หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1213 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ทำความเข้าใจ กับ “ความเข้าใจ” ในสังคมไทย โดย รศ.ดร.สุวรรณา สถาอานันท์ พิมพ์
Thursday, 06 July 2006

  

ภาพจาก www.allforpeace.org

ทำความเข้าใจ กับ              
“ความเข้าใจ” ในสังคมไทย


โดย รศ.ดร.สุวรรณา  สถาอานันท์
ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


วันนี้อยากพูดประเด็น “ความเข้าใจ” ดิฉันคิดว่าสังคมวัฒนธรรมไทยมีปัญหาในการทำความเข้าใจกับ ‘ความเข้าใจ’ จึงขอพูดเรื่องนี้จาก 5 มิติด้วยกัน คือ
     1.ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับความเข้าใจ
     2.ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงกับเรื่องราวที่สร้างขึ้นจากข้อเท็จจริง
     3.การเข้าใจสาเหตุและผล อะไรเป็นสาเหตุ อะไรเป็นผล ทำให้มีผลต่อการทำความเข้าใจเรื่องหนึ่งๆ
     4.ปัญหาจินตนาการชีวิตอื่นในสังคมและวัฒนธรรมไทย
     5.ปัญหาเศรษฐศาสตร์แห่งความเห็นใจ


ประเด็นที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และความเข้าใจ

ในการศึกษาสมัยใหม่ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงในยุโรปใน 400 ปีที่ผ่านมา เราให้ความสำคัญกับความรู้เกี่ยวกับโลกภายนอกในความหมายที่ค่อนข้างแคบและเฉพาะเจาะจง เราพยายามที่จะหาความรู้ที่เป็นปรนัย คือเป็นอย่างนั้นโดยที่ไม่เกี่ยวกับความชอบไม่ชอบของเรา ที่เรียกว่าความรู้ที่ปลอดอคติ ตัวอย่างของวิธีของความรู้แบบนี้ที่ชัดที่สุดคงจะเป็นวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ฝากวิธีหาความรู้เกี่ยวกับโลกภายนอกไว้ที่เครื่องมือและมนุษย์มาตรฐาน “มนุษย์มาตรฐาน” นี้เป็นมนุษย์ที่ลบประวัติศาสตร์ส่วนตัว ลบความชอบ - ไม่ชอบ ลบคำตัดสินทางศีลธรรมออก อย่างสมมุติคนๆ หนึ่งยกปรอทแล้วจุ่มลงไปในน้ำ วิทยาศาสตร์ต้องการจะรู้ว่าน้ำอุณหภูมิเท่าไร คนที่ถือปรอท คนๆ นี้ชอบหรือไม่ชอบปรอท ชอบหรือไม่ชอบน้ำไม่เกี่ยว ความรู้ที่เป็นปรนัยคือพยายามหาอุณหภูมิจากปรอท ความรู้แบบนี้ในแง่หนึ่งก็สำคัญทำให้เรามีห้องแอร์แบบนี้ได้ ทำให้โลกเปลี่ยน เราสร้างเครื่องบินได้ เราสร้างถนนสร้างเขื่อนได้ แต่ความรู้แบบนี้ก็มีปัญหาเพราะว่าให้ความสนใจกับความเข้าใจของผู้รับรู้น้อย สนใจแต่ว่าสิ่งนี้เป็นอย่างไรในเชิงกายภาพและวัดได้ แต่ผู้รับรู้เข้าใจสิ่งที่รับรู้อย่างไร อาจอยู่นอกขอบข่ายการหาความรู้แบบนี้ ในประวัติศาสตร์ปรัชญาก็ถกเถียงกันเรื่องนี้ ในทางหนึ่งก็เชื่อในความรู้ประจักษ์คือความรู้ทางปรนัย ในอีกทางหนึ่งเป็นปัญหาเรื่องความเข้าใจของมนุษย์เกี่ยวกับตัวเอง เป็นประเด็นของพวกประจักษ์นิยมกับพวกตีความ ดิฉันคิดว่าถ้าสังคมลงทุนกับความรู้ประเภทที่พยายามจะเป็นปรนัยแบบวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี แต่ไม่ค่อยลงทุนกับการพัฒนาความเข้าใจ ตรงนี้ดิฉันคิดว่าทำให้ศักยภาพในการเข้าใจปัญหาต่างๆ อ่อนแอลง เราไม่ค่อยลงทุนกับการพัฒนาวิจารณญาณและความเข้าใจของมนุษย์ แต่เราพร้อมจะทุ่มเททุนสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

  Image

ประเด็นที่ 2 ปัญหาเรื่องข้อเท็จจริงกับเรื่องราวที่สร้างจากข้อเท็จจริง

พวกเราคงจำเรื่องอังกฤษคืนเกาะฮ่องกงให้กับจีนได้ ถ้าพวกเราดูทีวีวันนั้นจะเห็นเหตุการณ์ประหลาดคือ ภาพที่ปรากฏบนทีวีดูเป็นข้อเท็จจริงเหมือนกันหมดคือ มีการลดธง มีสุนทรพจน์ของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส มีบุคคลสำคัญต่างๆ มากมาย แต่คำอธิบายที่ออกมาจาก CNN  และคำอธิบายที่ออกมาจาก BBC เป็นคนละเรื่อง  BBC จะบอกว่าอังกฤษได้ให้ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจแก่ฮ่องกงในขณะที่จีนไม่ได้ให้ มีการไปสัมภาษณ์มาร์กาเร็ต  แท็ตเชอร์ แล้วบอกว่า We deliver prosperity he did not.   “he’ หมายถึง เติ้งเสี่ยวผิง ในขณะที่ถ้าเราเปิดช่อง CNN ภาพเดียวกันแต่คำอธิบายจากข่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งคือ เป็นการกลับสู่มาตุภูมิ return to motherland เป็นจุดจบของอาณานิคม เราอย่าลืมว่าวันที่คืนเกาะฮ่องกงคือ 30 มิถุนา อีก 4 วัน สำหรับอเมริกาคือวันชาติอเมริกัน ดิฉันก็ไปถามเพื่อนที่เป็นคนจีนว่า ที่เมืองจีนเขาถ่ายทอดเรื่องนี้แล้วอธิบายว่าอย่างไร เขาบอกว่าที่เมืองจีนเขาถือว่าเป็นจุดจบแห่งความอัปยศอดสูแห่งชาติ lสำหรับจีนแล้วการคืนเกาะฮ่องกงเป็นการปิดฉากประวัติศาสตร์การพ่ายแพ้อำนาจอาณานิคมอันขมขื่น เพราะฉะนั้นความเข้าใจของเราไม่ได้เกิดจากข้อเท็จจริงเท่านั้นแต่เกิดจากเรื่องราวที่ถักร้อยออกมาจากข้อเท็จจริง การที่เราเข้าใจเรื่องหนึ่งเรื่องใด เราก็ไปยอมรับความชอบธรรมของผู้ผลิตเรื่องราวนั้นไปด้วย สมมุติว่าเราเชื่อเรื่องราวของ BBC  เราก็ “อ้อ! ลัทธิอาณานิคมก็ไม่ได้เลวร้ายนะ อย่างน้อยก็ได้ให้ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ” ถ้าเราเชื่อเรื่องราวของ CNN เราก็จะรู้สึกว่า “เอ๊ะ! อาณานิคมนี่ไม่ดีนะ ประเทศเสรีดีกว่า” ถ้าเราเชื่อแบบจีนเราก็จะรู้สึกว่า “อ๋อ! จีนเขาก็ต้องการเป็นตัวของตัวเอง อาณานิคมเป็นปัญหาประวัติศาสตร์” ถ้าเราเรียกคนที่ก่อความไม่สงบว่า ‘ผู้แบ่งแยกดินแดน’ และไม่มีเรื่องราวอื่นๆ เลย ถามว่าเราจะยอมรับความชอบธรรมของอำนาจส่วนไหนในสังคม


ประเด็นที่ 3 เป็นปัญหาเรื่องการเข้าใจว่าอะไรคือสาเหตุ อะไรเป็นผล

ตอนเกิดกรณีเวิลด์เทรด วันที่ 11 เดือนกันยายน เวลาเราเข้าใจว่าเรื่องนั้นคือสาเหตุ เป็นตัวก่อการ เราก็จะมีทัศนคติว่า “พวกนี้เลวร้าย พวกนี้ต้องทำลาย ปล่อยให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก…” ดิฉันไม่ได้บอกว่าคนพวกนี้ทำถูกนะคะ ดิฉันกำลังวิเคราะห์ว่า ถ้าเห็นเหตุการณ์นั้นเป็นเพียงสาเหตุ เราจะมีคำตัดสินชุดหนึ่งเกี่ยวกับผู้ก่อการเหล่านั้น แต่ถ้าเรามองเหตุการณ์เดือนกันยายนว่า มันเป็นผลของนโยบายสหรัฐฯ ในตะวันออกกลาง ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาด้วย ท่าทีต่อการมองเหตุการณ์ 11 กันยาฯ จะเปลี่ยนไป การบอกว่าสิ่งหนึ่งเป็นสาเหตุก็ถูกต้อง แต่เราอย่าลืมว่าสิ่งที่เป็นสาเหตุ เหตุการณ์หนึ่งที่เป็นสาเหตุก็เป็นผลของสิ่งอื่นด้วย เวลาเราอ่านข่าวเราจะเห็นว่า ทั้ง 2 ฝ่าย หรือถ้ามากกว่า 2 ฝ่าย ก็จะอ้างว่าตัวเองเป็นผู้ทำปฏิกิริยาต่อเหตุซึ่งผู้อื่นก่อ แต่ดิฉันคิดว่าจริงๆ แล้วปัญหาสาเหตุและผลมันซับซ้อนกว่านั้นมาก มีงานนวนิยายเรื่องหนึ่งของนักเขียนเกาหลี เขาเปิดฉากโดยบอกว่า “เขาถูกยิงล้มลง แล้วเลือดเขาก็ทาแผ่นดิน ... แล้วเขาก็ตายไป เลือดที่อยู่ในแผ่นดินนั้น ต่อมาก็มีหญ้างอกขึ้นมา พอหญ้างอกขึ้น ต่อมาก็มีคนเอาวัวมาเลี้ยง วัวก็กินหญ้านั้น พอวัวตัวนั้นโตขึ้นก็ถูกนำไปที่โรงฆ่าสัตว์ แล้วก็ถูกชำแหละเป็นเนื้อไปขาย  ทหารคนแรกที่ยิงคนที่ตายไปตอนแรก ไปซื้อเนื้อวัวนั้นมากิน” คำถามก็คือ คนที่ฆ่าได้กินเนื้อซึ่งเกิดจากวัวที่กินหญ้าที่มาจากเลือดของผู้ถูกฆ่า คำถามคือ ถ้าเราเชื่อพุทธธรรม ปฏิจจสมุปบาท ในที่สุดแล้วการบอกว่าอะไรเป็นสาเหตุเป็นผล เป็นเรื่องที่ซับซ้อน ไม่ใช่มิติเชิงเดี่ยว    

ภาพจาก www.home.iprimus.com

ประเด็นที่ 4 คือเรื่องจินตนาการชีวิตอื่น

ดิฉันคิดว่าในสังคมวัฒนธรรมไทยมีปัญหาเรื่องนี้ค่อนข้างมากเพราะว่าปัจจัยที่ซับซ้อน วัฒนธรรมไทยถูกครอบงำด้วยอุดมการณ์ชาตินิยมมาเป็นเวลานานและเป็นชาตินิยมแบบคับแคบ ชาตินิยมแบบใจกว้างไม่มี ยกตัวอย่าง เช่น พุทธธรรม เป็นศาสนาสากล เกิด แก่ เจ็บ ตาย ดิฉันมีเพื่อนคนหนึ่งพูดติดตลกว่า “ไม่ต้องพยายามไปบอกคนให้เป็นพุทธหรอก พอแก่แล้วทุกคนจะเป็นพุทธเองโดยธรรมชาติ สังขารมันฟ้อง” เหล่านี้เป็นต้น ตัวพุทธธรรมเป็นสากล การดับทุกข์เป็นสากล แต่พุทธศาสนาในประวัติศาสตร์ไทยถูกใช้โดยอุดมการณ์อย่างอื่นที่ทำให้ถูกลดทอนเหลือเพียงตัวดัชนีชี้ความเป็นไทย เช่น เป็นพุทธเท่ากับเป็นไทย เมื่อรับกันมาแบบนี้ทำให้กลุ่มพุทธหัวก้าวหน้าถูกป้ายว่าพวกนี้เป็นมหายาน เป็นเซ็น ไม่ใช่พุทธเถรวาท ทีนี้พอคิดเรื่องพุทธเท่ากับไทย คนที่ไม่ใช่พุทธที่อยู่ในสังคมวัฒนธรรมนี้มีความสนิทใจได้ยากที่จะเป็นไทย แล้วคนไทยก็รู้สึกว่าคนพวกนี้เป็นคนไทยได้ไม่สนิทใจเท่ากับคนที่เป็นพุทธ ตรงนี้การจินตนาการชีวิตอื่นในวัฒนธรรมไทยที่อุดมการณ์บางอย่างไปใช้ตัวอย่างเช่นพุทธศาสนามาทำให้มันมีลักษณะเฉพาะมากเกินไปทำให้การจินตนาการชีวิตอื่นมีปัญหา 


ประเด็นที่ 5 เป็นประเด็นเศรษฐศาสตร์แห่งความเห็นใจ

ดิฉันขอสังเกตอย่างนี้ เวลาคนที่มาเยี่ยมคนป่วย ถ้ามีความรักความเห็นใจคนป่วยน้อย ของขวัญที่เอามามักจะแพง เวลาที่ให้มักจะน้อย บทสนทนามักจะน่าเบื่อ แต่ถ้าเป็นคนที่มาเยี่ยมแล้วมีความรักความเห็นใจจริงๆ ของขวัญถูกก็ได้แพงก็ได้ไม่สำคัญ เวลาจะให้เยอะ บทสนทนาฟังแล้วเยียวยาและชื่นใจ

ในระดับชาติ แน่นอนมีความซับซ้อนมากกว่าเศรษฐศาสตร์แห่งความเห็นใจที่ยกตัวอย่าง แต่ดิฉันคิดว่า การเยียวยาแผลที่เกิดเรื้อรังเป็นเวลานานและเป็นแผลลึก ด้วยการเอาพลาสเตอร์ราคาแพงมาปิด ดิฉันไม่เชื่อว่ารักษาได้ ต้องให้เวลา ให้ความเห็นใจ ให้ความสำคัญบางอย่าง ต้องไปที่สิ่งซึ่งพื้นฐานกว่า พลาสเตอร์ราคาแพง ปัญหาความเข้าใจในสังคมไทยเป็นปัญหาความเข้าใจในเชิงญาณวิทยา คือเป็นปัญหาเชิงการรับรู้เรื่องต่างๆ ว่ารับรู้ว่าเป็นอะไร และรัฐเข้าใจมันว่าอย่างไร พอๆ กับที่เป็นปัญหาทางความรู้สึกและเมตตาธรรม

________________________________________

ถอดเทป จากการสนทนาในหัวข้อ 
“เข้าถึง...เข้าใจ...พัฒนา... : มุ่งเยียวยาสังคมไทย”  จัดโดย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ    เมื่อวันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2547 ณ ห้องประชุม 101 ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการ      สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >