หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 86 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


คนหนึ่งแค่ต้องกินน้ำกร่อย แต่อีกคนไม่มีน้ำจะกิน : ธงชัย พรรณสวัสดิ์ พิมพ์
Wednesday, 22 July 2015

คนหนึ่งแค่ต้องกินน้ำกร่อย แต่อีกคนไม่มีน้ำจะกิน

15 กรกฎาคม 2015
ธงชัย พรรณสวัสดิ์
ศาสตราจารย์กิตติคุณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข่าวพาดหัวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์หลายฉบับ ทำนอง "ชาวบ้านเปิดศึกแย่งน้ำ" หรือ "วิกฤติแย่งน้ำแล้งหนัก การประปาปทุมธานีหยุดจ่ายน้ำ" มีมาได้สองสามวันแล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะรัฐบาลเห็นว่าคนกรุงเทพมหานครยังมีน้ำใช้น้ำกินอยู่เป็นปกติ แถมการประปานครหลวง (กปน.) ก็ออกมายืนยันการันตีเสริมอีกว่า กปน. ไม่เคยบอกว่าจะหยุดการจ่ายน้ำให้คน กทม. จึงยังไม่เห็นรัฐบาลออกมาประกาศว่าเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นวิกฤติแห่งชาติ

แต่ในสายตาผม ซึ่งเป็นวิศวกรน้ำคนหนึ่งของประเทศ เห็นว่ามันเป็นแล้ว และควรต้องมีมาตรการออกมาแก้ไข ปรับปรุง ป้องกัน และจัดการ ออกมาโดยเร็ว ผมไม่ทราบว่ารัฐบาลมีมาตรการใดแล้วหรือไม่เพราะไม่ได้อยู่ร่วมในคณะกรรมการที่จัดการกับปัญหานี้ แต่ผมมีข้อเสนอแนะที่จะฝากไปยังผู้บริหารน้ำของประเทศสองข้อ

   

 ที่มาภาพ: http://www.dailynews.co.th/images/1106737?s=750×500

ข้อแรก เกี่ยวกับน้ำจืดน้ำกร่อย เหตุผลที่ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีอธิบายแก่ประชาชน โดยอ้างถึงการประปาภูมิภาค สาขาธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ว่า ไม่สามารถสูบน้ำจากคลองมาผลิตน้ำประปาจ่ายให้แก่ประชาชนได้เพราะไม่มีน้ำในคลอง และไม่สามารถผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาเติมใส่คลองให้มีน้ำได้ด้วย เพราะหากทำเช่นนั้นจะทำให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาน้อยลง และไม่มีปริมาณน้ำมากพอจะไปดันน้ำให้ไหลลงทะเล น้ำทะเลจะหนุนขึ้นสูงจนทำให้แหล่งน้ำดิบมาทำประปามีน้ำทะเลมาปน ซึ่งตามทฤษฎีการจัดการน้ำเป็นที่ยอมรับกันว่าการนี้จะทำให้น้ำกร่อยจนคนไม่กินหรือไม่ชอบกิน รวมทั้งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้หากความเค็มมันขึ้นสูงมาก ซึ่งก็เป็นเหตุผลเดียวกับที่การประปานครหลวงใช้อธิบายแก่ประชาชน ตามข่าวที่ปรากฏอยู่ตามสื่อต่างๆ ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

คำถามพื้นฐานคือ แล้วเราจะจัดการกับปัญหานี้อย่างไร ระหว่างคนปทุมฯ ซึ่งกำลังไม่มีน้ำกิน กับคนกรุงเทพฯ ซึ่งขณะนี้ยังมีน้ำกินและไม่กร่อยด้วย

การจัดการเท่าที่เป็นขณะนี้คือ การยังเอาน้ำจืดจากต้นน้ำไปดันน้ำทะเลไม่ให้หนุนขึ้นสูง เพื่อคน กทม. จะได้ไม่ต้องกินน้ำที่มีน้ำทะเลมาปนจนทำให้น้ำกร่อย ไม่น่ากิน ทั้งๆ ที่คนปทุมฯ กำลังไม่มีน้ำกิน ซึ่งตามหลักการการจัดการน้ำสำหรับประชาชน รัฐพึงไม่บริการคนเฉพาะกลุ่ม แต่หากต้องบริการให้แก่คนทุกกลุ่มอย่างยุติธรรม

ดังนั้น ทางแก้เร่งด่วนที่ผมอยากเสนอ คือ ต้องปล่อยให้น้ำทะเลหนุนขึ้นมาบ้าง แล้วผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปตามคลองต่างๆ เพื่อให้มีน้ำให้การประปาภูมิภาคหรือเทศบาลแล้วแต่กรณี สามารถสูบและผลิตน้ำเพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงกันโดยทันที

ส่วนคน กทม. หากต้องกินน้ำกร่อยขึ้นเล็กน้อยในช่วงนี้ ก็ต้องให้เป็นเช่นนั้น ดีกว่าปล่อยให้เพื่อนทรมานจากการไม่มีน้ำใช้น้ำกิน

คำถามที่ตามมาจากมาตรการนี้คือ ภาคเกษตรแถวนนทบุรีและปทุมธานีบางส่วนอาจเดือดร้อนจากการที่น้ำมีความเค็มเพิ่มขึ้น ซึ่งก็สามารถจัดการได้โดยไม่ผันน้ำไปทำประปามากเกินไปจนความเค็มขึ้นสูงจนเกินกว่าภาคเกษตรจะรับได้ ซึ่งสามารถทำได้ไม่ยากเพราะจากข้อมูลในช่วงสองสามวันที่ผ่านมา ความเค็มที่ว่ายังมีช่องว่างที่จะเพิ่มขึ้นได้อีก ด้วยยังมีค่าห่างจากมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกอยู่อีกมากพอควร

ที่เป็นอุปสรรคคือเราไม่กล้าเสี่ยงและต้องการมี safety margin มากเกินไป ประกอบกับภาครัฐกลัวประชาชนคนกินน้ำที่เคยตัวกับคุณภาพน้ำที่ดีเกินมาตรฐาน (เราทำแบบไม่ยอมเสี่ยงแบบนี้มานานนับสิบปีแล้วครับ) จะบ่นหรือต่อว่า เราจึงไม่ยอมให้ค่าความเค็มมันขึ้นโดยไม่มองอีกบริบทว่าเพื่อนเราอีกมากคนกำลังไม่มีน้ำกินน้ำใช้

นอกจากนี้ สิ่งที่เสนอให้ทำนี้ก็มิใช่มาตรการถาวร แต่ทำขึ้นเฉพาะในช่วงวิกฤติระยะเวลาสั้นๆ เมื่อฝนตกน้ำมา เราก็กลับไปสู่วิธีการและมาตรฐานเดิม ผลกระทบที่อาจมีต่อเกษตรกรจึงมีไม่มาก จนถึงไม่มีเลยก็เป็นได้

อีกเหตุผลหนึ่งซึ่งผมเองก็ไม่มั่นใจว่าถูกต้องหรือไม่ คือ ทุเรียนนนท์ในอดีตที่ว่าอร่อยนักอร่อยหนานั้น อยู่กับสภาวะน้ำจืดน้ำกร่อยมาตลอด บางคนเขาบอกด้วยซ้ำว่าด้วยสภาพน้ำแบบนี้แหละที่ทำให้ทุเรียนนนท์อร่อย ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ภาวการณ์ที่ปล่อยให้น้ำทะเลหนุนขึ้นไปสูงบ้างเป็นช่วงๆ กลับน่าจะเป็นผลดีต่อภาคเกษตรในพื้นที่เสียด้วยซ้ำ

อีกประเด็นที่ผมอยากจะพูดถึง คือ เรื่องศึกการแย่งชิงน้ำ ขณะนี้มีข่าวและเหตุการณ์จริงเกิดขึ้นแล้วที่ชาวนาภาคกลางพากันไปทำทำนบกั้นคลองเพื่อเท้อน้ำให้สูงขึ้น เพื่อจะได้สูบน้ำเข้านาตัวเองหรือกลุ่มของตัวเองได้ การกระทำเช่นนี้มีขึ้นในหลายพื้นที่และหลายช่วงของลำน้ำ ทำให้คนที่อยู่ปลายน้ำไม่มีน้ำใช้อย่างเช่นแถวหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

เหตุการณ์แบบนี้เตือนให้ผมนึกถึงภาพอภิมหาน้ำท่วมเมื่อปี 2554 ที่นักการเมืองท้องถิ่นบางคนโดดเข้าจัดการแก้ปัญหาเอาใจชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งเป็นคะแนนเสียงของตน โดยไม่รู้หรือมองไม่เห็นภาพรวมใหญ่ ที่กลับกลายเป็นทำให้น้ำท่วมที่อาจไม่ใช่ "อภิมหา" ต้องกลายมาเป็นอภิมหาอย่างไม่น่าให้เกิดขึ้น และก็ไม่น่าให้อภัยด้วย

เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นสิ่งตรงข้ามกับครั้งปี 2554 คือไม่ใช่ภัยน้ำท่วมแต่เป็นภัยน้ำแล้ง ซึ่งแม้จะยังไม่เป็นอภิมหาน้ำแล้ง แต่ก็มีศักยภาพที่จะเป็นได้หากฟ้าฝนไม่เป็นใจไปอีกสักระยะ และเราต้องมีแผน มีมาตรการรองรับอย่างเร่งด่วน โดยนอกจากมีแผนทางเทคนิคและวิศวกรรมแล้ว เราต้องจัดการไม่ให้นักการเมืองทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นเข้ามายุ่งในการแก้ปัญหาทางเทคนิค รวมทั้งต้องมีแผนการจัดการภาคประชาชนที่มีศักยภาพเพียงมองประโยชน์ในภาพเล็กส่วนตนเป็นหลัก อันทำให้ผลกระทบในภาพรวมสามารถรุนแรงขี้นมากกว่าที่พึงเป็นได้

ที่พูดเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าจะกีดกันคนตัวเล็กตัวน้อยในท้องที่ไม่ให้มามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และไม่ได้หมายความว่าหากรักษาภาพรวมไม่ให้คนส่วนใหญ่เดือดร้อน แต่ไปทำให้คนตัวเล็กตัวน้อยต้องเดือดร้อนแทนแล้วจะไม่ดูแลเขานะครับ

เพราะหากไม่ดูแลพวกเขา ผมก็คงต้องลุกขึ้นมาเป็นปากเสียงแทนเขาละคราวนี้


------------------------------

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >