรี  มาตรฐานการลงทุน และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม 

ในขณะที่บรรทัดฐานที่สอง  ถือว่าระบบตลาดต้องถูกชี้นำด้วยหลักเกณฑ์ศีลธรรม  มีรากฐานจากจริยธรรมและศาสนธรรม  เน้นเรื่องศักดิ์ศรีและสิทธิของความเป็นบุคคลมนุษย์  และถือว่าตลาดเสรีควรเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิผล  ส่วนเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ต้องทำให้ศักดิ์ศรีของมนุษย์ได้รับการส่งเสริม และความดีส่วนรวมได้รับการสนับสนุน 2  ซึ่งจะมีคุณค่าแบบความเป็นมนุษย์ เป็นตัวชี้นำ เช่น ความเป็นชุมชน ความเป็นหนึ่งเดียวกัน ความยั่งยืนทางสังคม   ความผาสุกของทุกฝ่าย  และความสัมพันธ์กลมกลืนกับธรรมชาติ   หากการค้าเสรี ส่งผลกระทบต่อมนุษย์  ก็เท่ากับเป็นการท้าทายต่อจุดยืนความเป็นคริสตชน  ในแง่ที่เศรษฐกิจมิได้ทำให้เกิดความยุติธรรมต่อสังคม  


คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรคาทอลิก

Imageในต้นศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่สังคมประสบวิกฤติจากการเอารัดเอาเปรียบด้านแรงงาน พระศาสนจักรยืนยันว่า รัฐต้องเป็นหลักประกันให้ทุกส่วนของชีวิตสังคม และเศรษฐกิจบังเกิดผลดี รัฐต้องทำหน้าที่ดูแลให้การดำเนินเศรษฐกิจเป็นไปเพื่อความเท่าเทียมกันของทุกฝ่าย ด้วยเหตุผลว่า ปัจเจกบุคคล ครอบครัว และสังคม ต้องมาก่อนรัฐ 3  มิใช่ถูกเศรษฐกิจใช้เป็นเครื่องมือเอื้อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจมากขึ้นในทางปฏิบัติในระบบตลาด  และไปกดให้อีกฝ่ายหนึ่งตกเป็นรองในที่สุด  

เมื่อการยืนยันว่า คนสำคัญกว่าทุน ของพระศาสนจักรชัดเจนและไม่เปลี่ยนแปลง  การค้าเสรีที่ใช้กลไกทางเศรษฐกิจนำมาซึ่งเงินตราหรือผลประโยชน์ก่อนแรงงาน  ก็สวนทางกับจุดยืนของพระศาสนจักรอย่างสิ้นเชิง  ทั้งนี้  ระบบตลาดเสรีในปัจจุบัน ได้ละเลยความเป็นมนุษย์  ตลาดเสรีไม่เคยสร้างมาตรฐานเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ 4  กลไกของตลาด มิได้เป็นเวทีที่ตอบสนองความต้องการ ความขัดสนของมนุษย์อย่างแท้จริง ในทางตรงข้าม  ในเวทีค้าขายได้เบียดขับผู้คนส่วนใหญ่ของสังคมออกไป และกลายเป็นผู้ที่เสียเปรียบในเชิงผลประโยชน์ที่จะได้รับ   กลไกของตลาดเสรี ได้คุกคามคุณภาพของความเป็นมนุษย์ ในเรื่องสิทธิของผู้บริโภค ที่ต้องพึ่งพาระบบตลาด สิทธิเกษตรกรที่ต้องดำรงชีวิตจากผลผลิตในไร่นา  สิทธิของคนงานในภาคอุตสาหกรรม  สิทธิของเด็กและเยาวชน  ในระบบการศึกษา  

ดังนี้หากข้อตกลงการค้าเสรี มีแนวโน้มทำประวัติศาสตร์ให้ซ้ำรอย จากความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อราคา / ต้นทุนการผลิต  มาตรฐานคุณภาพของผลผลิตที่ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของประเทศคู่ค้า และสิทธิของความเป็นเกษตรกร แรงงาน และวัฒนธรรมการผลิตของแต่ละประเทศ   พระศาสนจักรถือว่าเป็นหน้าที่ของพระศาสนจักรที่จะต้องปกป้องและนำมาซึ่งการปฏิบัติความยุติธรรม  โดยจะต้องไม่ปล่อยให้ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ต้องตกอยู่ในสภาพที่ถูกละเลย    คำสอนด้านสังคมเรียกร้องว่า คริสตชนต้องช่วยทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมทางสังคมของระบบตลาด  ซึ่งมิใช่เพียงการมุ่งแก้ไขเรื่องการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม  แต่ยิ่งไปกว่านั้น คือ การผลักดันประชาชนให้เข้าไปมีบทบาท  มีส่วนร่วมรับรู้ ร่วมตัดสินใจ และติดตามการดำเนินการของรัฐในเวทีการค้าเสรี   เพราะการที่ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในกลไกตลาดมากขึ้นเท่าไร ก็จะป้องกันการล้อมกรอบเพื่อผลประโยชน์ของพวกผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจมากขึ้นเท่านั้น  และเพื่อมิให้ศักดิ์ศรีของตัวเราเอง ความเป็นกลุ่ม ชุมชน และสังคม ต้องถูกล่วงละเมิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า 


พระศาสนจักรดำเนินการอะไรบ้างหรือยัง

Imageความเป็น “สากล” ของศาสนจักรคาทอลิก ก็สะท้อนความเป็น “สากล” ของโลกทุนนิยมเช่นกัน สถาบันศาสนจักรก็มีลักษณะ “ข้ามชาติ” เช่นเดียวกับบรรษัทข้ามชาติ ที่ใช้ความได้เปรียบทางธุรกิจอยู่ในมือ  ต่างกันที่ศาสนจักรมีหลักเกณฑ์ทางจริยธรรมและคำสอนด้านสังคม เป็นอาวุธที่สำคัญ  เมื่อสภาพการณ์ที่เรียกร้องให้พระศาสนจักรต้องเผชิญหน้ากับความเป็นจริงเช่นนี้  พระศาสนจักรได้ดำเนินการใดบ้างหรือยัง  ทั้งนี้ คำตอบที่ค้นหาได้ไม่ยากต่อความเป็นจริงทางสังคมที่เราต่างประสบอยู่ในขณะนี้  ก็คือการที่ ศีลธรรม  จริยธรรม และคุณธรรมซึ่งเป็นแก่นแท้สำคัญในการสร้างความเป็นสังคมมนุษย์  (หรือ “พระอาณาจักร” ของพระเจ้าในโลกมนุษย์ทุกวันนี้)  ถูกละเลย  หรือถูกบดบัง  อันเป็นบาปที่โลกทุนนิยมสร้างขึ้น หากพวกเราที่เป็นสมาชิกศาสนจักร  ยังนิ่งเฉยปล่อยให้ผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจ ใช้กลไกของข้อตกลงการค้าเสรี มาคุกคาม คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นคน ก็เท่ากับว่าเราเองก็มีส่วนสนับสนุนว่าการกระทำของฝ่ายหนึ่งที่ได้เปรียบต่ออีกฝ่ายหนึ่งเป็นความชอบธรรม   แม้ว่าคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรสากล จะให้หลักเกณฑ์ในการไตร่ตรอง และยืนยันถึงจุดยืนของคริสตชนมากมาย แต่หากว่าเราในฐานะสมาชิกของพระศาสนจักรในระดับท้องถิ่น มิได้นำคำสอนด้านสังคมมาสู่การปฏิบัติ  ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวเองออกสู่การรับรู้ ติดตาม และเท่าทันข่าวสาร   การรวมกันแสดงพลัง หรือความคิดเห็นเพื่อเป็นตัวแทนของผู้ที่ตกเป็นรอง  ผู้ด้อยโอกาส   การปฏิบัติอย่างรู้ตนว่าไม่หลงติดกับกระแสความทันสมัยของวัตถุนิยม ฯลฯ เช่นนี้แล้ว  ความเป็นศาสนจักรที่มีหลักความเชื่อ และพิธีกรรมที่เป็น “สากล” ก็สามารถทัดทาน ความเป็นทุนนิยม ที่กำลังทำให้การค้าเสรี เป็น “สากล” ได้เช่นกัน หาไม่เช่นนั้น  “จุดที่พระศาสนจักรยืน ก็เป็นจุดที่ทุนนิยมได้ปูทางไว้แล้ว”   

   


1 สหรัฐมองว่าเม็กซิโกเป็นแหล่งแรงงานราคาถูก นักลงทุนสหรัฐฯ จึงเข้าไปลงทุน โดยนำทุกสิ่งทุกอย่างเข้าไปด้วย คือเครื่องจักร เทคโนโลยีและวัตถุดิบ  นอกจากนี้ มาตรฐานสิ่งแวดล้อมของเม็กซิโกต่ำ จึงเหมาะกับอุตสาหกรรมที่ไม่สะอาดและไม่สามารถทำได้ในสหรัฐฯ ที่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมเคร่งครัด  ผลกำไรที่เกิดขึ้น ก็สามารถส่งออกจากเม็กซิโกได้อย่างไม่จำกัด  ในขณะที่ชาวเม็กซิกันได้ประโยชน์คือเป็นเพียงแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น  นอกจากนี้  เกษตรกรเม็กซิกัน ไม่สามารถปลูกข้าวโพดสู้สหรัฐฯ ได้อีกต่อไป  และหันมานำเข้าข้าวโพด 6.2 ล้านตัน ต่อปี

พระสมณสาสน์ Centesimus Annus

3 พระสมณสาสน์ Rerum Novarum

4 พระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >