หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 166 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ทุ่นระเบิดสังหาร พิมพ์
Monday, 22 May 2006

1. ทุ่นระเบิดสังหาร

คอลัมน์ วิเทศวิถี วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10257

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01for05100449&show=1&sectionid=0104&day=2006/04/10

วรรัตน์ ตานิกูจิ

จะมีใครสักกี่คนที่ทราบว่าวันที่ 4 เมษายนที่เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็น "วันรณรงค์การดำเนินงานด้านทุ่นระเบิดสากล" หรือ "International Day for Mine Awareness and Assistance in Mine Action" ครั้งแรกของโลก หลังจากที่ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้ให้การรับรองข้อมติที่ประกาศให้วันดังว่ากลายเป็นวันสำคัญของทุกประเทศทั่วโลกตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมปีที่ผ่านมา

หากพิจารณาการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับจำนวนผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเนื่องจากทุ่นระเบิดจะเห็นได้ว่า ตัวเลขของผู้ได้รับผลกระทบลดน้อยลงจากที่ราว 26,000 คนต่อปีในช่วงทศวรรษที่ 90 เหลือเพียงแค่ 15,000-20,000 คนต่อปีในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวยังถือว่าน่าวิตกกังวล เพราะนั่นหมายถึงว่ายังคงมีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตเนื่องจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคลราว 40-50 คนต่อวัน โดยกองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ระบุว่ามีเด็กที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดสังหารจนต้องพิการหรือเสียชีวิตราว 3,000-4,000 คนต่อปีเลยทีเดียว

ปัจจุบันนี้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลยังคงกระจัดกระจายไปในพื้นที่ของประเทศต่างๆ รวม 82 ประเทศ และแน่นอนว่าสภาพการณ์เช่นนี้ทำให้ผู้คนในประเทศเหล่านั้นไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เช่นปกติ เพราะคงไม่มีใครจะมีชีวิตที่เป็นสุขได้หากต้องกังวลใจทุกครั้งที่สมาชิกในครอบครัวออกไปทำมาหากินในพื้นที่ที่ยังคงมีทุ่นระเบิดฝังอยู่ใต้พื้นดิน แม้แต่ลูกเล็กเด็กแดงที่ออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน ก็อาจตกเป็นเหยื่อของอาวุธสังหารนี้ได้ไม่ต่างกัน

ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ยังคงมีทุ่นระเบิดสังหารบุคคลอยู่ในพื้นที่เช่นกัน ทั้งนี้ จากข้อมูลของกองสันติภาพ ความมั่นคง และการลดอาวุธ กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคลของไทยกินบริเวณกว้างถึง 2,556.7 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ถึง 27 จังหวัด ใน 84 อำเภอ 185 ตำบล หรือ 531 ชุมชน แน่นอนว่าส่วนใหญ่เป็นเขตที่อยู่ติดหรือใกล้กับชายแดน

แม้ว่าไทยจะเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ลงนามในอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการห้ามใช้ สะสม ผลิต โอน และทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2540 และได้ทำการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (ศทช.) ขึ้นมาหลังจากนั้น แต่ต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่าการเก็บกู้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในอดีตที่ผ่านมายังเป็นไปอย่างล่าช้าจนน่าวิตก

นับตั้งแต่ปี 2543-2548 ประมาณการว่าการเก็บกู้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลในไทยเพิ่งจะดำเนินการไปได้เพียงร้อยละ 0.15 ของพื้นที่ที่มีปัญหา หรือราว 3.89 ตารางกิโลเมตร จากพื้นที่รวม 2,556.7 ตารางกิโลเมตร

แน่นอนว่าการเก็บกู้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลนั้นไม่ได้ทำได้โดยง่าย แน่นอนว่าเราจำเป็นต้องทุ่มเททั้งงบประมาณและเวลามากมายไปเพื่อการนี้ แน่นอนว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ได้ทุ่มเทความสามารถเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ผลดีที่สุดตามกำลังที่มี แต่ก็เป็นเรื่องแน่นอนอีกเช่นกันที่ว่าเราจำเป็นต้องเก็บกู้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลทั้งหมดให้แล้วเสร็จ

เหตุผลไม่ใช่เพียงเพราะเรามีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ ที่บังคับให้ต้องเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลที่ถูกฝังไว้เหล่านี้ให้หมดไปภายในวันที่ 10 เมษายน 2552 หรืออีกเพียง 3 ปีนับจากนี้ไปเท่านั้น แต่เพราะการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้คนไทยราว 500,000 คนในพื้นที่เสี่ยงสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขตามสิทธิที่เขาควรจะมี

คำถามจึงอยู่ที่ว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจในระดับนโยบายรวมไปถึงการจัดสรรงบประมาณ ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังเพียงไร

หากเราต้องใช้เวลาเกือบ 6 ปีเพื่อการเก็บกู้ระเบิดสังหารบุคคลในพื้นที่เพียงไม่ถึงร้อยละ 1 ของพื้นที่ที่มีปัญหา แล้วเวลาอีกเพียง 3 ปีเราจะเก็บกู้ระเบิดได้อีกมากเท่าใด

อย่าลืมว่าการแสดงให้เห็นว่าเราตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ไม่ได้พิสูจน์ด้วยตรรกะเพียงว่า เราเป็นประเทศแรกๆ ที่ได้ร่วมลงนามเป็นภาคีในอนุสัญญาฯใดๆ ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า