หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 325 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 124: เรียนรู้โลกยุคใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชีวิต จิตวิญญาณ!?
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 124


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


พันธกิจคาทอลิกในสหัสวรรษที่สาม : พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ พิมพ์
Tuesday, 28 December 2010

พันธกิจคาทอลิกในสหัสวรรษที่สาม

พระสังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์


คำว่า "พันธกิจ" มีความหมายว่าเ
ป็นกิจการ กิจกรรมที่กระทำโดยมีพันธะ มีความผูกพันต่อกันและกัน ในสมัยก่อนเราใช้คำรวมๆ ว่าแพร่ธรรม หรือประกาศพระวรสาร ความหมายของพันธกิจในสมัยนี้ จึงเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นการประกาศข่าวดีนั่นเอง ซึ่งเป็นการประกาศข่าวดีทั้งกับคริสตชนด้วยกัน เพื่อรื้อฟื้นความเชื่อและประกาศข่าวดีแก่ผู้ที่มีความเชื่ออื่น คริสตชนจึงเข้าใจว่าพันธกิจของคริสตชนคือ การประกาศข่าวดี เพื่อเสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้า หรือเพื่อเสริมสร้างครอบครัวของพระบิดา ให้มนุษย์ทุกคนในโลกนี้อยู่ร่วมกันด้วยความรัก ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และนมัสการพระเจ้าองค์เดียวกัน

ภารกิจในสหัสวรรษที่ 3 คาทอลิกมีพันธกิจในการประกาศข่าวดี เพื่อเสริมสร้างพระอาณาจักรของความรัก ความยุติธรรม ความจริง และสันติ การประกาศนี้พระศาสนจักรในเอเชีย ถือเป็นปัญหาที่เราต้องขบคิดกันด้วยความรอบคอบ หลายคนเข้าใจว่าการประกาศก็คือโฆษณาไปประชาสัมพันธ์

ความคิดเรื่องการทำพันธกิจประกาศข่าวดีของพระศาสนจักรในเอเชีย จากทัศนคติของเอเชีย ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า ทัศนคติของชาวเอเชีย ไม่เหมือนกับชาวยุโรปหรือโลกที่หนึ่งหลายประการ อย่างแรกชาวเอเชียให้คุณค่าแก่ความหลากหลาย ในเอเชียมีวัฒนธรรมหลากหลาย และแม้แต่พระศาสนจักรในเอเชีย ก็ยังมีความหลากหลายอยู่ (สรุปสมัชชาของพระสังฆราชเอเชีย ข้อ 9) นอกจากนั้น ปัจจุบันในทวีปเอเชีย มีความสำนึกในพลังของตน เพื่อจะพัฒนาตนเองและเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น หมายความว่า ชาวเอเชียไม่รอให้อเมริกามาบอกว่าต้องพัฒนาแบบนั้นแบบนี้แล้ว เรารู้สึกว่าเรามีพลังมีความสามารถ มีคุณค่าที่เราสามารถจะนำเอามาเสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้าในเอเชียได้ นอกจากนั้น ชาวเอเชียยังมีแนวคิดที่ดี ชาวเอเชียมักจะมองปัญหาต่างๆ ในแบบองค์รวม (Holistic) คือเราไม่แยกปัญหาออกจากกัน แต่มองเห็นความเกี่ยวพันโยงใยซึ่งกันและกัน จึงจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหาความเป็นไปในสังคมแบบบูรณาการ พระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ก็ยังทรงเตือนพระศาสนจักรเอเชียว่า น่าจะนำวิธีการนี้มาแบ่งปันให้แก่ชาวโลกส่วนรวม ฉะนั้น แนวทางแห่งการทำพันธกิจคือ การประกาศข่าวดี ที่เราจะต้องประกาศให้แก่สังคมเอเชียเป็นแนวทางแบบบูรณาการ คือ แนวปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (Dialogue) และแนวเสริมพลังแก่กันและกัน (Complementary) เราต้องพยายามเอาแนวนี้มามองดูปัญหา และหาวิธีแก้ไขปัญหาของสังคมเอเชีย เพื่อจะได้เสริมสร้างสันติภาพในสังคม

ข้อสำคัญอีกข้อหนึ่งคือ นักบุญเปาโลบอกว่า การประกาศข่าวดีจะต้องมีคนพูด แต่สังฆราชเอเชียก็ได้พิจารณาว่า หากเอาแต่พูด คนอื่นก็จะหาว่าโม้ หรือเอาแต่โฆษณาก็จะหาว่าโอ้อวด เพราะฉะนั้น สำหรับชาวเอเชียแล้ว ความเชื่อไม่ได้มาจากการฟังการพูดเพียงอย่างเดียว แต่ที่สำคัญ ความเชื่อมาจากการเห็น การมอง การสัมผัสด้วยชีวิต นั่นคือ เราต้องเจริญชีวิตเป็นประจักษ์พยานทั้งชีวิต เราต้องทั้งพูด ทั้งฟัง ทั้งดู ทั้งสัมผัสด้วยชีวิต เป็นองค์รวม พระศาสนจักรเอเชียถือแนวในการประกาศข่าวดีเพื่อสร้างสันติ ถือแนวในการร่วมมือกันจากทุกหมู่ ทุกระดับ และในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะฆราวาส (ในเอกสารเก่าๆ บอกว่าฆราวาสมีหน้าที่โดยเฉพาะในงานเกี่ยวกับสังคมโลก) เพื่อเสริมสร้างสันติ ฆราวาสจึงต้องทำงานตามหน้าที่ของตนในสังคมโลก คือ ฆราวาสต้องเล่นการเมืองด้วย

ในการประกาศข่าวดีเพื่อเสริมสร้างความยุติธรรมและสันตินี้ เราชาวเอเชียรับรู้พระคุณต่างๆ ของพระจิตเจ้าที่มีอยู่ในทุกคนทุกกลุ่ม นี่เป็นแนวความคิดและแนวปฏิบัติของพระศาสนจักรเอเชียที่ได้จากการประชุมของพระสังฆราชแห่งเอเชีย (FABC) ที่บ้านผู้หว่าน เมื่อเดือนมกราคม 2543

ถ้าเราหันมามองดูพระศาสนจักรในเอเชีย มองดูสภาพในเอเชียปัจจุบันเป็นอย่างไรแล้วเราอาจเอาหลักนั้นมามองดูในเมืองไทย พระศาสนจักรเข้าใจว่า การทำพันธกิจประกาศข่าวดี ก็คือการรับใช้ด้วยความรักและเมตตา (Loving and Serving) ทีนี้ในสภาพเอเชียปัจจุบัน อะไรเป็นการท้าทายของงานรับใช้ด้วยความรักและเมตตา ประเด็นแรกคือ โลกาภิวัตน์ คำว่า โลกาภิวัตน์หมายความถึงทัศนคติ เครื่องมือ เทคโนโลยี ซึ่งในปัจจุบันทัศนคติที่ไม่ถูกต้องต่อชีวิตหลายๆ เรื่อง แพร่หลายไปอย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยสื่อต่างๆ พระศาสนจักรเอเชียบอกว่า โลกาภิวัตน์ในแง่เศรษฐกิจและสังคมมีส่วนดีอยู่บ้าง คือ ทำให้สังคมมีชีวิตที่ดีขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น แต่ก็ทำให้ประชาชนชาวเอเชียส่วนใหญ่ตามไม่ทัน ประชาชนส่วนมากถูกผลักให้ไปอยู่ชายขอบของสังคม นอกจากนั้น โลกาภิวัตน์ส่งผลกระทบในด้านวัฒนธรรมคือ ได้ทำลายคุณค่าที่ดีงาม และกำลังทำให้ครอบครัวเสื่อมสลาย เราทราบดีว่าชาวเอเชียให้คุณค่าแก่ชีวิตครอบครัวมากเพียงใด และเรากำลังเห็นชีวิตในครอบครัวกำลังเสื่อมสลายลงไปเพียงใด ฉะนั้น เพื่อจะสร้างสันติขึ้นในครอบครัวในสังคมส่วนกว้าง จำเป็นที่เราต้องทำงานเพื่อสันติ นั่นคือ ฟื้นฟูคุณค่าที่ดีงามซึ่งกำลังถูกทำลายไปนี้ขึ้นมาใหม่

นอกจากนั้น พระศาสนจักรในเอเชีย ได้มองเห็นสถานการณ์ทางการเมือง เราบอกว่าปัจจุบันนี้ ประชาธิปไตยกำลังเบ่งบาน แต่ยังมีการปฏิบัติที่น่าสงสัย ประชาชนมีส่วนร่วมน้อย ฉะนั้น คริสตชนต้องตื่นตัวในด้านการเมืองเพื่อให้คุณค่าที่ดีที่เราเรียกว่า คุณค่าแห่งพระวรสารเข้าไปอยู่ในระบบการเมืองของเราด้วย และยังมองเห็นว่า ในความคิดของชาวเอเชียปัจจุบัน มีลัทธินิยมระบบทหารที่สนับสนุนความรุนแรง เพื่อระงับความขัดแย้ง มีการค้าอาวุธ มีการเสริมกำลังกองทัพ ทำให้มีสงครามบ่อยๆ สิ่งเหล่านี้ ล้วนท้าทายพระศาสนจักรให้ร่วมมือกับศาสนาอื่นเพื่อสันติภาพ นี่เป็นสิ่งที่สำคัญ พระศาสจักรในเอเชียเน้นการร่วมมือกับศาสนาอื่น เพราะถือว่าการที่ทวีปเอเชียมีวัฒนธรรมและศาสนาที่หลากหลายเป็นสิ่งที่งดงาม เป็นสิ่งที่เราควรสนับสนุนส่งเสริม เพื่อเสริมสร้างสันติภาพ และเราควรร่วมมือจากพื้นฐานของการเคารพในความแตกต่างทางความเชื่อของเขา โดยที่เราเชื่อว่าพระจิตเองก็กำลังทำงานในศาสนาอื่นด้วย

ในเมืองไทยเราคงจะมองเห็นว่า คุณค่าหลายอย่างที่เรามีกำลังเสื่อมสลายลงไปโดยทางสื่อมวลชน เรามีสำนึกในความสำคัญอันนี้หรือเปล่า มีสำนึกในด้านการให้การศึกษาทางด้านสื่อสารมวลชน (Media Education) หรือไม่ เรารู้จักสอนประชาชนให้รู้จักใช้สื่อสารมวลชนให้มีจิตสำนึกในเรื่องการปลูกฝังคุณค่าที่ดีหรือไม่ พระศาสนจักรในเอเชียยังได้พูดถึงเรื่องโรงเรียน ปัจจุบันนี้เราต้องยอมรับว่า โรงเรียนคาทอลิกมีอิทธิพลในสังคมไทยมาก ซึ่งน่าจะถือได้ว่า เป็นพระคุณที่พระได้ให้แก่พระศาสนจักรไทย เพื่อใช้ในการประกาศข่าวดีเสริมสร้างสันติภาพหรือตรงกันข้ามเรากำลังถูกชักจูงให้ทำตามที่สังคมกำลังทำอยู่คือ เราให้โรงเรียนของเราเป็นแหล่งอุ้มชูความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อหรือไม่ และยิ่งเรากำลังต้องการ ISO ทำให้เราไปให้ความสนใจในการเตรียมสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เพื่อให้ได้ ISO จนละทิ้งหลักการที่ว่า "Student Center" เพื่อเสริมสร้างสันติภาพในสังคม เราต้องปลูกฝังคุณค่าที่ดี เราต้องใช้กำลังของเราเท่าที่มี ใช้ปัญญาใช้ขุมทรัพย์เท่าที่เรามี

เราต้องยอมรับว่าประชาชนโดยทั่วไป แม้แต่ราชการยังยอมรับในอิทธิพลหรือในความสามารถของเรา ในการทำงานเพื่อพัฒนาสังคม พัฒนาเริ่มตั้งแต่สงเคราะห์จนกระทั่งการรวมกลุ่มชาวบ้านเพื่อสนับสนุนชาวบ้านให้ร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งในเวลานี้ที่กำลังตื่นตัวอยู่ คือ รู้จักการทำงานแบบกลุ่มออมทรัพย์ อันมาจากวิกฤตการเงินของประเทศ โดยใช้หลักคุณธรรมเข้ามาเป็นหลักยึดที่สำคัญ ฉะนั้น เราควรทุ่มกำลังที่จะพัฒนาศักยภาพส่วนนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นทางเลือกที่เข้มแข็งในการพัฒนาสังคมต่อไป


***************************

ที่มา : บทบรรยายในโอกาสสัมมนาศึกษา "สารวันสันติสากล 2000", วันที่ 20 มีนาคม 2543 คณะกรรมการยุติธรรมและสันติฯ

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >