หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow สัมมนา "ร่วมส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาแก่ลูกแรงงานข้ามชาติ"
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 87 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

สัมมนา "ร่วมส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาแก่ลูกแรงงานข้ามชาติ" พิมพ์
Monday, 09 May 2011

ให้โอกาสการศึกษา

ลูกแรงงานข้ามชาติ

เด็กทุกคนต้องได้เรียน

Image

สังคมควรส่งเสริมโอกาสการศึกษาลูกแรงข้ามชาติที่มีถึงสองแสนคน ให้ได้เรียนในโรงเรียนหรือศูนย์การเรียนรู้ เพื่อสื่อสารภาษาไทยได้ มีทักษะการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข และพัฒนาชีวิตต่อไป ปัญหาที่พบคือ ขาดแคลนงบประมาณในการจัดการศึกษา บุคลากร ทุนอาหารกลางวัน อคติของคนไทย ความเป็นห่วงเรื่องความมั่นคง และหลายฝ่ายยังไม่ทราบมติคณะรัฐมนตรี 2548 ที่ให้โอกาสทางการศึกษาเด็กที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติ ให้เข้าเรียนได้ทุกที่ ด้านครูผู้ให้การศึกษาเด็กเหล่านี้ เผยยังมีเด็กที่ขาดโอกาสการศึกษาอีกมาก ต้องช่วยกันหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความรัก ความดี ความงาม เด็กลูกแรงงานข้ามชาติมีสิทธิ มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนกับเรา รักเขา ดูแลให้การศึกษาเขา สิ่งที่ได้รับคือความสุขใจ เรื่องของชีวิต ความยุติธรรม ความเมตตาต้องมาก่อนสิ่งอื่นใด

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนาสังคม แผนกความยุติธรรมและสันติ (ยส.), คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการอภิบาลสังคม แผนกผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ถูกคุมขัง (NCCM) และ สภาการศึกษาคาทอลิกแห่งประเทศไทย จัดสัมมนา "ร่วมส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาแก่ลูกแรงงานข้ามชาติ" เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ที่ห้องประชุมเดอ มงฟอร์ต อาคารมูลนิธิเซนต์คาเบรียล ซอยทองหล่อ 25 สุขุมวิท 55 โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนากว่า 40 คน

คุณปฎิพัทธ์ ไผ่ตระกูลพงศ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิทธิมนุษยชน ยส. นำเสนอกรณีศึกษาโอกาสทางการศึกษาของลูกแรงงานข้ามชาติที่ไปเก็บข้อมูลในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก, อ.เมือง จ.ระนอง, อ.เมือง จ.ภูเก็ต, อ.เมือง จ.สมุทรสาคร และศูนย์การเรียนรู้ลาซาล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ปัญหาที่พบคือลูกแรงงานต้องออกไปทำงานก่อนวัยอันควร ทำงานที่ไม่เหมาะสม หรือไม่มีผู้ดูแลช่วงที่พ่อแม่ออกไปทำงาน ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาสังคมตามมา การให้การศึกษาลูกแรงงานคือการส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ มีทักษะในการดำรงชีวิต พัฒนาชีวิตของเขาให้อยู่ในสังคมไทยได้อย่างมีความสุข ลูกแรงงานเหล่านี้องค์กรพัฒนาเอกชนคาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 2 แสนคนทั่วประเทศ

จากการศึกษาได้ข้อสรุปดังนี้คือ อ.แม่สอด จัดการศึกษาให้กับลูกแรงงานอย่างมีรูปธรรม ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและศูนย์การเรียนเอกชน เด็กได้รับการศึกษามากที่สุด พ่อแม่ทำงานในโรงงานและสวนเกษตรซึ่งไม่มีการเคลื่อนย้ายมากนัก สมุทรสาครมีการจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบในโรงเรียนรัฐบาล จ.ระนอง องค์กรพัฒนาเอกชนเริ่มจัดการศึกษาให้กับเด็ก และผลักดันเข้าสู่ระบบโรงเรียนรัฐบาล ส่วนภูเก็ต ลูกแรงงานได้รับการศึกษาน้อย ไม่มีระบบการจัดการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายแรงงานและค่าครองชีพสูง

ปัญหาจัดการศึกษาให้กับลูกแรงงานข้ามชาติ คือการขาดแคลนงบประมาณในด้านบุคลากร อุปกรณ์การศึกษา อาคารสถานที่ ทุนอาหารกลางวัน การใช้ภาษาไทยในการสื่อสารของเด็ก อคติของผู้ปกครองเด็กไทยและชุมชนรอบๆ ความต่อเนื่องในการเรียนของเด็ก ประเด็นความมั่นคงของชาติจากหน่วยงานทหาร ส่วนปัญหาเพิ่มเติมของศูนย์การเรียนรู้ก็คือมาตรฐานของหลักสูตรการเรียนการสอน ความต่อเนื่องในการจัดการเรียน การออกวุฒิการศึกษา

แนวทางสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาแก่ลูกแรงงาน ได้แก่ 1. สนับสนุนงบประมาณ ทุนการศึกษา ทุนอาหารกลางวัน อุปกรณ์การเรียน สื่อและบุคลากร 2. ให้ความช่วยเหลือศูนย์การเรียนหรือโรงเรียนรัฐบาลในลักษณะเป็นโรงเรียนคู่แฝดที่จะช่วยเหลือกันในทุกๆ ด้าน 3. ให้การสนับสนุนจัดตั้งโรงเรียนเอกชนสงเคราะห์ 4. เปิดโอกาสให้ลูกแรงงานข้ามชาติเข้าเรียนในโรงเรียนมากขึ้น 5. เผยแพร่ข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องสิทธิการศึกษาของเด็กต่อสังคมในวงกว้าง

ช่วงสำคัญของการเสวนาคือการแบ่งปันประสบการณ์ จากคุณครูผู้ให้โอกาสทางการศึกษากับเด็กๆ ได้แก่ คุณสุรีย์ วินิจชอบ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสันถวไมตรีศึกษา อ.แม่สอด จ.ตาก คุณวีรวรรณ วิเศษสิงห์ ครูผู้ร่วมก่อตั้ง Bamboo School อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี คุณเสาวนีย์ สว่างอารมณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดศิริมงคล อ.เมือง จ.สมุทรสาคร

คุณสุรีย์เผยถึงการจัดการศึกษาให้กับลูกแรงงานที่แม่สอดได้แก่ โรงเรียนสันถวไมตรีศึกษา, ศูนย์ Holy Infant Orphanage, ศูนย์การเรียนเซนต์ปีเตอร์, ศูนย์การเรียน New Blood และส่งนักเรียนเข้าสู่โรงเรียนรัฐบาลคือโรงเรียนบ้านท่าอาจ และสิ่งที่ทำสำเร็จคือ ผลักดันศูนย์การเรียนให้เป็นโรงเรียนเอกชนสงเคราะห์ซึ่งจัดตั้งได้ในปี 2552

ข้อดีของศูนย์การเรียนคือ มีค่าใช้จ่ายน้อยหรือไม่เสียเลย เพราะผู้ปกครองเด็กบางคนในหนึ่งเดือนมีงานทำแค่ 5 วันเท่านั้น และได้ค่าจ้างเพียงวันละ 80-90 บาท ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากเด็กได้ สอง มีความหลากหลาย สอนภาษาพม่า ภาษากะเหรี่ยง อังกฤษ คณิตศาสตร์ ศูนย์การเรียนไม่มีระเบียบเข้มงวด เช่น เรื่องต้องมาเรียนให้ครบ 80 % ไม่เข้มงวดเรื่องใส่ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน

เมื่อเด็กมีวุฒิการศึกษาทำให้ไปเรียนต่อหรือนำไปสมัครงานได้ เช่นทำงานโรงงานจะได้ตำแหน่งสูงกว่าเด็กพม่าที่ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทย ปี 2549 เราส่งเด็กไปโรงเรียนท่าอาจ 170 คน มีเด็กออกกลางคัน 30 กว่าคน เพราะเขารับระบบโรงเรียนไทยไม่ได้ หรือมาเรียนไม่ได้เพราะความยากจนต้องไปทำงานช่วยพ่อแม่ เช่น ไปเย็บผ้า ไปทำงานก่อสร้าง ช่วงกลางคืนเราสอนผู้ใหญ่ เช่นคนงานโรงงานถ้าเขาสื่อสารภาษาไทยได้ จะได้ช่วยตัวเองได้ และมีการอบรมต่างๆ เช่นการทำบัญชีครัวเรือน เราไปเยี่ยมบ้านเด็ก บางบ้านใช้ถุงปุ๋ยทำฝาบ้าน ส่วนถังน้ำก็ใช้ถุงปุ๋ยแล้วใส่ถุงพลาสติกข้างใน เพราะเขาย้ายบ้านบ่อย บ้านหนึ่งอยู่กัน 7- 8 คน การทำงานของเราใช้หัวใจหลายๆ หัวใจ สมองหลายๆ สมอง

ด้านคุณวีรวรรณให้ข้อมูลว่า อ.สังขละบุรีพูดกันหลายภาษา ได้แก่ พม่า มอญ กะเหรี่ยงโพล่ง ปกาเกอะญอ ความเป็นมาของแบมบู สคูล หรือศูนย์การเรียนรู้ลาซาล เมื่อเดือน พ.ย. 2550 ตัวเองและเพื่อนๆ เข้าไปในบริเวณใกล้ด่านเจดีย์สามองค์ เรียกว่าหกพันไร่เป็นสวนยางพารา โดยมีพม่า กะเหรี่ยง มอญมาขายแรงงาน เห็นเด็กๆ วิ่งเล่นอยู่ในโรงงานไม่มีโอกาสเรียนหนังสือเพราะความยากจน จึงมาสอนหนังสือเด็กใต้ต้นยาง ช่วงแรกที่เข้าไปก็ใช้เงินส่วนตัว

  

เด็กดีใจที่มีครูมาสอน เราขับมอเตอร์ไซค์เข้าไป เด็กๆ วิ่งมาหาเราพูดว่า เสี่ยมาลาบี๊ แปลว่า คุณครูมาแล้ว ทำให้มีกำลังใจที่จะทำงาน แม้คิดจะหยุดสอนเพราะไม่มีเงิน แต่เมื่อเห็นเด็กๆ เรามองหน้ากันว่าจะหยุดได้หรือ เราไปคุยกับเจ้าของโรงงาน เขาบอกจะให้ค่าอาหารวันละ 400 บาท เราเขียนหนังสือทุกวันเพื่อขอทุนสนับสนุนจากที่ต่างๆ จน NCCM พาบราเดอร์วิกตอร์ เข้ามาเยี่ยม ดีใจมากที่มีคนสนใจให้ความช่วยเหลือเด็กๆ และครู

ปัจจุบันมีเด็กเรียนอยู่ที่ศูนย์ 233 คน ชาย 119 คน หญิง 114 คน เน้นสอนภาษาไทย มีครูสอนภาษาพม่าหนึ่งคน ครูทั้งหมด 13 คน แบ่งเป็น 8 ห้องเรียน อนุบาล 2 ห้อง ป.1 มี 3 ห้อง ป.2 - ป.4 ชั้นละหนึ่งห้อง เด็กที่อายุ 15 ขึ้นไปส่งไปเรียนที่กศน. หลักสูตรของเราพัฒนามาจากหลักสูตรแกนกลาง เน้นสอนภาษาไทยให้เด็กพูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

การศึกษาไม่ควรจำกัดอยู่แค่ในห้องสี่เหลี่ยมหรือตึกสวยงาม การจัดการศึกษาไม่ใช่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่งหรือหน่วยงานใด แต่เป็นหน้าที่ของเราทุกคน ในถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกลความเจริญ ยังมีเด็กๆ ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาอีกมาก แม้มีผู้ใจบุญให้ความช่วยเหลือก็ยังไม่เพียงพอ ขอเชิญชวนทุกท่านหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ความรัก ความงาม ในการจัดการศึกษาให้กับเด็กๆ ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาให้มากที่สุด

ผอ.เสาวนีย์ เผยถึงชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติว่าลำบากมาก เด็กลูกแรงงานบางคนต้องทำงานด้วย ถ้าไม่ทำงานก็ไม่มีเงินกินข้าว เด็กเหล่านี้ต้นทุนทางสังคมต่ำ ที่รับเด็กเหล่านี้เข้าเรียนเพราะระหว่างทางขับรถมาโรงเรียน เห็นเด็กวิ่งเล่นกัน จอดรถถาม เด็กไม่พูดด้วย คิดว่าเป็นเด็กพม่าแน่ ก็ค่อยๆ ชวนมาเรียน ก่อนที่รัฐบาลจะประกาศให้เด็กเหล่านี้เข้าเรียนได้ เวลาเขตพื้นที่ฯ มาตรวจ ก็ต้องนำเด็กไปซ่อนในป่าจาก จากไม่กี่คนตอนนี้มีเด็ก 800 กว่าคน

ผอ.บอกครูว่าให้เราอยู่กันด้วยความรัก เราต้องรักเด็กพวกนี้ก่อน รักเขา ดูแลเขา จะได้อานิสงค์มากกว่าไปสร้างโบสถ์เสียอีก เรารักเขา เขาก็รักเราตอบ แล้วความสุขจะเกิดขึ้น เราเขียนป้ายไว้ที่โรงเรียนว่า โรงเรียนแห่งความสุข ใครเข้ามาแล้วจะมีความสุข เด็กเหล่านี้ทิ้งเขาได้หรือ จะปล่อยเขาวิ่งเล่น โดนรังแก เป็นปัญหาของสังคมได้หรือ ให้เขาเรียนโดยที่ไม่ต้องการสิ่งตอบแทนใดๆ นอกจากความสุขใจ เห็นหน้าเด็กเราก็มีความสุขแล้ว ข้าราชการมาบรรจุในโรงเรียน ผอ.จะเรียกมาคุยก่อนว่าบริบทโรงเรียนเป็นอย่างนี้ ถ้าคุณครูหวังผลประโยชน์ จะมากอบโกยสอนพิเศษที่โรงเรียนไม่มี เพราะโรงเรียนจะให้อย่างเดียว

เด็กเขามีความเป็นคน ถ้าเขาเลือกเกิดได้ เขาก็เลือกเกิดมาในท้องคนไทยแล้ว ถ้าเราไม่ดูแลเขาแล้วใครจะดูแล ถามเขาว่าโตขึ้นหนูจะกลับพม่าไหม ไม่มีสักคนที่ยกมือ ถ้าเขายังอยู่ในไทย แล้วความเป็นอยู่เขาจะเป็นอย่างไร เพราะกฎหมายไทยห้ามไม่ให้พวกเขาทำหลายอาชีพ จะเป็นได้แต่แรงงานในโรงงานเท่านั้นหรือ เราต้องแหกกฎบางอย่างเพื่อเด็ก ต้องคิดหลักสูตรเฉพาะสำหรับเด็กกลุ่มนี้ เขามาอยู่เมืองไทยต้องรู้ภาษาไทยเพื่อใช้ในการสื่อสาร จัดหลักสูตรภาษาไทยให้เข้มแข็ง จำเป็นต้องสอนทักษะชีวิต ความเป็นอยู่ในสังคม ให้เขาอยู่ในประเทศไทยอย่างมีความสุข ไม่มีปัญหากับคนไทย ประกอบอาชีพได้ เราดูแลเขามากกว่าคนไทยไหม ตอบได้เลยว่าไม่มากกว่า และอยากให้ชุมชนและผู้ปกครองได้มาเรียนภาษา วัฒนธรรมของเขา ไม่ใช่ไปรังเกียจเขา ต้องประชาสัมพันธ์ให้กับสังคมเข้าใจว่าเด็กกลุ่มนี้มีสิทธิ มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนกับเรา

คุณพ่อสุวัฒน์ เหลืองสอาด ผอ. ศูนย์สังคมพัฒนา สุราษฎร์ธานี ให้ข้อมูลว่า ศูนย์ฯ โดยเฉพาะใน จ.พังงาเริ่มนำศูนย์การเรียนเข้าไปในโรงเรียน ให้โรงเรียนยอมรับศูนย์การเรียนที่มีเด็กพม่าเรียน ตอนนี้มีอยู่ 5 ศูนย์ที่ส่งเสริมอยู่ และเอ็นจีโออื่นในพื้นที่ก็ทำเช่นกัน เห็นด้วยที่จะทำอย่างไรให้นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการออกมาในภาคปฏิบัติให้ชัดเจนขึ้น ทำไมที่แม่สอดไม่ค่อยมีปัญหาในการเปิดศูนย์การเรียน แต่หลายพื้นที่ยากมาก

คุณวิโรจน์ นิตตะโย เจ้าหน้าที่ศูนย์สังคมพัฒนา สุราษฎร์ธานี ร่วมแสดงความคิดเห็นว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาสากล ในอเมริกา ยุโรปก็มีปัญหาเช่นกัน เป็นเรื่องความรู้สึกของมนุษย์ที่รักหวงแหนถิ่นฐาน หวาดระแวงคนที่แตกต่างจากเรา ดูถูกเหยียดหยามคนที่ด้อยกว่า รังแกคนที่สู้เราไม่ได้ ต้องเรียนรู้ธรรมชาติของตัวเรา ตัวเขา คนที่เราเกี่ยวข้อง การทำงานกับความรู้สึกของคนต้องใช้เวลามาก คนทำงานด้านนี้ต้องเตรียมใจว่าจะยาว จะหนัก ต้องทน ต้องถูกด่าว่า แต่เราทำเพื่อแก้ปัญหาสังคม เพื่อความเป็นธรรม คนไทยที่เกี่ยวข้องกับแรงงานพม่าก็มีมาก คนขายส้มตำ ขายไอติม ขายน้ำที่ภูเก็ต พอพม่าถูกจับไปทั้งแค้มป์ ก็ยืนงงขาดรายได้ไปเลย ไม่มีเงินไปเลี้ยงครอบครัว

บราเดอร์วิกตอร์ กิล มูโนส ผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ลาซาล อ.สังขละบุรี กล่าวว่า อยากให้กำลังใจกับพวกเราทุกคนที่ทำงานด้านนี้ ดีใจมากที่มีมิติคณะรัฐมนตรีปี 2548 ที่ขยายโอกาสทางการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย คนส่วนใหญ่ที่ทำงานด้านการศึกษายังไม่รู้เรื่องนี้ ทั้งโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนเอกชน โรงเรียนคาทอลิก ถ้ารับเด็กพม่าเข้าเรียน คุณไม่ได้ทำผิดกฎหมาย เราต้องช่วยกันให้ระเบียบนี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไป

ในปี 1960 ยูเนสโกได้ออกอนุสัญญาต่อต้านการเลือกปฏิบัติในเรื่องการศึกษา เป็นเอกสารสำคัญในการแก้ปัญหาเด็กต่างชาติ ระบุว่าเด็กทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้น จะต้องได้รับการศึกษาเหมือนกับเจ้าของประเทศ ห้ามเลือกปฏิบัติ การให้การศึกษาลูกแรงงาน เราทำนอกกฎหมาย กฎหมายยังมาไม่ถึง แต่เราไปข้างหน้าก่อน ชีวิตมาก่อน ความยุติธรรม ความเมตตาต้องมาก่อน กฎระเบียบมาที่หลัง

--------------------------------------------------

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >