หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow สัมมนา “ศาสนิกกับการมีส่วนร่วมของประชาชน”
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1258 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

สัมมนา “ศาสนิกกับการมีส่วนร่วมของประชาชน” พิมพ์
Wednesday, 17 May 2006

สัมมนา “ศาสนิกกับการมีส่วนร่วมของประชาชน”
เนื่องในโอกาสวันสิทธิมนุษยนชนในพระศาสนจักรคาทอลิกแห่งประเทศไทย


Imageเนื่องในโอกาสวันสิทธิมนุษยชนของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ได้กำหนดให้วันอาทิตย์ที่สามของเดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็นวันสิทธิมนุษยชน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรณรงค์ปลุกจิตสำนึกบรรดาคริสตชนภายในประเทศให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของเพื่อนมนุษย์ทุกคน สำหรับปีนี้ตรงกับวันที่ 21 พฤศจิกายน 2547 คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) จึงจัดสัมมนาเรื่อง “ศาสนิกกับการมีส่วนร่วมของประชาชน” เมื่อวันที่ 19 พ.ย.ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมชั้น 10 อาคารสภาพระสังฆราชคาทอลิกฯ ถ.ช่องนนทรี กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับรู้ ทำความเข้าใจ และไตร่ตรองบทบาทหน้าที่ของตนในการร่วมปฏิบัติภารกิจการมีส่วนร่วมต่อกระบวนการทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรับฟังประมาณ 40 คน ประกอบด้วย พระสงฆ์ นักบวชชาย-หญิง, ครู-อาจารย์ จากโรงเรียนคาทอลิก, เจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการฯ ฝ่ายต่างๆ ของสภาพระสังฆราชคาทอลิก

รศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร เลขาธิการ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ กล่าวว่า “ปีนี้สภาพระสังฆราชฯ มีความเห็นว่า “สิทธิของการมีส่วนร่วมของประชาชน” เป็นสิทธิประการหนึ่งที่เราพึงตระหนักและให้ความสำคัญ คริสตชนมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเป็นลูกของพระจ้า มนุษย์จึงเป็นพี่น้องกัน มีศักดิ์ศรีและสิทธิของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน และต้องร่วมมือกันปกป้องศักดิ์ศรีและสิทธิของพี่น้องที่ถูกละเมิดหรือถูกเลือกปฏิบัติ การมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองของพวกเราทั้งหลายจึงหมายถึงการร่วมมือกันสนับสนุนให้เสียงของพี่น้องผู้ถูกละเมิดสิทธิดังก้องในสังคม ให้พวกเขาสามารถเปล่งเสียงประกาศความทุกข์ยากของตนเอง พระศาสนจักรคาทอลิกถือว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองเป็นการแสดงออกถึงการเคารพในศักดิ์ศรี สิทธิและเสรีภาพของเพื่อนมนุษย์ ความรุนแรงอันเกิดขึ้นจากความอยุติธรรมในสังคมมักจะมีสาเหตุมาจากการที่ประชาชนถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตชีวิตของตน และตราบใดที่สิทธิขั้นพื้นฐานในการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน สันติสุขจะเกิดขึ้นในสังคมของเราได้อย่างไร”

Imageสำหรับการเสวนาในช่วงแรก หัวข้อ “4 ปีรัฐบาล กับการมีส่วนร่วมของประชาชน” โดย วิทยากรประกอบด้วย คุณพิภพ ธงไชย ที่ปรึกษาคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย, คุณสุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ และคุณดาวัลย์ จันทรหัสดี ตัวแทนชาวคลองด่าน ซึ่งคัดค้านการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จ.สมุทรปราการ

คุณสุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) กล่าวว่า “4 ปีรัฐบาลกับการมีส่วนร่วม ช่วงแรกเหมือนจะเริ่มต้นด้วยดี นำมาซึ่งโอกาสต่างๆ แต่ก็นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในเชิงลบ มีการใช้ความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำสงครามกับยาเสพติด หรือกรณีปัญหาภาคใต้ ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันมีความตึงเครียด สังคมไทยอยู่ในภาวะอลหม่าน วุ่นวาย แตกแยกกันเอง สื่อซึ่งมีความสำคัญที่จะกำหนดความคิดของคน กลับถูกควบคุม เซ็นเซอร์โดยเฉพาะสื่อกระแสหลัก ในส่วนของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนได้รวมตัวกันทำให้เกิดวิทยุชุมชนถึงแม้จะถูกขัดขวางจากภาครัฐแต่ก็ไม่อาจกระทำได้เมื่อชาวบ้านรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งเพื่อต่อกรกับรัฐ แต่กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนกับประชาธิปไตยยังไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง คนส่วนใหญ่ยังค่อนข้างมีความคิดที่อนุรักษ์นิยมกับอำนาจ ยังไม่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาภาคใต้”

คุณดาวัลย์ จันทรหัสดี แกนนำชาวบ้านชุมชนคลองด่าน จ.สมุทรปราการ ได้กล่าวถึงกระบวนการต่อสู้ของชาวบ้านคลองด่านในการคัดค้านโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านว่า การต่อสู้ของชาวบ้านทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้เรื่องสิทธิ สามารถวิเคราะห์การเมืองเป็น ไม่ไว้วางใจเจ้าหน้าที่ของรัฐ และไม่ยอมอยู่ภายใต้นักการเมืองท้องถิ่น “แม้ทางภาครัฐพยายามแก้ให้พื้นที่คลองด่านเป็นเขตโรงงานอุตสาหกรรม แต่เราก็ไม่ยอมจนสามารถทำให้คลองด่านเป็นพื้นที่สีเขียวได้ แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านเริ่มไม่กลัว และเข้าใจว่า “สิทธิ” เป็นเรื่องที่ต้องไขว่คว้าให้ได้มา แต่ก่อนชาวบ้านรู้สึกเป็นเรื่องไกลตัว แต่เมื่อได้สู้ทำให้ชาวบ้านได้เข้าใจ”

ทางด้านคุณพิภพ ธงไชย ที่ปรึกษาคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวว่า การจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น 1.ผู้นำทางศาสนาต้องนำในเรื่องนี้ 2.การศึกษาต้องเปลี่ยนแปลง โดยให้นักเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมจริงๆ ในหลักสูตรและการบริหาร “ให้เด็กพูดถึงสิทธิ อ้างสิทธิของตนได้ กระบวนการมีส่วนร่วมต้องไปพร้อมกับสิทธิเสรีภาพ ต้องสำรวจทางวัฒนธรรมว่าวัฒนธรรมอะไรขัดขวางการมีส่วนร่วม เช่น สุภาษิตที่กล่าวว่า “เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด” 3.ต้องสร้างวัฒนธรรมไดอะล็อก คือ มีการพูดคุยแลกเปลี่ยน ต้องเรียนรู้ที่จะ “ดื้อแพ่ง” มีความเป็น “ขบถ” และต้องตีความความหมายของการมีส่วนร่วม 4.ต้องสนใจทางเลือก เพราะการมีส่วนร่วมมีหลายระดับ ทั้งระดับการเมือง ระดับประชาชน ระดับโรงเรียน ฯลฯ และต้องเชื่อในเรื่องของกรอบด้วย

Imageจากนั้นในช่วงบ่ายเป็นการสัมมนา ในหัวข้อ “จุดยืน-แนวทางของศาสนิกชนต่อบทบาทการมีส่วนร่วม” โดยผู้แทนจาก 3 ศาสนา
พระกิตติศักดิ์ กิตตฺโสภโณ ประธานกลุ่มเสขิยธรรม กล่าวในฐานะพระสงฆ์ที่ออกมาทำงานด้านสังคมว่า เราสามารถใช้การปฏิบัติธรรมมามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก ให้ปัญหาของพวกเขาสามารถแก้ไขได้ การช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก ผู้ที่เดือดร้อน เป็นการพัฒนาจิตใจของเรา ทำให้เราได้เติบโตทางจิตใจ ช่วยชะล้างความผิดบาปที่อยู่ในใจ ทำให้เราได้รับรู้ มีส่วนร่วมแลกเปลี่ยน ได้แบ่งปัน ร่วมไม้ร่วมมือกัน การที่ศาสนาเข้าไปมีส่วนร่วมกับความทุกข์ร้อนเป็นการปฏิบัติธรรม เป็นการตรวจสอบตนเอง และเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน “ความเป็นศาสนิกกับประชาชนไม่ได้แยกออกจากกัน การร่วมกับผู้ทุกข์ยากไม่ได้แยกออกจากกัน การมีส่วนร่วมของศาสนิกชน ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด มีอยู่แล้วและตลอดเวลา และต่อไปยิ่งจะมีความสำคัญและมีบทบาทมากยิ่งขึ้น”

คุณระกาวิน ลีชนะวานิชพันธ์ ตัวแทนคริสตชน กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของคริสตชนว่า จากคำสอนของพระเยซูเจ้าเห็นได้ว่าเป็นชีวิตของการมีส่วนร่วม มีจุดประสงค์ชัดเจนเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลก คำสอนในพระคัมภีร์หลายๆ เรื่องก็เกี่ยวกับการมีส่วนร่วม สำหรับการมีส่วนร่วมนั้นไม่ได้มาจากภายนอกอย่างเดียว แต่อยู่ที่ตัวเราด้วยว่าเรามีแรงบันดาลใจอของประชาฃชะไร “การมีส่วนร่วมสามารถเริ่มจากจุดเล็กๆ เราต้องเลือกว่าจะมีส่วนร่วมกับใคร ด้วยจุดประสงค์อะไร และต้องมีสติตลอดเวลา สิ่งที่ท้าทายการมีส่วนร่วมของเราคือ ถ้าเราต้องเลือกนั้นเราจะเลือกอย่างไร ที่สำคัญเราต้องติดตามข้อมูล หาข้อมูลแล้วเราจะรู้ว่าเราจะเลือกอย่างไร การมีส่วนร่วมของพระศาสนจักรควรมุ่งสู่ฆราวาสมากขึ้น ถึงแม้พระศาสนจักรจะมีกิจกรรมต่างๆ ตลอดทั้งปี แต่ไม่ได้ขยายไปสู่ส่วนรวมเท่าที่ควร สำหรับคริสตชน การมีส่วนร่วมคือการก้าวออกจากกรอบ คนที่มีความดีอยู่ในตัว ถ้าไม่กล้าออกมาเปลี่ยนแปลงสังคมแล้ว จะให้คนชั่วออกมาหรือ” คุณระกาวินได้ฝากคำถามทิ้งท้ายไว้ให้เราไตร่ตรองกัน

สุดท้ายคุณนิติ ฮาซัน จากมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อิสลามเป็นศาสนาแห่งสันติ เพระคำว่า อิสลามแปลว่า สันติ อิสลามมีแนวการดำเนินชีวิตที่ไม่ได้แยกธรรมะกับสังคม เป็นไปตามวิถีชีวิต และอิสลามยังมีการทำงานเป็นทีม เช่น การละหมาด ก็เป็นหลักเกณฑ์ให้คนในสังคมมารวมกันเป็นกลุ่ม “อิสลามถือว่าสถาบันหลักที่เป็นแกนกลางของสังคมคือครอบครัว รองลงมาคือมัสยิด เป็นที่พบปะกัน ให้การศึกษา เป็นห้องสมุด เป็นที่ฝึกอบรม สงเคราะห์ผู้ยากไร้ รวมทั้งทำพิธีสมรส” การปฏิบัติศาสนกิจก็ส่งเสริมให้มีการรวมตัวกัน การกระทำทุกสิ่งต้องมีการปรึกษาหารือกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และยอมรับความแตกต่าง เช่นที่กล่าวว่า “ความแตกต่างเป็นความโปรดปราน” มุสลิมถือว่าเป็นภาระหน้าที่ในทุกระดับ “เราเป็นสมาชิกของสังคมที่ต้องทำหน้าที่ในสังคมให้ดีที่สุด”

เรียบเรียงโดย ธัญลักษณ์ นวลักษณกวี

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >