หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow สัมมนา“นโยบายศาสนา กับ อนาคตสังคมไทย (หลังการเลือกตั้ง ???)
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 167 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

สัมมนา“นโยบายศาสนา กับ อนาคตสังคมไทย (หลังการเลือกตั้ง ???) พิมพ์
Wednesday, 17 May 2006

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) ร่วมกับเครือข่ายศาสนิกชน
สร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้ภาคประชาชน ถามหาจุดยืนด้านคุณธรรมและจริยธรรมของนักการเมืองต่อสังคมไทย
ผ่านวิสัยทัศน์ แนวนโยบายด้านศาสนาจากพรรคการเมืองหลักๆ ก่อนเข้าคูหาเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ 48


Imageเครือข่ายศาสนิกชน ประกอบด้วย คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.), กลุ่มเสขิยธรรม, สภาองค์การมุสลิมแห่งประเทศไทย, เครือข่ายพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคมนานาชาติ ร่วมกับ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ และ หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ จัดให้มีการแถลงนโยบาย จุดยืน และวิสัยทัศน์ด้านศาสนาและระบบคุณธรรม-จริยธรรมในสังคม ในการสัมมนาหัวข้อ “นโยบายศาสนา กับ อนาคตสังคมไทย (หลังการเลือกตั้ง ???) เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2548 ณ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมฟัง ได้แก่ พระสงฆ์ นักบวชคาทอลิก ผู้นำมุสลิม นักเคลื่อนไหวทางสังคม นักศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมประมาณ 150 คน

Imageรศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพชร เลขาธิการคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ว่า “สังคมปัจจุบันให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจมากกว่าด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะในเรื่องของศาสนธรรม ทำให้คุณค่าทางศาสนธรรม คุณธรรมและจริยธรรม ถดถอยลง ดูได้จากการแสดงออกและการปฏิบัติของคนในสังคมโดยเฉพาะที่น่าเป็นห่วง คือเยาวชนของชาติ เครือข่ายศาสนิกชนจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมศาสนธรรม คุณธรรมและจริยธรรม เพื่อความสงบสุขของสังคม แต่เนื่องจากยังไม่เห็นนโยบายของพรรคการเมืองใดจะมีนโยบายและวิสัยทัศน์ด้านนี้ที่เด่นชัด จึงได้เชิญตัวแทนพรรคการเมืองแต่ละพรรคมาแสดงวิสัยทัศน์ให้เราได้ทราบนโยบายที่สำคัญเรื่องหนึ่งของชาติ เพราะหากปราศจากคุณธรรม ศาสนธรรมและจริยธรรมแล้ว อนาคตของสังคมเราจะเป็นอย่างไรซึ่งเราเป็นห่วง”
การสัมมนาครั้งนี้ได้เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองสำคัญๆ ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ โดย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรค ซึ่งให้เกียรติมาด้วยตนเอง พรรคชาติไทย ได้ส่ง นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรค มาเป็นตัวแทน และพรรคมหาชน ซึ่งได้ส่ง นายอภิชาติ ทองอยู่ โฆษกพรรค มาร่วมแสดงวิสัยทัศน์ ด้านศาสนา และแนวคิดด้านคุณธรรม-จริยธรรมในสังคม

ก่อนเริ่มการแถลงนโยบายด้านศาสนาของพรรคต่างๆ พระกิตติศักดิ์ กิตติโสภโณ ประธานกลุ่ม เสขิยธรรม ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ได้ชี้แจงถึงสาเหตุที่ไม่มีตัวแทนจากพรรคไทยรักไทยมาร่วมงานในวันนี้ว่า พรรคไทยรักไทยโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้แจ้งให้ทราบเช้าวันนี้ว่าไม่ประสงค์มาร่วมกิจกรรมที่ ศาสนิก 3 ศาสนาจัดขึ้น ทั้งนี้ไม่น่าประหลาดใจนักเนื่องจากที่ผ่านมานโยบายของพรรคไทยรักไทยก็แสดงชัดเจนแล้วว่าไม่ได้คำนึงถึงเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรม อย่างไรก็ตามการที่ศาสนิกได้มีโอกาสมารับฟังแนวนโยบายด้านศาสนาจากตัวแทนพรรคการเมือง จะเป็นประโยชน์ต่อการร่วมมือกันทำให้บ้านเมืองมีความแข็งแกร่งด้านคุณธรรม จริยธรรมมากขึ้น
“การรับฟังนโยบายด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม วันนี้เพื่อเป็นโอกาสให้เราได้ซักซ้อมทำความเข้าใจว่า บ้านเมืองในอนาคตที่ดูเหมือนว่าแนวโน้มด้านคุณธรรม จริยธรรม ภายใต้การบริหารของบางพรรคการเมืองอาจทำให้เกิดปัญหาซับซ้อนยิ่งขึ้น การทำให้บ้านเมืองมีความแข็งแกร่งด้านคุณธรรม จริยธรรม มากไปกว่าความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวที่อาจนำปัญหาทับถมตามมา เรื่องของศาสนธรรมควรจะถูกหยิบยกมาเป็นเรื่องหลักในการกำหนดโครงสร้างหรือนโยบายของพรรคการเมือง เช่นเดียวกับเรื่องของเศรษฐกิจ การเมือง เพื่อไม่ให้เมื่อเกิดปัญหาที่ปลายเหตุแล้วบอกว่า เป็นผลมาจากความบกพร่องของศีลธรรม จริยธรรม”


Imageการแถลงแนวนโยบายและวิสัยทัศน์ด้านศาสนาเริ่มจาก นายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์มีวิสัยทัศน์ด้านจริยธรรมอย่างครบถ้วนบริบูรณ์เห็นได้จากสาระสำคัญที่ปรากฏอยู่ตั้งแต่หน้าแรกของนโยบายพรรค ไปจนถึงสอดแทรกอยู่ในนโยบายการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม รวมไปถึงนโยบายรายสาขาย่อยลงไปที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของศาสนา นายบัญญัติยังได้กล่าวถึงการบริหารงานตลอด 4 ปีของรัฐบาลที่ดำเนินการในเรื่องของอบายมุข ทั้งเรื่องหวยบนดิน, บ่อนเสรี และพนันบอล ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยเพราะยิ่งเป็นการทำลายค่านิยมที่ถูกต้องดีงามของสังคมไทย
“การที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมากมายเกินไปจนเกิดปัญหาสังคมตามมา ซ้ำยังพยายามรื้อโครงสร้างเก่าของศีลธรรม จริยธรรม ทำลายคุณค่าความดีงามในสังคมให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ยิ่งจะทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายและเกิดปัญหาตามมา พรรคประชาธิปัตย์ตระหนักถึงความสำคัญของศาสนา คุณธรรมและจริยธรรม และจะร่วมมือกับทุกเครือข่ายในสังคมในการเชิดชูให้คุณธรรมดำรงอยู่ในสังคมไทย”

Imageนายอภิชาติ ทองอยู่ โฆษกพรรคมหาชน กล่าวว่า “ตอนนี้ศาสนาถูกกดดันเพราะถูกมองว่าเป็นตัวขัดขวางการพัฒนา เป็นวัตถุล้าหลัง ดังนั้นภาคประชาชนต้องประกาศศักดิ์ศรีของเราว่า เราจะยอมให้คนๆ หนึ่งนำประเทศไปตามที่เขาต้องการหรือเราต้องการปกป้องศักดิ์ศรีและแนวทางของเราไว้ หากพรรคมหาชนได้เป็นรัฐบาลจะกอบกู้ศักดิ์ศรี อัตลักษณ์ท้องถิ่น คุณค่าของคนในชาติ ให้หลุดพ้นจากการตกเป็นเหยื่อ เป็นลูกค้า จากกลไกสร้างกำไรให้รัฐ กลับมาเป็นกลไกพัฒนาชาติ ที่ทุกคนมีที่ยืน มีความงดงามทางสติปัญญา ตอบสนองอัตลักษณ์ของคนในท้องถิ่นได้”

Imageนายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทย กล่าวว่า หน้าที่ของนักการเมืองคือการเรียนรู้ เรื่องของศาสนาจึงสมควรได้รับการบรรจุในนโยบายพรรคเพื่อสนับสนุนให้นักการเมืองได้เรียนรู้เรื่องศาสนาด้วย โดยสอดแทรกในเรื่องเศรษฐกิจ และการเมือง สำหรับนโยบายของพรรคชาติไทยเขียนไว้ชัดเจนว่าได้นำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการดำรงชีวิต ดังจะเห็นได้จากนโยบายที่ประกาศว่า “สัจจะนิยม สร้างสังคมสมดุล” เนื่องจากเห็นปัญหาว่าขณะนี้สังคมไม่ค่อยมีความสมดุล ควรส่งเสริมให้ศาสนาเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพราะศาสนาทุกศาสนานำไปสู่ความดีงาม พรรคชาติไทยให้ความสำคัญกับเรื่องของศาสนาที่นำมาใช้ในการดำรงชีวิตและเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของทุกศาสนาในสังคมไทย เพราะหากเราไม่ส่งเสริมเรื่องศาสนา ในอนาคตเมื่อมีปัญหาความขัดแย้งเราจะไม่สามารถจัดการได้”
“สังคมไทยขณะนี้กำลังเสียสมดุลอย่างรุนแรง สังคมกำลังแตกร้าว หากเราไม่มีศาสนาเพื่อมาสอน มาเยียวยา จะมีปัญหาที่เราแก้ไม่ตกและจะลุกลามไปใหญ่โต”

ต่อจากนั้นตัวแทนศาสนิก 3 ศาสนา ได้ร่วมแลกเปลี่ยนทรรศนะและฝากนโยบายด้านศาสนาไปยังตัวแทนพรรคการเมืองที่มาร่วมงาน โดยเริ่มจากพระศรีปริยัติโมลี รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ ม.มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ซึ่งได้ให้ทรรศนะว่า สิ่งสำคัญที่นักการเมืองต้องคิดถึงคือ ธรรมะ หรือ ที่แปลว่าอุดมการณ์ เพื่อเป็นตัวนำกิจกรรมต่างๆ ทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมาย การพัฒนาธุรกิจ การจัดการศึกษา หรือการบริหารประเทศ ต้องมีธรรมะเป็นบรรทัดฐานและมาตรฐานของความเป็นนักการเมืองที่ประพฤติธรรม ส่วนประชาชนต้องเรียกร้องให้นักการเมืองมีนโยบายด้านศาสนาและศีลธรรมเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง
“ถ้าผู้ปกครองบ้านเมืองประพฤติธรรมไพร่ฟ้าบ้านเมืองก็อยู่เป็นสุข แต่เราขาดนักการเมืองที่เข้าใจทิศทางของบ้านเมือง พวกเราต้องเรียกร้องให้นักการเมืองมีนโยบายทางศีลธรรม ทางศาสนา เพราะ มิฉะนั้นจะนำประเทศชาติไปสู่ความหายนะ ดังที่ท่านพุทธทาสกล่าวว่า “หากศีลธรรมไม่กลับมา โลกาก็จะวินาศ”
ทางด้านตัวแทนจากคาทอลิก อ.ไทยวัฒน์ นิลเขต อาจารย์ภาควิชาพื้นฐานทั่วไป คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ฝากไปยังตัวแทนนักการเมืองว่า “หากรัฐสนับสนุนให้ศาสนิกทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างมีคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาสังคมก็จะไม่มี ความสำคัญจึงอยู่ที่คน ความเจริญก้าวหน้าเกิดจากคนที่จะทำให้สังคมมีศีลธรรม บทบาทของครูจึงสำคัญ การสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของครูให้เป็นครูที่แท้จริง ที่สามารถสั่งสอนนักเรียนให้มีศีลธรรม จริยธรรม จึงเป็นสิ่งที่รัฐควรนำเสนอนโยบายในเรื่องนี้ให้ชัดเจน”
ส่วนตัวแทนศาสนาอิสลาม นายนิติ ฮาซัน จากมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลซึ่งสะท้อนออกมาถึงความรุนแรงนั้นก็สะท้อนถึงศีลธรรมของนักการเมือง และภาวะทางจิตใจของผู้นำนั้นด้วย ทั้งที่น่าจะสะท้อนออกมาในเชิงคุณธรรม ศีลธรรมมากกว่า จึงเห็นว่านักการเมืองต้องมีศีลธรรมและจริยธรรม องค์กรศาสนาต้องผลักดันในเรื่องนี้ ศาสนิกชนต้องเรียกร้องให้ผู้แทนนักการเมืองที่จะไปเป็นรัฐบาลในรัฐบาลชุดใหม่ได้เข้าใจ ตระหนัก และนำหลักของศาสนาและคุณธรรม ไปดำเนินการให้เป็นผล
“อยากเรียกร้องศาสนิกของทุกศาสนาให้มีเสียงสะท้อนต่อสาธารณะหรือต่อศาสนิกชนแต่ละศาสนาให้มากขึ้น ส่วนตนเองในนามของมุสลิม ก็จะรณรงค์ให้พี่น้องมุสลิมเรียกร้องนำหลักการของศาสนิกเสนอต่อรัฐบาล ทั้งนี้ศาสนิกชนเองก็ต้องนำหลักธรรมคำสอนของศาสนา มาใช้ให้เกิดสันติสุขและความเป็นธรรมในสังคมด้วย”

ธัญลักษณ์ นวลักษณกวี
ฝ่ายเผยแพร่เพื่อการมีส่วนร่วม
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >