หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 735 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 124: เรียนรู้โลกยุคใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชีวิต จิตวิญญาณ!?
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 124


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


คำสอนของพระศาสนจักรกับความยุติธรรม : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Wednesday, 12 January 2011

คำสอนของพระศาสนจักรกับความยุติธรรม

พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์


ก่อนที่จะพูดถึงคำสอนของพระศาสนจักรในด้านความยุติธรรมในสังคม ก็เป็นการดีที่เราจะรู้ว่า เมื่อผู้นำของพระศาสนจักร ได้แก่ พระสันตะปาปา, พระสังฆราช, พระสงฆ์ ออกเอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรมในด้านสังคม ที่มีแนวทางอันเดียวกันดังจะกล่าวตามขั้นตอนต่อไปนี้

เอกสารเหล่านี้ มักจะขึ้นต้นด้วยการสำรวจตัวเองว่า ตัวเองคือพระศาสนจักรนี้เป็นใคร และมีภาระหน้าที่อะไรในโลกนี้ (MISSION) ขั้นที่สองในเอกสาร ก็จะบรรยายถึงสภาพความเป็นไปในสังคมปัจจุบันในเรื่องนั้นว่า พระศาสนจักรโดยอาศัยการวิเคราะห์แบบเป็นศาสตร์และโดยอาศัยความเชื่อ พระศาสนจักรมองเห็นสภาพสังคมเป็นอย่างไร ขั้นที่สาม ก็ถึงขั้นมาทำการพิจารณาไตร่ตรอง (FAITH REFLECTION) หาเครื่องหมายของกาลเวลาและคำเรียกร้องของพระเจ้าว่า ในสภาพของสังคมที่เราวิเคราะห์ออกมานั้น มีเสียงเรียกร้องของพระเจ้าต่อเราว่าอย่างไรบ้าง ซึ่งก็จะมาถึงขั้นการตอบสนองโดยอยู่บนพื้นฐานในพระคัมภีร์ (FAITH RESPONSE) และขั้นสุดท้าย ก็คือการปฏิบัติกิจกรรมหรือโครงการที่จะเอาออกมาเพื่อแสดงความพร้อมที่จะตอบสนองต่อคำเรียกร้องของพระเจ้า ในสภาพสังคมซึ่งเราได้วิเคราะห์วิจารณ์บนรากฐานความเชื่อ และโดยอาศัยศาสตร์ (สังคมศาสตร์) และในจุดนี้ เราถือว่าเราได้ทำภาระหน้าที่ของเราในฐานะผู้มีความเชื่อในสังคมโลก

ในที่นี้ขอยึดเอาเอกสารฉบับหนึ่งเป็นแนว เพื่อเราจะได้มาศึกษาร่วมกันว่า ในเรื่องความยุติธรรมในสังคมนี้พระศาสนจักรเคยสอนเราว่าอย่างไร เอกสารฉบับนี้ก็คือความยุติธรรมอยู่ที่ไหน (JUSTICE IN THE WORLD) เป็นเอกสารบันทึกข้อตกลงและข้อประชุมของสมัชชาพระสังฆราชในปี ค.ศ. 1971

ภาคแรก ที่เป็นบทนำ ซึ่งแสดงถึงพระศาสนจักร ได้มองดูตัวเองและสำนึกในภารกิจหน้าที่ของตนเองในโลกอย่างไร ดัง "จากทั่วโลกเราคือ (พระสังฆราช) ได้ร่วมจิตร่วมใจกับผู้เชื่อในพระคริสตเจ้า และมนุษยชาติ ขอพระจิตเจ้า ผู้กำลังเนรมิตโลกใหม่ ให้ช่วยเราพิจารณาดูว่าประชากรของพระผู้เป็นเจ้า มีหน้าที่อย่างไรในการเสริมสร้างความยุติธรรมในโลกนี้"

ในช่วงที่สอง "หลังจากได้ศึกษา "สัญญาณแห่งกาลเวลา" โดยละเอียด พร้อมกับพยายามเข้าใจความหมายของสถานการณ์ในปัจจุบัน

ในช่วงสุดท้ายของบทนำ ได้สรุปว่า "กิจการใดๆ ก็ตามที่ทำเพื่อความยุติธรรม หรือทำเพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น เราถือว่า เป็นการเสริมสร้างและปฏิบัติตามพระวรสารโดยแท้จริง พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นการร่วมมือกับพระศาสนจักรในการปลดปล่อยมนุษย์ให้พ้นจากการกดขี่ทารุณนั่นเอง ฉะนั้น พระศาสนจักรถือว่า การที่พวกเราทุกคน (สมาชิกของพระศาสนจักร) ทำงานเพื่อปลดปล่อยให้พ้นจากการกดขี่ทารุณ ทำงานเพื่อความยุติธรรมในสังคม ก็เป็นการประกาศข่าวดี หรือเสริมสร้างงานการประกาศข่าวดี

ภาคสอง ของเอกสารฉบับนี้ ก็พูดถึงสถานการณ์ในสังคม และวิเคราะห์อย่างสั้นๆ ให้เห็นว่า สังคมโลกในปัจจุบันมีสภาพเป็นอย่างไร โดยเริ่มต้นได้บอกว่า "วิกฤตการณ์ของเอกภาพสากล" หมายความว่าเมื่อพวกสังฆราชได้รับรายงานสภาพการณ์ต่างๆ ของสังคมสมัยนั้น ก็สังเกตุเห็นว่า โลกในปัจจุบันมีอะไรที่เป็นแง่บวกอยู่หลายอย่าง อย่างที่เห็นชัดก็คือว่า มีการรวมพลังกัน และมีความพยายามที่จะรวมสังคมมนุษย์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างจริงจัง เช่น การมีองค์การสหประชาชาติในระดับโลก และนอกจากนั้นก็มีองค์กรในระดับทวีป ในระดับภาคต่างๆ เพื่อเป็นการรวมพลัง นอกจากนั้น การรวมพลังเหล่านี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเสมอภาค และศักดิ์ศรีของมนุษย์ มนุษย์สมัยนี้จะไม่ชอบเรื่องการแบ่งชาติ แบ่งศาสนา แบ่งผิว เพราะถือว่าทุกคนเป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน

ยิ่งไปกว่านั้น ก็มีการพัฒนาความร่วมมือทางเทคนิคและทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเอาเทคนิคและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ทำให้เราอยู่ดีกินดีขึ้น และมนุษย์ยังมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกว้างขวางกว่าแต่ก่อน และเนื่องจากความก้าวหน้านี้ มนุษย์สามารถที่จะเอาทรัพยากรในธรรมชาติและพลังงานธรรมชาติมาใช้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตมนุษย์ได้ กระนั้นก็ดี เราก็มีความสำนึกว่า น้ำและอากาศ (มลภาวะ) มีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และทรัพยากรตามธรรมชาติก็มีอยู่อย่างจำกัด ด้วยเหตุนี้ จะเอามาใช้แบบย่ำยีนั้นไม่ได้ เราจึงต้องระวัง นี่เป็นแง่บวกที่มนุษย์มีความสำนึก และความสำนึกนี้ก็มาเกี่ยวข้องกับพลังงานปรมาณูด้วย หลังจากที่มนุษย์ได้เห็นผลอันร้ายกาจของระเบิดปรมาณูที่ญี่ปุ่น มนุษย์ทั่วโลกก็หวาดเสียวกลัวต่อภัยของระเบิดปรมาณู และสิ่งอื่นๆ ที่ร้ายแรงกว่าอีกเป็นร้อยเป็นพันเท่า

แต่จากแง่บวกนี้ มันมีแง่ลบอยู่ ซึ่งถ้าหากว่าเราไม่อาศัยศาสตร์ (สังคมศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, รัฐศาสตร์) มาช่วยวิเคราะห์ปรากฏการณ์ ในแง่บวกเราจะบอกว่าทุกสิ่งมันเลอเลิศ โชติช่วงชัชวาล แต่เปล่าเลย ภายใต้ความโชติช่วงชัชวาล ซึ่งดูเหมือนว่าจะพัฒนาไปนั้น มันมีแง่ลบอยู่และมีอยู่ไม่น้อยเลยทั้งจำนวนและคุณภาพ ในแง่ลบนี้ได้แก่ ทั้งๆ ที่มีความพยายามรวมพลังให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวซึ่งกันและกัน ก็ปรากฏว่า มีการแตกแยกเป็นศัตรูต่อกัน มีการแบ่งแยกเป็นชาติ เป็นลัทธิ เป็นประเทศ ระหว่างชนชั้นร่ำรวยและยากจน (โลกที่ 1 และ 3) ระหว่างลัทธิสังคมนิยมกับลัทธิประชาธิปไตย และระหว่างค่ายตะวันออกและตะวันตกก็ยังมีอยู่ นอกจากนั้น ยังมีแง่ลบอยู่อีกว่า ภายใต้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งดูเหมือนว่าฝ่ายมนุษย์เป็นจ้าวโลก เป็นจ้าวจักรวาล แต่ในเวลาเดียวกัน ผลงานของวิทยาศาสตร์ที่เจริญล้วนมีผลสืบเนื่องมา นั่นก็คือ อาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งได้กลับกลายเป็นเครื่องมือในเงื้อมมือของลัทธิการเมืองที่วางตัวเป็นปฏิปักษ์กัน จะได้ประหัตประหารโดยที่คนใช้นั้นไม่ตาย แต่คนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่จะตายนับล้านๆ คน

นอกจากนั้น ในแง่ลบด้านเศรษฐกิจ เราเคยภูมิใจว่าเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลงในยุโรปได้อาศัยโครงการ MARSHAL PLAN (ซึ่งเป็นแม่ทัพชาวอเมริกัน ที่ปราบยุโรปได้และฆ่าคนตายเป็นจำนวนมาก ในที่สุดก็สงสาร จึงนำเอาขนมปังจากอเมริกามาเลี้ยงชาวยุโรป) ซึ่งโครงการนี้ทำให้สามารถชุบชีวิตชีวาในยุโรปได้ในเวลาไม่กี่ปี และสามารถยืนอยู่บนลำแข้งของตนเองได้จนกลับกลายเป็นทวีปที่มีความเจริญขึ้นยิ่งกว่าในช่วงก่อนสงครามเสียอีก ฉะนั้น พวกเรา(บรรดาผู้นำ พระสันตะปาปา พระสังฆราช) ก็เข้าใจว่า โลกเราจะมีเศรษฐกิจดีขึ้น หากถือตามแนวของ MARSHAL PLAN คือ ต้องทำบุญ เลี้ยงให้เขายืนอยู่บนลำแข้งของตนเอง ต่อมาก็ทำการผลิต เพื่อที่ทุกคนจะมีกินและอิ่ม แต่ปรากฏว่าเมื่อผลิตไปผลิตมา กลับเป็นว่าคนรวยยิ่งรวยขึ้น คนหิวก็ยิ่งหิวมาก และยิ่งไปกว่านั้น เมื่อไปเน้นการผลิตโดยอาศัยวิทยาศาสตร์ การค้นคว้าทางเทคนิคใหม่ๆ ก็เลยทำให้คนว่างงานมากขึ้น และระบบการผลิตมักจะผลิตรอบๆ เมืองใหญ่ ชาวไร่ชาวนาก็มากระจุกอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ และเกิดเป็นปัญหา นี่แหละคือ เศรษฐกิจที่มุ่งแต่การผลิต โดยไม่คำนึงถึงคนผลิต โดยไม่คำนึงถึงมนุษย์ ก็ทำให้เกิดบุคคลอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "เศษสังคม"

ที่เราบอกว่าวิทยาศาสตร์เจริญ และเราอาศัยวิธีวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ มาช่วยผลิต โดยอาศัยกำลังที่อยู่ในธรรมชาติ และวัตถุดิบที่เป็นทรัพยากรอยู่ในธรรมชาติ โดยคำนึงถึงเรื่องผลประโยชน์หรือกำไรอย่างเดียว (ถ้าเหลือกินก็เอาไปทิ้งทะเล) เหตุนี้เอง เราก็มาว่า ทรัพยากรในธรรมชาตินี้กำลังจะหมดไป ยิ่งไปกว่านั้น ผลที่ตามมาก็คือ มลภาวะเสื่อมโทรมและเสียไป จะทำให้มนุษย์อยู่ในโลกนี้ไม่ได้ นี่เป็นผลของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบไม่บันยะบันยัง

ในแง่ลบด้านสังคม ที่บอกว่ามนุษย์เราตื่นตัวในเรื่องของเกียรติและศักดิ์ศรีของตัวเอง และในการตื่นตัวนี้ ถือว่ามนุษย์เราต้องพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ แต่การพัฒนานี้มันก็ไปติดระบบเศรษฐกิจ ซึ่งระบบเศรษฐกิจก็ไปติดกับระบบการเมือง เป็นการเมืองเพื่อจะให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น จึงจำเป็นที่จะให้การเมืองมีความมั่นคง และเพื่อจะให้การเมืองมีความมั่นคง หลายครั้งก็จะต้องออกกฎหมายมาเพื่อที่จะได้ปิดหู ปิดตา ปิดปาก ของประชาชนด้วย หมายความว่า หลายๆ ประเทศมีกฎหมายขึ้นมา เพื่อประเทศชาติจะได้เป็นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้วยการให้บริษัทจากต่างประเทศมาพัฒนา ซึ่งมีความโยงใยกับบรรษัทข้ามชาติต่างประเทศ เข้ามาลงทุน ถ้าหากว่าประเทศไม่มีความมั่นคง เขาก็จะไม่มาลงทุน ประเทศเราก็จะจน นอกจากนั้น มนุษย์ในประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ก็ถูกปิดหู ปิดตา ปิดปาก และผู้มีอำนาจในการตัดสินก็พยายามที่จะใช้การโฆษณาชวนเชื่อให้เป็นไปตามความคิด ลัทธิความมั่นคงของชาติ เป็นไปตามความคิดที่เขาจะให้ชาติมีความมั่นคง เพื่อว่าเมื่อบริษัทต่างชาติได้เข้ามาลงทุน เศรษฐกิจของชาติก็จะดีขึ้น

ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งในส่วนหนึ่งก็ผลิตมากเกินไปจนต้องเอาสิ่งที่ผลิตไปทิ้งทะเล แต่ทำไมเด็กไทยจึงขาดอาหาร ดังตัวอย่างที่จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีผลผลิตทางการเกษตรมากในระหว่างอันดับ 1 หรือ 2 ของประเทศ แต่เด็กในจังหวัดศรีสะเกษก็มีชื่ออันดับหนึ่งในเรื่องขาดอาหาร

นอกจากนั้น ยังมีความอยุติธรรมเงียบเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาจอมปลอมโดยเรื่องของคนอพยพภายในประเทศ ทำไมผู้คนอพยพจากชนบทเข้ามาสู่เมือง มาสร้างปัญหาในเมือง ทำไมจึงมีเศษสังคมมากในเมืองใหญ่ๆ ทำไมกรรมกรหรือชาวนาพยายามทำงานแล้ว แต่ทว่าเงยหน้าไม่ขึ้นสักที ยิ่งกว่านั้นในประเทศที่เรียกว่า เป็นประเทศที่พัฒนาไปตามโครงการของลัทธิสังคม ซึ่งถือว่าประเทศต้องเป็นใหญ่ ก็ยังมีการทำลายสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในเรื่องความเชื่อถือเรื่องศาสนา มีการลิดรอนสิทธิของมนุษยชนทั้งโดยออกกฎหมายอย่างโจ่งแจ้ง หรืออย่างแยบยล นี่เป็นผลลบที่แฝงเร้นอยู่ในผลบวกที่มีอยู่ในสังคมโลกปัจจุบัน

สุดท้ายในการวิเคราะห์สภาพของสังคม บนรากฐานของความเชื่อและบนศาสตร์นั้น พระศาสนจักรโดยทางผู้นำคือ พระสังฆราชก็กล่าวว่าถึงอย่างไรก็ตามในบรรดากลุ่มต่างๆ ที่แบ่งแยกออกเป็นตะวันตกและตะวันออก ก็จะมีความปรารถนาที่จะเอาชนะการขัดแย้งและอุปสรรคต่างๆ โดยมาทำการเสวนากัน (DIALOGUE) และที่สุดยังมีความตื่นตัวถึงความเข้าใจความหมายแท้ของชีวิต (ชีวิตครอบครัว) และมีการให้เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมรู้เห็นในปัญหาสังคม และมีบทบาทในการแก้ปัญหาสังคมด้วย

ภาคสาม เป็นการพิจารณาคำเรียกร้องของพระเจ้า อาศัยความเชื่อเลื่อมใสของเราในองค์พระคริสตเจ้า ให้เราไปทบทวนดูในพระวรสาร ว่าพระองค์ได้สอนว่าอย่างไร และได้เอาคำของพระวรสารโดยนักบุญลูกา ที่กล่าวว่า "พระเยซูเจ้าได้ทรงแสดงตัวเองเป็นผู้ปลดปล่อยคนที่ถูกกดขี่ข่มเหง ปกป้องคนยากจน ขอเพียงแต่ให้มนุษย์เชื่อฟังพระองค์และยุติธรรมกับคนอื่น"... และมนุษย์จะพิสูจน์ว่า ตนรักพระเจ้าก็โดยความรัก และรับบริการเพื่อนมนุษย์ อันที่จริง ความรักของคริสตชนต่อเพื่อนมนุษย์และความยุติธรรมแยกกันไม่ออก เพราะรักแท้ต้องยุติธรรม กล่าวคือ รับรู้ศักดิ์ศรี และสิทธิของคนอื่น ความยุติธรรมจะสมบูรณ์ได้ ก็ด้วยความรักเท่านั้น มนุษย์ทุกคนเป็นรูปแบบของพระผู้เป็นเจ้าที่เรามองไม่เห็น และเป็นน้องของพระเยซูคริสตเจ้า คริสตชนที่แท้ทุกคนต้องมองเห็นว่า ในมนุษย์แต่ละคน มีพระเจ้าแฝงอยู่ พระเจ้าองค์นี้ขอร้องเราให้มีความรักและความยุติธรรมต่อกันโดยเคร่งครัด นี่เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องศึกษาให้ลึกซึ้ง

ภาคสี่ ได้พูดถึงเรื่องการปฏิบัติความยุติธรรม เป็นการตอบสนองการเรียกร้องของพระเจ้า เราจะต้องตอบสนองโดยการยืนหยัดของพระศาสนจักร หรือที่เราเรียกว่า การดำเนินชีวิตของเราแต่ละคนเป็นพยานยืนยันถึงความยุติธรรม และในฐานะที่เราเป็นองค์กรของพระศาสนจักร เราต้องเจริญชีวิตเป็นพยานยืนยันถึงความยุติธรรมตามที่พระวรสารสอน ซึ่งต้องมีความรักด้วย

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม การศึกษาเพื่อความยุติธรรม (EDUCATION TO JUSTICE) ซึ่งมีอุปสรรคเป็นธรรมดา เป็นต้นระบบการศึกษาสมัยนี้ มักมีแนวโน้มทำให้คนเห็นแก่ตัวเป็นส่วนใหญ่ คนบางคน บางกลุ่ม ก็ยังสนใจที่จะสะสมแต่สิ่งของ หรือครอบครองทรัพย์สินสำหรับตนไว้มากมาย ส่วนทางโรงเรียนและสื่อสารมวลชน อาจมีระเบียบกฏเกณฑ์มากเกินไป จึงให้คำแนะนำ ชี้แจงเท่าที่ระเบียบอนุญาตเท่านั้น ประชาชนหรือนักเรียนจึงไม่สู้มีโอกาสมีความคิดใหม่ๆ ได้ คือเราถือว่าสื่อมวลชนก็ดี หรือโรงเรียนก็ดี คล้ายๆ กับเป็นแม่พิมพ์ที่ให้ความคิดอันใดอันหนึ่งให้แก่เด็กๆ โรงเรียนของเราส่วนใหญ่มักจะเคร่งครัดในเรื่องระเบียบ วิชาการ แต่อย่าลืมว่าเด็กไม่ใช่ตุ๊กตา ไม่ใช่วัตถุ ไม่ใช่ดินเหนียวที่เราจะปั้นให้ไปตามใจเรา เด็กเป็นคนมีปัญญา ความคิดอ่าน ฉะนั้น เราต้องสอนให้เขามีปัญญา มีการคิด การตัดสิน มีวิจารณญาณ กล้าวิจารณ์และกล้าแสดงออก

การศึกษาเพื่อความยุติธรรม จะต้องให้รู้จักสภาพของสังคมที่เราอยู่และค่านิยมของสังคมด้วย คือเราต้องสอนมวลชน สอนทุกๆ คนให้รู้จักสภาพของสังคมที่เป็นอยู่ว่ามีสภาพเป็นอย่างไร และให้รู้ค่านิยม ซึ่งอาจจะเป็นค่านิยมที่ดี หรือหลายครั้งอาจจะเป็นค่านิยมที่ไม่ดี พร้อมกับต้องรู้จักตัดสินว่าดีหรือไม่ดี ถูกผิดอย่างไร สำหรับเราคริสตชน เราก็อาศัยคุณค่าและค่านิยมของพระวรสารมาเป็นมาตรฐานตัดสิน ค่านิยมใดๆ ที่มาจากคุณค่าของพระอาณาจักร ซี่งถ้าพูดตามศาสนาพุทธก็คือธรรมะ สิ่งใดก็ตามที่แสดงถึงธรรมะ ที่มีธรรมะอยู่ในตัวนั่นแหละเป็นสิ่งที่ดี เป็นคุณค่าที่ดี เป็นคุณค่าของพระอาณาจักรที่เราควรต้องสนับสนุน และจุดมุ่งหมายใหญ่ของการศึกษาเพื่อความยุติธรรมก็คือ ปลุกจิตสำนึกให้สนใจ และเรียนรู้ถึงสภาพของแต่ละท้องถิ่น และเรียกร้องให้ทุกคนลงมือทำกิจกรรมเพื่อให้สภาพการณ์ดีขึ้น การแปรโฉมหน้าของโลกได้เริ่มขึ้นแล้วโดยวิธีนี้

ส่วนในเรื่องของกิจกรรม ก็จะสนับสนุนให้มีการร่วมมือกันระหว่างพระศาสนจักรในท้องถิ่น คือระหว่างมิสซังกับมิสซัง, ประเทศกับประเทศ ระหว่งทวีปต่อทวีป นอกจากนั้นก็มีการสนับสนุนต่อการร่วมมือกับศาสนาอื่น และผู้มีน้ำใจดีทั้งหลาย ในตอนสุดท้ายของเอกสารฉบับนั้นก็ได้เสนอแนวปฏิบัติระหว่างชาติต่างๆ

เนื่องจากแนวคิดและแนวปฏิบัติของพระศาสนจักร ซึ่งหมายถึงพวกเราทุกคนที่เป็นคริสตชน ในด้านการพัฒนาสังคม และความยุติธรรมของสังคม เป็นแนวเก่าซึ่งเอามารื้อฟื้นใหม่ เพราะสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้พวกเราที่เป็นพระศาสนจักรส่วนรวม เป็นห่วงในบรรดาสมาชิกทั้งที่เป็นพระสงฆ์ นักบวช และทั้งที่เป็นฆราวาส (ที่ทำงานในด้านพัฒนาสังคมและความยุติธรรมในสังคม) ผู้ที่ทำงานเช่นนี้ หลายคนต้องเสียความเชื่อ หลายคนเสียกระแสเรียก จึงได้มีการตั้งคำถามในระหว่างบรรดาฆราวาสและนักบวช ทั้งพระสังฆราชและพระสงฆ์ว่า ความศรัทธาของเราคริสตชนคงจะต้องมีการปรับปรุงใหม่ การอบรมควรจะต้องคำนึงถึงชีวิตจิต (SPIRITUAL LIFE or SPIRITUALITY) โดยจะต้องมีการมาทำความเข้าใจกันใหม่ให้ตรงกับคำสอนของพระคริสตเจ้าให้ทันสมัย โดยนำของเดิมที่มีอยู่และได้ถูกมองข้ามไปเนื่องจากอยู่ในกาลเทศะที่ผิดกัน

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2530 บรรดาพระสังฆราชของอาเซียน ที่รับผิดชอบในงานพัฒนาสังคม และในงานด้านความยุติธรรมในสังคม ได้มาประชุมในประเทศไทย ได้มาพิจารณาถึงสภาพการณ์ของแต่ละประเทศ เช่น สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย, อินโดนีเซีย และเมื่อพระศาสนจักรได้เห็นเครื่องหมายแห่งกาลเวลานี้ เราจะได้ยินคำเรียกร้องของพระเจ้าให้เราทำอะไรบ้าง และเราจะตอบสนองอย่างไร... ในตอนหนึ่งของการประชุมได้พูดถึงชีวิตจิตที่เราต้องการ ซึ่งก่อนหน้านั้นได้พูดถึงว่าพระศาสนจักร (หมายถึงพวกเราทุกคนที่มีความเชื่อเลื่อมใสในองค์พระคริสตเจ้า) อยู่ในโลก แต่ไม่เป็นของโลกนี้ เหตุว่าพระศาสนจักรต้องร่วมมือกับพระคริสตเจ้าในการประกาศข่าวดีเพื่อสร้างพระอาณาจักร และพระอาณาจักรจะต้องเริ่มสร้างตั้งแต่ในโลกนี้ แต่จะสำเร็จสมบูรณ์ในโลกนี้ได้ เพราะว่าพระอาณาจักรนั้น มิได้หมายถึงการพัฒนาเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึง การพัฒนาจิตใจด้วย ฉะนั้น พระอาณาจักรจะสำเร็จสมบูรณ์ไปนอกกาลเวลา พระอาณาจักรจะไม่มีวันเสร็จสมบูรณ์ไปในกาลเวลา ในสถานที่นี้ แต่ว่าต้องในกาลเวลานี้และสถานที่นี้ เพื่อจะได้เสร็จสมบูรณ์ในสุดท้ายของกาลเวลา ในสมัย ESCHATOLOGY เพราะฉะนั้น เนื่องจากพระศาสนจักรต้องเป็นดั่งผู้สร้างสะพาน และเมื่อมีความคิดนี้อยู่ในฐานะที่เราเป็นนักพัฒนาสังคมภายในพระศาสนจักร, นักสนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชน สนับสนุนความยุติธรรมในสังคมนี้ เราอยากจะให้ชีวิตฝ่ายจิตนี้มีองค์ประกอบอย่างไรบ้าง

1. ชีวิตฝ่ายจิตที่เราต้องการจะต้องมีการเรียกร้องให้สร้างพระอาณาจักร ซึ่งหมายถึงกลุ่มชนใดๆ ก็ตามที่เจริญชีวิตอยู่แบบพี่แบบน้องกัน ที่สำแดงถึงคุณค่าที่ดีมีสอนไว้อย่างชัดเจนในพระวรสาร (คุณค่าแห่งความยุติธรรม คุณค่าแห่งความรัก การให้เกียรติกัน การเคารพและรับรู้ในศักดิ์ศรีของกันและกัน คุณค่าของการรู้จักใช้ทรัพยากรในธรรมชาติอย่างรู้จักบันยะบันยัง เพื่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ คุณค่าในการที่จะทำให้พวกเราเป็นเสมือนครอบครัวใหญ่ที่มีพระบิดาเจ้าองค์เดียวกัน) และเราต้องพยายามที่จะปกป้องสนับสนุนคุณค่าของอาณาจักรพระเจ้าที่เราอาจพบได้ในที่อื่น ในศาสนาอื่น ในกลุ่มชนอื่นๆ ด้วย สิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตว่าในพระอาณาจักรนี้คือ พระเป็นเจ้าทรงเรียกเรามนุษย์ทุกคนให้เป็นคนมากยิ่งขึ้น นี่เป็นความฝันอันสูงส่งในกลุ่มชนที่เจริญชีวิตตามคุณค่าของพระอาณาจักร คือพยายามที่จะทำให้คนเป็นคนมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น การทำงานพัฒนาของเราก็ขอให้เป็นไปตามที่มีสอนในพระสมณสาสน์ว่าด้วยการพัฒนาประชาชาติว่า เราต้องพยายามร่วมในการดิ้นรนกับประชาชนของเรา เพื่อที่จะแสวงหาที่จะกระทำมากขึ้น รู้มากขึ้น มีมากขึ้น เพื่อจะได้เป็นคนมากขึ้น ดังนั้น ชีวิตที่เราอยากจะได้จะต้องไม่ลืมองค์ประกอบเหล่านี้

2. การตัดสินใจทำงานเพื่อคนจนมากกว่าคนอื่น (OPTION FOR THE POOR) เราต้องอยู่ฝ่ายคนจน เหตุว่าบุคคลฝ่ายจิต คือผู้ที่ทำตนเป็นคนจนพร้อมกับคนจน แบบที่พระเยซูจ้า พระผู้ไถ่ได้ทรงกระทำพระองค์ไม่เพียงแต่มาทำงานเพื่อพวกคนจนหรือมนุษย์เท่านั้น แต่พระองค์เองยังมีชีวิตอยู่แบบคนยากจน และดำเนินไปพร้อมกับคนยากจนด้วย ดังที่มีบอกไว้ในพระคัมภีร์ว่าพระองค์ทรงกลับเป็นคนยากจน เพื่อเราจะได้เป็นคนร่ำรวย เหตุนี้เอง ความยากจนของเราต้องเป็นความายากจนแบบพระคริสตเจ้า พระองค์ทรงให้คุณค่าเหลือล้นกับความยากจนฝ่ายวัตถุ เพราะว่าพระองค์ทรงเป็นคนยากจน และยิ่งกว่านั้น จากความหิวกระหายขนมปังอันเสื่อมสลายไปได้ พระองค์ก็ได้อาศัยการหิวขนมปังที่เสื่อมสลายนี้ เป็นเครื่องมือ เป็นเครื่องหมายของการกินเลี้ยงศีลมหาสนิท ซึ่งเป็นขนมปังเลี้ยงผู้ที่กระหายฝ่ายจิต เพื่อที่จะได้ร่วมชีวิตสนิทกับพระองค์ และพระองค์เสด็จมารับใช้และทรงรักทุกคน ที่ยอมรับว่าตนเป็นคนยากจนต่อหน้าพระเจ้า ตรงกันข้ามผู้ใดที่มีใจโอหัง หยิ่งยะโส ปิดตนเองไม่ยอมรับผู้อื่น ไม่ยอมรับอิสรภาพ พระองค์ก็จะปล่อยเขาไป

3. จะต้องมองเห็นลักษณะที่ร่วมเป็นกลุ่มของการเจริญชีวิตจิต หมายความว่าผู้ที่จะมีชีวิตจิตจะต้องเห็นลักษณะที่ร่วมกันเป็นกลุ่มของการเจริญชีวิตจิต คือเราต้องเปลี่ยนจากปัจเจกนิยม (INDIVIDUALISM) มายังการเจริญชีวิตกลุ่มที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ เหตุว่าพระเจ้าจะตัดสินเราว่า เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระองค์หรือไม่ ก็โดยความสัมพันธ์ที่เรามีต่อพี่น้องของเราในโลกนี้ดีหรือไม่ เป็นต้น พี่น้องยากจน ขัดสน และอย่าลืมว่า ศีลศักดิ์สิทธิ์ทุกศีลล้วนมีลักษณะของการรวมเป็นกลุ่ม (COMUNITARIAN ASPECT) ตั้งแต่ศีลล้างบาปไปถึงศีลเจิมคนป่วย เหตุว่าในศีลศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ก็เป็นเครื่องหมายเครื่องมือที่นำพระหรรษทานที่พระเยซูเจ้าได้ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อเรา และในทุกศีลก็ได้รับส่วนในบุญกุศลนั้น ดังที่เรียกว่า สหพันธ์นักบุญ

4. การภาวนาและการพิศเพ่งรำพึง (CONTEMPLATION) ทางพุทธเรียกว่า ปัญญาสมาธิ เพื่อเราจะทำงานแบบพระคริสตเจ้านี้ เราต้องเป็นบุคคลที่เจริญชีวิตฝ่ายจิตโดยร่วมมิติการงาน กับมิติภาวนาเข้าด้วยกัน ในแบบที่มิติหนึ่งได้รับการดลใจ และเป็นแรงบันดาลใจให้แก่อีกมิติหนึ่ง นอกจากนี้ต้องสนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกัน หมายถึงว่า การทำงานไม่ใช่เพื่อตัวฉัน แต่เพื่อส่วนรวม นั่นก็เป็นการเสริมสร้างพระอาณาจักรที่เลียนแบบพระคริสตเจ้า (อย่าเป็นเหมือนคนที่ทำงานไปนานๆ ก็เกิดความรู้สึกเบื่อ จึงขึ้นไปอยู่บนยอดเสา และไม่ทำกิจกรรมต่อไปแล้ว หรือบางคนที่ภาวนาๆ ไป ก็ไม่เห็นว่าสังคมโลกนี้จะเปลี่ยนแปลงไปได้ ก็ออกมาทำกิจกรรมแต่อย่างเดียว ซึ่งไม่ใช่) ดังที่นักพัฒนามักจะใช้วิธีการ ACTION-REFLECTION


---------
ที่มา : สรุปสัมมนางานของพระศาสนจักรกับบทบาทด้านความยุติธรรมในสังคม พ.ศ. 2531

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >