หน้าหลัก arrow เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน arrow สิทธิมนุษยชนสนทนา arrow รากฐานความคิดและการทำงานของพระเยซูเจ้าต่อสังคม : อัจฉรา สมแสงสรวง
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 96 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


รากฐานความคิดและการทำงานของพระเยซูเจ้าต่อสังคม : อัจฉรา สมแสงสรวง พิมพ์
Monday, 12 June 2006


รากฐานความคิดและการทำงานของพระเยซูเจ้าต่อสังคม

อัจฉรา สมแสงสรวง
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ชาวสะมาเรียผู้ใจดี


พระคัมภีร์ "ชาวสะมาเรียผู้ใจดี" ปฐมบทต่อพันธกิจด้านสังคม

การจะเข้าใจคำสอนของพระศาสนจักรต่อเรื่องสังคมได้อย่างชัดเจน คงต้องกลับไปสู่การเข้าใจกระบวนการทำงานของพระเยซูเจ้า และ"พระวาจา"ที่พระองค์ทรงสอน ซึ่งบทพระคัมภีร์ที่ผู้เขียนได้รับการถ่ายทอดจาก Bro. Anthony Rogers, fsc ชาวมาเลเซียผู้เป็นวิทยากรนำการไตร่ตรองคำสอนด้านสังคมเสมอๆ คือเรื่อง ชาวสะมาเรียผู้ใจดี (ลก. 10 : 25-36)



Image

ในพระคัมภีร์ตอนนี้ มีผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 8 คน คือ นักกฎหมาย พระเยซูเจ้า ชายผู้ถูกปล้น โจรปุโรหิต เลวี ชาวสะมาเรีย และเจ้าของโรงแรม หากพิจารณาคนทั้ง 8 คนนี้ ในสังคมปัจจุบัน เราจะอธิบายคนเหล่านี้ในลักษณะไหน คนเหล่านี้คือใคร เขาเป็นเพียงนักกฎหมายที่รู้เฉพาะกฎหมาย เป็นนักเทววิทยา เป็นครู ที่รู้เฉพาะว่าตนมีบทบาทหน้าที่ตามสาขาอาชีพที่ได้ร่ำเรียนมา แต่ไม่รู้จักว่าเพื่อนบ้านของตนเป็นใครใช่หรือไม่ เหตุใดที่ชาวสะมาเรียซึ่งเป็นคนต่างชาติต่างศาสนา และไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม กลับตระหนักดีว่า ชายผู้บาดเจ็บคือเพื่อนบ้านของเขา นี่คือการทำงานของพระเยซูเจ้า ที่พระองค์ทรงชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างกฎหมายและกฎแห่งความรัก และไม่สามารถนำกฎแห่งความรักมาเปรียบเทียบกับกฎหมายได้

สำหรับชาวเลวีและปุโรหิตแล้ว การที่เขาทั้งสองเดินละจากชายผู้ถูกทำร้าย คงด้วยเหตุผลว่า เขาเป็นพวกที่มีภาระหน้าที่ในโบสถ์ และเป็นคนที่มีหน้ามีตาในสังคมสมัยนั้น ถ้าเขาทั้งสองหยุดเพื่อช่วยเหลือ ก็อาจจะถูกโจรปล้นได้ ดังนั้น ความกลัว ทำให้ทั้งสองเดินหนีไป อีกเหตุผลหนึ่ง ถ้าหากเขาต้องสัมผัสกับเลือด ก็ทำให้ต้องมลทิน และไม่สามารถเข้าในวิหารเพื่อนมัสการพระเจ้าได้ และต้องเสียเวลากลับไปที่เยริโคเพื่อทำพิธีชำระล้างมลทินก่อน แล้วจึงกลับมาที่วิหารได้ อีกเหตุผลสำคัญที่น่าสนใจคือ ทั้งปุโรหิตและชาวเลวีคนนั้น ต่างไม่เคยมีประสบการณ์ในการรักตนเองเลย

เรานำเรื่องดังกล่าวมาไตร่ตรองถึงความจริงในปัจจุบัน หลายคนไม่เคยรัก'เพื่อนบ้าน' ไม่เคยเห็นใบหน้าของพระเยซูเจ้าในเพื่อนบ้านเลย เพราะเขาไม่เคยเห็นการประทับอยู่ของพระเจ้าในตัวตน / ในชีวิตของเขาเลย เขาไม่เคารพตนเอง ไม่รู้จักค่าของตนเอง การที่คนเราไม่เห็นว่าตนเองเป็นบุตรของพระเจ้า เขาจะเห็นความแตกต่างในคนอื่นได้อย่างไร เขาก็จะไม่รู้ว่าคนรอบข้างเขาแม้เป็นผู้ทุกข์ยากเดือดร้อน ก็มีพระเจ้าอยู่ในตัวเขาเช่นกัน และดังนี้ การปฏิบัติความรักต่อเพื่อนบ้านก็ไม่เกิดขึ้น

ในพระคัมภีร์ตอนนี้ โจร ทำให้ชายคนหนึ่งกลายเป็นเหยื่อ และเป็นเหตุผลที่เราต้องการชาวสะมาเรียผู้ซึ่งมีหัวใจของพระเจ้าอยู่ในตนเอง ทำให้เขาเห็น และเข้าใจถึงความเจ็บปวดของชายถูกปล้นคนนั้น และนำไปสู่การปฏิบัติกฎแห่งความรัก ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการปฏิบัติคำสอนด้านสังคม ในปัจจุบัน ดังขั้นตอนต่างๆ ที่ชาวสะมาเรียกระทำ ตามบทพระวรสารดังกล่าว

1. ชายชาวสะมาเรียผู้นั้นเหลียวมองดูรอบๆ ข้าง - ทุกวันนี้ คนส่วนใหญ่ในพระศาสนจักรไม่มีเวลาพอที่จะเหลียวดูรอบๆ ข้างตนเองว่าเกิดอะไรขึ้น นั่นหมายความว่า เราไม่มีเวลาพอสำหรับพระเจ้า (ในตัวเรา และในผู้อื่น)

2. เห็นผู้ถูกทำร้ายบาดเจ็บอยู่ รู้สึกสงสารและเห็นอกเห็นใจ - พวกเราไม่กล้าที่จะสบตากับคนยากจน คนขอทาน คนติดเชื้อ HIV / ผู้ป่วยเอดส์ ฯลฯ ทั้งนี้เพราะเมื่อเราหยุดมองดูคนเหล่านั้น เราจะสะเทือนใจและรู้สึกเมตตาสงสาร ดังนั้น เพื่อป้องกันความรู้สึกดังกล่าว เราก็เลี่ยงที่จะเดินเข้าไปมอง ไปเยี่ยมเยียนคนเหล่านั้น

3. ลงจากหลังม้า และเดินเข้าไปใกล้ผู้เจ็บป่วยคนนั้น - เขาเริ่มออกจากตนเองไปหาผู้อื่น

4. เข้าไปประชิดร่างของคนเจ็บป่วยเพื่อฟังถึงเสียงหายใจที่รวยริน - หากเขาไม่เข้าไปฟัง เขาก็จะกระทำในสิ่งต่อไปไม่ได้

5. แบ่งปันในสิ่งที่เขามี คือ น้ำมันมะกอกใช้บรรเทาความเจ็บปวด เหล้าองุ่นใช้เพื่อฆ่าเชื้อโรค ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ ถือเป็นสิ่งที่มีค่า (มีราคา)ในขณะนั้น - ชายชาวสะมาเรียเริ่มต้นความสัมพันธ์กับชายผู้บาดเจ็บ

6. ทำการรักษาบาดแผล - ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ ซึ่งความสัมพันธ์นี้ก่อให้เกิดผลทั้งสองฝ่าย คือเป็นการช่วยให้ผู้เจ็บป่วยดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการเยียวยาความเห็นแก่ตัวของตัวเราเอง - การทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นนั้น มิใช่เป็นเพียงแค่งานสงเคราะห์เท่านั้น แต่เป็นเพราะผู้ทำงานนั้นเองก็มีการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองก่อน เป็นการเปลี่ยนแปลงจากความเห็นแก่ความสุขส่วนตัว และความสะดวกสบายต่างๆ ไปเพื่อผู้อื่น

7. เอาชายบาดเจ็บขึ้นหลังสัตว์ - ทุกวันนี้ เราเต็มใจ และพร้อมหรือไม่ที่จะเปลี่ยนตำแหน่ง /สถานะของตนเองในสถาบัน (ศาสนจักร) เราพร้อมหรือไม่ที่จะให้ความสำคัญแก่คนยากจนก่อนเป็นอันดับแรก

8. ส่งชายผู้บาดเจ็บไปโรงแรม - พระศาสนจักรต้องสร้างเครือข่ายกับคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม ซึ่งไม่ใช่เฉพาะกลุ่มเสี่ยง / คนยากจน เพียงกลุ่มเดียว แต่เราก็ประสานความร่วมมือเพื่อสร้างจิตสำนึกกับหลายๆ กลุ่ม

9. ให้เงินแก่เจ้าของโรงแรม - แสดงถึงความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ของชายเจ้าของโรงแรม กับชายชาวสะมาเรียไม่ใช่อุปสรรค ทั้งสองฝ่ายมีความไว้วางใจต่อกันและกัน

10. กล่าวว่า"และฉันจะกลับมา" - แสดงถึงความรักที่ต้องมีความเสียสละและมุ่งมั่น

คำสอนของพระเยซูเจ้าในตอนนี้ มีประโยชน์มาก ถ้าเราได้ไตร่ตรองว่า ทุกวันนี้ใครคือโจรปล้น ใครคือเหยื่อ ผู้ถูกกระทำ เพื่อว่าเราจะเข้าถึงความหมายของการเป็นชาวสะมาเรียผู้ใจดี ทุกวันนี้ผู้คน(พวกเรา) กลัวความเงียบ เพราะการอยู่ในภวังค์ความเงียบ เราจะได้ยินเสียงเรียกของพระเจ้า การที่มนุษย์ปิดตนเองที่จะค้นพบพระเจ้า หรือไม่ตระหนักรู้ว่าจิตใจของตนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เขาก็สามารถทำในสิ่งที่รุนแรง พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 เคยกล่าวไว้ว่า เมื่อใดที่เราไม่มีสำนึกว่าชีวิตของตนเองเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เราก็ไม่รู้ว่าเรามีพระเจ้าอยู่ในตัวเรา เมื่อนั้น เราก็ไม่เห็นว่าสิ่งใดมีความสำคัญ และมีโอกาสที่จะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกาย ลักเล็กขโมยน้อย ข่มขืน หรือปล้นฆ่า และอื่นๆ

ในที่สุด คำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร คือเรื่องชีวิตและการปฏิบัติความเมตตารัก คำสอนด้านสังคมไม่ใช่เรื่องเฉพาะพระศาสนจักรคาทอลิก (สถาบัน) แต่เป็นพระอาณาจักรของพระเจ้าในโลกนี้ ดังคำสอนของพระเยซูเจ้าตอนที่ว่า หากท่านเกลียดชังบิดามารดา ท่านก็ไม่เหมาะสมที่เข้าสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า ซึ่งพระเยซูสอนถึงเรื่องความรักที่เป็นสากล อันนอกเหนือจากสิ่งที่เคยปฏิบัติกันในสังคมชาวยิว ที่รักเฉพาะครอบครัว และพวกชาวยิวด้วยกัน แต่พระอาณาจักรของพระบิดานั้น มีความหมายมากไปกว่าโบสถ์วิหาร ครอบครัว สีผิว เชื้อชาติ ศาสนา เพศ และอื่นๆ ซึ่งหากศึกษากลับไปในบริบทของอดีต ศาสนจักรเองเคย "ปิด" ตนเองและถือว่า 'ท่านจะรอด ก็ต่อเมื่อเข้ามาสู่ศาสนาของเราเท่านั้น' แต่พระเยซูเจ้าทรงเปิด "ประตู" และเชิญชวนว่าพระอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ 'ที่นั่น' ที่ซึ่ง 'ท่านเป็นเสมือนเด็กๆ ไม่มีชั้นวรรณะ ไม่มีอำนาจ ไม่มีเงินทอง ทรัพย์สมบัติมากมาย'

ความรักของพระเจ้า คือหลักการเอกในการส่งเสริมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าคนๆนั้นจะเป็นใคร การที่เราเข้าใจความรักของพระเจ้า ก็เท่ากับได้เข้าใจถึงแนวคิดการทำงานของพระเยซูคริสต์ อันเป็นปฐมบทของคำสอนด้านสังคม นั่นคือ ความรุนแรง ความก้าวร้าว ความริษยา เกลียดชัง ความโกรธ ไม่เคยดำเนินไปกับความรักได้เลย มีแต่ความอ่อนโยน ความเมตตากรุณา ความโอบอ้อมอารี ที่ช่วยให้มนุษย์ได้ปฏิสัมพันธ์กับความรัก

สำหรับพระศาสนจักร สมาชิกพระศาสนจักรจะเข้าใจและปฏิบัติตามคำสอนด้านสังคมได้อย่างดี ก็ต่อเมื่อเราได้เข้าใจถึงการทำงานของพระเยซูเจ้า และเหตุผลของพระองค์ คำสอนด้านสังคม ไม่ใช่เป็นเพียงการสอนของพระศาสนจักรต่อเราเกี่ยวกับสังคม ต้องทำอะไรในสังคม แต่ยังต้องออกไปที่สังคมนั่น เพื่อที่เราจะได้รับการประกาศข่าวดี การประกาศข่าวดีไม่ใช่การทำให้คนกลับใจ (เป็นคาทอลิก) การได้รับข่าวดีหมายถึงการที่เราสัมผัสได้ถึงการดำรงอยู่ของพระเจ้า "จงออกไปและรับฟังถึงความชื่นชมยินดี ความหวัง ความทุกข์โศก และความกังวลใจของบรรดาพี่น้องของเราในองค์พระคริสต์" (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้) แล้วเราจะเห็น และเป็นพยานในความงดงามในความแตกต่างหลากหลายของศาสนาต่างๆ วัฒนธรรมต่างๆ ที่ดำรงอยู่ในโลกนี้

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >