หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนกับคำสอนด้านสังคม arrow สันติภาพและการคืนดี (Peace and Reconciliation) อัจฉรา สมแสงสรวง
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 49 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สันติภาพและการคืนดี (Peace and Reconciliation) อัจฉรา สมแสงสรวง พิมพ์
Thursday, 06 July 2006

  

Image    

     
      สันติภาพและการคืนดี


           (Peace and Reconciliation)


อัจฉรา สมแสงสรวง  ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องด้านสังคม


สันติภาพ

หากเราถูกถามว่า สันติภาพหมายถึงอะไร  ก็คงจะมีหลายคำตอบที่อธิบายภาวะแห่งสันตินั้น  อาทิ ภาวะไร้สงคราม  ความผสานกลมกลืน ความปรองดอง ความเงียบสงบ  ความเยือกเย็น ความแจ่มใส  ความไม่กังวล ความพอใจ และยอมรับสภาพของตนเอง ฯลฯ  แต่สันติภาพที่แท้จริงนั้น  อยู่สูงกว่าและลึกซึ้งกว่าภาวะความสงบทั้งในระดับส่วนตัวและสังคม และสันติภาพมิใช่เรื่องของโครงสร้างและกลไก (นิติบัญญัติ การเมือง เศรษฐกิจ)   แต่เป็นเรื่องของประชาชนผู้สร้างสันติ   สันติภาพที่แท้จริง เกิดขึ้นจากการยอมรับว่า เรามนุษย์มาจากพระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน และเป็นพี่น้องกัน(มธ.25:40)  นั่นหมายถึง คนไม่ดี คนไม่น่ารัก คนที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย คนยากจน และคนต่ำต้อยอื่นๆ  ก็เป็นพี่น้องของเรา  ใครที่ตีตัวออกห่างจากคนเหล่านี้  ใครไม่สนิทกับผู้อื่น ก็เท่ากับเขากำลังตีตัวออกห่างหรือไม่สนิทกับพระเยซูคริสต์  เช่น  คำว่าสันติภาพในภาษาฮีบรู คือ Shalom เป็นคำกล่าวทักทายกันในปาเลสไตน์สมัยของพระเยซูเจ้า ที่แสดงออกถึงความปรารถนาดีให้แก่ผู้รับว่า ขอให้ปลอดภัย  ในพระคัมภีร์ของชาวยิว shalom หมายถึง ความผาสุข ซึ่งเป็นการขอให้คุณได้รับพระพรในสิ่งที่ดี  หรือในพี่น้องมุสลิม คำว่า Salaam  คือสันติภาพ ซึ่งเป็นคำที่ใช้ทักทายเมื่อเจอกัน หมายถึงขอให้สันติอยู่กับท่าน  ซึ่งแสดงออกถึงความปรารถนาดีที่มีต่อกัน

ภาพจาก www.momsbreak.comในพระธรรมใหม่ ‘สันติภาพ’ เป็นสิ่งแสดงถึงภาวะความสัมพันธ์อย่างมีเอกภาพและลึกซึ้งที่มนุษย์มีต่อพระเจ้า ต่อเพื่อนมนุษย์ และต่อสรรพสิ่งรอบข้าง  สันติภาพคือการยอมเป็นหนึ่งเดียวกับทุกคน เพราะการยอมเป็นหนึ่งเดียวกับผู้อื่น  เป็นพื้นฐานและเงื่อนไขของการสร้างสันติภาพที่แท้จริง  (บทเรียนจากสถานการณ์ภาคใต้ เป็นโจทย์สำคัญว่า ฝ่ายปกครอง  ผู้นับถือศาสนาพุทธ และชาวคริสต์ ได้เป็นหนึ่งเดียวกับความทุกข์ยากของพี่น้องชาวมุสลิมหรือยัง) นักบุญอิกญาซิโอ แห่งอันติโอ๊ค  ได้กล่าวอุปมาเรื่องสันติภาพไว้ว่า เมล็ดข้าวย่อมสลายเข้าไปอยู่ในขนมปังฉันใด  คริสตชนก็ยอมสลายตัว หรือสลายชีวิตของตนเข้าดำรงชีวิตอยู่ในองค์พระคริสต์ฉันนั้น สันติภาพจึงเกิดขึ้นเพราะไม่มีสองฝ่ายแล้ว แต่มีร่างกายเดียวกัน   มีคำสอนสมัยพระเยซูที่น่าสนใจ  พระองค์ทรงสอนว่า  ถ้าท่านนำเครื่องบูชามาถึงแท่นบูชาแล้ว และนึกขึ้นได้ว่า ท่านมีเหตุขัดเคืองข้อหนึ่งข้อใดกับพี่น้องของท่าน จงวางเครื่องบูชาไว้หน้าแท่นบูชา และกลับไปคืนดีกับผู้นั้นเสียก่อน แล้วจึงค่อยถวายเครื่องบูชาของท่าน (มธ.5:23-24)  ซึ่งหมายถึง หากเราไม่คืนดีกับเพื่อนที่เราทำความขุ่นข้องหมองใจให้เขา  ก็ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะเข้าไปถวายเครื่องบูชา 


สันติภาพ = ความรัก + ความยุติธรรม

Imageสันติในตัวบุคคลอยู่รอดได้ด้วยความรัก  สันติของสังคมอยู่รอดได้ด้วยความยุติธรรม  ความยุติธรรมและความรักเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกันมาก  เกินกว่าที่เราจะจินตนาการได้  ตัวอย่างต่อเรื่องนี้   ในสมัยพระเยซูเจ้า ถ้าทหารโรมันคนใดบังคับท่านให้แบกสัมภาระของเขาไปในระยะทางหนึ่งกิโลเมตร  จงแบกไปกับเขาต่อไปสองกิโลเมตร นี่เป็นกฎหมายชาวโรม ที่เข้ามาปกครองชาวยิว  ในสมัยก่อนไม่มียานพาหนะบรรทุก  เขามีสิทธิ์เกณฑ์ชาวบ้านแบกสัมภาระจากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง  แต่บางครั้งหมู่บ้านอยู่ห่างไกล เขาจึงเกณฑ์ชาวบ้านให้แบกไปเพียงครึ่งทาง  อันที่จริงแล้ว ทหารเหล่านั้น ก็เป็นชาวโรมัน ที่ไม่มีสิทธิมาสั่งชาวบ้าน  พระเยซูเจ้าบอกว่า อย่าไปเอาเรื่องกับทหารเหล่านั้น  เขาก็ต่างบ้านต่างเมืองมา และบางคนก็คงไม่อยากมา  ดังนั้น เมื่อเขาอยู่ในสภาพเดือดร้อน เราก็น่าที่จะแบ่งปัน โดยยอมรับภาระแบกสัมภาระของเขาต่อไปอีก   ที่จริงเรื่องนี้ ชาวยิวบอกว่า ไม่ยุติธรรม  แต่พระเยซูเจ้าบอกว่า  เรื่องยุติธรรมนั้นต้องมีความรักเข้ามาเกี่ยวข้อง  แม้ว่าทหารจะเป็นพวกอื่น  เราต้องเห็นว่าเขาลำบาก เขาเป็นพี่น้อง เขาเป็นลูกของพระเช่นกัน

ความจริงในโลกนี้  คือ โลกที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง ระหว่างผู้มีอำนาจมากกว่า กับผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่า และบ่อยครั้งที่การอ้างเรื่องความดี ความชอบธรรม เพื่อเป็นเครื่องมือต่อสู้ในสนามขัดแย้ง   อาทิ ความห่วงใยที่แฝงเร้นไว้ด้วยความโลภ  (การพัฒนาทางเศรษฐกิจ / WB/ADB)* การสร้างเสรีภาพทางการค้า (FTA)**  ที่นำไปสู่การสร้างความเป็นทาส  การต่อต้าน (ผู้ก่อการร้าย) อย่างอดทนนำความโหดร้ายมาสู่ประชาชน  สงครามและการประหัตประหาร บ่อยครั้งมักอ้างว่ากระทำในนามศาสนา เพื่อขจัดความชั่วร้ายและสร้างสันติ แต่แท้จริงเป็นการยึดติดในความดีที่ตนเข้าใจ  หรือความยึดมั่นถือมั่นใน ตัวกู ของกู (ท่านพุทธทาส)  ความคิดเห็นของคนอื่นที่ต่างจากตนถือว่าเป็นศัตรู   ดังนั้น  เมื่อสันติภาพเกิดขึ้นจากบุคคลที่มีชีวิตอยู่ด้วยความรัก สังคมดำรงอยู่ด้วยความยุติธรรม  จึงจำเป็นที่ความยุติธรรมในสังคม จะต้องมีการปฏิบัติความรัก มาเป็นสหายร่วมเดินทางเสมอ


คุณธรรมหลักของสันติภาพ

ภาพจาก www.virginia.eduพระสมณสาสน์ สันติในโลก (Pacem in Terris) ปี 1963 เป็นเอกสารที่พระศาสนจักรแสดงจุดยืนของตนเองต่อเหตุการณ์ของโลก  โดยเฉพาะต่อประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาต่างๆ  โดยกล่าวถึงหลักคุณธรรม 4 ประการ ซึ่งเปรียบเสมือนเสาหลักในการสร้างสันติภาพ คือ ความจริง  ความยุติธรรม ความรัก และเสรีภาพ

ความจริง คือ การตระหนักรู้และยอมรับในศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ทุกคน รวมทั้งการรู้ถึง   หน้าที่ของตนที่ต้องปฏิบัติต่อผู้อื่น   และในมิติของศาสนสัมพันธ์  ต้องเข้าใจว่า ไม่ใช่ตัวฉันเท่านั้นที่ตระหนักรู้ในความจริงดังกล่าว  ส่วนคนอื่นไม่ตระหนักรู้  แต่ด้วยความถ่อมตัว  เราต้องกล่าวว่า ชาวพุทธ ชาวมุสลิม ชาวฮินดู ฯลฯ พวกเราต่างร่วมแสวงหาความจริง

ความยุติธรรม คือ การที่ทุกคนปฏิบัติต่อคนอื่น ด้วยการเคารพในสิทธิของเขา อย่างไม่เลือกที่รักมักที่ชัง (เลือกปฏิบัติ)  ยิ่งกว่านั้น เราต้องอ่อนไหวต่อสิ่งที่จะทำให้ความยุติธรรมถูกบั่นทอน  และต้องเชื่อมั่นว่า เพื่อนร่วมสังคมที่เป็นชาวพุทธ ชาวมุสลิม ก็อ่อนไหวในสิ่งที่เป็นความอยุติธรรมเช่นกัน   ดังนั้น เราต้องร่วมกันแสวงหาแนวร่วมเพื่อปฏิบัติความยุติธรรม

ความรัก คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และแบ่งปันในสิ่งที่เรามีให้แก่ผู้อื่น  โดยเฉพาะในเรื่องของปัญญา  คุณธรรม (จิตใจที่งดงาม) กล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นการเคารพในความเป็นตัวตนของผู้อื่น  เคารพว่าชาวมุสลิม คือชาวมุสลิม  มิใช่เขาเป็นแค่มนุษย์คนหนึ่ง  และต้องฟังผู้อื่น และจาริกร่วมไปกับเขา  ความรักที่แท้คือความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข

เสรีภาพ คือ การที่เราแต่ละคนมีอิสระในการกระทำตามเหตุผลของตน (ไม่ทำตามอำเภอใจหรือตกเป็นทาสอารมณ์ตนเอง)  และมีความรับผิดชอบในสิ่งที่เรากระทำ (สามารถบังคับใจตนเอง)

พระศาสนจักรคาทอลิกในเอเชียเอง  ก็ได้เพิ่มองค์ประกอบอีก 4 เรื่อง ที่มีส่วนสำคัญในวัฒนธรรมของการสร้างสันติภาพ   นั่นคือ
     1. การฟังซึ่งกันและกัน  การที่เราฟังผู้อื่นถือเป็นสิ่งที่ต้องมาก่อน  เราต้องถามตัวเราเองเสมอว่า ในฐานะที่เป็นคริสตชน เราพูดมากไป และฟังคนอื่นน้อยไปหรือไม่   เราได้ตั้งใจฟังคนอื่นเพื่อเข้าใจถึงความจริง เห็นอกเห็นใจในความทุกข์  และร่วมยินดีกับความสุขในตัวคนๆ นั้นหรือยัง 
     2. การแบ่งปัน  คือการแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตของเรากับผู้อื่น
     3. การทำงานร่วมกัน  โดยเฉพาะการทำงานเพื่อนำไปสู่สันติ และการอยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ
     4. การภาวนาร่วมกัน ซึ่งมิได้หมายถึง การมาออกเสียงสวดร่วมกัน  แต่อาจจะเป็นการที่แต่ละคนได้มาไตร่ตรองถึงชีวิตภายในของตนเองอย่างเงียบๆ  ซึ่งการภาวนาแบบหลังนี้ จะช่วยให้แต่ละคนค้นพบความหมายของชีวิต มากกว่าการเปล่งเสียง หรืออ่านบทภาวนา  (silent = listen)

ทั้งหมดนี้  เป็นพันธะหน้าที่ของคริสตชน และผู้ยึดถือในคุณธรรมความดี  เพราะการเป็นคริสตชน คือการอยู่เพื่อผู้อื่น เราทุกคนได้รับกระแสเรียกให้ทำอะไรอย่างหนึ่งในสังคม เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น  เราต้องสำรวจตนเองเสมอว่า แต่ละวันเราได้ทำอะไรให้คนอื่นมีความสุขสันติหรือยัง   สันติที่เกิดขึ้นในผู้อื่น เป็นสันติที่เกิดขึ้นในตัวเราด้วย


การคืนดี (Reconciliation)

Imageคำจำกัดความของ การคืนดี นั้นมีแตกต่างกันไป  ความหมายแรกคือ การรื้อฟื้นความกลมกลืนขึ้นมาใหม่หลังจากเกิดความขัดแย้ง   หรือหมายถึง การยุติการเป็นปฏิปักษ์ระหว่างสองฝ่าย  และแม้ว่าความหมายของการคืนดีจะไปในทางแก้ไข ฟื้นฟูให้ดี  แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือกระบวนการคืนดี ต้องเริ่มต้นด้วยการให้อภัยต่อการกระทำ (ไม่ดี) ในอดีต และลงเอยด้วยความสันติ

ในพระคัมภีร์  คำว่า ‘การคืนดี’ นี้ไม่ค่อยมีปรากฏในพระธรรมเก่า  แม้ว่าจะมีเรื่องเล่าต่างๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับการคืนดีกัน เช่น การคืนดีกันของยาโคบและเอซาว (ปฐก.33)  หรือ โยเซฟ กับพี่น้อง (ปฐก.45)  แต่สาระสำคัญของพระธรรมเก่า คือ การลบล้างบาป  โดยผ่านพิธีกรรม ซึ่งจะทำให้บาป / ความผิดชั่วของมนุษย์ถูกชำระไป และเป็นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า (ลนต.16)

ในพระธรรมใหม่ ก็มีเรื่องราวเกี่ยวกับการคืนดีเช่นกัน  อาทิ นิทานเปรียบเทียบเรื่องลูกที่หายไป (ลก. 15) : การจากบ้านของบิดาไปใช้ชีวิตตามลำพัง และใช้จ่ายทรัพย์สินของตนอย่างสุรุ่ยสุร่าย ใช้ชีวิตอย่างเหลวแหลก และว่างเปล่า   ในที่สุดก็หมดตัว และตกอยู่ในสภาพที่หิวโหย ไปกินอาหารของหมู  ซึ่งหมายถึงการสูญเสียศักดิ์ศรี ต้องทนรับสภาพต่ำต้อย และความอดสู  ในที่สุด เขาโหยหาคิดถึงบ้าน (มนุษย์ผู้รู้จักความอ่อนแอ ความผิดพลาดของตนเอง  คือมีมโนธรรมสำนึก) และกล้ากลับไปยังบ้านของตน  เขาพบว่าพ่อรอคอยการกลับมาของเขา พ่อไม่เคยลืมลูกของตน และต้อนรับเขาอย่างดี ซึ่งเป็นการต้อนรับที่สะท้อนว่า ความรักของพ่อและการคืนศักดิ์ศรีแก่เขา  เป็นเครื่องหมายถึงความเมตตากรุณาของพระเจ้า ผู้พร้อมเสมอที่จะให้อภัย เพื่อให้การคืนดีมีความหมายที่สมบูรณ์  

ในขณะที่อีกตัวละครหนึ่ง คือลูกชายคนโตปฏิเสธไม่ยอมร่วมงานนี้   เขาตำหนิทั้งพ่อและน้องชาย และมองว่าตนเองเป็นคนขยันไม่เคยเที่ยวเตร่  แต่ไม่เคยได้รับอนุญาตจากพ่อให้จัดงานเลี้ยงใดๆ   ตัวละครหลังนี้ สะท้อนถึงมนุษย์ทุกคนที่จิตใจแข็งกระด้าง เห็นแก่ตัว และมืดบอดต่อคนอื่นและต่อพระเป็นเจ้า มนุษย์ที่หวังจะได้รับรางวัลและการตอบแทน  มนุษย์ที่หวังจะได้รับการยกย่องเชิดชู  เมื่อเป็นเช่นนี้ เขาก็ยากที่จะยอมรับและเข้าใจความผิดพลาดของคนอื่น  ที่สำคัญคือ จิตใจของเขาไม่รู้จักที่จะรักผู้อื่น

คำว่า การคืนดี (Reconciliation) ปรากฏขึ้นในภายหลัง อาทิ จากบทจดหมายของนักบุญเปาโล  ที่กล่าวถึงภารกิจของพระเยซูเจ้าในโลกนี้ ทำให้มนุษย์กลับคืนดีกับพระเจ้า (รม. 5:11) และการคืนดีของชาวยิวกับพวกต่างชาติ (อฟ 2:12-16) หรือการคืนดีของบรรดาสรรพสิ่งกับพระเจ้า (คส. 1:19-20)  รวมทั้งพันธกิจแห่งการคืนดีกันที่พระคริสต์มอบไว้แก่พระศาสนจักร (2 คร.5:11-21)


ความเข้าใจของคริสตชนในเรื่องการคืนดี

ภาพจาก www.europa.eu     1.การคืนดีเป็นการทำงานของพระเจ้า  ผู้ริเริ่มและผู้กระทำการคืนดีนั้นสำเร็จในมนุษย์     
     2.การคืนดีเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นในตัวผู้ตกเป็นเหยื่อ หรือผู้ถูกกระทำ มิใช่ผู้กระทำผิด  (ซึ่งต่างจากกระบวนการคืนดีที่เราเข้าใจกัน ที่ต้องการให้ผู้กระทำผิดเป็นทุกข์เสียใจต่อการกระทำของตนเอง) เพื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำผิด และผู้ถูกกระทำ จะได้รับการเยียวยาแก้ไข 

การคืนดีในความเข้าใจของคริสตชน ต้องมุ่งให้ความสำคัญไปที่ผู้ถูกกระทำ  เพราะการคืนดีเป็นแผนการของพระเจ้า  เราเชื่อว่าพระเจ้าทรงให้ความสำคัญแก่ผู้เดือดร้อนเป็นอันดับแรก  สิ่งที่พระเจ้ากระทำในการคืนดี คือการฟื้นฟูศักดิ์ศรีและชุบชีวิตใหม่แก่ผู้เดือดร้อนที่ถูกล่วงละเมิดโดยผู้กระทำผิด   ซึ่งการฟื้นคืนศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ขึ้นใหม่นี้ เป็นพื้นฐานของกระบวนการคืนดี 

สำหรับผู้ที่กระทำผิดความยุติธรรม  พวกเขาไม่เพียงแต่จะทำลายศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ของเหยื่อผู้ถูกกระทำ  แต่เขายังทำลายศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ของตนเองลง  การกระทำของเขาเป็นตัวการที่บดบังไม่ให้เห็นว่าเขาทำอะไรต่อตนเอง  เขาไม่เข้าใจถึงความชั่วร้ายในสิ่งที่ได้ทำไป และยังกลัวที่จะทบทวนว่าการกระทำของเขาต่อผู้อื่นนั้นคือสิ่งที่เขาได้กระทำต่อตนเองด้วย


การให้อภัยเป็นหัวใจของการคืนดี

Imageในกระบวนการคืนดี   มีเรื่องของความยุติธรรม (ตามกฎหมาย) เข้ามาเกี่ยวข้อง   หลายๆ ครั้ง เราเรียกร้องให้มีการลงโทษผู้กระทำความผิด เพื่อแสดงความยุติธรรมให้แก่ผู้ถูกกระทำหลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น  ทั้งนี้เราถือว่าเป็นความยุติธรรมที่จะใช้การลงโทษชดใช้ความผิด  แต่นั่นไม่ใช่วิถีของการคืนดี   ในทางกลับกันก็เป็นสาเหตุของการแบ่งแยกกันในสังคม  ยิ่งกว่านั้น ในหลายเหตุการณ์ที่ผู้กระทำความผิด ยังคงมีอำนาจล้นฟ้า และไม่มีใครกล้าเอาโทษได้

ดังนี้  การฟื้นฟูสันติไม่สามารถสำเร็จได้ หากในกระบวนการคืนดีจะยึดถือแต่ความยุติธรรมตามกฎของสังคม   ทั้งนี้  ยังมีอีกเรื่องที่เป็นหัวใจสำคัญ  นั่นคือ การให้อภัย   ซึ่งเป็นเรื่องของส่วนตัว เป็นเรื่องของจิตใจที่มุ่งมั่นต่อต้านสัญชาตญาณตามธรรมชาติมนุษย์ ที่จะตอบแทนความชั่วร้ายด้วยความชั่วร้าย  ดังนี้  ผู้ถูกกระทำ (อันที่จริง คือพวกเราทุกคน) ต้องมีทัศนคติแห่งการให้อภัยอย่างจริงใจ  การให้อภัยเป็นการปฏิบัติความรัก  ผู้ให้อภัยต้องชำระบาดแผล ความเจ็บปวด ความเคียดแค้นที่เกิดขึ้นในใจ (ดังที่พระเยซูเจ้า ทรงภาวนาในขณะที่พระองค์ตรึงอยู่บนกางเขนว่า "พระบิดาเจ้า โปรดทรงให้อภัยพวกเขา เพราะพวกเขาไม่รู้ว่าตนกำลังทำอะไร" ลก.23: 24)   เพราะหากไม่มีการให้อภัย ก็เท่ากับว่า เราปิดกั้นตัวเองจากการให้อภัยของพระเป็นเจ้า ดังบทภาวนา  โปรดยกโทษข้าพเจ้า เหมือนข้าพเจ้ายกให้ผู้อื่น (มธ.6: 12)  บาดแผลในใจก็ยังพุพองอยู่  เปรียบเสมือนเชื้อเพลิงที่คอยปะทุขึ้นอยู่เรื่อยๆ  อันจะนำไปสู่ความเกลียดชัง การแก้แค้น ตอบโต้กัน  และในส่วนของผู้กระทำผิด  ก็ต้องมีการสำนึกผิด  ซึ่งการให้และรับการอภัยนี้  เป็นองค์ประกอบสำคัญในการคืนดี  หากผู้ถูกกระทำไม่อาจให้อภัย (ซึ่งจะต้องให้อภัยก่อน  โดยที่ไม่ต้องรอจนกว่า คนทำผิดรู้สำนึกและมาขอรับการอภัย)  และคนทำความผิดไม่สำนึกผิด  สันติก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้

สิ่งใหญ่โตสามารถมาจากเมล็ดที่เล็กที่สุด
ที่ถูกปลูกด้วยความรักและด้วยการดูแลอย่างอ่อนหวานในหัวใจของผู้อื่น
(มก.4: 26-29)

_______________________________________

* WB : World Bank  /    ADB : Asia Development Bank
** FTA : Free Trade Agreement

 

ความคิดเห็น
ขอขอบคุนคนแต่ง
เขียนโดย ณัฐกานต์ เปิด 2011-09-12 19:04:59
ขอขอบคุนมั๊กๆนร่คร่ ทัมหั้ยฉันได้รุ้เกี่ยวกับเรื่องเสรีภาพเยอะแยะเรยคร่ ! 
ขอขอบคุนอิ๊กที่คร่..♥♥ 
:grin

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า