หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1233 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สัมภาษณ์พิเศษ: บาทหลวงวินัย บุญลือ S.J. คุณค่าความเป็นมนุษย์ในทางเทววิทยา... พิมพ์
Tuesday, 19 December 2023

Image

วารสารผู้ไถ่
ปีที่ ๔๔
ฉบับที่ ๑๒๓ ก.ย. - ธ.ค. ๒๕๖๖

 

สัมภาษณ์พิเศษ: บาทหลวงวินัย บุญลือ S.J.

คุณค่าความเป็นมนุษย์ในทางเทววิทยา
กับการปกป้องรักษาฐานทรัพยากรของชุมชน

องอาจ เดชา 
 


Image 

อยากให้ช่วยอธิบายถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ในทางเทววิทยา กับการปกป้องรักษาฐานทรัพยากรของชุมชน ที่พี่น้องชาวบ้านหลายพื้นที่ได้ต่อสู้ร่วมกันในขณะนี้?

คือในความเชื่อของคริสต์  พระเจ้าสร้างทุกสิ่งทุกอย่างมา แล้วในที่สุดก็สร้างมนุษย์ ตามพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ สิ่งที่เหมือนแล้วก็สิ่งที่เป็น เป็นภาพลักษณ์ของพระองค์เลย เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นเรื่องของความเป็นมนุษย์แบบทางสังคมวิทยา ที่จริงแล้วก็คือมนุษย์ทุกคนเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่แท้จริงของเขา เป็นผู้ที่จะต้องเมตตา ผู้ที่สร้างสรรค์ ผู้ที่ต้องรัก ผู้ที่ต้องแบ่งปัน ผู้ที่จะต้องเอ็นดู ในฐานะของความเป็นมนุษย์ผู้อื่น มีจิตใจและมีจิตมีวิญญาณ ดังนั้น ความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรีสูงสุดของมนุษย์ก็คือ ทุก ๆ คนนั้นเป็นที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้า ในพระธรรมบัญญัติใหม่ บอกว่ามนุษย์ทุกคนเป็นพระวิหารของพระผู้เป็นเจ้า เป็นที่สถิตของพระจิตเจ้า หรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ ที่เราพูดถึง เพราะฉะนั้น ความเป็นมนุษย์นั้นมีศักดิ์ศรีหรือมีความศักดิ์สิทธิ์เท่ากับพระเจ้าเลยนะ

ถ้าพูดถึงองค์พระผู้เป็นเจ้า เป็นองค์ความดี โดยแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์แล้ว ก็เป็นองค์ความดีที่มีอยู่ในนั้น ดังนั้น เราเองแต่ละคนก็จะต้องเคารพนับถือตนเองและผู้อื่นอย่างเท่าเทียมกัน ในฐานะที่เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์พระผู้เป็นเจ้า

 

มีหลายชุมชน หลายพื้นที่ในภาคเหนือ กลาง อีสาน ใต้ พี่น้องชาวบ้านได้ลุกขึ้นมาปกป้องฐานทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเอง หลายพื้นที่เผชิญการต่อสู้กับโครงการของรัฐ หรือกลุ่มทุนมาเนิ่นนาน ด้วยชีวิตจิตวิญญาณ ด้วยหัวใจ ที่ยังเต็มเปี่ยมด้วยความหวัง คุณพ่อมองพี่น้องชาวบ้านกลุ่มนี้อย่างไรบ้าง?

ที่เราพูดถึงเรื่องสิทธิของความเป็นมนุษย์หรือศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์นั้น ก็เพราะว่า สิ่งสร้างทั้งปวง ทั้งทรัพยากรที่เราไปอยู่ในโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างมา และสร้างให้มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับมนุษย์ด้วย, ทรงสร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาก่อน แล้วทรงเห็นว่าดี และทรงอวยพร แล้วก็สร้างมนุษย์ตามมาภาพลักษณ์ พระฉายาลักษณ์ของพระองค์ ก็คือสิ่งสร้างทั้งปวงเหล่านี้ มันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ในที่นี้ก็คือเป็นสิ่งที่จะให้ชีวิตแก่มนุษย์  แต่ไม่ใช่ศักดิ์สิทธิ์ว่าจะเป็นความขลังหรือมีอํานาจนะ แต่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่ว ๆ ไปที่มีอยู่ในโลกนี้คือ เป็นสิ่งที่จะให้ชีวิตแก่มนุษย์ เพราะฉะนั้น ทรัพยากรทั้งหลายเหล่านี้ เป็นภาพลักษณ์ของพระผู้เป็นเจ้าด้วยได้เช่นกัน คือเป็นคําสอนว่ามนุษย์จะต้องเสียสละตนเอง พระเป็นเจ้าทรงรักมนุษย์ พระผู้เป็นเจ้าก็ทรงเสียสละสิ่งเหล่านี้เพื่อมนุษย์เรา

ดังนั้น ทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ดิน หิน ต้นไม้ เขาไม่ได้อยู่เพื่อตนเองนะ เขาอยู่เพื่อมนุษย์ทั้งหมดเลย เขาอยู่เพื่อผู้อื่นทั้งหมดเลย ดินก็อยู่เพื่อต้นไม้ แล้วก็ต้นไม้ก็อยู่เพื่อมนุษย์ มนุษย์ก็ต้องอยู่ซึ่งกันและกัน  แล้วดินต่าง ๆ เหล่านั้นก็เป็นสิ่งที่ให้ชีวิตแก่ต้นไม้หรือสรรพสัตว์ทั้งหลาย และสรรพสัตว์ทั้งหลายก็จะต้องอยู่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

เพราะฉะนั้น การที่ทุก ๆ หมู่บ้าน พวกเขาออกมาปกป้องสิทธิและหมู่บ้านของตนเองนั้น มันเป็นกระแสเรียก เป็นบัญชาลึก ๆ ภายในของตนเอง ก็คือ เขารู้ว่าสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ มันเป็นการทําลายชีวิตของมนุษย์ ก็เลยจำเป็นต้องออกมาต่อสู้ปกป้อง เขาไม่สามารถที่จะปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ได้ คือ ถ้ามองอย่างผิวเผิน เราอาจจะมองว่าเป็นเรื่องของการเมือง อาจจะเป็นเรื่องของประโยชน์ส่วนตัวหรือเพื่อผลประโยชน์ชนเผ่า ชนพื้นเมือง  แต่ลึก ๆ ของความเป็นมนุษย์ เขาอยากจะอยู่รอด เขาจะต้องอยู่รอด และอยู่รอดตรงนี้ไม่ใช่เป็นเพราะว่าเขาอยากจะอยู่เอง แต่เป็นเสียงภายใน เสียงมโนธรรมคอยเตือนเขาว่า ถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น เขาตายแน่... แล้วถ้าพูดถึงเรื่องของจริยธรรมบางอย่างที่พระคัมภีร์บอกไว้ว่า ผลของบาปคือความตาย ฉะนั้น สิ่งที่มันจะทําให้เขาจะต้องตาย มนุษย์จะต้องตายแน่ เขาก็เลยคิดว่าเป็นสิ่งที่เป็นความผิดบาปมนุษย์ไง ที่จะไปเบียดเบียน สิ่งอื่น ๆ เหล่านั้น เพื่อประโยชน์ของตนเอง ไม่ใช่เพื่อประโยชน์เพื่อความอยู่รอด แต่ประโยชน์เพื่อเสริมกระพี้เปลือกของตนเองให้มีสง่าราศีของโลก ของความเป็นมนุษย์

อย่างเช่นสมมุติ เราพูดถึงเรื่องของอาหารการกินทั่วไป แล้วกินเพื่อจะอยู่รอด เพื่อคนอยู่รอดเฉย ๆ แต่ว่าเวลาที่เขาเรียกว่า วัตถุนิยม มาบดบังความเป็นจริงของมนุษย์ตรงนี้ เขาก็เลยกินเพื่อตําแหน่งแห่งที่ของตนเอง เพื่อตําแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ของตนเอง แล้วก็กลายเป็นการแบ่งชนชั้น ว่าคนนี้เป็นคนไทย มีรสนิยมสูงกว่า สมมุติการใช้ทรัพยากรอันเดียวกัน มันมีผลประโยชน์เท่าเทียมกันนะ แต่เวลาที่เอามาเพิ่มคุณค่า สร้างคุณค่า สิ่งเหล่านี้จนเกินเลยความเป็นจริง มันก็อยู่ส่วนในกระพี้ของตนเอง ดังนั้น ผมว่าความเป็นจริงชุดนี้มันอยู่ในโลกตลอดเวลา ที่จะต้องกลับมาคิด

 

ดูเหมือนเรื่องการละเมิดสิทธิและการปกป้องสิทธินั้นมีมานานหลายยุคสมัยมาแล้ว?

ใช่แล้ว ในพระคัมภีร์ตั้งแต่แรก  ในพระธรรมเดิม ก็จะมีนิทานศักดิ์สิทธิ์ที่เราได้ยินจากพระคัมภีร์ว่า มีกษัตริย์องค์หนึ่งเขามีทุกอย่าง มีทั้งอํานาจ มีทั้งทรัพย์สิน มีทั้งแกะ มีทั้งสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น แต่พอมีแขกที่มีเกียรติของเขามาเยี่ยม กษัตริย์ก็อยากจะเลี้ยงแขกคนนี้ ก็ไปเอาลูกแกะของคนยากคนจน ซึ่งเขามีแกะตัวเดียว แล้วก็จะเอามาเลี้ยงแขกของตนเอง เพื่อให้กลายเป็นศักดิ์ศรี ว่าคนนี้เป็นเจ้าภาพที่ดี ซึ่งจริง ๆ แล้วก็คือเป็นการไปเอาเปรียบคนจน ไปเอาแกะของคนจน มาเลี้ยงแขกของตนเอง แขกก็คือภาพลักษณ์ เป็นเงาของตนเองที่เขาอยากจะมีศักดิ์ศรี  หรือว่าอยากจะโชว์ศักดิ์ศรีเท่ากับคนนั้น ก็เลยไปเอาของคนจนมา อันนี้ถือเป็นเรื่องของอํานาจ

แต่ส่วนมนุษย์ มันมีอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องคํานึงอยู่เสมอ ก็คือความโลภในด้านต่าง ๆ ความโลภทรัพย์สิน คนโลภอํานาจ ความโลภเพื่อเพิ่มบารมีของตนเอง เหมือนกับกษัตริย์ดาวิด  ซึ่งมีภรรยาเยอะแยะมากมาย มีชีวิตที่ปรนเปรอ แม้กระทั่ง ทหารของเขาที่รักเขามากที่สุด และปกป้องเขามากที่สุด ก็ยังไปเอาภรรยาของเขามาเลย แล้วส่งเขาไปฆ่าที่ชายแดน ส่งเข้าไปในแนวรบที่จะต้องตาย แล้วก็เอาภรรยาของทหารมาเป็นภรรยาของตนเอง ในที่สุดนั้นก็กลายเป็นประวัติศาสตร์ของมนุษย์ตรงนี้

ดังนั้น ผมว่ามันอยู่ลึก ๆ ของความเชื่อทางด้านของความเป็นคน โดยศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่แท้จริงทุก ๆ คน  คนเล็กคนน้อย เขาพยายามที่จะปกป้องศักดิ์ศรีหรือปกป้องความเป็นมนุษย์ของตนเอง โดยอาศัยทรัพยากรเหล่านี้เป็นฐานในการพัฒนาชีวิต คือเราไม่สามารถที่จะปกป้องชีวิตของตนเองโดยไม่ปกป้องธรรมชาติ หมายความว่าธรรมชาติเหล่านี้ให้ชีวิต ธรรมชาติเหล่านี้ให้ศักดิ์ศรี ธรรมชาติเหล่านี้ให้อากาศหายใจอย่าง  ต้นไม้มันยังรู้จักที่จะแบ่งปันซึ่งกันและกัน แต่มนุษย์บางกลุ่มก็ยังชอบไปทําลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ผมมองว่า การต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง เช่น กรณีการสร้างเขื่อนสาละวิน การผันน้ำยวมไปลงเขื่อนภูมิพล หรือเรื่องเหมืองแร่ต่าง ๆ ที่แม่ฮ่องสอน ซึ่งถือว่า เรามีความต้องการเกินกว่าความจําเป็น  ในการพัฒนาประเทศชาติเองก็ตาม บางทีเราก็ไปซ่อนอยู่ในเรื่องการพัฒนาความเป็นคนสมัยใหม่ แต่คนสมัยใหม่หรือความพัฒนาที่เลยความจําเป็นของมนุษย์เหล่านั้น ก็คือการเป็นคนเย่อหยิ่งจองหองของตนเองที่พยายามเป็นใหญ่กว่าธรรมชาติ ใหญ่กว่าพระผู้เป็นเจ้า ทั้งที่ตัวเรา มนุษย์เราไม่สามารถที่จะเป็นใหญ่เกินกว่าธรรมชาติ หรือพยายามให้เหมือนเราเท่ากับธรรมชาติ ซึ่งจริง ๆ แล้ว เรายังให้ชีวิตของเราเองไม่ได้เลย หายใจก็ยังอาศัยต้นไม้เลย

ยิ่งสําหรับพี่น้องชนเผ่า อย่างเช่น ปกาเกอะญอที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเอง ที่แม่ฮ่องสอน ที่ลำปาง หรือที่อื่น ๆ มันอยู่ในความเชื่อของตนเองอยู่แล้ว คือมีอยู่ในนิทานของปกาเกอะญอ ที่บอกว่า มีกษัตริย์องค์หนึ่ง มีที่ดินอยู่ทั่วไป ครอบครองแผ่นดินทั้งหมดเลย แล้วเขาก็เห็นลูกกําพร้าคนหนึ่ง ลูกกําพร้าคนหนึ่งนี้เป็นคนที่ขยันขันแข็ง แต่กษัตริย์เขาไม่แบ่งที่ดินให้เลย จะแบ่งที่ให้ที่หนึ่งก็คือ บนลานหิน เหมือนกับหน้าผาที่อยู่ข้างบน แล้วลูกกําพร้าคนนี้ก็ต้องไปแบกดินขนดินจากที่อื่น มาเติมตรงลานหินนี้ให้เต็มแล้วค่อยปลูกข้าว พอปลูกข้าวได้ กษัตริย์คนนั้นก็ยังไปเอาเปรียบเขา ไปเอาข้าวของเขามาอีก ลูกกำพร้าพยายามปลูกข้าว ทำความดี ดูแลไร่ของตนเองอย่างดี แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ที่มีแต่ก้อนหิน ก็สามารถเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่น่าอยู่ ให้กลายเป็นพื้นที่น่าอยู่มีสิ่งที่น่ากิน แต่สุดท้าย กษัตริย์องค์นั้นก็ยังไปยึดของเขามาอีก ซึ่งในนิทานปกาเกอะญอนี้ เป็นชนเผ่าเล็ก ๆ  แต่ยังมีเรื่องเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิของตนเองจากการถูกเอาเปรียบ ต้องต่อสู้กับผู้มีอํานาจเหล่านั้น ซึ่งในตอนท้ายของนิทานปกาเกอะญอนี้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็มาช่วยเด็กกําพร้าคนนี้ ให้มีอํานาจบารมีของตนเองที่จะมาปกป้องสิทธิของตนเอง

ในขณะที่ในพระคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ ซึ่งปกติเราก็มองว่าเป็นศาสนาสากล แต่ไม่มีใครช่วยเลยนะ นอกจากพระเจ้า ได้ออกมากู้คืนศักดิ์ศรีของตนเอง โดยพระผู้เป็นเจ้าไปบอกดาวิดเองว่า แบบนี้ทำไม่ถูกนะ จนทำให้ดาวิด ได้กลับใจ ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ก็ได้กล่าวถึงการกลับใจ ในพระสมณสาสน์ฉบับใหม่ Laudato Si'  หมายถึง การกลับใจในเชิงนิเวศวิทยา คือจะต้องมีการกลับใจระดับที่เป็นการฟื้นกลับไปสู่รากดั้งเดิมของตนเอง ที่อยู่ในธรรมชาติของพระผู้เป็นเจ้า

 

แต่ก็มีพี่น้องคริสเตียนหรือผู้นำบางคนบางกลุ่มบางพื้นที่ ที่ยังไม่เข้าใจลึกซึ้ง แล้วชอบตีความคลาดเคลื่อนมองว่า พระเจ้าทรงสร้างธรรมชาติให้กับเรา ดังนั้น เราจึงมีสิทธิที่จะใช้ทรัพยากร ครอบครองฐานทรัพยากรนี้มาเป็นของตนเองได้  จนนำไปสู่ความโลภและความเห็นแก่ตัว?

อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน คือพระเจ้าทรงสร้างทุกอย่าง แล้วทรงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีใช่ไหม และก็เพื่อจะได้รับใช้มนุษย์  อันนี้ไม่เคยบอกว่าจะต้องเอามาให้ได้ การที่จะเอามาใช้ประโยชน์ส่วนตัวนี่ไม่ใช่เลย ในพระคัมภีร์มันเป็นเรื่องของ community ทั้งนั้นนะ เอามาใช้ประโยชน์ส่วนตัว นี่โอ้ เห็นแก่ตัวเยอะ ผมว่าการมองพระคัมภีร์จะต้องมองลึก ๆ คือพระเจ้าทรงสร้างทรัพยากรเหล่านี้ พระเป็นเจ้าทรงให้ดูแล ไม่ใช่ให้เอาไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวของตนเอง

 

อยากให้คุณพ่ออวยพรให้กําลังใจกับพี่น้องชาวบ้านที่ยังเคลื่อนไหวต่อสู้ในหลาย ๆ พื้นที่ในขณะนี้?

อยากบอกว่า ความเคลื่อนไหวต่อสู้เหล่านี้ มันไม่ได้เป็นความตั้งใจของเราเอง ไม่ใช่เป็นการเห็นแก่ตัวของเราเอง แต่ถ้าดูในลักษณะของศาสนา ถือว่านี่เป็นการถูกเรียก มันเป็นกระแสเรียก มันเป็น The Calling ให้ทุกคนรู้จักปกป้องความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกัน ในความเป็นมนุษย์ ในการปกป้องมนุษย์นั้นมีอย่างเดียวก็คือจะต้องปกป้องทรัพยากรหรือสิ่งที่ให้ชีวิต แล้วในโลกของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ อย่างเช่น เรื่องของภาวะโลกร้อนหรืออะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ที่มันจะเกิดขึ้น หรือมันไม่มีทางอื่นที่จะต้องดูแลตนเอง ดูแลชีวิตของมนุษย์ได้ นอกจากชีวิตที่เราดูแลตรงนี้  แต่เนื่องจากว่าในโลกนี้ คนมีความต้องการและไม่มีสิ้นสุด ซึ่ง มหาตมะ คานธี ก็บอกว่า "ทรัพยากรในโลก มีเพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงคนทั้งโลก แต่มีไม่เพียงพอ ที่จะหล่อเลี้ยงคนที่มีความโลภเพียงคนเดียว"

ก็อยากจะให้กำลังใจพี่น้องชาวบ้านที่กําลังดูแลฐานทรัพยากรของตนเอง นี่เป็นการทํางานเพื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นการทํางานเพื่อพระเจ้า  ถ้าทําด้วยความตั้งใจ ถ้าทําด้วยความซื่อสัตย์ต่อตนเองที่แท้จริง  ในที่สุด เราจะรู้สึกว่ามันจะต้องมีวันที่ชนะตนเอง เพราะมนุษย์ไม่สามารถที่จะเอาชนะธรรมชาติได้ สุดท้าย ธรรมชาติเหล่านั้นก็จะกลับมาเสริมชีวิตของเราเอง

แล้วก็ความเป็นชุมชน ความเป็นพี่น้องกัน ในพระคัมภีร์บอกว่า ถ้าเรามีความเป็นพี่น้องกัน แม้ว่าจะอยู่แค่คนสองคน ทํางานอยู่ในนามของพระผู้เป็นเจ้า ก็คือในนามของการดูแลธรรมชาติตามคําสั่งของพระผู้เป็นเจ้า ตามบัญชาของพระองค์ เพราะว่าพระองค์จะอยู่กับเราเสมอ และพร้อมจะเดินร่วมทางกับเราตลอดไป
 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >