หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 599 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 124: เรียนรู้โลกยุคใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชีวิต จิตวิญญาณ!?
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 124


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


การมีส่วนร่วมของศาสนิกชน ต่อการปฏิรูปการเมือง โดย กองบรรณาธิการ พิมพ์
Tuesday, 22 August 2006


การมีส่วนร่วมของศาสนิกชน ต่อการปฏิรูปการเมือง

โดย กองบรรณาธิการ

Image“...สถานการณ์สังคมได้ทำให้ผู้คนเกิดความสนใจ ห่วงใย และติดตามความเป็นไปที่เกิดขึ้น  ในฐานะที่เราเป็นคริสตชนซึ่งจะต้องให้ความสนใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม การมีภาวะทางการเมืองก็เป็นส่วนหนึ่งของสภาพสังคมที่ปรากฏอยู่ด้วย เมื่อภาคการเมืองไม่สงบสุข ภาคสังคมก็ย่อมได้รับผลกระทบด้วย จึงเห็นว่าเมื่อเกิดความขัดแย้งของหลายๆ ขั้ว ตั้งแต่การลาออกของนายกฯ ซึ่งนำไปสู่การเปิดเผยบาดแผลต่างๆ อย่างที่เรียกได้ว่าถูกซุกอยู่ใต้พรมมาตลอด แต่ก็ถือว่าเป็นบรรยากาศทางการเมืองที่ทำให้เราได้ใช้สำนึกของความเป็นคริสตชนในการตื่นตัวทางการเมืองและเข้าถึงความเป็นจริงให้มากที่สุดต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในแต่ละคู่ แต่ละฝ่าย นี่จึงเป็นโอกาสดีที่เราจะได้เข้าถึงความเป็นจริงว่ามันเกิดอะไรขึ้น เพราะในบรรยากาศที่ผ่านมา ผู้ใช้อำนาจได้ใช้อำนาจกดผู้คนให้อยู่ในภาวะที่เป็นรอง เราจึงไม่สามารถเข้าถึงความเป็นจริงได้...” อัจฉรา สมแสงสรวง เลขาธิการ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) เกริ่นนำในการเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่อง “ปฏิรูปการเมืองกับการมีส่วนร่วมของประชาชน” เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ที่ผ่านมา ซึ่ง ยส. จัดขึ้นโดยมุ่งหวังให้เป็นเวทีซึ่งคริสตชนจะได้แสดงความคิดเห็นและเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่ดังที่ภาคสังคมและภาคประชาชนกำลังช่วยกันระดมสมองกันอยู่ขณะนี้

Imageรสนา โตสิตระกูล ว่าที่สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพฯ ในฐานะวิทยากรหลักในการเสวนาครั้งนี้ ได้แสดงทรรศนะต่อเรื่องของการปฏิรูปการเมืองไว้ว่า นับจากปี ๒๕๔๐ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการปฏิรูประบอบการปกครองครั้งที่ ๑ ประเทศไทยได้รัฐธรรมนูญที่เกิดจากประชาชน เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงและเชื่อกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดในโลก แต่รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ กลับดีเพียงรูปแบบ คือทำได้เพียงแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองแบบเดิมๆ

“เมื่อปี ๒๕๓๕ เป็นยุคสิ้นสุดระบอบเผด็จการทหารอย่างเป็นทางการ แต่ยุคทุนนิยมเริ่มเข้มแข็งขึ้นมาธนกิจทางการเมืองหรือนักการเมืองที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ หรือนักธุรกิจที่เข้ามาเป็นนักการ เมืองเองก็เกิดขึ้น และรัฐธรรมนูญปี ๔๐ นี่ก็เหมาะมาก ส่วนหนึ่งเราได้คนอย่างทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเขาเป็นคนที่มีความสามารถในการใช้กลไกอันนี้มาบิดเบือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เขามักจะอ้างเสมอว่าเป็นกติกาที่เขาไม่ได้ร่างขึ้นเอง แต่เป็นกติกาที่คนอื่นวางไว้ ในสมัยเด็กๆ เรามีคำถามที่ถามกันเล่นๆ ว่า “อะไรเอ่ย คนทำไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ทำ” ซึ่งตอนสมัยเด็กๆ เราจะตอบว่า “โลงศพ” แต่ปัจจุบันนี้คำตอบต้องเป็น “รัฐธรรมนูญ” เพราะคนทำไม่ได้ใช้ คนที่ใช้เขาก็บอกว่า เขาไม่ได้ทำ เขาทำตามกติกาคนอื่นตลอด”

เธอคิดว่า รัฐธรรมนูญปี ๔๐ ยังไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจได้อย่างแท้จริง  “รัฐธรรมนูญฉบับ ๔๐ แม้จะถูกออกแบบมาให้มีการคานดุลอำนาจกัน แต่ก็เป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน และถึงแม้จะมีส่วนที่เปิดให้ประชาชนสามารถใช้อำนาจทางตรงได้บ้าง เช่น ใช้  ๕๐,๐๐๐ รายชื่อ เพื่อถอดถอนนักการเมือง หรือเสนอกฎหมาย “แต่ว่าการใช้อำนาจอันนี้ถูกทำให้หมดสภาพในการเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจัดการนักการเมืองได้ และตอนนี้ต้องบอกว่า ๕๐,๐๐๐ รายชื่อ เป็นเพียงไส้ติ่งในองคาพยพของการเมืองคือ ไม่มีหน้าที่ทำอะไรได้ ตลอดเวลา ๙ ปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีใครใช้ ๕๐,๐๐๐ รายชื่อ เพื่อจัดการกับนักการเมืองได้อย่างแท้จริง”

เธอจึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ประชาชนจะต้องทบทวนให้ดีถึงเป้าหมายของการปฏิรูปการเมือง ว่าเราต้องการปฏิรูปการเมืองเพื่อนำไปสู่สิ่งใด “เวลานี้ เมื่อเราพูดกันถึงเรื่องปฏิรูปการเมือง คนส่วนใหญ่มองเรื่องรูปแบบเยอะ ในขณะที่เราไม่ค่อยมองส่วนที่เป็นเนื้อหาว่าการปฏิรูปการเมืองเพื่อนำไปสู่อะไร เราพูดถึงให้มีรูปแบบประชาธิปไตย มีรูปแบบการเลือกตั้ง มีประชาชนเป็นคนเลือกตั้ง ซึ่งเหล่านี้เป็นเปลือก และเวลานี้ รัฐธรรมนูญถ้าเป็นเครื่องมือก็เป็นเครื่องมือที่ใช้การไม่ได้ ทั้งๆ ที่เราอ้างมาตรา ๓ ที่บอกว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แต่สิ่งที่รัฐบาลพยายามบอกเราคือ การคืนอำนาจให้ประชาชน คือ เมื่อเขายุบสภา ประชาชนมีอำนาจอยู่ในมือเพียง ๒ นาที ในคูหากาบัตรเลือกตั้ง แล้วพอกาเสร็จก็มอบอำนาจคืนให้อีกคนหนึ่ง”

--------------------------------------------------------------------------- 

หลากหลายทรรศนะ ต่อการปฏิรูปการเมือง

Image

คุณพ่อสุเทพ  ภูผา
ศูนย์วิชาการสังฆมณฑลราชบุรี

“...จะทำอย่างไรให้ข้อมูลที่เป็นความจริงถึงรากหญ้าให้ได้ เพราะเขาก็จะมองแค่ผลประโยชน์เฉพาะหน้า เขาให้เงินมา ก็ต้องเลือกเขา สื่อก็ถูกปิดกั้น เป็นปรากฏการณ์ที่น่าเป็นห่วง และข้อสังเกตอีกอย่างคือ ศาสนิกที่เป็นนักธุรกิจก็จะมองแค่เรื่องของผลประโยชน์อย่างเดียวเช่นกัน...”

-------------------------------------------------------------------------- 

ดังนั้นในการปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่นี้ต้องทำให้การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็ง และสามารถใช้อำนาจในการตรวจสอบนักการเมืองเพื่อให้การเมืองมีคุณภาพมากขึ้น “ในการปฏิรูปการเมืองครั้งต่อไป เราต้องทำให้ภาคประชาชนเข้มแข็ง และเมื่อภาคประชาชนเข้มแข็งแล้ว ถ้าประชาชนตื่นตัวมากพอ จะรู้ว่าเราเป็นผู้บริโภคที่กำลังบริโภคสินค้าการเมือง และกำลังโหวตให้กับสังคมที่เราอยากจะเห็นทุกวัน ผ่านการซื้อสินค้าของเรา จึงต้องมีวิธีคืนสินค้าการเมืองที่ไม่ได้เรื่อง ซึ่งเวลานี้ สินค้าการเมืองใช้แต่มาร์เก็ตติ้งอย่างเดียวแต่ไม่มีคุณภาพเลย ประชาชนต้องตื่นตัวให้มากขึ้นและทำให้สินค้าการเมืองต้องปรับตัวและมีคุณภาพ เราต้องทำคนเลวให้ท้อแท้บ้าง เพราะว่าคนเลวมีเยอะ ทำให้เราท้อแท้ เราต้องทำระบบให้คนเลวท้อแท้บ้าง”

“และการที่จะทำให้ ส.ส. หรือนักการเมืองมีคุณภาพ คุณภาพของประชาชนจึงสำคัญที่สุด เราน่าจะทำกองทุนประชาชน ชื่อ “กองทุนพิฆาตทรราชย์” ขอให้ประชาชนบริจาคคนละ ๑ บาท เดือนละ ๓๐ บาท แค่ ๑ ล้านคนก็พอ ซึ่งกองทุนนี้จะเข้าไปดูในประเด็นต่างๆ ที่ประชาชนถูกรุกรานสิทธิอย่างไม่เป็นธรรม เช่น รัฐธรรมนูญรับรองสิทธิชุมชนท้องถิ่น แต่พวกมาเฟียท้องถิ่นหรือนักการเมืองกลับมาแสวงหาประโยชน์ และในปัจจุบันนี้ กฎหมายเป็นเหมือนอาวุธ และเป็นพันธนาการที่เราสู้ไม่ได้ ทำอย่างไรเราจะมีกฤษฎีกาภาคประชาชน และมีนักกฎหมายที่ต่อสู้เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง”

“...การปฏิรูปการเมืองกับการมีส่วนร่วมของประชาชน จะมีคุณประโยชน์ต่อสังคมการเมืองได้ ก็ต่อเมื่อมุ่งไปในทางที่ถูกต้อง และเอื้อประโยชน์แก่ประชาชนทุกคน...”  คำทิ้งท้ายจาก รสนา  โตสิตระกูล จึงเป็นสิ่งที่เราทุกคนต่างก็มุ่งหวังเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ศาสนิกทุกศาสนาควรเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองให้มากขึ้นเพื่อให้เกิดการเมืองที่มีคุณธรรมและจริยธรรม ส่วนปฏิรูปการเมืองครั้งใหม่นั้นต้องเป็นการเมืองของภาคประชาชนที่เข้มแข็งและสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจตรวจสอบและเอาผิดนักการเมืองฉ้อฉล จึงจะเปลี่ยนนักการเมืองให้มีคุณภาพได้  เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรม

-------------------------------------------------------------------------- 

หลากหลายทรรศนะ ต่อการปฏิรูปการเมือง

Image

คุณรุ่งโรจน์  ตั้งสุรกิจ
กรรมการ ยส.

“ความจริงถ้ามองในแง่ศาสนา ผมว่านี่เป็นด้านดี มีคุณธรรม แต่อาจมีเรื่องของข้อมูลและความลึกซึ้งของอุดมการณ์ที่อยู่ข้างหลัง โดยส่วนตัวที่ผมได้ยินเรื่อง ๑๙ ล้านเสียง ผมรู้สึกว่า เอ๊ะ ไปดูถูกประชาชนมากไป ถึงแม้เขามีนโยบายประชานิยม แต่ไปโทษชาวบ้าน ๑๙ ล้านเสียง ที่เลือกคุณทักษิณไม่ได้ เพราะมันจะเป็นลักษณะของการแบ่งแยกระหว่างประชาธิปไตยของคนชั้นกลางกับของข้างล่าง ซึ่งผมคิดว่าตรงนี้ต้องระวัง...”


---------------------------------------------------------------------------- 

หลากหลายทรรศนะ ต่อการปฏิรูปการเมือง

Image

คุณพ่อวัชรินทร์ สมานจิต 
ผู้อำนวยการ ร.ร. ปรีชานุศาสน์ จ.ชลบุรี
และจิตตาธิการ ยส.

“...เราต้องมีสำนึก ต้องเรียนรู้และเท่าทัน แต่ว่าสื่อเท่านั้นที่จะช่วยให้เราได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ในฐานะที่เราทำงานในพระศาสนจักร ทำอย่างไรให้สัตบุรุษรู้ถึงความจริง ซึ่งจะนำไปสู่สันติภาพได้...”


--------------------------------------------------------------------------
 

หลากหลายทรรศนะ ต่อการปฏิรูปการเมือง

Image

คุณจักรชัย โฉมทองดี
โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (โฟกัส)
 

“...ถึงแม้เราจะพูดกันแค่เรื่องปฏิรูปการเมือง แต่จริงๆ แล้ว เราต้องการเห็นการปฏิรูปในบริบทที่มากกว่าการเมือง คือ เห็นการปฏิรูปสังคม ปฏิรูปบรรทัดฐาน ระบบการให้คุณค่าของสังคม เพราะฉะนั้นมันกว้างกว่าการแก้รัฐธรรมนูญแน่ๆ ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญอาจจะเป็นแกนกลางสำคัญในฐานะเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายต่างๆ ให้เราปกครองกันในนิติรัฐ แต่ว่ากฎหมายใดก็แล้วแต่จะไม่สามารถนำพาทิศทางไปสู่สังคมที่รอดพ้นไปได้ถ้าขาดจริยธรรมที่ควบคู่ไปด้วย ซึ่งบทบาทในการสร้างมาตรฐานในการให้คุณค่าของจริยธรรม ว่าอะไรคือความชอบธรรม ศาสนาทุกศาสนามีบทบาทสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรในพระศาสนจักรคาทอลิกเอง บุคลากรในศาสนาอื่น หรือคนในฐานะศาสนิกต่างๆ

ปัจจุบันนี้การปฏิรูปการเมืองต้องเน้นย้ำว่าไม่ใช่แค่เรื่องของรัฐบาลหรือนักการเมืองเท่านั้น เป็นเรื่องของประชาชน หรือไม่ใช่แม้แต่เรื่องของนักวิชาการ ไม่ใช่เรื่องของคนที่จะต้องมารู้เรื่องกฎหมายแม่กฎหมายลูกว่ามันสัมพันธ์กันอย่างไร ชาวบ้านไม่จำเป็นหรอกที่จะต้องเข้าใจมาตรานั้นมาตรานี้อย่างละเอียด แต่เขาต้องเข้าใจว่าเป้าหมายที่ต้องการเห็น สังคมที่ต้องการเห็นเป็นอย่างไร และพลังขับเคลื่อนต้องขึ้นมาจากรากหญ้า เมื่อถึงเวลาที่จะต้องปรับเปลี่ยน ยกร่างออกมาเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญตรงนั้นนักกฎหมายจึงเข้ามามีบทบาทโดยการจับตามองอยู่ของสังคมในวงกว้าง

ซึ่งถ้ากลับไปใช้เวลาอ่านรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างจริงจัง ผมเห็นว่ามีการปะทะของ ๒ อุดมการณ์ซึ่งน่าสนใจ และผมในฐานะที่พูดถึงเรื่องเศรษฐกิจบ่อย ก็ขอมองในด้านเศรษฐกิจคือ มันเป็นการปะทะกันของทุนนิยมโลกาภิวัตน์หรือการกล่าวอ้างของทุนนิยมเสรีด้านหนึ่ง แต่อีกด้านหนึ่งที่น่าสนใจคือ กระแสความคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน กระแสความคิดของการพัฒนาแบบพอเพียง และรัฐสวัสดิการ เช่น จะต้องจัดสรรที่ดินอย่างเป็นธรรม  การจะต้องมีการกระจายรายได้ การจะต้องมีการศึกษา ๑๒ ปีฟรี เป็นต้น

และอีกอุดมการณ์ที่ค่อนข้างชัดคือ เรื่องสิทธิมนุษยชน และก้าวไปถึงสิทธิชุมชนที่เห็นสะท้อนออกมาเยอะมาก สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมในรัฐและชุมชนในการบำรุงรักษา การได้ประโยชน์ซึ่งการจัดสรรทรัพยากรในชุมชนของตนเอง บุคคลซึ่งรวมถึงการเป็นชุมชนท้องถิ่นย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณีของเดิม นี่มีกำหนดในรัฐธรรมนูญในหมวดสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งเป็นหมวดที่รัฐจะต้องปฏิบัติตาม แนวนโยบายแห่งรัฐเป็นแค่ Guideline เฉยๆ บุคคลย่อมมีสิทธิในการรับข้อมูลสาธารณะต่างๆ ถ้าดูตามนี้แล้ว ผมมีความรู้สึกว่า รัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ แม้ว่ามีจุดที่น่าเป็นห่วง แต่ว่าจุดที่มีความเข้มแข็งก็มี แต่ประเด็นที่มีการพูดถึงคือ ไม่ได้มีการกำหนดลงไปว่า กรอบเวลาที่จะต้องออกกฎหมายลูกหรือปรับเปลี่ยนแก้กฎหมายเดิมให้เป็นไปตามเจตนารมณ์หรือเป็นไปตามรัฐธรรมนูญใหม่ จะต้องออกภายในเมื่อไร และใครรับผิดชอบ ตรงนี้ไม่ได้ถูกสะท้อนออกมาสู่การปฏิบัติจริง

การมีส่วนร่วมของประชาชน พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน การเมืองภาคพลเมือง  คนก็พูดกันและยอมรับกันว่า การเมืองในระบบบางครั้งมันก็ตีบตัน ส.ว.ชุดที่แล้ว อย่าง ส.ว.ในกรุงเทพฯ คนก็ยอมรับกันมาก หน้าที่ของ ส.ว. โดยตรงคือ การเสนอชื่อ ถอดถอนรัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เคยทำได้สักคนไหม ก็ติดกระบวนการว่ามาไม่ถึง อะไรก็แล้วแต่ กระบวนการในระบบมันไปไม่ถึง แต่ปรากฏว่าพี่รสนาเอารัฐมนตรีเข้าคุกไป ดำเนินการแล้วก็เข้าคุกไป หรือแม้กระทั่งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจซึ่งหลายคนไม่สบายใจ และมองว่า นี่มันเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน การเมืองในระบบทำอะไรไม่ได้ ขยับไม่ได้ แต่มีกลุ่มคนดำเนินการแล้วทำให้ตรงนี้ยุติลงได้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าการพัฒนาการเมืองภายในระบบจะไปอย่างไร ณ วันนี้ผมมีความรู้สึกว่าการเมืองภาคพลเมืองได้สถาปนาตนเองในระดับหนึ่งแล้ว และจำเป็นที่จะต้องไม่ปล่อยให้ตรงนี้หลุดออกไป จำเป็นต้องให้เห็นว่าสังคมที่ดีได้ การเมืองภาคพลเมืองจะต้องดำรงอยู่

จริงๆ แล้วประเด็นจะแก้อีกกี่ครั้ง ผมว่าไม่ใช่ประเด็นเท่ากับสิ่งที่เราจะต้องปฏิรูปจริงจังคือ ทัศนคติของสังคมในการยอมรับการที่จะต้องเป็น Active Citizen เป็นประชาชนที่ตื่นตัวและตื่นรู้ เป็นประชาชนที่มีสิทธิที่จะปฏิสัมพันธ์กับการเมืองเพราะเป็นบทบาทของเรา และในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็บอกว่าเป็นหน้าที่ด้วยซ้ำ...”

------------------------------------------------------------------------- 

หลากหลายทรรศนะ ต่อการปฏิรูปการเมือง

Image

พระสังฆราชบุญเลื่อน  หมั้นทรัพย์
มุขนายก ยส.

“...คำว่า “ปฏิรูป” น่าจะต้องใช้คำภาษาอังกฤษว่า Transformation ในแง่ปรัชญาจะหมายความว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบยังไม่พอ เราต้องการการเปลี่ยนแปลงซึ่งลึกซึ้งกว่านั้น เพราะว่ารูปแบบมันเป็นสิ่งที่ปรากฏภายนอก สิ่งที่ปรากฏภายนอกเราจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ได้ แต่เราต้องคำนึงถึงเนื้อแท้…

...ที่คุณรสนาบอกว่าการเมืองเราถือว่าเป็นสิ่งสกปรก สกปรกเสียจนฝ่ายศาสนาส่วนใหญ่บอกว่าอย่าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองเลย เดี๋ยวทำให้ศาสนามัวหมอง ผมว่าความคิดนี้ผิดอย่างมากเลยนะ เพราะถ้าการเมืองมันสกปรก ศาสนานี่จะต้องเป็นเกลือที่จะไปดองให้สะอาด ถ้าการเมืองมันนำไปสู่มุมมืด ศาสนาจะต้องเป็นความสว่างให้การเมือง และเป็นหน้าที่ของศาสนาที่จะต้องสอนคนให้รู้ว่า เราต้องปฏิบัติต่อกันและกันแบบมนุษย์ เราต้องเปลี่ยนทัศนคติของเราเกี่ยวแก่ชีวิตมนุษย์ด้วยกัน…

...การปฏิรูปการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ไม่มีวันจบ แต่เราก็ต้องทำ ...เพราะฉะนั้น พวกเราที่อยู่ในที่นี้ซึ่งทำงานทางศาสนาเพื่อจะทำให้สังคมเป็นสังคมที่ดีขึ้น แต่อย่าหวังว่าจะเป็นสังคมที่สมบูรณ์ เพราะจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อวาระสุดท้าย...”


-------------------------------------------------------------------------
 

หลากหลายทรรศนะ ต่อการปฏิรูปการเมือง

Image

คุณกัทลี  สิขรางกูร
ศูนย์พัฒนาประชาชาติแห่งเอเชีย ACPP - Hotline Asia
(Asian Center for the Progress of People)

“...เราควรปลูกฝังการอ่านและทำความเข้าใจรัฐธรรมนูญกันตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เราจะสร้างคนอย่างนี้ไปในอนาคต เราต้องเริ่มในโรงเรียนหรือเปล่า ใครทำงานอยู่ในโรงเรียน ทำอะไรได้ไหม อย่างการตรวจสอบ ส.ส. ส.ว. ลองให้เด็กเริ่มเก็บข้อมูลกันว่า เริ่มมีการประชุมหรือยัง ใครเข้าใครไม่เข้า เป็นตัวช่วยตรวจสอบ เป็นกิจกรรมเล็กๆ ทำเพื่อการมีส่วนร่วมได้หรือเปล่า หรือถ้าเว็บไซท์ในประเทศไทยถูกรัฐบาลปิด เราก็อาศัยเว็บไซท์จากภายนอกลงข้อมูลเกี่ยวกับประวัติ และการทำงานของส.ส.ไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกครั้งต่อไป

หรืออย่างการนำเอาเรื่องสิทธิมนุษยชนมาใช้และให้การศึกษากับชาวบ้านในชุมชน เขาก็จะหลุดจากวัฒนธรรมการพึ่งพา การอุปถัมภ์ของรัฐบาล แต่เขาจะมองว่าเป็นสิทธิของเขาที่ต้องได้สิทธิเรื่องสุขภาพ โครงการ 30 บาท เป็นสิทธิของเขาไม่ใช่เป็นเรื่องที่รัฐบาลยื่นมือมาให้อุปถัมภ์เขา เพราะฉะนั้นเราจะใช้เรื่องของสิทธิมนุษยชนไปช่วยชาวบ้านเพื่อให้เขายืนได้ด้วยแข้งขาของเขาเอง และทำหน้าที่จับตารัฐบาลต่อไปในอนาคตได้อย่างไร ...”

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >