หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 423 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 124: เรียนรู้โลกยุคใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชีวิต จิตวิญญาณ!?
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 124


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


ศาสนาคาทอลิกมีคำสอนด้านสังคมด้วยหรือ : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Wednesday, 12 January 2011

ศาสนาคาทอลิกมีคำสอนด้านสังคมด้วยหรือ

พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์


ผู้ที่อยู่ในแวดวงคาทอลิกควรทราบดีแล้วว่า ปี ค.ศ.1991 นี้ ครบรอบ 100 ปี ของพระสมณสาสน์ Rerum Novarum อันนับได้ว่าเป็นเอกสารเรื่องสังคมที่มีความสำคัญในสมัยอุตสาหกรรม พระสันตะปาปาองค์ปัจจุบันจึงทรงประกาศให้ปีนี้เป็นปีแห่งคำสอนคาทอลิกด้าน สังคมอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อ เชิญชวนให้บรรดาคริสตชนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนในสังคม และมาสนใจศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนนั้น เพื่อพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าในทุกด้าน เกิดความยุติธรรมและสันติขึ้นในโลก

คงมีหลายคนรวมทั้งคริสตชนด้วยที่ถามว่า ศาสนาคาทอลิกมีคำสอนเรื่องสังคมด้วยหรือ ทำไมเอาศาสนามาเกี่ยวข้องกับเรื่องสังคมและการเมือง คำถามเช่นนี้ยืนยันถึงคำพังเพยที่ว่า "คำสอนคาทอลิกเรื่องสังคมเป็นความลับสุดยอด ที่น้อยคนนักจักได้ล่วงรู้" ที่จริงพระเยซูคริสตเจ้า พระองค์เองก็ได้ทรงสั่งสอนเรื่องสังคม ได้ทรงปฏิบัติพระองค์ให้เป็นประโยชน์แก่สังคมของพระองค์อย่างมาก ในสมัยที่ทรงเจริญชีวิตอยู่ในประเทศอิสราเอลบ้านเมืองของพระองค์ ทรงเมตตาต่อผู้ตกทุกข์ได้ยาก ทรงรักษาคนเจ็บป่วยให้หาย รักษาคนพิการให้กลายเป็นคนปรกติ ทรงอภัยให้แก่คนที่ใส่ร้ายและทำผิดต่อพระองค์ ทรงสั่งสอนให้คนรักกัน เสียสละและให้อภัยกัน ทรงเจริญชีวิตอย่างสมถะ ทรงเสียภาษี และสั่งสอนลูกศิษย์ให้ถือตามกฎหมายบ้านเมือง ฯลฯ

แต่ก็ทรงตำหนิติเตียนผู้มีอำนาจในบ้านเมืองและในสถาบันที่ข่มเหงและเอาเปรียบผู้น้อย ที่สุดได้ทรงสละชีวิตของพระองค์เองเพื่อช่วยมนุษย์ให้รอด ฝ่ายบรรดาอัครสาวกและลูกศิษย์ของพระองค์ ในเวลาต่อมาก็ได้ปฏิบัติตามแบบอย่าง และคำสั่งสอนของพระอาจารย์อย่างไม่ลดละ วัดวาอารามในคริสตศาสนาได้เป็นศูนย์กลางของการศึกษาอบรมด้านศิลปะ การเกษตร และการอาชีพไปโดยปริยาย ในเวลาเดียวกันประชาชนที่อยู่ในสังคมเช่นนี้ยังได้รับการอบรมและขัดเกลาจิตใจให้สดใสผ่องแผ้วด้วยคำสั่งสอนของพระอาจารย์ และพิธีกรรมทางศาสนาอีกด้วย เรื่องนี้ผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์คงทราบดี

ครั้นถึงสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม สภาพเศรษฐกิจและสังคมก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มนุษย์ผู้มั่งคั่งก็สำแดงความเห็นแก่ตัวมากขึ้น เบียดเบียนข่มเหงเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ถือเอาเพื่อนมนุษย์เป็นปัจจัยในการผลิต แม้ทรัพยากรธรรมชาติ มนุษย์ผู้เห็นแก่ตัวเหล่านั้นก็ไม่วายที่จะเบียดเบียนกอบโกยนำเอามาใช้ มาทำลายโดยไม่นึกถึงผู้อื่นและลูกหลานในอนาคต ทำให้สังคมเจริญขึ้นในทางวัตถุก็จริง แต่ผู้คนกลายเป็นมนุษย์น้อยลง เห็นแก่ตัวมากขึ้น ศีลธรรมก็เสื่อมลง

ฝ่ายศาสนจักรมิได้นิ่งดูดายต่อสภาพการณ์เช่นนี้ของสังคม สำนึกถึงพันธกิจของตนที่ได้รับการสืบทอดมาจากพระอาจารย์เจ้า ในอันที่จะร่วมชะตากรรมกับมนุษยชาติเพื่อช่วยมนุษย์ทุกคนให้เป็นอิสระหลุดพ้นจากบาป และพันธนาการต่างๆ ได้รับชีวิตแห่งความเป็นไท เป็นบุตรของพระเจ้าเสียใหม่ ทั้งผู้นำและสัตบุรุษหลายท่านได้มีส่วนร่วมในวิวัฒนาการทางสังคม ช่วยกันคนละไม้คนละมือให้สังคมโลกพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้อง และในปลายคริสตศตวรรษที่แล้ว ขณะที่การปฏิวัติอุตสาหกรรมกำลังสำแดงฤทธิ์อิทธิพลอย่างมากมายในยุโรปนั่นเอง พระสันตะปาปาเลโอที่ 13 ก็ได้ประกาศคำสอนที่เรียกกันว่า สมณสาสน์ Rerum Novarum อันเป็นเรื่องเศรษฐกิจและสังคมเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรม สิทธิส่วนบุคคล การรวมกลุ่มกัน และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งนับได้ว่าเป็นคำสอนที่ทันสมัยในขณะนั้น

สี่สิบปีต่อมา หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พระสันตะปาปา ปีโอ ที่ 11 ได้มีสมณสาสน์ กวาดราเยซีโม อันโน เพื่อย้ำถึงหลักคำสอน Rerum Novarum และขยายความให้เหมาะสมกับกาลสมัยอีกครั้งหนึ่ง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทศวรรษที่ 60-80 (1960-1980) สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วใหญ่หลวงในทุกด้าน ไม่ว่าด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และศาสนา โลกเราคล้ายกับว่าเล็กลงไปทุกวัน อันสืบเนื่องมาจากการติดต่อสัมพันธ์ที่สะดวกรวดเร็ว พระศาสนจักรคอยเฝ้าดูและศึกษา "เครื่องหมายแห่งกาลเวลา" โดยมีพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23 และปอลที่ 6 ทรงเป็นผู้นำ ได้ประกาศคำสอนด้านสังคมที่สำคัญ สนองตอบคำเรียกร้องของพระเป็นเจ้าได้ทันท่วงที

พระสมณสาสน์ "มาแตร์ เอ็ต มายีสตรา" และ"ปาเซ็ม อิน แตร์ริส" ของยอห์นที่ 23 และ พระสมณสาสน์ "การพัฒนาประชาชาติ" และ"ว่าด้วยชีวิตมนุษย์" กับ "ออกโตเยซีมา อัดเวนีแอนส์" ของปอลที่ 6 และพระธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ แห่งสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง เอกสารเหล่านี้ล้วนบรรจุคำสั่งสอนเรื่องสังคมอย่างกว้างขวางลึกซึ้งและทันสมัย อันแสดงว่าพระศาสนจักรพร้อมที่จะร่วมชะตากรรมกับสังคมโลก และปวารณาตนเองเพื่อรับใช้สังคมโลกให้รอดพ้นจากบาปและพันธนาการของมัน

"ความชื่นชมและความหวัง ความโศกเศร้าและความกังวลของมนุษย์สมัยนี้ เป็นต้นของคนยากจนและผู้มีความทุกข์เข็ญทั่วไป ย่อมถือว่าเป็นความชื่นชมและความหวัง เป็นความโศกเศร้าและความกังวลของผู้เป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้าด้วย ประชาคมคริสตชนเกี่ยวพันกับมนุษยชาติและประวัติของมนุษย์อย่างใกล้ชิดและอย่างแท้จริง" (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 1)

ในทศวรรษ 1980-1990 สมัยรพระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 สังคมโลกมีวิวัฒนาการเข้มข้นขึ้น เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตมนุษย์มากขึ้น ประเทศต่างๆ ในโลกที่สามกำลังดิ้นรนที่จะเป็นตัวของตนเอง แต่ในเวลาเดียวกันก็เห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มเพื่อความอยู่รอด เห็นว่า ต้องมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกจึงจะเป็นประเทศที่เจริญทันสมัย กลายเป็นว่าใครมีมากขึ้นก็หมายความว่าเจริญทันสมัยขึ้นนั่นเอง จนทำให้มนุษย์กลายเป็นผู้กลืนกินมนุษย์ด้วยกันเอง

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอันน่าเป็นห่วง ภายใต้อิทธิพลของค่านิยม ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ฟั่นเฟือน ภายใต้กลไกอันวิปริตที่ผลิต "คนจ้องกินคน" ด้วยกันเช่นนี้ พระสันตะปาปา ยอห์น ปอลที่ 2 ทรงประกาศพระสมณสาสน์ "ลาบอเร็ม เอ็กแซร์เซ็นส์" ว่าด้วยการทำงาน และ "ความห่วงใยเรื่องสังคม" และเมื่อเร็วๆ นี้ หลังจากกำแพงเบอร์ลิน สัญลักษณ์แห่งค่ายคอมมิวนิสต์ได้พังทลายลงอย่างไม่คาดฝัน พระองค์ก็ทรงประกาศสมณสาสน์อีกฉบับหนึ่ง ชื่อว่า "แซนเตวีมูส อันนูส" อันว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง การศาสนาในท้ายทศวรรษที่แล้ว ที่กล่าวมาทั้งหมดโดยย่อนี้ ก็เพื่อช่วยตอบคำถามที่คนอาจตั้งขึ้นมาถามได้ว่า

- พระศาสนจักรคาทอลิกมีคำสอนด้านสังคมด้วยหรือ

- มีมาตั้งแต่เมื่อใด

- ทำไมพระศาสนจักรต้องยุ่งเกี่ยวกับสังคมและการเมือง และ พระศาสนจักรสั่งสอนเรื่องสังคม และการเมืองว่าอย่างไร

รายละเอียดแต่ละข้อ เป็นต้นข้อสุดท้ายนั้น ท่านผู้สนใจจะติดตามศึกษาได้จากแผนงานและโครงการต่างๆ ที่สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา และคณะกรรมการยุติธรรมและสันติกำลังจัดทำกัน เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของพระสมณสาสน์ Rerum Novarum และปีแห่งคำสอนด้านสังคม (สิงหาคม 1991 - สิงหาคม 1992)


-----------------
ที่มา : วารสารสังคมพัฒนา ฉบับสารมหาพรต ปีที่ 7 ฉบับที่ 3/2534 : 100 ปี Rerum Novarum หน้า 13-13

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >