หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 144 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สาระ ปี 2002/2545 : ไม่มีสันติภาพ หากปราศจากความยุติธรรม และจะไม่มีความยุติธรรม หากปราศจากการให้อภัย พิมพ์
Friday, 19 May 2006

สาระสำคัญของสารวันสันติภาพสากล
ของสมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น พอล ที่ 2
1 มกราคม 2002/2545
ไม่มีสันติภาพ หากปราศจากความยุติธรรม
และจะไม่มีความยุติธรรม หากปราศจากการให้อภัย

ปี 2002 เป็นการเฉลิมฉลองวันสันติภาพสากลท่ามกลางเงามืดจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ซึ่งในวันนั้นมีการประกอบอาชญากรรมอันโหดร้าย ชั่วเวลาสั้นๆ เพียงไม่กี่ชั่วโมง ประชาชนคนธรรมดาๆ หลากหลายสัญชาติจำนวนนับพันถูกสังหาร

นับจากนั้นเป็นต้นมา ประชาชนทั่วโลกต่างเริ่มรู้สึกว่าตนเองไม่ปลอดภัย และหวาดกลัวต่ออนาคตของตน

สถานการณ์ในช่วงเวลานั้น การพูดถึงความยุติธรรมและการให้อภัยในฐานะที่เป็นบ่อเกิดและเงื่อนไขในการสร้างสันติภาพดูจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ชี้ให้เห็นว่า “เราสามารถทำได้ และเราต้องทำ ไม่ว่าจะยากเย็นแสนเข็ญเพียงใดก็ตาม”

ความรุนแรงของสถานการณ์โลก ทำให้หลายคนคิดว่าความยุติธรรมและการให้อภัยเป็นสิ่งที่หวังไม่ได้อีกต่อไป แต่สารฉบับนี้บอกว่า “การให้อภัยเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับความขมขื่น และการผูกพยาบาทแก้แค้น สันติภาพเที่ยงแท้คือ ผลที่เกิดจากความยุติธรรม”

แต่เนื่องจากความยุติธรรมของมนุษย์มักจะเปราะบางไม่สมบูรณ์ มีขีดจำกัด และความเห็นแก่ตัวของมนุษย์แต่ละคนแต่ละกลุ่ม เพราะฉะนั้น ความยุติธรรมที่สมบูรณ์จึงต้องประกอบไปด้วย “การให้อภัย” ซึ่งจะช่วยสมานแผลให้หายสนิทและฟื้นฟูความสัมพันธ์อันร้าวฉานของมนุษย์ให้กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวได้อย่างจริงจัง การให้อภัยไม่มีทางที่จะขัดแย้งกับความยุติธรรมได้ และความยุติธรรมที่สมบูรณ์นำไปสู่ความสงบแห่งความสมดุลย์ ซึ่งเป็นสภาพที่มากกว่าเพียงแค่สภาวะเปราะบางชั่วคราวของการสิ้นสุดความเป็นปรปักษ์เท่านั้น ความสงบแห่งความสมดุลย์จะช่วยทำการสมานแผลกลัดหนองในจิตใจมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้ง

ฉะนั้น ความยุติธรรมและการให้อภัย จึงเป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อการสมานแผลดังกล่าว

ในสารฉบับนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 กล่าวถึงสันติภาพจากมิติ 2 ด้าน คือ ความยุติธรรมและการให้อภัย และกล่าวถึงปัญหาสำคัญเรื่องหนึ่งก็คือ ปัญหาความรุนแรงในระดับใหม่ที่กระทำโดยขบวนการก่อการร้าย

ซึ่งพระองค์กล่าวไว้ว่า การก่อการร้ายเกิดจากความเกลียดชัง และก่อให้เกิดการโดดเดี่ยว ความไม่ไว้วางใจ และการปิดตัวเอง ความรุนแรงทวีขึ้นในเหตุการณ์ที่ต่อเนื่อง ทำให้คนรุ่นต่อๆ มายิ่งโกรธแค้นมากขึ้น แต่คนรับมรดกแห่งความเกลียดชัง และการก่อการร้ายถือเป็น “อาชญากรรมต่อมนุษยชาติทั้งมวลเลยทีเดียว” เพราะขบวนการนี้ หันไปยึดถือการก่อการร้ายเป็นเครื่องมือทางการเมืองและการทหารด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม สารฉบับนี้บอกไว้อย่างชัดเจนว่า “เราต้องยืนยันอย่างหนักแน่นว่าความ อยุติธรรมที่ดำรงอยู่ในโลกจะต้องไม่ถูกนำไปใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการก่อการร้าย และต้องย้ำว่าเหยื่อของการทำลายล้างอันรุนแรง ซึ่งเป็นเป้าหมายของการก่อการร้ายนั้น คือประชาชนหญิงชายหลายล้านคนในประเทศที่กำลังพัฒนา ผู้ซึ่งต้องดำรงชีวิตอย่างแร้นแค้นและได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากความสับสนอลหม่านทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลกอยู่แล้ว เขาเหล่านั้นจึงไม่สมควรที่จะต้องทนรับสภาพล่มสลายของความสมานฉันท์ระหว่างประเทศอีก ดังนั้น การที่ผู้ก่อการร้ายอ้างว่าพวกตนกระทำการในนามของคนยากจนจึงเป็นคำอ้างที่ฟังไม่ขึ้น”

สารฉบับนี้ระบุอย่างตรงไปตรงมาว่า “อย่าฆ่าคนในนามของพระเป็นเจ้า” ผู้ที่สังหารผู้อื่นด้วยการก่อการร้ายเป็นผู้ที่สิ้นหวังในมนุษยชาติ ชีวิต และอนาคต ในสายตาของพวกเขาทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องได้รับการเกลียดชัง และจะต้องถูกทำลาย และการก่อการร้ายมักจะเป็นผลของลัทธิคลั่งศาสนาที่เกิดจากความเชื่อมั่นที่ว่าวิสัยทัศน์เกี่ยวกับสัจธรรมของบุคคลคนหนึ่งจะต้องนำไปยัดเยียดให้กับผู้อื่นด้วย

ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 บอกไว้ว่า “เราไม่สามารถยัดเยียดสัจธรรมให้แก่กันและกันได้ ซึ่งการพยายามยัดเยียดสิ่งที่เราถือว่าเป็นสัจธรรมให้แก่ผู้อื่นด้วยวิธีการรุนแรงถือได้ว่า เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีของมนุษย์ และในที่สุดก็เท่ากับเป็นการล่วงละเมิดต่อพระเป็นเจ้าด้วย”

สารยังกล่าวไว้อีกว่า “การก่อการร้ายไม่เพียงเอารัดเอาเปรียบมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเอารัดเอาเปรียบพระเป็นเจ้าด้วย การก่อการร้ายจบลงด้วยการทำให้พระเจ้าเป็นเพียงแค่ “เทวรูป” ที่พวกเขาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ของตนเองเท่านั้น”

และสารฉบับนี้ยังระบุอย่างตรงไปตรงมาว่า “ไม่มีผู้นำทางศาสนาคนใดที่อาจเห็นดีเห็นงามกับการก่อการร้ายได้ และไม่อาจเทศน์สอนได้ การประกาศว่าตนเป็นผู้ก่อการร้ายในนามของพระเจ้า และกระทำความรุนแรงต่อผู้อื่นในนามของพระองค์ เป็นการบิดเบือนศาสนาอย่างผิดเพี้ยนโดยสิ้นเชิง”

เนื้อหาของสารฉบับนี้แม้จะมีการประณามการก่อการร้าย แต่สารฉบับนี้ก็ได้เรียกร้องถึง “การให้อภัย” และเป็นเหมือนเนื้อหาหลักของสารฉบับนี้ด้วย โดยระบุไว้ว่า “ครอบครัว กลุ่มสังคม รัฐ และประชาคมระหว่างประเทศ ต้องการการให้อภัยเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ถูกบั่นทอนลงไป และก้าวข้ามจากสถานการณ์แห่งการร่วมประณามซึ่งมิก่อให้เกิดผลดีแต่อย่างใด ซึ่งความสามารถที่จะให้อภัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดเกี่ยวกับสังคมในอนาคตที่มีความยุติธรรมและความสมานฉันท์”

ในทางตรงกันข้าม การไม่สามารถให้อภัย โดยเฉพาะเมื่อมันทำให้ความขัดแย้งยืดยาวออกไปนั้น สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในแง่การพัฒนามนุษย์ มีการใช้ทรัพยากรเพื่อสร้างอาวุธ แทนที่จะใช้เพื่อการพัฒนา สันติภาพและความยุติธรรม กลับจะเกิดความทุกข์ยากต่อมนุษยชาติหากเราไม่สามารถคืนดีกัน เพราะฉะนั้นสันติภาพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนา แต่สันติภาพที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการให้อภัยเท่านั้น

สารฉบับนี้ยังเตือนไว้อีกว่า “การให้อภัยมักจะต้องยอมสูญเสียบางอย่างที่เห็นได้ชัดในระยะสั้น เพื่อจะได้รับประโยชน์ในระยะยาวอย่างแท้จริง แต่ถ้าหากเราใช้ความรุนแรงเพื่อประโยชน์ในระยะสั้น มันก็จะก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างถาวรในระยะยาว” และกล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า “การให้อภัยดูเหมือนจะเป็นความอ่อนแอ แต่กลับต้องใช้ความเข้มแข็งทางจิตใจอย่างใหญ่หลวง รวมทั้งความกล้าหาญทางศีลธรรมด้วย ดูเหมือนว่าการให้อภัยจะทำให้เราสูญเสีย แต่แท้ที่จริงแล้ว การให้อภัยจะทำให้เราบรรลุความเป็นมนุษยชาติที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น”

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ยืนยันอย่างหนักแน่นในช่วงเวลานั้นว่า “จะต้องมีการให้อภัย” แม้ว่าจะยังดูห่างไกลอยู่มากก็ตาม

รวมทั้งสารฉบับนี้ยังกล่าวถึงปัญหาในตะวันออกกลาง ความขัดแย้งระหว่างอาหรับและอิสราเอล ซึ่งปัญหาดังกล่าวดำเนินมากว่า 50 ปีแล้ว โดยพระองค์ทรงเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหันมาทำงานเพื่อยุคสมัยใหม่แห่งการเคารพกันและกันและตกลงกันอย่างสร้างสรรค์

นอกจากนี้ พระองค์ยังเชื่อมั่นว่าศาสนาสามารถมีส่วนในการสร้างคุณูปการให้แก่สันติภาพในโลกได้ และกล่าวไว้ว่า “ผู้นำศาสนายิว คริสต์ และอิสลาม จะต้องทำการประณามการก่อการร้ายอย่างเปิดเผยและปฏิเสธที่จะให้ความชอบธรรมทางศาสนาหรือศีลธรรมใดๆ แก่ผู้ก่อการร้าย และศาสนาต่างๆ ต้องดำเนินอยู่บนหนทางแห่งการให้อภัย ซึ่งเป็นหนทางไปสู่ความเข้าใจ การเคารพ และความเชื่อใจกันและกัน”

สารฉบับนี้ย้ำไว้ในย่อหน้าท้ายๆ ตลอดเวลาว่า “ไม่มีสันติภาพหากไม่มีความยุติธรรม และจะไม่มีความยุติธรรม หากไม่มีการให้อภัย” และสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ทรงกล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า “ข้าพเจ้าจะไม่มีวันเหนื่อยหน่ายที่จะกล่าวคำเตือนนี้ซ้ำอีกให้แก่ผู้ที่ยังมีความรู้สึกเกลียดชัง ความต้องการที่จะแก้แค้นหรือความต้องการที่จะทำลายด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งก็ตาม”

และในช่วงเวลาแห่งความยุ่งยากที่เกิดขึ้นนี้ สารจบลงไว้ด้วยข้อความว่า “สันติภาพที่แท้จริงต้องเกิดจากการประสานความยุติธรรมและเมตตาธรรมเข้าด้วยกัน”

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >