หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow วิชาชีวิต...บนวิถีแห่งการเรียนรู้ : มะลิ ณ อุษา
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 640 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 124: เรียนรู้โลกยุคใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชีวิต จิตวิญญาณ!?
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 124


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

วิชาชีวิต...บนวิถีแห่งการเรียนรู้ : มะลิ ณ อุษา พิมพ์
Wednesday, 11 September 2013

วิชาชีวิต...บนวิถีแห่งการเรียนรู้

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 30 เดือนมิถุนายน 2556



โดยปกติทั่วไป เราใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนคนละอย่างน้อย 16 - 19 ปี เริ่มตั้งแต่อนุบาลตอนอายุ 3 ขวบ (ยกเว้นบางคนที่เริ่มต้นเรียนชั้นประถมตอนอายุ 7 ขวบ) จนกระทั่งจบปริญญาตรีตอนอายุ 22 ปี

ตลอดระยะเวลา 16 - 19 ปีนี้ เราเรียนรู้อะไร? และเราได้นำบทเรียนอะไรมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันบ้าง?

ขอยกตัวอย่างวิชาเดียว คือ วิชาสุขศึกษา ทุกคนต้องเคยผ่านบทเรียนที่ว่าด้วยเรื่องวิธีปฏิบัติเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง เช่น การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงอาหารหรือพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ฯลฯ เราท่องจำและตอบข้อสอบได้ แต่น้อยมากที่จะนำบทเรียนเหล่านั้นมาใช้ในการดำเนินชีวิต ประหนึ่งว่า การเรียนรู้หยุดลงในวันประกาศผลสอบ หรือบางคนอาจเร็วกว่านั้น คือ หลังออกจากห้องสอบ พร้อมกับวางหนังสือเรียนคืนให้คุณครูในบัดเดี๋ยวนั้นเลยทีเดียว

ดังนั้น จึงไม่แปลกที่พอมีลูกหลาน เราก็สอนให้พวกเขาท่องจำเพื่อตอบข้อสอบให้ผ่าน แล้วใช้ชีวิตตามกระแสที่ถูกกำหนดไว้แล้วโดยรัฐบาลและสื่อโฆษณาสำเร็จรูปของนายทุน ซึ่งแตกต่างจากเนื้อหาในหนังสือเรียนอย่างสิ้นเชิง (แล้วนายทุนเรียนโรงเรียนแบบเดียวกับเราๆ ท่านๆ ไหมนะ?)

ทำไมบทเรียนที่เกิดขึ้นในห้องเรียนจึงมีอายุแสนสั้น? ถ้าไม่ใช่บทเรียนจากห้องเรียน แล้วเราใช้ชีวิตจากบทเรียนไหนกัน?

ถ้าหากฉันจะขอให้คุณช่วยทบทวนความทรงจำอันแสนสุขในชีวิตที่ผ่านมา คุณจะนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างแจ่มชัดไหม คุณใช้เวลาในการนึกนานแค่ไหน?

เช่นเดียวกัน หากฉันจะขอให้คุณช่วยทบทวนความทรงจำอันแสนเจ็บปวดหรือความยากลำบากในชีวิต คุณจะยังคงจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนอยู่หรือเปล่า การหวนกลับไปแตะต้องมันอีกครั้ง ทำให้หัวใจของคุณสั่นไหวอยู่ไหม?

คุณผ่านเหตุการณ์เหล่านั้นมาได้อย่างไร มันได้ฝากอะไรติดตัวคุณมาจนถึงทุกวันนี้บ้าง? ...นอกจากความทรงจำ

เหตุการณ์เช่นนี้ เคยเกิดขึ้นกับวิชาฟิสิกส์หรือคณิตศาสตร์บ้างหรือไม่ (สาบานได้ว่า อารมณ์ของคุณเปลี่ยนไปทันทีที่ได้อ่านบรรทัดนี้) ที่น่าคิดก็คือ ทำไม 2 เหตุการณ์นี้จึงถูกจัดให้แยกอยู่คนละส่วนกัน

อาจจะดูคับแคบไปหน่อย แต่ฉันขอตั้งข้อสังเกตอย่างสรุปรวดรัดตัดความว่า ช่วงเวลาที่เราเกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้งคือ ช่วงเวลาที่เราได้ลงมือทำบางอย่าง ที่ต้องใช้ศักยภาพความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ภายใต้สภาวะที่พึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ เราเรียกการเรียนรู้เช่นนี้สั้นๆ ว่า ประสบการณ์

ในความเห็นของฉัน ประสบการณ์ที่เกิดจากการผ่านช่วงเวลาที่ต็มไปด้วยอุปสรรคความยากลำบากหรือความผิดพลาดล้มเหลว มีคุณค่าและมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตค่อนข้างมาก

เวลาแห่งความยากลำบากของชีวิตแต่ละช่วงวัยมีความแตกต่างกัน ความยากลำบากในวัยเด็ก อาจจะเป็นการตื่นไปโรงเรียนตอนเช้าเพื่อที่จะไปเจอกับคู่อริที่ชอบแกล้งเราให้อับอาย ความยากลำบากในวัยรุ่น อาจจะเป็นช่วงเวลาที่ถูกเพื่อนๆ ในกลุ่มปฏิเสธ อกหัก สอบเรียนต่อไม่ได้ พ่อแม่หย่าร้าง ความยากลำบากของคนวัยทำงานอาจจะเป็นการงานล้มเหลว ธุรกิจล้มละลาย แยกทางกับคู่รักหรือหย่าร้าง ลูกเกเรดื้อรั้น และความยากลำบากของคนสูงวัย อาจจะเป็นความเหงา ความรู้สึกไร้ค่า ลูกหลานทะเลาะเบาะแว้งกัน และความเจ็บป่วย

อาจจะ...อาจจะ...

อาจกล่าวรวมๆ ได้ว่า ความผิดพลาดด้านการเรียนหรืองาน ความผิดพลาดด้านความสัมพันธ์ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักหรือคนที่รัก และความเจ็บป่วย คือ ความทุกข์ยากอันเป็นสากลของชีวิตทุกช่วงวัย แต่ต่างกันที่บริบทและความซับซ้อนที่มักจะเพิ่มขึ้นตามอายุ

การเผชิญกับช่วงเวลาเหล่านี้ โรงเรียนไม่ได้สอนว่าเราควรทำอย่างไร (บางทีโรงเรียนเองก็อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งของความยากลำบากด้วยก็ได้) เราเรียนรู้จากการเผชิญหน้ากับมัน ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง โดยอาจจะมีผู้ฝึกอย่างพ่อแม่หรือกัลยาณมิตรอยู่ข้างๆ

เมื่อเราผ่านประสบการณ์การลองผิดลองถูกครั้งหนึ่งในชีวิต เราจะเกิดการเรียนรู้ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว เราอาจจะไม่ได้ใส่ชื่อรายวิชาว่าเป็น วิชาการแก้ปัญหาครอบครัว วิชาเทคนิคการล้มละลายทางธุรกิจ หรือวิชายามคนรักเปลี่ยนใจ แต่เราก็ผ่านเหตุการณ์เหล่านั้นมาได้ (หรือบางคนอาจจะกำลังอยู่ในช่วงยากลำบากที่ว่านี้) คนที่สามารถให้คะแนนและตัดเกรดได้ยุติธรรมที่สุด คือ ตัวเราเอง แต่เรามักจะให้อำนาจคนอื่นตัดสินอยู่เสมอ ซึ่งบ่อยครั้งก็เป็นคำตัดสินที่ค่อนข้างกดหรือปล่อยคะแนนเกินความเป็นจริง และถ้าเรายังก้าวข้ามบทเรียนนี้ไม่ได้ ก็ถือว่าสอบไม่ผ่าน ยังต้องเจอปัญหาในลักษณะนี้ในรูปแบบใหม่ไปจนกว่าจะก้าวข้ามไปได้ จึงจะเลื่อนขั้นไปเจอบทเรียนที่ยากขึ้น

ถ้าอย่างนั้น เราก็อยู่ที่เดิมกับปัญหาเล็กๆ ในระดับเดิมอย่างที่คุ้นชินไม่ดีกว่าหรือ จะผ่านมันไปเพื่อเจอปัญหาใหม่ที่ใหญ่กว่าให้ยุ่งยากทำไม?

ย่อมทำได้...หากเราพอใจ
มันเหมือนกับการที่เรารู้ว่ากลไกของอวัยวะภายในร่างกายของเรา ทำงานอย่างไร ต้องการการหล่อเลี้ยงอย่างไรจึงจะมีสุขภาพดีแข็งแรง แต่เราก็ยังอยากจะกินแต่ข้าวบดหรือโจ๊ก เพราะว่ามันง่ายดี เราก็จะใช้ชีวิตอย่างข้าวบดหรือโจ๊กต่อไป เมื่อต้องกินอาหารที่หยาบและแข็ง เราก็จะพยายามขย้อนมันออกมา แม้ว่ามันจะอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายก็ตาม

อย่างที่ฉันได้เกริ่นไว้ในตอนต้นว่า ฉันให้คุณค่ากับบทเรียนที่มาจากความยากลำบากค่อนข้างมาก เพราะมันเหมือนผักรสขมที่มีสารอาหารและกากใย ช่วยบำรุงสมอง หัวใจ และสายตา (แม้บางครั้งเราอยากจะคายมันทิ้งใจจะขาด แต่ก็ทำไม่ได้) ความยากลำบากจะช่วยขัดเกลาความคิดอ่านให้แหลมคม มีมุมมองที่กว้างไกล และมีหัวใจที่แข็งแรง และแน่นอนว่า เราไม่สามารถกินแต่ผักรสขมอย่างเดียวไปตลอดได้ จะต้องมีอาหารประเภทอื่นๆ เข้ามาเพิ่มเติมในชีวิตให้สมดุลด้วย มีใครปฏิเสธรสชาติอันหอมหวานของความสุขได้บ้างล่ะ

อาหารที่เราแสวงหามาป้อนให้กับร่างกาย ก็เหมือนกับการแสวงหาประสบการณ์จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพื่อบดเคี้ยวกลั่นกรองผ่านกระบวนการคิดใคร่ครวญ เป็นบทเรียนหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณให้เติบโตขึ้นนั่นเอง และนี่เองที่เป็นบทเรียนที่เราได้รับการถ่ายทอดมาจากครูผู้ฝึกในแต่ละช่วงชีวิต ซึ่งเมื่อถึงเวลาหนึ่ง ลูกหลานของเราก็จะเข้ามาลงทะเบียนเรียนกับเราด้วยเหมือนกัน

แต่...เพราะฉันไม่ใช่ผู้รู้ (ฉันเป็นเพียงคนธรรมดาที่มีความยากลำบากตามช่วงวัยของตัวเอง) สิ่งที่ฉันรู้จึงเป็นเพียงประสบการณ์จากช่วงหนึ่งของชีวิตฉันเท่านั้น ฉันไม่สามารถบอกสอนในสิ่งที่คุณควรรู้ได้ เพราะการเรียนรู้เป็นเรื่องที่มาจากประสบการณ์ส่วนตัวของคุณเอง ดังนั้น สิ่งที่คุณควรรู้จึงมีอยู่แล้วทั้งภายในและรอบๆ ตัวคุณ ฉันทำได้แต่เพียงตั้งคำถามให้คุณลองกลับไปใคร่ครวญเท่านั้น

ยินดีต้อนรับสู่ห้องเรียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก บางครั้งเราอาจจะกำลังเรียนวิชาเดียวกันอยู่ก็ได้!

มะลิ ณ อุษา

ที่มา เครือข่ายพุทธิกา | ใน คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >