หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ยุให้ 'ยำ' ตำให้ 'เกลียด' : ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 603 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 124: เรียนรู้โลกยุคใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชีวิต จิตวิญญาณ!?
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 124


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ยุให้ 'ยำ' ตำให้ 'เกลียด' : ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี พิมพ์
Wednesday, 26 February 2014

Life Style

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557

ยุให้ 'ยำ' ตำให้ 'เกลียด'

โดย : ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี


ชวนฉุกคิดถึงกองทัพผรุสวาทของ "สงครามการเมือง" ที่กำลังแทรกตัวเข้าไปสร้างความ "ร้าวลึก" ในทุกมิติของสังคม

"...ดีออกกกกกกก"

นอกจาก "เลิกคบ" ก็มีประโยคนี้แหละที่คาใจเธออยู่ หลังจากที่ ก้อย (นามสมมติ) โพสต์ความเห็นของเธอเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองผ่านโซเชี่ยลเน็ตเวิร์กยอดนิยม

จุดยืนในเรื่องนี้ของเธอก็คือการไปเลือกตั้งตามหน้าที่พลเมือง แน่นอน เรื่องนี้กับห้วงเวลานี้ถือว่าขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละคนจะตีความ และแลกเปลี่ยน ซึ่งที่ผ่านมา เธอค่อนข้างระวังในเรื่องนี้อยู่พอสมควรที่จะไม่ไปพาดพิง หรือกระทั่ง "ป่วน" หน้าวอลล์ของคนอื่น เพราะเพื่อน และคนรู้จักที่ "แอด" กันมาก็มีหลากหลายแนวคิด กระทั่งโพสต์ล่าสุด อาจจะแทบในทันที ก้อยถูก unfriend ก่อนที่วลีดังกล่าวในหน้าเพจของเพื่อนเรียนรุ่นเดียวกันจะถูกส่งมาให้ดู

"เป็นประโยคด่าลอยๆ ไม่ได้ระบุตัวนะคะ" แต่จากลักษณะคำพูดระบุ "เป้า" ชัดเจน อีกทั้งยังแท็กเพื่อนๆ มาร่วมวงทำให้สเตตัสนี้คอมเมนต์หน้าไมค์ (และอาจจะหลังไมค์) ยาวเป็นหางว่าว

"เพื่อนกันทั้งนั้นค่ะ" น้ำเสียงนั้นได้แต่ทำใจกับความเห็นลับหลัง

แต่ บิวท์ (ขอสงวน ชื่อจริง) หนุ่มออฟฟิศหลวงอีกคนไม่ได้เป็นแบบนั้น หลังจากที่เขาพาสมัครพรรคพวกขึ้นเวทีคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ท่าทีของเพื่อนร่วมงานที่ "เห็นต่าง" ก็แสดงออกว่า "รังเกียจ" อย่างชัดเจน

นอกจากการแสดงออกในสังคมที่ทำงาน บนโลกออนไลน์ถ้อยคำดูถูกเหยียดหยามจากฝ่ายตรงข้ามก็ปลิวว่อน และถาโถมมาหาเขาแบบไม่ทันตั้งตัว

ไม่ว่าจะ "ซึ่งหน้า" หรือ "ลับหลัง" วันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า วลีแห่งความเกลียดชังได้หยั่งรากลึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ "ความเห็นทางการเมือง" ซึ่งผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตเมื่อช่วงกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมาก็ระบุชัดเจนว่า ประชาชนเกินกว่าครึ่ง หรือ ร้อยละ 57.5 มองการแสดงออกถึงความเกลียดชังฝ่ายตรงข้ามกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว

...นี่ถือเป็นสิ่งที่สังคมไทยต้องการหรือเปล่า

เถียง-ถาก-ถาง

"ในสังคมประชาธิปไตย เขายอมรับเรื่องให้คนแสดงความคิดเห็นได้ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ" พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย จากภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายถึงความเชื่อมโยงการแสดงความเห็น ตามหลักการประชาธิปไตยเบื้องต้น โดยยึดหลักตลาดความคิด (Marketplace of Ideas) เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือต่อยอด

แต่คำพูดที่นำไปสู่ความเกลียดชัง หรือ Hate Speech นั้นประชาธิปไตย "ไม่ได้ให้ค่า" ในสังคม

"ถ้าเราสังเกตให้ดีคนที่ใช้ Hate Speech เขาจะบอกว่ามันเป็นเสรีภาพของเขา แต่จริงๆ รัฐธรรมนูญถือเป็นข้อยกเว้น ไม่รับรอง" ขณะที่สังคมไทยวันนี้ การให้คำนิยามถือเป็นเรื่องสำคัญในสายตาของเขา เพราะในแต่ละประเทศก็จะมีการนิยามแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น อเมริกา อังกฤษ เยอร์มัน อังกฤษ ฝรั่งเศส ซึ่งในเชิงวิชาการก็ยังถือว่า "เถียงกันไม่จบ" ในระบบกฎหมายก็ยังไม่ชัดเจน

"สำหรับผมยังถือเป็นเรื่องใหม่มากของสังคมไทย แม้กระทั่งในวงการนิติศาสตร์ก็ยังมีการตีความหลายแบบ ถ้าถามว่ามันเกี่ยวเนื่องไปสู่การประทุษร้ายไหม ในรัฐธรรมนูญก็จะมีถ้อยคำหนึ่งบอกว่า ถ้อยคำที่นำไปสู่การต่อสู้พุ่งรบกัน หรือ Fighting Words ก็ถือเป็นเครือข่ายของคำพูดที่เป็น Hate Speech แต่อย่างที่อเมริกาก็ต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นอย่างชัดเจนว่า เพราะคำพูดเขาจึงนำไปสู่ความรุนแรง ขณะที่เยอรมนี เขาก็อาจจะแค่มีกรอบกำกับเอาไว้ว่าถ้าคุณพูดประมาณนี้ นั่นผิดแล้ว"

ลักษณะร่วมสำคัญของประโยคเหล่านี้ก็คือ การลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Dehumanized) หากเทียบเคียงกับกฎหมายอาญาในเรื่องของการหมิ่นประมาท ที่ถูกกำกับให้เป็นไปตามหลักรัฐธรรมนูญ ซึ่งมอบให้เป็นอำนาจกฎหมายเฉพาะให้ดำเนินการต่อ ดังนั้น ก็น่าจะถือเป็นการจัดหมวดความเป็น Hate Speech เอาไว้ในสารบบกฎหมายไทยได้

"ถ้ามองบริบทในแง่การเมือง วันนี้ บอกได้เลยว่ามี Hate Speech เยอะมาก แต่ต้องบอกอย่างนี้นะครับว่า บางครั้งด่าหยาบคายก็ไม่ถือว่าใช่ เพราะไม่ได้มีเจตนาจะให้ฆ่ากันหรอก แต่ในทางกลับกัน หากพูดสุภาพแต่มีเจตนาเพื่อก่อให้เกิดความเกลียดชัง มันอาจจะมีนะ อย่างเช่น คนอีสานกับคนกรุงเทพ คุณไม่ควรมีสิทธิเท่าเทียมกับผม เป็นต้น"

โดยในแว่นของนักวิชาการการปกครอง พรสันต์มองว่า ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ถือเป็นภาวะการชนกันระหว่างแนวความคิดทางการเมืองที่ "สุดขั้ว" ทั้งสองฝ่าย ซึ่งหาจุดร่วมกันไม่ได้ จึงเกิดเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น

อาชญากรรมในคำพูด

แน่นอนว่า นอกจากการลดทอนศักดิ์ศรี "วลีผรุสวาท" เหล่านี้ยังกระตุ้นต่อมเกลียด และเป็นต้นขั้วของความรุนแรง (Threat) ชั้นดี

"โดยพื้นฐานฝ่ายของผู้กระทำก็จะมีความคิดส่วนตัวของตัวเองอยู่แล้วส่วนหนึ่ง เมื่อมีการกระตุ้นก็ยิ่งเพิ่มขึ้น" วิเชียร ปรีชาธรรมวงศ์ นักวิชาการด้านอาชญาวิทยา จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แบ่งปันมุมมอง เขายกกรณีอย่างการชุมนุมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คำพูดที่ก่อให้เกิดการทำตาม และเต็มไปด้วยอารมณ์ก็สามารถพบเห็นได้ตลอด

"ยิ่งคนที่มีพาวเวอร์ เป็นคนที่มีความน่าเชื่อถือก็ยิ่งมีผลกระตุ้นทางอารมณ์ให้เชื่อถือ และทำตาม สามารถชักจูง และทำให้คนเชื่อได้ อย่างนักเรียนก็จะเชื่อครู ผู้ชุมนุมเชื่อแกนนำ ยิ่งมีข้อมูลประกอบก็ยิ่งน่าเชื่อมากขึ้น"

ขณะเดียวกัน มันยังเป็นคมอีกด้านที่อาจนำไปสู่ผลร้ายของทุกฝ่ายด้วย

"เพราะการนำเสนอข้อมูลตอนนี้ก็มักจะมีอคติ และคนที่เชื่อก็จะปักใจเชื่อไปเลย โดยที่ไม่เปิดรับข้อมูล 2 ฝ่าย ก็ทำให้เกิดความเกลียดเพิ่มมากขึ้น" ตรงนี้จาก Hate Speech ก็จะกลายเป็น Hate Crime ในเวลาต่อมา และการก่ออาชญากรรมโดยทั่วไปก็มักจะเป็นไปในลักษณะดังกล่าว

ถึงแม้กฎหมายของไทยจะมีเรื่องของหมิ่นประมาทเข้ามาเทียบเคียง แต่วิเชียรก็ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับปัญหาของกฎหมายตัวนี้นั้นอยู่ที่ "การตีความ"

"ถ้าใครรู้กฎหมายมาก การตีความก็จะยิ่งมีปัญหา อาทิ ลักษณะการหมิ่นประมาทต้องเป็นลักษณะการด่าทอที่เป็นไปได้จริง เฮ้ย แม่มึงเป็นกระหรี่ ซึ่งมีทางเป็นไปได้ แต่ถ้าจะด่าว่า ไอ้ควาย ก็ไม่เข้าข่าย ดังนั้น คำพูดบางคำกฎหมายมันไม่ครอบคลุม แต่มันสามารถสร้างอารมณ์โกรธขึ้นมาได้"

อีกประเด็นที่เขาคิดว่าน่าสนใจสำหรับสถานการณ์ของสังคมไทยในวันนี้ก็คือ "เรื่องเพศ" ซึ่งบ่อยครั้งที่มีการพูดในลักษณะนี้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นใคร รู้ตัวหรือไม่ก็ตาม และส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครนึกถึง

คำตอบของความเกลียด

"เสียใจนะ" ก้อยเผยความรู้สึกจากแนวความคิดที่สวนทาง (การเมือง) ทำให้เกิดรอยร้าวลึกเกินจะประสานกลับ และเสียดายที่นั่นเป็นเพียงชีวิตมุมเดียวของเธอเท่านั้น

คงไม่ใช่เฉพาะก้อย หรือบิวท์ ที่ตกอยู่ในห้วงอารมณ์ของความขัดแย้ง ยิ่งเมื่อเรามีโลกออนไลน์เป็นที่ระบาย "ของเสีย" ชั้นดี คลิกไปทางไหนก็เจอประโยคทำนองว่า

...มันน่าโดนหัวเอาเลือดชั่ว ๆ ออกมาซะบ้าง ไม่ก็ ประเมิน ปชช.ผิดไปแล้ว...ที่เชื่อง่ายโง่ไว-แค่ ปชช. ส่วนน้อย ทาส แมลงสาบเท่านั้น... รวมทั้งลากทุกเรื่องเข้ามาเป็น "การเมือง"

อย่างงานวิจัยเรื่อง "การกำกับดูแลสื่อที่เผยแพร่เนื้อหาที่สร้างความเกลียดชัง" โดยคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า กลุ่มเป้าหมายหรือฐานความเกลียดชังของการใช้ Hate Speech มากที่สุด คือเรื่องอุดมการณ์ทางการเมือง โดยร้อยละ 37.6 ใช้ในเฟซบุ๊ค, ร้อยละ 53.0 ใช้ในเว็บบอร์ด และร้อยละ 75.8 ใช้ในยูทูวบ์

สำหรับ กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ จากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สนใจศึกษาเรื่องดังกล่าว อธิบายว่า ในประวัติศาสตร์เอง ความรุนแรงลักษณะนี้ก็เกิดขึ้นหลายๆ ครั้ง เมื่อกลุ่มฝูงชนที่มีความคิดเห็นแบบเดียวกันมารวมตัวกันขึ้น แล้วยิ่งเหนียวแน่นมากขึ้นก็ยิ่งผลักกลุ่มนี้ให้ไปสู่ความสุดโต่งมากขึ้น อย่างการปฏิวัติวัฒนธรรมในประเทศจีนที่ทั้งรุนแรง และโหดร้าย แต่ไม่มีใครหยุดได้เพราะยิ่งทำตามกัน ก็ยิ่งคิดว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้อง และชอบธรรม ในที่สุดก็จะเสียการตัดสินใจในฐานะปัจเจกชนไป

"ความรู้ช่วยได้ครับ" พรสันต์บอกถึงเครื่องมือที่จะทำให้ก้าวข้ามความรุนแรงเหล่านี้ไปได้

หรือมากกว่านั้น ในแง่ของการสร้างบรรทัดฐาน อาทิ การฟ้องร้องให้เป็นกรณีศึกษาก็มีส่วนช่วยให้สังคมทำความเข้าใจถึง Hate Speech ได้มากขึ้น

"และตัวศาลต้องอธิบายส่วนนี้ให้ชัดด้วย เพราะมันเป็นเพียงส่วนนิดเดียวเท่านั้นที่ถูกควบคุมในสิทธิการแสดงออก"

ที่สำคัญ...

"แม้กระทั่งสื่อเอง ก็ต้องไม่ขยายคำพูดเหล่านี้ออกไป รวมทั้งทำเป็นตัวอย่างให้สังคมด้วย" เขากำลังหมายถึง Hate Speech ที่กำลังถูก "ลีด" อยู่เต็มพื้นที่สื่อสารมวลชนในขณะนี้

ส่วนนักอาชญาวิทยาอย่าง วิเชียร รู้สึกว่า การเปิดใจกว้าง รวมทั้งแหล่งอ้างอิงสำหรับตัวบุคคลก็สำคัญ

"ต้องขึ้นอยู่กับหลักคิดด้วย อย่างตอนนี้ที่นักรัฐศาสตร์มักจะโดนจัดข้าง เพราะเป็นเรื่องของการทำตามระเบียบแบบแผน พอพูดเรื่องแบบนี้เขาก็จะจัดข้าง ทั้งๆ ที่มันเป็นเรื่องของวิธีปฏิบัติ เช่น ต้องมีการเลือกตั้ง ต้องไปใช้สิทธิ์นะ ไม่ว่าจะโหวตโน หรืออะไร แต่พอพูดเรื่องแบบนี้ก็กลายเป็นสนับสนุนไป"

หรือ การมองคนให้เป็นคนเท่ากัน ต่อให้คิดต่างกันอย่างไร พรสันต์ยืนยันว่า "ยังไงก็ไม่มีทางฆ่าแกงกัน เพราะมันต้องดีเบตด้วยเหตุผล"

พูดคุยกันด้วยเหตุผล "โลกสวย" หรือเปล่า

"ผมว่าดีเบตกันด้วยเหตุผลนี่โลกไม่สวยนะ แต่ที่ผ่านมา ผมไม่เคยเห็นใครดีเบตกันด้วยเหตุผลน่ะ จริงๆ คนที่คิดสุดโต่งนั่นน่ะดูจะโลกสวยมากกว่า เพราะว่าโลกของเขามันคือความถูกต้อง และมันต้องไม่มีคนอื่น" หรืออีกนัยหนึ่ง เขารู้สึกว่า นั่นคือนิยามของเผด็จการดีๆ นี่เอง

ป.ล. ธรรมะสวัสดีมาฆบูชา // สุขสันต์วันแห่งความรัก


 ----------------------

ที่มา...กรุงเทพธุรกิจ : http://www.bangkokbiznews.com

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >