หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 134 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 124: เรียนรู้โลกยุคใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชีวิต จิตวิญญาณ!?
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 124


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ว่าด้วย..แด่ รัก ในตัวเรา : ชัยยศ ยโสธโร พิมพ์
Wednesday, 28 May 2014
ว่าด้วย..แด่ รัก ในตัวเรา

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 25 เดือนพฤษภาคม 2557


สมศรี คุณแม่วัยชราเห็นลูกชายทำงานหนัก กลับบ้านดึกดื่น ด้วยความรักความเป็นห่วง เช้าวันหนึ่งของวันอาทิตย์ขณะที่ลูกชายกำลังเตรียมตัวออกจากบ้าน เธอจึงเตือนลูกชายให้ระวังสุขภาพ อย่าทำงานหักโหม พร้อมลงท้ายด้วยประโยคทำนองว่า "รักตัวเองบ้างนะลูก" สมชายตอบเธอว่า

"แม่ หลายงานที่เข้ามา รายได้ก้อนใหญ่เลย ผมตอบปฏิเสธไปหลายงาน เสียรายได้ไปเยอะ เพราะรักตัวเองนี่แหละ ที่ทำอยู่แบบนี้ก็เพราะรักตัวเองนี่แหละ คุณแม่ไม่ต้องห่วงหรอก คุณแม่ดูแลตัวเองก็พอแล้ว" เธอพยักหน้ารับรู้ ไม่พูดอะไรอีก พร้อมกับความครุ่นคิดในใจว่าเธอคงพูดอะไรผิด ทำให้ลูกชายเธอตอบด้วยท่าทีหมางเมินและผลักไส ลึกๆ เธอรู้สึกผิดหวังที่ถูกปฏิเสธความปรารถนาดี ถูกกีดกันไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของเขา

พร้อมกันนี้เธอชักสงสัยว่าเอาเข้าจริงแล้ว "รักตัวเอง" ที่เธอสื่อสาร หมายความว่าอย่างไรกันแน่ และที่เธอบอกลูกชายเช่นนั้น เธอต้องการอะไร สมศรีคงอยากให้ลูกชายใส่ใจสุขภาพร่างกาย ระมัดระวังไม่ทำงานหนัก พร้อมกับความต้องการที่อยากสื่อสาร แสดงความรัก ความปรารถนาดีในฐานะแม่ลูก ความผิดหวังทำให้วันอาทิตย์ของเธอจึงไม่ค่อยมีความสุขนัก

การรักตัวเองเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ในแง่ของศาสตร์ การรักตัวเองเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ ในมิติทางกาย การรักตัวเองต้องอาศัยความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ ทั้งด้านอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อน การจัดวางกิจกรรมชีวิต ในมิติทางจิตใจต้องอาศัยความรู้ด้านธรรมะ จิตวิญญาณ รวมถึงด้านจิตวิทยา โดยสรุปหัวใจสำคัญของการรักตัวเอง คือ การเรียนรู้ตนเองเพื่อรู้จัก เข้าใจ ยอมรับและพัฒนาตนเอง

ในความเป็นตัวเราที่แสดงออกผ่านท่าทีการดำเนินชีวิต ผ่านบทบาทหน้าที่ ผ่านระบบโลกภายใน ความเชื่อ ค่านิยม แรงจูงใจ สิ่งเหล่านี้ดำเนินไปจนกลายเป็นอุปนิสัยความคุ้นเคยกระทั่งเจ้าของชีวิตไม่เคยได้ ตรวจสอบเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของตน สิ่งที่เราจับต้องได้ คือ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น หากว่าการดำเนินชีวิตคือ ข้อสอบชีวิตที่เราต้องเผชิญ ผลสอบที่ได้คือ การมีความสุข ความทุกข์จากชีวิตที่เป็นอยู่ จากความสัมพันธ์ต่างๆ ที่มีรอบตัว และจากการงาน ผลสอบในรูปของสุข ทุกข์ โดยเฉพาะความทุกข์ ทำให้เราหันมาตรวจสอบว่าเกิดอะไรขึ้น มีความผิดพลาดตรงไหน อย่างไรที่ทำให้สุข ทุกข์รุมเร้ากัดกินชีวิต เช่นนี้

เรารักตัวเองได้ ต่อเมื่อเราได้เรียนรู้และเข้าใจตนเองว่า มีอะไรบางอย่างในตัวเราที่เป็นต้นเหตุของการเบียดเบียน ทำร้ายตัวเรา หากเราทุกท่านสำรวจตนเองดีๆ ก็จะพบว่า อุปนิสัยคุ้นเคยบางอย่างเป็นสาเหตุการเบียดเบียนทำร้ายชีวิตของเราเอง เช่น

- การมักหลงลืมการมีชีวิตกับภาวะปัจจุบัน ที่นี่และดี่ยวนี้ และมักพาตัวเองจมจ่อมกับเรื่องราวในอดีตซึ่งผ่านไปแล้ว หรือกังวลกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง

- การคุ้นเคยกับการคิดลบ มุ่งปกป้อง และหลีกเลี่ยงอันตรายกระทั่ง ตัดรอนโอกาสการเรียนรู้ ประสบการณ์ใหม่ๆ ของการเติบโต

- การยึดติดกับการยอมรับ ใส่ใจของผู้อื่นจนสูญเสียอิสระ และความเป็นตัวของตัวเอง เหน็ดเหนื่อย และต้องใช้พลังงานกับความกังวลนี้

- การยึดติดกับหลักการ ระบบคุณค่าบางอย่างกระทั่งละเลยเรื่องสำคัญอื่นๆ เช่น ความสำเร็จ ความถูกต้อง ภาพลักษณ์ อัตลักษณ์ ฯลฯ กระทั่งละเลย มองข้าม หลงลืมเรื่องสำคัญอื่นๆ จนชีวิตขาดความสมดุล

ความรักตนเอง ความหมายจึงหลอมรวมการกระทำทั้งในมิติของการกระทำที่มุ่งหรือหวังผลลัพธ์บางอย่าง และมิติของการลด ละ เลิก หรืองดเว้นการกระทำเพื่อมุ่งผลลัพธ์บางอย่างเช่นกัน เช่น การลด ละ เลิกพฤติกรรมที่ทำร้ายตนเอง การกระทำเช่นนี้ก้ช่วยก่อเกิดสิ่งที่ดี มีคุณค่าให้กับเจ้าของชีวิต เช่น การปล่อยวาง ยืดหยุ่นสิ่งที่ยึดติด เปิดกว้างกับชีวิต ลดทอนความเครียด ความกดดันชีวิต พร้อมกับช่วยเราให้หันมาใส่ใจกับเรื่องที่หลงลืม ละเลยไป เช่น การดูแลใส่ใจเรื่องสัมพันธภาพ การทำกิจกรรมเพื่อเติมเต็มบางมิติ ของชีวิตที่อาจถูกผัดผ่อน เช่น การออกกำลังกาย การพัฒนาฝึกฝนด้านจิตวิญญาณ การทำงานด้านการช่วยเหลือสังคม

และสิ่งที่ยากของการรักตนเอง คือ การต้องเอาชนะอุปนิสัยคุ้นเคยของตนเอง อุปนิสัยคุ้นเคยเป็นเหมือนความถนัดประจำตัวที่ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้น เรามักใช้งานสิ่งที่เราถนัด คุ้นเคยเข้าตอบโต้ ตอบสนองทันที โดยไม่แยกแยะตรึกตรองว่าสถานการณ์ไหน ควรหรือไม่ควร กระนั้นการตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่างๆ ด้วย อุปนิสัยที่เราคุ้นเคย ก็มีช่องว่างที่เราสามารถเท่าทันและให้ตนเองมีทางเลือกในการตอบสนองต่างจากแบบแผนเดิมๆ ได้ ช่องว่างนี้คือ โอกาสของการใช้สติ ความมีปัญญา ความมีความระลึกรู้เพื่อเท่าทัน เพื่อชะลอ ความวู่วาม ความใจเร็ว ใจร้อน ให้เราสามารถตรึกตรองและตอบสนองสิ่งที่ต่างออกไป

การรักตนเองจึงเป็นเรื่องของการเรียนรู้ ฝึกฝน บทเรียนนี้เริ่มต้นได้ต่อเมื่อเราได้ผ่านบทเรียนการเรียนรู้ เข้าใจตนเองว่ามีอะไรในตัวเรา อุปนิสัยคุ้นเคยอะไรที่เป็นต้นเหตุของการเบียดเบียนทำร้ายตัวเรา การฝึกฝนเรื่องของสติ การพัฒนาด้านปัญญา สัมปชัญญะ พร้อมกับรางวัลของการรักตนเอง คือ การมีชีวิต ที่ไม่กัดเจ้าของ ชีวิตที่เรียนรู้ เข้าใจ และเท่าทันตนเอง

ขอเชิญชวนผุ้สนใจศาสตร์การรักตนเอง อบรม "นพลักษณ์ Enneagram ขั้นต้น : สู่ความเข้าใจตนเองและผู้อื่น" 24-25 พค. ศกนี้ สอบถาม

ชัยยศ ยโสธโร

 

---------------------------

ที่มา เครือข่ายพุทธิกา | ใน คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >