หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 380 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ศาสนิกกับการปกป้องสิทธิมนุษยชน พิมพ์
Thursday, 01 June 2006


ศาสนิกกับการปกป้องสิทธิมนุษยชน

ปาฐกถาโดย ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก
ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ในโอกาสครบรอบ ๖๐ ปีสันติภาพ ผมอยากจะตัดคำว่า “ไทย” ออกไป เพราะสันติภาพไทยเป็นเพียงเสี้ยวนิดเดียวของสันติภาพของโลก ของมวลมนุษย์ทั้งหลาย เพราะความจริงแล้วสงครามและสันติภาพไทยก็เกิดสืบเนื่องมาจากสงครามและสันติภาพในภาคส่วนอื่นของโลก คำวลีอันเป็นกุญแจสำคัญที่เราให้ความสำคัญในวันนี้ “สันติภาพ” “สิทธิมนุษยชน” และ “ภารกิจของศาสนิก” ผมอยากจะเรียนทำความเข้าใจในส่วนตัวของผม “สิทธิมนุษยชน” ไม่ใช่อื่นไกลเลย เป็นเรื่องของการดำรงชีวิตร่วมกัน ร่วมสังคม ร่วมโลกอย่างมีศักดิ์ศรี อย่างมีสันติภาพ อย่างยุติธรรม ซึ่งจะนำไปสู่สันติสุข เพราะฉะนั้นสิทธิมนุษยชนจึงไม่ได้เป็นจุดหมายในตัวของมันเอง เป็นเพียงเครื่องมือ เป็นเพียงวิถีทางที่นำไปสู่เป้าหมายของชีวิตที่พึงปรารถนา สันติภาพก็เช่นเดียวกัน เป็นเป้าหมายของชีวิตเราทุกๆ คน แต่ทั้งสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ เป็นเพียงผลที่เกิดแต่เหตุ

เหตุนี้ผมจึงคิดว่าเป็นภารกิจที่แท้จริงของศาสนิก เราอาจจะประพฤติ ปฏิบัติ หรือแม้กระทั่งสั่งสอนในเรื่องของความยุติธรรม สิทธิเสรีภาพ และสันติภาพ แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงการประพฤติปฏิบัติในชีวิตของเราเท่านั้น คำถามก็คือว่า การประพฤติปฏิบัติที่จะนำไปสู่การเคารพในสิทธิมนุษยชนเพื่อสร้างความยุติธรรมและสันติภาพ เป็นผลที่เกิดแต่เหตุอะไร ผมขอถือโอกาสนี้จากการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมายาวนานพอสมควร อยากจะสรุปว่าภารกิจของศาสนิกนั้น นอกเหนือไปจากการนำแนวทางและสั่งสอนในเรื่องของการประพฤติปฏิบัติแล้ว ผมคิดว่าศาสนิกนั้นมีภารกิจที่สำคัญที่สุด คือ ในการสร้างเสริมสภาวะจิตซึ่งหมายถึงการเรียนรู้ของคนเรา การประพฤติปฏิบัติของคนเรานั้นเกิดขึ้นจากภาวะของจิตของการเรียนรู้ซึ่งผมเรียกสั้นๆ ว่า “การเรียนรู้”

ในโลกปัจจุบันนี้ ถ้าเราย้อนกลับไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา ผมคิดว่าปัญหาของความวิกฤติในสภาวะจิต วิกฤติในสภาวะและวัฒนธรรมการเรียนรู้ นำมาซึ่งการกดขี่เบียดเบียน การดิ้นรนต่อสู้ และสงคราม ล้วนแล้วแต่มาจากการเปลี่ยนแปลงของโลก นับแต่มีการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์เป็นต้นมา การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ของโลกเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความสำเร็จของโลก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์เกิดความอหังการว่า ความรู้ของมนุษย์นั้นสามารถเอาชนะธรรมชาติ มนุษย์นั้นเป็นนายเหนือธรรมชาติ ครั้นมาถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรม วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่มองเห็นความลักลั่นของคนกับธรรมชาติ ก็นำมาซึ่งการเบียดเบียนคนด้วยกัน นี่เป็นประวัติศาสตร์ที่ผมคิดว่า ภารกิจของศาสนิกนั้นคงจำเป็นต้องทำความเข้าใจร่วมกัน

จากลัทธิเศรษฐกิจตลาดเสรี ซึ่งเรียกอย่างสวยหรูว่า “เศรษฐกิจเสรีนิยม” ได้พัฒนาการมาเป็นสิ่งที่ในวงวิชาการในขณะนี้เรียกว่า “ทรราชแห่งตลาด” และทรราชแห่งตลาดนี้ก็นำไปสู่พฤติกรรมของมวลมนุษย์ทั่วโลก ซึ่งก็คือ “บริโภคนิยม” ในสภาวะการเรียนรู้ตรงนี้ วัฒนธรรมการเรียนรู้ตรงนี้เป็นปมปัญหาที่อยู่กับเรามาโดยตลอด คำถามคือว่า เราจะแก้ไขที่จะปฏิรูป ความจริงคำว่า “ปฏิรูป” ผมก็ไม่ชอบ เผอิญผมติดในฐานะที่เป็นนักสังคมศาสตร์ แต่ความจริงแล้ว เราจะพูดในภาษาฝรั่งก็คือว่า เราจะ D Learning เราจะถอนการเรียนรู้ที่อยู่กับตัวเราเป็นเวลาช้านานจนกลายเป็นระบบการศึกษาในยุคปัจจุบัน ตรงนี้ผมคิดว่าเป็นภารกิจของศาสนิกที่จะช่วยกันมองทะลุ ย้อนกลับไปหาภูมิปัญญาของชนสามัญ ผมคิดว่าแก่นของวัฒนธรรมการเรียนรู้ซึ่งอาจดูผิวเผินว่าล้าสมัย ความรู้ หรือภูมิปัญญาหนึ่งก็คือ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติด้วยความเคารพในธรรมชาติ ดังเช่น คำของพ่อเล็ก กุดดวงแก้ว ที่ จ.สกลนคร พูดเสมอถึงภูมิปัญญา ประเพณีของชาวบ้านที่บอกว่า เราอยู่อย่างเคารพและกินอย่างเคารพธรรมชาติ การเคารพธรรมชาติจะนำมาสู่การอยู่อย่างเคารพเพื่อนมนุษย์ และบริโภคอย่างเคารพเพื่อนมนุษย์ ภาพจาก www.episcopalchunch.orgเพราะว่าการแสวงอำนาจในทางเศรษฐกิจ หรือที่เราเรียกว่า “การขยายตลาด” “การขยายบริโภคนิยม” สองอย่างนี้ขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ ผมเคยพูดเสมอว่า การแก้ปัญหาเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน ไม่ต้องไปรบราฆ่าฟันกันเลย เพียงแต่กำจัดศาสนาบริโภคนิยมออกไป เท่านั้นแหละครับ ผมคิดว่าวัฒนธรรมการเรียนรู้ตรงนี้เป็นกุญแจสำคัญ และทุกๆ ศาสนามีภารกิจร่วมกันตรงนี้ ความแตกต่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ศาสนา ภูมิประเทศ ฐานทรัพยากร เป็นความแตกต่างหลากหลายที่เป็นความงดงามของโลกชีวิต ไม่ได้เป็นความแตกต่างหลากหลายที่นำมาสู่ความลักลั่นขัดแย้งระหว่างกัน ตรงนี้เป็นภารกิจที่ศาสนิกจำเป็นต้องมี Mission ร่วมกัน ไม่ว่าจะมีความแตกต่างหลากหลายกันอย่างไรก็ตาม ความแตกต่างเป็นเพียงเรื่องของบริบท ความงดงามของโลกใบนี้ก็คือความหลากหลาย แต่ในวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมทางการพัฒนาเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมการบริโภคกำลังบังคับให้โลกทุนนิยมเหล่านั้นเป็นวัฒนธรรมเดียวที่เรียกว่า Mono Culture ได้กำจัดความงดงามของโลกชีวิตออกไป นี่คือสภาวะของโลกยุคปัจจุบันซึ่งมีสาเหตุมาจากการพัฒนาความรู้ของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไปลดความสำคัญของจิต เอาเรื่องของกาย เรื่องของวัตถุมากำหนดจิต

มีข้อสังเกตของนักเศรษฐศาสตร์บอกว่า เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือของสังคม แต่ปัจจุบันนี้สังคมซึ่งหมายถึงชีวิตของมนุษย์ เป็นเครื่องมือของเศรษฐกิจ มนุษย์มีคุณค่าเป็นเพียงแรงงานการผลิต มีคุณค่าเพียงการบริโภค ยิ่งผลิตได้มาก บริโภคได้มาก เราเรียกว่า ความก้าวหน้า หลักความคิดเรื่องความก้าวหน้าที่เรายึดถือปัจจุบันนี้ นั่นก็คือความถดถอยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เกิดการกดขี่เบียดเบียน คือ ที่มาของสงคราม ที่มาของความขัดแย้ง ที่มาของการบั่นทอนทำลายสิทธิเสรีภาพ คุณค่าความเป็นมนุษย์ ตรงนี้ผมคิดว่าภารกิจของศาสนิกนั้นคงจะต้องพ้นไปจากความแตกต่างหลากหลายเพื่อมามองภารกิจร่วมกัน นี่คือภารกิจระยะยาว หลักธรรมคำสั่งสอนทั้งหลายเป็นหลักธรรมคำสั่งสอนในการประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันของเรา แต่หลักธรรม การสั่งสอน และการประพฤติปฏิบัติเหล่านี้จะไม่เป็นมรรคเป็นผลเท่าที่ควร หากปราศจากพื้นฐานของการเรียนรู้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับโลกของชีวิต โดยเฉพาะการมองถึงปัญหาของระบบการศึกษาปัจจุบันที่นำพาเราไปสู่ชีวิตของการเบียดเบียน การเอารัดเอาเปรียบ ไม่ว่าจะเป็นในรูปของเชื้อชาตินิยม หรือในรูปของความเป็นใหญ่ทางเศรษฐกิจ มูลเหตุของสงครามก็มาจากนี่แหละครับ

เราพูดในวันนี้ พูดในโอกาสครบรอบ ๖๐ ปีของสันติภาพ ถ้าเราย้อนกลับไปดูเมื่อ ๖๐ ปีก่อน สาเหตุสำคัญก็คือลัทธิชาติ เชื้อชาตินิยม แต่ถ้ามองไปอีก ลัทธิเชื้อชาตินิยม ลัทธินาซี ลัทธิต่างๆ ถ้ามองให้ลึกลงไปก็คือ ปฏิกิริยาต่อระบบทุนนิยม ต่อระบบเศรษฐกิจนั่นเอง จึงเอาเรื่องของเชื้อชาติขึ้นมาเป็นอาวุธในการต่อสู้จนกระทั่งโลกประสบหายนะอย่างใหญ่หลวง มนุษย์จึงได้ระลึกว่าเราต้องสร้างสันติภาพ สร้างองค์การสหประชาชาติและเชิดชูสิทธิมนุษยชน แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ทันทีที่โลกเกิดสันติภาพจึงค่อยๆ พัฒนาไปสู่อีกลัทธิหนึ่ง ก็คือลัทธิจักรวรรดินิยมในทางเศรษฐกิจ ตลาดทุน เทคโนโลยี กลายเป็นเครื่องมือเป็นกลไกที่จะสร้างความเอารัดเอาเปรียบ สร้างความยิ่งใหญ่

ขณะนี้ในโลกเศรษฐกิจเองก็กำลังประสบกับภาวะวิกฤติในเรื่องของการช่วงชิงแก่งแย่ง ไม่มีความสุขหรอกครับ และกระแสโลกาภิวัตน์ที่กำลังเป็นอยู่ขณะนี้ ในความสังเกตของผมกำลังถึงจุดที่สร้างปฏิกิริยาต่อต้านอย่างรุนแรง สิ่งที่เราเรียกว่า “การก่อการร้าย” ในทุกวันนี้ ถ้าพูดกันด้วยความเป็นธรรมก็เป็นเพียงปฏิกิริยาที่ต่อต้านกระแสการขยายอำนาจกดขี่เบียดเบียน เอารัดเอาเปรียบกันในทางเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นการมองที่เหตุและผลต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่ผมมีความเชื่อว่าเป็นภารกิจของ ศาสนิกทุกๆ ศาสนาในโลกนี้จะต้องมีความเข้าใจตรงกันว่าเรากำลังประสบกับชะตากรรมของโลกอย่างไรบ้าง

สิทธิมนุษยชนไม่ใช่เรื่องของชีวิตด้านนั้นด้านนี้ แต่เป็นเรื่องขององค์รวมของชีวิต เป็นเรื่องของการดำรงชีวิตร่วมกันอย่างเคารพซึ่งกันและกัน และเข้าใจกัน แต่ว่าการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายก็ดี การแก้ไขปัญหาความวิกฤติในภาคใต้ก็ดี ล้วนแล้วแต่มีมูลเหตุเดียวกัน คืออำนาจบาตรImageใหญ่ในทางเศรษฐกิจ ผมอยากจะเรียนในที่นี้ว่า พัฒนาการของเศรษฐกิจมาถึงจุดที่เริ่มมีการเบียดเบียนทรัพยากรท้องถิ่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกลายเป็นเครื่องมือกลไกของการช่วงชิงในรูปแบบของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เราได้ยินเรื่องของปัญหาข้าวหอมมะลิ ปัญหาของหญ้าเปล้าน้อยมาแล้ว จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งถึงโรงถึงศาล อย่างเช่น ข้าวจัสมาติ ของอินเดียกับสหรัฐอเมริกา เป็นต้น จนกระทั่งเป็นคดีความที่ต้องไปต่อสู้กันในศาลสหรัฐฯ นี่เป็นเรื่องน่าคิดนะครับ และในสหรัฐฯ เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นประเทศที่มีนักกฎหมายเป็นจำนวนมาก ไม่มีทางสู้ได้หรอกครับ การไปสู้คดีในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ จนกระทั่งในขณะนี้การพัฒนาทางเทคโนโลยีที่เรามองรวมเป็นความก้าวหน้ามันกลายเป็นเครื่องมือของการช่วงชิง

เมื่อไม่นานมานี้ผมทำหน้าที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีข้อเสนอมาจากสหรัฐฯ ต้องการให้ไทย –สหรัฐฯ ทำข้อตกลงก่อตั้งกองทุนวิจัยป่าเขตร้อน ซึ่งเป็นข้อตกลงที่สหรัฐฯ จะช่วยตั้งกองทุนวิจัยแต่สหรัฐมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีสิทธิในการสำรวจป่าเขตร้อนทั่วประเทศ สิทธิในการนำไปวิจัย และจดทะเบียนเป็นสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญา เพราะฉะนั้นปัญหาภาคใต้นั้นเรามองเป็นปัญหาทางศาสนา ปัญหาของกระบวนการยุติธรรม นั่นก็เป็นส่วนจริงครับ แต่ที่ลึกไปกว่านั้นเราพูดกันเสมอในแวดวงวิชาการที่ปัตตานีว่าความจริงนั้นก็คือ ปัญหาการเบียดเบียนทรัพยากร ซึ่งหมายถึง การเบียดเบียนชีวิต เบียดเบียนสิทธิเสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ทุกครั้งที่พูดถึงภาคใต้ ผมจึงพูดเสมอว่า ปัญหาภาคใต้เกิดขึ้นทุกภาคส่วนของสังคมไทย เพราะเป็นที่ทราบกันว่า ประเทศไทยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของป่าเขตร้อนของโลก อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นฐานของการดำรงชีวิตและการเรียนรู้ของชุมชนโดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ชาวเขา ชาวม้ง ก็ถูกเบียดเบียนทั้งสิ้น นี่เป็นเรื่องที่เราต้องพยายามทำความเข้าใจร่วมกันว่า โลกในขณะนี้กำลังก้าวเข้าสู่จุดวิกฤติซึ่งคนยากคนจน คนสามัญ นั้นไม่มีทางออกที่จะแสวงหาความยุติธรรม ความสันติสุข อย่าว่าแต่สิทธิเสรีภาพเลย

ในระบบโลก ระบบรัฐ ทุกวันนี้ก็ไม่เอื้ออำนวยเพราะเรากำลังพัฒนาไปสู่การรวมศูนย์อำนาจทั้งสิ้น ประชาธิปไตยที่เรามองเห็นทุกวันนี้เป็นประชาธิปไตยรวมศูนย์ ผมอยากจะเรียนว่า ไม่มีประชาธิปไตยที่ไหนในโลกที่จะเป็นประชาธิปไตยที่เคารพสิทธิเสรีภาพหากปราศจากซึ่งสิทธิการปกครองตนเองของชุมชนท้องถิ่น การถ่วงดุลอำนาจไม่ได้อยู่ที่รัฐสภา ไม่ได้อยู่ที่การถ่วงดุลอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ แต่อยู่ที่ฐานของสิทธิการปกครองตนเองของท้องถิ่น ผมพูดถึงวิกฤติตรงนี้ ในประเทศไทยเรากำลังมีข้อเสนอสำคัญที่เรียกว่า การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นเขตฯ ที่จะยกให้อยู่ในอำนาจปกครองดูแลของคณะกรรมการชุดหนึ่ง เพียงต้องการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และให้สิทธิอำนาจนั้นเป็นสิทธิเด็ดขาด อันนี้หมายความว่าเป็นการล้มเลิกสิทธิในการปกครองตนเองของท้องถิ่นทั้งหมด เขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ เขตห้าเหลี่ยมเศรษฐกิจในขณะนี้นั้น ล้วนแล้วแต่เป็นกลไกที่จะลงไปครอบครองครอบงำ นั่นก็คือการเบียดเบียนชีวิต นี่เป็นจุดวิกฤติซึ่งเราต้องมีความตื่นตัวและทำความเข้าใจร่วมกัน

โดยสรุปแล้ว ภารกิจของศาสนิกในเรื่องของสิทธิมนุษยชน ในเรื่องของสันติภาพนั้น นอกเหนือไปจากหลักธรรมคำสั่งสอนเพื่อการประพฤติปฏิบัติ เพื่อความถูกต้องชอบธรรมในชีวิตประจำวันแล้ว ยังมีอะไรที่ลึกซึ้งและอยู่บนพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่ง นั่นคือ การพยายามที่จะสร้างสภาวะจิต สภาวะความรู้ วัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่ เป็นการปฏิรูประบบซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่อย่างน้อยที่สุด ถ้าเราเริ่มมีความเข้าใจร่วมกัน ย่อมเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่พัฒนาการที่ดีขึ้น สดใสขึ้น เป็นเรื่องของระยะยาว ด้วยเหตุนี้ในส่วนตัวผมจึงให้ความสนใจกับการปฏิรูปการศึกษา แต่เป็นการปฏิรูปการศึกษาซึ่งไม่ใช่การปฏิรูปที่เราพูดถึงกันทุกวันนี้ ผมคิดถึง เปาโล แฟร์ เขาไม่ได้พูดถึงการศึกษาในชั้นเรียนอย่างนี้ แต่กำลังพูดถึงกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมที่เรียกว่า Social Learning ผมคิดว่าบทบาทของศาสนามีความสำคัญอย่างยิ่งตรงนี้ ทำอย่างไรที่จะมีหลักธรรมคำสั่งสอน ความคิด มีเป้าหมายร่วมกัน คือคุณค่าของความเป็นมนุษย์ และคุณค่าของความเป็นมนุษย์จะมีไม่ได้ ถ้าปราศจากซึ่งพื้นฐานของวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่พึงปรารถนา ประเด็นทั้งหมดนี้ ผมอยากเรียนทิ้งท้ายเอาไว้ เพราะเรายังมีประเด็นที่ยังต้องถกเถียง ต้องแสวงหากันอีกมากมาย ทุกๆ อย่างต้องมีจุดตั้งต้น และสิ่งที่ผมพยายามนำเสนอนี้ พยายามทำให้เรามองภารกิจร่วมกันที่จะแสวงหาจุดตั้งต้นที่ถูกต้องชอบธรรมต่อไป


ถอดเทปจากงานเสวนา “๖๐ ปีสันติภาพไทย : ภารกิจศาสนิกกับการปกป้องสิทธิมนุษยชน” เนื่องในโอกาสวันสิทธิมนุษยชนของพระศาสนจักรคาทอลิกแห่งประเทศไทย เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ณ อาคารมูลนิธิเซนต์คาเบรียล ซ.ทองหล่อ ๒๕ กรุงเทพฯ จัดโดย คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >