หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 94 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


วารสารผู้ไถ่: ย้อนรอย ๓๐ ปี บนเส้นทางสิทธิมนุษยชน : ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Wednesday, 15 June 2016

 

 

 

 

 

วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ ๑๐๐

๑๐๐ เล่ม วารสาร "ผู้ไถ่" กับการเปลี่ยนผ่าน

 



ย้อนรอย ๓๐ ปี บนเส้นทางสิทธิมนุษยชน

ศราวุฒิ  ประทุมราช

 

หากเปรียบเทียบว่า "ผู้ไถ่"เป็นคนๆหนึ่งที่มีอายุมาถึง ๓๗ ปีแล้ว ย่อมต้องหมายความว่าคนๆนี้กำลังอยู่ในวัยฉกรรจ์และอยู่ในช่วงของการนำประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาร้อยเรียงกับอุดมการณ์และความใฝ่ฝันเพื่อยืนยันหลักการและนำเสนอแนวทางการบรรลุสู่สันติ อันจะนำความยุติธรรมมาสู่สังคมไทยและมนุษยชาติโดยรวม

 Image    
        ภาพ: asean-focus.com            

ยุคแรกของ"ผู้ไถ่"ขอย้อนไปในช่วงทศวรรษของปีพ.ศ.๒๕๒๘-๒๕๓๘ สถานการณ์ของสังคมไทยในห้วงเวลานั้น กำลังคุกรุ่นต่อการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยยุคใหม่ ปลายยุคพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นห้วงของการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ที่ค่อนข้างล้มลุกคลุกคลาน และเมื่อพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ขึ้นเป็นรัฐบาล ที่มีการคอร์รัปชั่นกันอย่างมโหฬาร จนเกิดการรัฐประหารในปี๒๕๓๔ ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนสะดุดลงอีกคำรบหนึ่ง

จนกระทั่งปี ๒๕๓๕ เป็นต้นมา กระแสสังคมมุ่งไปสู่การเรียกร้องรัฐธรรมนูญและการสร้างความโปร่งใสของการเมืองทุกระดับ เช่น การเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง มีการนำเสนอวาทกรรม"ความโปร่งใส" "การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน" "เกิดกระแสการปฏิรูปการเมืองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ" การเกิดขึ้นของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งนับเป็นจุดเปลี่ยนของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่ประชาชนตื่นตัวในการมีส่วนร่วมมากขึ้น

 

ยุคที่สอง คือช่วงปี ๒๕๓๙ถึงปี ๒๕๔๘ เป็นรอยต่อของสถานการณ์สังคมที่นำไปสู่ "การปฏิรูปการเมือง"ที่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำหนดให้มี สภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. ในปี๒๕๓๙เพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลนายบรรหารศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี 

     Image
              ภาพ: www.taboh.net         

ขณะนั้นมีการเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมืองให้แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีความเป็นประชาธิปไตยสกัดกั้นนักการเมืองที่ซื้อเสียงและหวังเข้ามาคอร์รัปชันโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ๖ พ.ศ.๒๕๓๙ ก่อให้เกิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๔๐ที่ได้ชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปประเทศเป็นครั้งแรกถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด

มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาคและห้ามการเลือกปฏิบัติ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน สิทธิคนชายขอบ ตรวจสอบองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐ การมีส่วนร่วมทางตรงในทางการเมือง เช่น การเข้าชื่อเสนอกฎหมายถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและท้องถิ่น การกำหนดให้มีองค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภค การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่นโดยท้องถิ่น ฯลฯ "การก่อเกิดองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ" เช่น ผู้ตรวจการแผ่นดิน(ของรัฐสภา) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ขณะเดียวกันในปี ๒๕๔๐ ก็เกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากนโยบายการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ จนเกิดภาวะเงินเฟ้อ ธุรกิจขนาดใหญ่ล้มละลายจากการลดค่าเงินบาท ทำให้ธุรกิจส่งออก-นำเข้าสินค้าต่างประเทศไม่สามารถรับภาระส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนเงินกู้จากต่างประเทศ ทำให้เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง กระจายไปทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน

จนกระทั่งในปี ๒๕๔๔ การเข้ามาบริหารประเทศของพรรคไทยรักไทย นำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ดำเนินนโยบายด้านการบริหารประเทศแบบก้าวกระโดด จัดกองทุนให้แก่ประชาชนทุกหมู่บ้าน ใช้นโยบายประชานิยม นำเสนอระบบ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค และนโยบายอื่นๆอีกมากมายที่เข้าถึงประชาชน ส่งผลให้พรรคการเมืองที่นำโดย พ.ต.ท.ทักษิณ ได้รับคะแนนเสียงอย่างถล่มทลาย และเศรษฐกิจประเทศไทยเริ่มฟื้นคืนโดยสามารถชำระเงินกู้ องค์การการเงินระหว่างประเทศ - IMF ได้อย่างรวดเร็วในช่วงต่อมา

 

ยุคที่สาม คือ ปี ๒๕๔๙-ปัจจุบัน ยุคนี้ถือได้ว่าเป็นการย้อนหลังกลับเข้าสู่วังวนของการรัฐประหารและการแบ่งแยกประชาชนออกเป็นสองขั้วอย่างชัดเจนดังที่ทราบกันดี ประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนประชาธิปไตย ยอมรับกติกาที่ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งบริหารประเทศ แม้จะมีเสียงร่ำลือถึงการทุจริตเชิงนโยบาย การส่งเสริมพวกพ้อง วงศ์วานว่านเครือให้เข้าสู่อำนาจและยึดครองเสียงข้างมากของการปกครองในระดับท้องถิ่นได้อย่างเบ็ดเสร็จ กลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากเด็ดขาดทุกระดับ ขณะที่ประชาชนส่วนน้อยซึ่งเป็นคนชั้นกลางในเมืองใหญ่และผู้ที่ชิงชังการทุจริต ต่างออกมาแสดงความเห็นเรียกร้องให้มีการยุบสภาและนำนายกรัฐมนตรีที่ทุจริตมาลงโทษ จนนำไปสู่การชุมนุมขับไล่และเกิดการรัฐประหารในที่สุด

 Image    
                     ภาพ: th.wikipedia.org                             

แม้ต่อมาจะมีการเลือกตั้งในปี ๒๕๕๐ แต่ความหวาดระแวงต่อการมีรัฐบาลที่ทุจริต ส่งผลให้รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ กีดกันการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมือง และกีดกันพรรคไทยรักไทยที่มาจากการเลือกตั้ง นับเป็นช่วงเวลาของการประลองกำลังกันระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยและฝ่ายอำนาจนิยมอีกคำรบหนึ่ง นำไปสู่การปราบปรามการชุมนุมของประชาชนในปี ๒๕๕๓ และการยึดอำนาจอีกครั้งของฝ่ายทหารกลับมาสู่อำนาจของรัฐราชการนับแต่นั้นมาจนปัจจุบัน ส่งผลให้ระบอบประชาธิปไตยไทยสะดุดหยุดลงอีกครั้งหนึ่ง และมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนผ่านคำสั่ง และประกาศของคณะรัฐประหารที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งนั่งควบเป็นนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งด้วย

จากที่ลำดับมาข้างต้นจะเห็นว่าไม่ว่าสถานการณ์การเมืองและสิทธิมนุษยชนของสังคมไทยจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร "ผู้ไถ่" ยังคงทำหน้าที่สะท้อนภาพของสังคมไทยมาโดยตลอด หากดูสถานการณ์ทางการเมืองไทยที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดอย่างน้อยกว่า ๓๐ ปี ที่กล่าวข้างต้นจะเห็นว่า สังคมไทยยังไม่มีความเข้มแข็งต่อการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ทำให้ประชาชนทุกคนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เพราะหากประชาชนส่วนใหญ่สามารถปกป้องและรักษาอำนาจอธิปไตยของตน การรัฐประหารคงเกิดขึ้นได้ยาก กระแสการเรียกร้องให้ทหารเข้ามายึดอำนาจจะต้องไม่เกิดขึ้นในระบบที่ประชาชนเข้มแข็ง

ในขณะที่ระบอบประชาธิปไตยของไทยอ่อนแอ สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของไทยกลับค่อยๆพัฒนาไปสู่การยอมรับของประชาคมโลก พิสูจน์ได้จากการที่ประเทศไทยมีการภาคยานุวัติ [๑] รับรองสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติมาโดยตลอด เช่น ปี ๒๕๓๙ ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ปี ๒๕๓๕ เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ปี ๒๕๔๖ เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ปี ๒๕๕๑ เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ เป็นต้น

การเข้าผูกพันของไทยในการยอมรับที่จะปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ มีผลให้ประเทศไทยต้องจัดทำรายงานต่อสหประชาชาติเพื่อให้สังคมโลกเห็นว่า ประเทศไทยได้ดำเนินการทั้งทางนิติบัญญัติ และบริหารเพื่ออนุวัติการ [๒] กฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศที่เรารับรองหรือเข้าเป็นภาคี และนอกจากนี้ยังมีกลไกส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เป็นอิสระเกิดขึ้นหลายหน่วยงานในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา เช่น ศาลปกครอง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น

แม้ว่ายังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนปรากฏอยู่ทางสื่อมวลชน ไม่เว้นแต่ละวัน แต่อย่างน้อยก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า สังคมไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้นไม่มากก็น้อยต่อการเคารพและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยมี "ผู้ไถ่"เป็นประจักษ์พยานแห่งความรอดนี้ต่อไป

 

Imageแนะนำนักเขียน

ศราวุฒิ ประทุมราช นักกฎหมายและนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมทางสังคมในองค์กรพัฒนาเอกชนหลายแห่ง เช่น  กลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม (กศส. ปิดตัวไปแล้ว) คณะกรรมการประสานงานองค์กรสิทธิมนุษยชน (กปส.ปิดตัวไปแล้ว) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) มูลนิธิร่วมมิตรไทย- พม่า เป็นต้น เป็นกรรมการของ ยส. ตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ - ๒๕๔๘ เป็นที่ปรึกษาวารสาร "ผู้ไถ่" ตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ และเป็นนักเขียนประจำในวารสาร "ผู้ไถ่" คอลัมน์ "ยุติธรรมนำสันติ" ปัจจุบันเป็นนักวิชาการปฏิรูปกฎหมายชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย 



[๑] การเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาซึ่งรัฐอื่นๆ ได้วินิจฉัยตกลงก่อนแล้ว และสนธิสัญญานั้นได้มีผลใช้บังคับก่อนแล้วด้วย

[๒] อนุวัติการ (Implementation) หมายถึง การดำเนินการให้เป็นผลตามบทบัญญัติแห่งอนุสัญญา (implement the provisions of a convention) โดยการตรากฎหมายภายในประเทศ หรือปรับแก้กฎหมายภายในประเทศ เพื่อให้สอดคล้องและรองรับกับพันธกรณีอนุสัญญาดังกล่าว

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >