หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ความยุติธรรมในสังคม โดย คุณพ่อวัชรินทร์ สมานจิต
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1245 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ความยุติธรรมในสังคม โดย คุณพ่อวัชรินทร์ สมานจิต พิมพ์
Wednesday, 13 September 2006

Image
ความยุติธรรมในสังคม 

เราถือว่าปฏิบัติการเพื่อความยุติธรรมและการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงโลกเป็นมิติหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของการประกาศพระวรสาร (ยล 6)


1.  ความเข้าใจเรื่องความยุติธรรม

1.1  ความคิดหลักเรื่องความยุติธรรม มีพื้นฐานมากจากหลักเหตุผลและหลักธรรมชาติ ซึ่งหยั่งรากลึกในธรรมชาติของมนุษย์ กล่าวคือ
1.1.1  มนุษย์ในฐานะที่เป็นบุคคลจะอยู่โดดเดี่ยวตามลำพังคนเดียวไม่ได้ “Man is not an island”
1.1.2  มนุษย์ต้องมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสิ่งที่มีชีวิตอื่น คือ กับพระเจ้า /
สิ่งสูงสุด กับเพื่อนมนุษย์ และกับธรรมชาติ
1.1.3  ในการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นหรือสิ่งที่มีชีวิตอื่น เรียกร้องความยุติธรรมที่มิใช่แต่เพียงเราทำกับผู้อื่นหรือเพื่อผู้อื่น แต่เป็นความยุติธรรมที่เราต้องทำกับตนเองด้วย ความยุติธรรมจึงเป็นคุณธรรมที่สำคัญของการเจริญชีวิตจิต ในการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น

ความยุติธรรมในมุมมองนี้ คือ การมีสัมพันธภาพอย่างมีดุลยภาพที่ถูกต้อง สร้างสรรค์ และมีเสรีภาพ ในระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ และมนุษย์กับพระเจ้า / สิ่งสูงสุด


1.2  ประเภทความยุติธรรมในสังคม

ภาพจาก www.webzoom.freewebs.comความยุติธรรมในสังคม ในมิติความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และในระดับสังคมประเทศชาติ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

1.2.1  ความยุติธรรมในการแลกเปลี่ยน (Commutative Justice /      Reciprocal Justice) เป็นความยุติธรรมที่อยู่ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือกลุ่ม ที่มีข้อตกลงระหว่างกัน บนความถูกต้องและเท่าเทียมกัน

1.2.2  ความยุติธรรมในการแบ่งปัน (Distributive Justice) เป็นความยุติธรรมที่อยู่ในความสัมพันธ์ของสังคมใหญ่ ที่มีส่วนช่วยเหลือและแบ่งปันทรัพย์สิน ความมั่งคั่ง วิทยาการต่างๆ แก่ภาคส่วนอื่นๆ ของสังคม โดยมีหลักคิดว่าทุกคน      ต้องมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และมีโอกาสเข้าถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคม อย่างเท่าเทียมกัน ความยุติธรรมในการแบ่งปันนี้ มีพื้นฐานความคิดมาจากเรื่องความดีของส่วนรวมหรือคุณประโยชน์ของส่วนรวม (Common Good) ซึ่งถ้าผนวกกับคำสอนของพระเยซูเจ้าในพระวรสารนักบุญมัทธิว 5:40-42 ความยุติธรรมในการแบ่งปันนี้มีความหมายที่ลึกซึ้งกว่า นั่นคือ การแบ่งปันตาม  ความจำเป็นของผู้รับ กล่าวคือ ผู้ที่มีความจำเป็นมากกว่าต้องได้รับส่วนแบ่งมากกว่า และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นความรับผิดชอบของผู้ที่มีมากกว่าต่อผู้ที่มีน้อยกว่า ความยุติธรรมในลักษณะนี้เป็นบ่อเกิดแห่งความยุติธรรมในสังคม

1.2.3  ความยุติธรรมในทางกฎหมาย (Legal Justice) เป็นความยุติธรรมที่อยู่ในการดำรงความสัมพันธ์ที่ถูกต้องของบุคคล ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคลต่างๆ ในทุกภาคส่วนของสังคม และในสังคมใหญ่ความยุติธรรมในสังคมต้องมีองค์ประกอบของความยุติธรรมทั้ง 3 ประการนี้ จึงสรุปได้ว่า ความยุติธรรมในสังคมคือ การที่มนุษย์ยอมรับกัน เคารพและปฏิบัติต่อกันและกัน เพื่อนำมาซึ่งความยุติธรรมในการแบ่งปัน การช่วยเหลือกัน อันจะทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอย่างสมบูรณ์ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม  


2.  พื้นฐานแนวคิดความยุติธรรมในสังคม

ความยุติธรรมในสังคมมีรากฐานมาจากการไขแสดงของพระเจ้าในคริสตศาสนา โดยทางพระคัมภีร์ และจากคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร

2.1  พระธรรมเดิม

Image2.1.1  งานสร้างมนุษย์ ให้เราสร้างมนุษย์ตามฉายาตามอย่างของเรา ให้ครอบครองฝูงปลาในทะเล ฝูงนกในอากาศและฝูงสัตว์ ให้ปกครองแผ่นดินทั่วไป และสัตว์ต่างๆ ที่เลื้อยคลานบนแผ่นดิน พระจึงทรงสร้างมนุษย์ขึ้นตามฉายาของพระองค์ ตามพระฉายาของพระเจ้านั้น พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้น และได้ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง (ปฐก 1:26-27)


ก.  มนุษย์มีเกียรติและมีศักดิ์ศรี
:
ให้เราสร้างมนุษย์ตามฉายา ตามอย่างของเรา เพราะมนุษย์....

  • มีจิตวิญญาณ มีความเป็นอมตะ-ความไม่มีขอบเขต
  • มีสติปัญญา มีความคิดสร้างสรรค์
  • มีอิสระภาพ อำเภอใจ น้ำใจ ความรัก
  • รู้จักใช้เหตุผล มีวิจารณญาณ มีมโนธรรมสำนึก ความรับผิดชอบ
  • มีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ภาษา และความเชื่อ

เอกลักษณ์และคุณลักษณะเด่นๆ เหล่านี้ เป็นการแบ่งปันชีวิตของพระเจ้าให้แก่มนุษย์ทำให้แตกต่างจากสรรพสิ่ง สรรพสัตว์ และทำให้มีเกียรติและมีศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกัน เป็นสิ่งสร้างที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาสิ่งสร้างทั้งหลาย มนุษย์จึงต้องเคารพศักดิ์ศรียกย่องและให้เกียรติแก่กันและกัน


ข.  พระเจ้าทรงมอบหมายหน้าที่ให้แก่มนุษย์ พระองค์ทรงให้เกียรติแก่มนุษย์ในการครอบครองและปกครอง....
ให้ครอบครอง.... และปกครอง...

  • มนุษย์ต้องทำงาน หน้าที่การงานจึงนำมาซึ่งเกียรติและทำให้ชีวิตมนุษย์มีคุณค่า ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ในหน้าที่การงานที่มนุษย์ทำนี้ยังหมายถึงการสานต่องานสร้างของพระเจ้า
  • พระเจ้าประทานทรัพยากรให้แก่มนุษย์ทุกคน ทุกคนมีสิทธิในการครอบครองและปกครอง จึงต้องมีการแบ่งปันทรัพยากรแก่กันและกัน พร้อมกับเคารพสิทธิของกันและกัน
  • การครอบครองและการปกครองสิ่งสร้างนั้น มิใช่ลักษณะของการเอาเปรียบธรรมชาติ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสุรุ่ยสุร่าย ไม่บันยะบันยัง ไม่เคารพธรรมชาติ แต่มนุษย์ต้องมีท่าทีของการเคารพธรรมชาติและบำรุงรักษาธรรมชาติ เพื่อการดำรงชีวิตอยู่อย่างเกื้อกูลกันและกัน และส่งเสริมกันและกัน


ค.  ความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์
ในเกียรติและศักดิ์ศรีของชายและหญิง ทรงสร้างให้เป็นชาย และเป็นหญิง

  • ไม่ใช่ชายใหญ่ (สูง) กว่าหญิง หรือหญิงใหญ่ (สูง) กว่าชาย
  • ความเป็นชายและความเป็นหญิง เป็นคุณค่าที่เสริมสร้าง เกื้อกูลกันและกันในการดำรงชีวิต และเติมชีวิตให้สมบูรณ์
  • มนุษย์ทุกคนเป็นบุตรของพระเจ้า เป็นพี่น้องร่วมในองค์พระบิดาเดียวกัน

ความยุติธรรมมีรากฐานมาจากการเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของบุคคล มาจากการเคารพและตระหนักว่าทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับในสิ่งที่เขาต้องการหรือมีความจำเป็นในการดำรงชีวิต และมาจากการเคารพว่าทุกคนมีเอกสิทธิ์ในการตัดสินใจด้วยตนเองที่จะดำเนินชีวิต

2.1.2  พระเจ้าเปิดเผยตัวพระองค์เป็นผู้ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่เมื่อมีการกระทำที่อยุติธรรม

พระเจ้าตรัสว่า เราเห็นความทุกข์ของประชากรของเราที่อยู่ในประเทศอียิปต์แล้ว เราได้ยินเสียงร้องของเขา เพราะการกดขี่ของพวกนายงาน เรารู้ถึงความทุกข์ร้อนต่างๆ ของเขา เราลงมาเพื่อจะช่วยเขาให้รอดจากมือชาวอียิปต์ และนำเขาออกจากประเทศนั้น ไปยังแผ่นดินที่อุดมกว้างขวาง เป็นแผ่นดินที่มีน้ำนม และน้ำผึ้งไหลบริบูรณ์........... (อพย 3:7-10)

2.1.3   พระคัมภีร์ได้อธิบายความยุติธรรมว่าเป็นธรรมชาติของพระเจ้า

  • เพราะพระเจ้า เป็นพระเจ้าแห่งความยุติธรรม (อสย 30:18)
  • เพราะทรงให้ความยุติธรรมและความเที่ยงตรงแก่ข้าพระองค์ (สดด 9:4)

ความยุติธรรมมิใช่เป็นเรื่องของนามธรรม ประชากรชาวอิสราเอลมีประสบการณ์กับธรรมชาติและกิจการการปลดปล่อยของพระเจ้า จำต้องสนองตอบด้วยการมีความเชื่อและปฏิบัติความยุติธรรมต่อเพื่อนบ้านด้วย เช่น ฉลบ 24:14-15, สดด 106:3 และ อสย 58:6-10


2.2  พระธรรมใหม่

ภาพจาก www.europa.eu2.2.1  พันธกิจการไถ่กู้ของพระเยซูเจ้า พระจิตของพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศการปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ คืนสายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระ ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้า (ลก4:18-19)

2.2.2  พระเยซูเจ้าทรงรวมมนุษย์ให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและกับเพื่อนมนุษย์ ด้วยชีวิตและงานประกาศข่าวดี ทรงถวายตัวพระองค์ทั้งครบแด่พระบิดาเจ้าเพื่อการปลดปล่อยมนุษย์ และดำเนินชีวิตเป็นหนึ่งเดียวกับพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุด เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ท่านทำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา (มธ 25:40) และทรงสอนให้มนุษย์มีความยุติธรรมต่อสังคมการเมือง ของของซีซาร์ จงคืนให้ซีซาร์ และของของพระเจ้า ก็จงคืนให้พระเจ้าเถิด (มธ 22:21)

2.2.3  พระเยซูเจ้าทรงประกาศบทบาทของพระเจ้าในวิถีชีวิตของมนุษย์ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมสำหรับผู้ขัดสนและผู้ถูกกดขี่ ในธรรมเทศนาบทแรกของพระองค์ (ลก 6:21-23)

2.2.4  นักบุญเปาโล สอนให้คริสตชนเจริญชีวิตในความเชื่อที่แสดงออกมาด้วยการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นด้วยหัวใจที่รักรับใช้ ซึ่งหมายถึงการยอมรับในศักดิ์ศรีและสิทธิของผู้อื่น ยิ่งคริสตชนแสดงความรักและการรับใช้ผู้อื่นมากเท่าใด ก็จะค้นพบอิสรภาพและความปิติสุขภายในใจมากขึ้นเท่านั้น พร้อมทั้งสามารถช่วยเหลือผู้อื่นให้พบกับอิสรภาพและการหลุดพ้นจากความทุกขเวทนาต่างๆ มากขึ้นด้วย การเจริญชีวิตคริสตชนด้วยความรักและการรับใช้นี้ จะทำให้ความยุติธรรมสมบูรณ์ (ยล 34)


2.3   คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร

2.3.1  พระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ (Gaudium et Spes 1965)

ก. พระศาสนจักรต้องเอาใจใส่ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม และเป็นหนึ่งเดียวกันกับครอบครัวมนุษย์ ความชื่นชมและความหวัง ความโศกเศร้า และความกังวลของมนุษย์ ในสมัยนี้ เป็นต้นของคนยากจน และผู้มีความทุกข์เข็ญทั่วไป ย่อมถือว่าเป็นความชื่นชมและความหวัง เป็นความโศกเศร้าและความกังวลของผู้เป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้าด้วย (ศลน 1)

Imageข. เป็นสิทธิและความรับผิดชอบของศิษย์ที่ติดตามพระคริสต์ จำต้องทำงานปกป้องศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคลอย่างเข้มแข็ง (ศลน 3) และใช้พรสวรรค์อันเป็นของประทาน เพื่อรับใช้ซึ่งกันและกัน (ศลน 7) ทั้งนี้ ไม่ใช่ปัจเจกบุคคลเท่านั้น ที่ได้รับความรอด แต่ทุกคนได้รับความรอดในองค์พระคริสต์ ขอให้แต่ละคนถือว่าเพื่อนมนุษย์ โดยไม่ยกเว้นแต่คนเดียวเป็นตัวของตนอีกคนหนึ่ง ก่อนอื่นให้คำนึงถึงชีวิตของเขาและปัจจัยที่เขาจำเป็นต้องมีเพื่อดำรงชีวิตอย่างสมควร เราต้องทำตัวของเราเป็นเพื่อนมนุษย์ของคนทุกคน ต้องรับใช้เขาอย่างแข็งขัน ไม่ว่าเป็นคนชรา ที่ใครๆ ทอดทิ้ง กรรมกรต่างชาติที่ถูก ดูหมิ่น.... คนถูกเนรเทศ.... เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ไม่ได้สมรสกันตามกฎหมาย... ไม่ว่าจะเป็นคนหิวโหย... ขอให้เราระลึกถึงพระวาจาของพระคริสตเจ้าที่ว่า เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ท่านทำสิ่งใด ต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา (มธ 25:40)  (ศลน 27)

2.3.2  เอกสารความยุติธรรมในโลก (Justice in the World 1971) สมัชชาพระสังฆราช ถือเป็นหน้าที่ของพระศาสนจักรในการส่งเสริมความยุติธรรม โดยยืนยันว่า การปฏิบัติความยุติธรรมและการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงโลกเป็นมิติหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของการประกาศพระวรสาร (ยล 6) กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ภารกิจการช่วยให้รอดของพระศาสนจักร มิได้จำกัดแต่การช่วยด้านชีวิตฝ่ายวิญญาณ แต่ต้องเข้าไปมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงชีวิตมนุษย์ฝ่ายโลก กล่าวคือ ด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจด้วย

2.3.3  สมณสาสน์การเฉลิมฉลองปีที่หนึ่งร้อย (Centesimus Annus 1991) พระศาสนจักรยืนยันว่า ในการส่งเสริมความยุติธรรมจำต้องอาศัยความรัก เป็นความรักที่มีต่อผู้อื่น เฉพาะอย่างยิ่งเป็นความรักต่อคนจน ซึ่งพระศาสนจักรมองเห็นพระคริสตเจ้าในบุคคลเหล่านั้น (ฉปร 58)

2.3.4  สารวันสันติสากลประจำปี (Message on Day of Peace) สันติภาพเกิดจากการถือความยุติธรรม ไม่มีสันติภาพ หากไม่มีความยุติธรรม และจะไม่มีความยุติธรรม หากไม่มีการให้อภัย... สันติภาพที่แท้จริงคือ ผลพวงของความยุติธรรมโดยมีคุณธรรม ศีลธรรมและหลักประกันทางกฎหมาย เป็นสิ่งช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะมีการเคารพสิทธิและความรับผิดชอบอย่างครบถ้วน และจะมีการกระจายผลประโยชน์และภาระต่างๆ อย่างเป็นธรรม... ความยุติธรรมที่สมบูรณ์จึงต้องประกอบด้วยการให้อภัย ซึ่งจะช่วยสมานแผลให้หายสนิท และฟื้นฟูความสัมพันธ์อันร้าวฉานของมนุษย์ให้กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างจริงจัง (สส 2002 ข้อ 15, คำสอนด้านสังคมฯ ภาคอ้างอิง หน้า 190)


3. งานของพระศาสนจักรที่ส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม

Imageในบทสอนของนักบุญเปาโล เกี่ยวกับความรักและความยุติธรรม เป็นคุณธรรม 2 ประการ ที่แยกออกจากกันไม่ได้ในพันธกิจส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม ความรักและความยุติธรรมสะท้อนความสัมพันธ์ของศาสตร์ความรักและความเมตตา กับจริยธรรมทางสังคมของคริสตชน ซึ่งปรากฏเด่นชัดในพันธกิจของพระศาสนจักร 2 ประการคือ

3.1 งานสังคมสงเคราะห์ (Social Service / love / charity) งานในลักษณะนี้ ตอบสนองต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นงานที่อยู่ในมิติของความสนใจ ความห่วงใจ ความสงสาร มีเมตตาธรรม และแสดงออกโดยการช่วยเหลือคนที่เดือดร้อน คนยากจน ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ผู้ด้อยโอกาส เช่น การให้อาหารแก่ผู้ที่หิวโหย การบริจาคเสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ หรือการไปเยี่ยมเยียนผู้ต้องขัง การดูแลเด็กกำพร้า ผู้เจ็บป่วยและคนชรา เป็นต้น

3.2  งานพัฒนาสังคม (Social Action / justice) งานในลักษณะนี้ เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ เพื่อแก้ไขต้นเหตุของปัญหา เป็นพันธกิจที่ช่วยกันแก้ไขโครงสร้างสังคมที่ไม่เป็นธรรม เน้นหนักไปที่การค้นพบต้นเหตุของความทุกข์ยาก ที่เกิดขึ้นกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่าความอยุติธรรมในสังคม และนำไปสู่การแสวงหาแนวทางเพื่อการเยียวยา การแก้ไขต้นเหตุและปัจจัย ที่สร้างความอยุติธรรมนั้นๆ พร้อมกับวางแผนงานพัฒนาชุมชนอย่างเป็นกระบวนการและต่อเนื่อง โดยเน้นการพึ่งตนเองและการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นสำคัญ

อันที่จริงแล้ว งานสังคมสงเคราะห์ งานพัฒนาสังคม และงานส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม เป็นงานสามประสานที่เกื้อกูลและเสริมสร้างกันและกัน โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันที่ต้องการปลดปล่อยให้ตัวบุคคลหรือกลุ่มชนให้เป็นอิสระจากความทุกข์เข็ญในด้านต่างๆ ดังนั้นในขณะที่เราทำงานสังคมสงเคราะห์ เราก็เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาจำเป็นพื้นฐาน ตัวอย่างเช่น เมื่อคนๆ หนึ่งเดินเข้ามาในบ้านของเรา และขออาหาร เพราะเขาตกงาน และเราให้อาหารเขาต่อมาก็หางานให้เขาทำ (เพราะเขาตกงาน) นั่นก็เท่ากับว่า เราทำงานสงเคราะห์และงานส่งเสริมความยุติธรรมในเวลาเดียวกัน

งานส่งเสริมความยุติธรรมเป็นเครื่องมือที่ช่วยคนจน ผู้ด้อยโอกาสหรือผู้ถูกกระทำให้เข้าใจว่า สังคมมีโครงสร้างที่ไม่เป็นธรรมอย่างไร โครงสร้างนั้นส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาอย่างไร และจะร่วมมือกันพัฒนาชุมชนหรือสังคมให้เกิดความยุติธรรมด้วยจิตตารมณ์ของความรักและการรับใช้ ทั้งในเชิงโครงสร้างและการอยู่ร่วมกันได้อย่างไร นอกจากนี้ ความยุติรรมยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยคนจนให้มีประสบการณ์ตรงกับพระเจ้า ว่าพระองค์ทรงดำรงอยู่เคียงข้างผู้ต่ำต้อยเสมอ


4.  การศึกษามีความสำคัญต่อการส่งเสริมความยุติธรรมในสังคมได้อย่างไร

4.1  ความยุติธรรมแบบปัจเจก

Imageปัญหาทุกวันนี้ คนไม่เชื่อว่าความยุติธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ที่เราต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มา เพราะสังคมปัจจุบันให้ความสำคัญมากต่อการคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัว หรือสิ่งที่ตนเองพึงได้รับ มากกว่าความเห็นอกเห็นใจและการช่วยเหลือเกื้อกูล ความยุติธรรมในสังคมปัจจุบัน เป็นผลสะท้อนสังคมแบบปัจเจกนิยม เป็นความยุติธรรมแบบอัตตา เช่น จะยุติธรรมก็ต่อเมื่อฉันเป็นฝ่ายได้ก่อนคนอื่น ได้มากกว่าคนอื่น หรือจะยุติธรรม ก็ต่อเมื่อฉันเสียน้อยกว่าคนอื่น ซึ่งพอสรุปได้ว่า ความเข้าใจเรื่องความยุติธรรมแบบปัจเจกนี้ เป็นผลมาจากการศึกษา และระบบการเรียนการสอนที่ปลูกฝังเรื่องการแข่งขัน กล่าวคือ ต้องได้ดีกว่าคนอื่น ต้องเก่งกว่าคนอื่น ต้องมีความสามารถกว่าคนอื่น ซึ่งเป็นการหล่อหลอมวิธีคิด และการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนเองก่อน คนอื่นทีหลัง


4.2  สถานศึกษา / โรงเรียน เป็นกลไกของสังคมที่มีหน้าที่สำคัญ คือ

4.2.1  เป็นสถาบันที่หล่อหลอมความคิด และประสบการณ์ชีวิตเข้าด้วยกัน กลายเป็นองค์ความรู้ที่สั่งสมมาตามวุฒิภาวะ อันจะเป็นพื้นฐานของการสร้างอุดมการณ์และบุคลิกภาพในชีวิต

4.2.2  ปลูกฝังคุณธรรม สร้างมโนธรรม อบรมบ่มนิสัยและขัดเกลาชีวิตของผู้เรียนให้เป็นคนดี มีจริยธรรม มีความสุข มีความสำนึกดีต่อผู้อื่น ต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสังคม ยืนหยัดอยู่บนความถูกต้องและเคารพในศักดิ์ศรี และความต่างของกันและกัน

4.2.3  สร้างบรรยากาศแห่งการอยู่ร่วมกันฉันพี่น้องในครอบครัวเดียวกัน มีความอบอุ่น มีความรัก ความเอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือผู้อื่น และร่วมกันพัฒนาศักยภาพและบุคลิกภาพของผู้เรียนและบุคลากรในสถานศึกษา

4.2.4  สถานศึกษา / โรงเรียนคาทอลิก จึงเป็นกระบวนการหล่อหลอมชีวิตมุ่งสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นพันธกิจสำคัญในการร่วมงานกับพระเจ้า พระผู้สร้างในงานเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนตามวัยและวุฒิภาวะ


4.3  การให้การศึกษาเพื่อส่งเสริมความยุติธรรมในสังคมของสถานศึกษา

4.3.1  การให้การศึกษาเรื่องความยุติธรรม เป็นการให้ความสำคัญต่อศักดิ์ศรีและคุณค่าของชีวิตมนุษย์ รวมถึงสิทธิของความเป็นมนุษย์ (สิทธิมนุษยชนศึกษา) ทั้งของตนเองและของผู้อื่น มีสิทธิเท่าเทียมกัน มีความเสมอภาคและอยู่ร่วมกันด้วยความเคารพ มีเมตตาธรรมและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันจะนำมาซึ่งความผาสุก ทั้งในชีวิตส่วนตัว ส่วนร่วมและสังคมวงกว้าง

4.3.2  การศึกษาเรื่องความยุติธรรมในสังคม ควรมุ่งกระตุ้นให้ผู้เรียนมีชีวิตชีวา รู้จักคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และประมวลสรุปเป็นแนวทางหรือหลักปฏิบัติเพื่อกระทำกิจกรรมสรรค์สร้างชีวิตที่ดีงามอย่างมีพลังต่อไป ในช่วงวัยแห่งการศึกษานี้ ผู้เรียนควรผ่านประสบการณ์แห่งการตอบสนองต่อสถานการณ์ทางสังคม รู้จักวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ มีความเข้าใจถึงวิกฤตด้านศีลธรรมและชีวิตจิต และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมตามวุฒิภาวะและในสถานการณ์ที่เหมาะสม กล่าวโดยสรุป การศึกษาเพื่อความยุติธรรมในสังคม คือ การศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้ดีขึ้น

Brien Wren นักการศึกษา ได้กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาเพื่อส่งเสริมความยุติธรรมในสังคมว่า มีคำกล่าวในอดีตดังนี้ (ฉัน) ได้ยิน แล้วก็ลืม (ฉัน) เห็น แล้วก็จำ แต่หากฉันทำ ฉันก็เข้าใจ การศึกษาที่นำความหวังมาสู่ชีวิตใหม่ คือ เราต้องเรียนรู้ความยุติธรรมจาก การกระทำ และปฏิบัติควบคู่ไปกับการไตร่ตรอง (Education for Justice, London:SCM Press 1977,P.11)


4.4  ข้อท้าทายต่อสถาบันการศึกษาคาทอลิก

4.4.1  สถาบันการศึกษาคาทอลิก ต้องเป็นสนามชีวิตที่ให้การศึกษาเพื่อความยุติธรรมให้เป็นจริงเป็นจังมากขึ้น เป็นโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างความตระหนักและเข้าใจสาเหตุที่สลับซับซ้อนแห่งความทุกข์ยากของมนุษย์ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันและเกราะป้องกันสำหรับผู้เรียนทุกคน ให้หลุดพ้นจากอคติ จากความคิดที่เลือกข้าง มองคนอื่นเป็นเขา มิใช่เรา อันเป็นผลมาจากความเป็นเลิศทางวิชาการ การแข่งขัน การชิงความได้เปรียบ และมองข้ามความสำคัญของผู้อื่นที่มีโอกาสน้อยกว่า ซึ่งเป็นผลพวงมาจากค่านิยมของทุนเสรีนิยมใหม่ในสังคมยุคปัจจุบัน

4.4.2  สถาบันการศึกษาคาทอลิกเป็นสถานที่บ่มเพาะ ปลูกฝังมโนธรรมสำนึกทางสังคม และส่งเสริมการปฏิบัติความเมตตารักต่อผู้อื่น ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติความยุติธรรมในสังคม เป็นสนามงานที่ฝึกปฏิบัติคุณธรรม จริยธรรมและการอยู่ร่วมกันฉันพี่น้องดุจครอบครัวใหญ่เดียวกัน โดยยึดจิตตารมณ์ของความรักและการรับใช้ และคุณประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ เราจะมีผู้ปกครองที่รับผิดชอบต่ออนาคตของบุตรหลานอย่างมีสำนึก รู้เท่าทันและให้ความอบอุ่นในครอบครัว มีครูที่ไม่ใช้อคติต่อลูกศิษย์หรือเลือกปฏิบัติ แต่พร้อมที่จะอุทิศตนให้กับลูกศิษย์ทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีโอกาสน้อยกว่า มีนายจ้างที่ดูแลเอาใจใส่ลูกจ้างและให้ค่าแรงอย่างเป็นธรรม มีนักวิชาชีพ เช่น แพทย์ที่มีความเมตตาและมนุษยธรรมในการรักษาผู้เจ็บป่วย มีนักบัญชีที่โปร่งใส ยึดความถูกต้องและเป็นธรรม มีวิศวกรที่ไม่แสร้งคำนวณผิด มีตำรวจที่ไม่มองผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคนเลว มีบุคลากรของพระศาสนจักรที่กล้าดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย รักความเป็นธรรมและอยู่เคียงข้างผู้ด้อยโอกาส มีพวกเราทุกคนที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น และยินดีช่วยเหลือทุกคนโดยไม่ลังเลใจ ฯลฯ


5.  ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาการศึกษาเพื่อความยุติธรรม

5.1  กรอบความคิด เรามุ่งหวังให้ผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายที่จะปฏิบัติความยุติธรรมในสังคมดังนี้

5.1.1  ผู้เรียนมีความตื่นตัวถึงประเด็นปัญหาอยุติธรรมที่เกิดขึ้น (การรับรู้การสร้างความตระหนัก)
5.1.2
  ผู้เรียนมีความสนใจ ห่วงใย และเห็นอกเห็นใจผู้ที่ประสบความอยุติธรรมมากขึ้น (อารมณ์ ความรู้สึก)
5.1.3  ผู้เรียนมีความมุ่งมั่นที่จะกระทำกิจการใดๆ เพื่อแก้ไขความอยุติธรรม (พฤติกรรม)


5.2 
แนวทางที่เป็นไปได้ คือ

5.2.1  สนับสนุนเรื่องความเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยจัดให้มีกระบวนการเปลี่ยนจากตนเองสู่ผู้อื่น ดำรงชีวิตในความสัมพันธ์ที่ถูกต้องอย่างมีดุลยภาพกับผู้อื่น กับธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อม และเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า / สิ่งสูงสุดที่ผู้เรียนนับถือ
5.2.2 
ส่งเสริมการศึกษาด้านสังคม โดยอาศัยการศึกษาข้อมูล ข่าวสาร ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา วัฒนธรรม ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต และคุณค่าความเป็นมนุษย์
5.2.3  จัดให้มีกระบวนการให้การศึกษาอบรมเพื่อปลุกจิตสำนึก และสร้างมโนธรรมที่ถูกต้องทางสังคม เช่น กระบวนการศึกษาความจริงและร่วมชีวิต (Exposure Immersion)
สนับสนุนให้ผู้เรียนเข้าร่วมชมรม วาย ซี เอส ฯลฯ
5.2.4 
สร้างชุมชนปฏิบัติความยุติธรรม โดยเริ่มจากในห้องเรียน สถานศึกษา / โรงเรียน และในสังคม
5.2.5  เป็นตัวแทนในระดับนโยบาย ด้วยการทำหน้าที่ เป็นปากเป็นเสียง แทนผู้ที่ไม่สามารถสะท้อนปัญหาของตนเองออกมาได้

5.3  เนื้อหาของคำสอนด้านสังคม ในการทำงานส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม

ภาพจาก www.momsbreak.com5.3.1  ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5.3.2 
ความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต
5.3.3
  ความเป็นครอบครัวและชุมชน
5.3.4
  ความดีส่วนรวม หรือคุณประโยชน์ของทุกคน
5.3.5 
สิทธิมนุษยชน / สันติภาพ
5.3.6 
การอยู่เคียงข้างกับคนจน / ผู้ด้อยโอกาส
5.3.7 
คนงานและสิทธิของคนงาน
5.3.8 
ความร่วมมือช่วยเหลือกัน / ความเป็นปึกแผ่น
5.3.9  การเคารพในสิ่งสร้าง
ธรรมชาติ / สิ่งแวดล้อม
5.3.10  หัวใจของผู้สร้างสันติ  


เอกสารอ้างอิง  1. พระคัมภีร์

                      2. คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร
                          2.1  พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ (ศลน) / Gaudium et Spes (GS)
                          2.2  ความยุติธรรมในโลก (ยล) / Justice in the World (JW)
                          2.3  การเฉลิมฉลองปีที่หนึ่งร้อย (ฉปร) /  Centesimus Annus (CA)
                          2.4  สารวันสันติสากลประจำปี (สส) / Message on Day of Peace (MDP)

                     3. สอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคอ้างอิง โดย คุณพ่อสีลม ไชยเผือก  

 

นำเสนอโดย คุณพ่อวัชรินทร์  สมานจิต
โอกาสสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ฝ่ายเอกลักษณ์ รสจ. เรื่อง ความยุติธรรม
ณ ศูนย์สังฆมณฑลฯ ศรีราชา
22 กุมภาพันธ์ 2549

ความคิดเห็น
PAM
เขียนโดย GPGR เปิด 2013-06-01 08:00:47
ดีมาก :grin
เขียนโดย เปิด 2012-02-12 19:09:35
d ครับ
เขียนโดย BB เปิด 2011-12-05 11:21:32
ดีค่ะ เห็นด้วย

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >