หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow อารมณ์.. เจ้าเอ๋ย : ชัยยศ ยโสธโร
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 92 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

อารมณ์.. เจ้าเอ๋ย : ชัยยศ ยโสธโร พิมพ์
Wednesday, 15 September 2010

อารมณ์.. เจ้าเอ๋ย


โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 11 กรกฎาคม 2553

ขณะที่ชายคนหนึ่งกำลังขัดล้างรถอย่างขะมักเขม้น ลูกชายวัย 4 ขวบ ก้มลงเก็บก้อนหินขึ้นมา แล้วบรรจงขูดขีดไปบนด้านข้างของตัวรถ พักใหญ่ต่อมา... เมื่อพ่อได้ยินเสียงครูดของหินก็เกิดความฉุนเฉียว โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ เขากระชากมือลูกมาตีลงบนมือน้อยๆ นับครั้งไม่ถ้วน โดยไม่ทันนึกว่าตนได้ถืออะไรอยู่ในมือ ณ โรงพยาบาล.. นิ้วลูกชายถูกตัดออก เพราะกระดูกแตก จนหมอไม่สามารถเชื่อมต่อได้ ขณะที่พ่อเข้ามาดูลูกในห้อง ลูกมองพ่อด้วยสายตาปวดร้าว แล้วถามพ่อว่า "เมื่อไร นิ้วหนูจึงจะยาวเหมือนเดิม?"

คำถามนั้น...เหมือนคมมีดกรีดลึกลงไปในหัวใจผู้เป็นพ่อ เขารู้สึกละอายใจ รู้สึกผิด และเสียใจใน การกระทำของตนอย่างไม่อาจให้อภัย เขาจึงกลับไปที่รถ เตะมันสุดแรงเกิดโดยไม่ยั้งจนเหนื่อยหอบ แล้วทรุดตัวลงนั่งข้างรถอย่างเศร้าใจ สายตาพลันเหลือบไปเห็นรอยขูดขีด เขาเบิกตากว้าง! จ้องมอง คำว่า "รักพ่อ" น้ำใสๆ เริ่มเอ่อ แล้วไหลอาบแก้ม เขาเอามือปิดหน้า ร้องไห้สะอึกสะอื้นราวกับใจจะขาด รุ่งขึ้น... ชายคนนั้นได้ฆ่าตัวตาย

ข้างต้น เป็นเนื้อหาจากฟอร์เวิร์ดเมลล์ เนื้อความไม่ได้อ้างอิงว่าเรื่องจริงหรือเรื่องแต่ง แต่ยุคสมัยที่ความรุนแรง ความเร็ว และความเป็นบริโภคนิยม เรื่องราวข้างต้นก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ รถยนต์เป็นภาพลักษณ์ที่สื่อสารความเป็นตัวตนของผู้เป็นเจ้าของ การมีรถยนต์ในครอบครอง มิได้มีความ หมายเพียงแค่การมียานพาหนะขับขี่ แต่คือการสะท้อนฐานะทางสังคม เศรษฐกิจ และรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของ และสิ่งสำคัญรถยนต์กลายเป็นสิ่งสะท้อนความมีตัวตน ตัวตนที่ต้องการความใส่ใจ และการยอมรับจากคนรอบข้าง จากผู้คนในสังคม

เราทุกคนต่างปรารถนาสายสัมพันธ์กับผู้อื่น การเชื่อมโยงและความผูกพัน อารมณ์ความรู้สึกคือ สิ่งที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงกับผู้อื่น เราไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวลำพังได้ และด้วยอารมณ์ความ รู้สึกนี้เองที่ทำหน้าที่สร้างสีสันให้กับชีวิต สีสันของความทุกข์ โศกเศร้าระคนน้ำตา พร้อมด้วยสีสันของความสุข เริงร่าสดใส ชีวิตดูเป็นเรื่องราวน่าตื่นตา น่าสนใจ และน่าติดตาม น่าค้นหายามเมื่อมีอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาประสานในชีวิต แต่สีสันของอารมณ์ความรู้สึกทำงานอย่างไร เพราะจากเรื่องราวข้างต้น ข้อสรุปที่พึงได้คือ ชายคนนี้ดูเป็นทาสของอารมณ์ความรู้สึกที่มาบงการชีวิตของตนให้กระทำในสิ่งที่อารมณ์ขับเคลื่อน และเมื่อเราตกเป็นทาสของอารมณ์ สิ่งที่เรามักพบในชีวิตคนทั่วไป คือ ภาวการณ์ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดการยั้งคิด และหลายเรื่องผลลัพท์ก็คือ การกระทำที่เกินกว่าเหตุ

อารมณ์ความรู้สึกเป็นพลังงานปฏิกิริยาที่ก่อเกิด ยามเมื่อเราประสบเหตุการณ์หรือเรื่องราวหนึ่งๆ ในเหตุการณ์เดียวกันแต่ภายใต้บริบทที่ต่างกันก็อาจทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกที่ต่างกันได้ ดังเช่น "เธอทำแบบนี้ แย่มาก" หากเป็นคำพูดของหัวหน้างาน เราอาจมีชุดปฏิกิริยาแบบหนึ่ง แต่หากคำพูดนี้มาจากคนที่เรารัก ปฏิกิริยาตอบโตอาจแตกต่างชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ยามเมื่ออารมณ์ก่อเกิด ปฏิกิริยาร่างกายมักเกิดขึ้นด้วย เช่น อารมณ์ กลัว โกรธ เราพบว่า การหายใจของเราสั้น ถี่ ความดันเลือดพุ่งสูง ร่างกายเกร็ง ตื่นตัว หรือเมื่อยามที่เรามีความสุข ปฎิกิริยาร่างกายคือ ผ่อนคลาย ร่างกายเบา อัตราการเต้นของหัวใจปกติ ฯลฯ แท้จริงอารมณ์ความรู้สึกคือ ปฏิกิริยาที่ร่างกายมีต่อชุดความคิดหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้น ยามเมื่อประสบเหตุการณ์ใดๆ ก็ตามที่มากระตุ้นชุดความคิดหนึ่งๆ ให้ออกมาทำงาน

ดังเช่น "ฉันเป็นคนไม่สำคัญ" ชุดความคิดนี้ก่อปฏิกิริยาความรู้สึก คือ ความรู้สึกหดหู่ เศร้า ขณะที่พฤติกรรมที่เกิดขึ้นด้วย คือ การถอยห่าง ไม่กล้าแสดงออก หรือชุดความคิดในทำนอง "ฉันเป็นที่รักของคนรอบตัว" ปฏิกิริยาความรู้สึก คือ การเชื่อมั่นในตนเอง สดใส ร่าเริง ขณะที่พฤติกรรมที่สะท้อน คือ การยึดถือความต้องการของตนเองเป็นศูนย์กลาง อิทธิพลของความคิดนี้เองที่ก่อเกิดปฏิกิริยาอารมณ์ความรู้สึกซึ่งเป็นแหล่งพลังขับเคลื่อนชีวิตให้โลดแล่นและขับเคลื่อน หากเราสังเกตตนเองให้ดี ยามเมื่ออารมณ์ก่อเกิด เราสัมผัสได้ถึงพลังงานที่ผุดขึ้นกลางหน้าอก เป็นพลังที่อัดแน่นและส่งแรงกระตุ้นให้เราตอบโต้ โดยคาดหวังว่า เมื่อเราตอบโต้ออกไป พลังที่อัดแน่นนี้จะถูกระบายออก หรือคลี่คลายไป พลังจากอารมณ์ความรู้สึกจึงเป็นสีสันและแรงขับเคลื่อนที่ช่วยสร้างสรรค์ผลงาน สร้างสรรค์และกระทำการสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นโดยอาศัยแรงความคิดและเรี่ยวแรงจากร่างกายประสานกันทำงานภายใต้ชุดความคิดที่กำกับ และมีอารมณ์เป็นสีสันขับเคลื่อนตามอารมณ์นั้น

อีกเรื่องราวหนึ่งจากฟอร์เวิร์ดเมลล์ที่สะท้อนปฏิสัมพันธ์ของอารมณ์ความรู้และความคิด ก็คือ เด็กชายตาบอดนั่งหน้าเศร้าสร้อยอยู่ที่ข้างฟุตบาต ข้างกายของเขามีป้ายข้อความ เขียนด้วยลายมือโยกโย้ " ผมตาบอด ช่วยผมด้วย" แต่ดูเหมือนว่า ผู้คนจำนวนมากที่เดินผ่านจะมีธุระวุ่นวายเกินกว่าจะสละเศษเหรียญ และใส่ใจเด็กน้อย กระนั้นก็มีชายชราที่หยิบยื่นเศษเหรียญใส่ลงในกระป๋องของเด็กน้อย ชายชรายังก้มลง พลิกอีกหน้าของป้ายข้อความและขีดเขียนอะไรบางอย่าง จากนั้นก็วางลงชูป้ายข้อความใหม่ เพียงไม่นานผู้คนที่เดินผ่าน จำนวนไม่น้อยต่างหยุดพักและหยิบยื่นเศษเหรียญให้เด็กน้อย สร้างความสงสัยและแปลกใจให้เด็กน้อยมาก ข้อความที่ถูกแก้ไขคืออะไร

ไม่นาน ชายชราคนนั้นเดินผ่านเพื่อดูสิ่งที่เกิดขึ้น เด็กน้อยตาบอดจำเสียงฝีเท้าจึงได้ทักถามถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่าข้อความที่ถูกเขียนใหม่คืออะไร ชายชราบอกเล่าด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนว่า ลุงเขียนในสิ่งที่เจ้าบอกนั่นแหละ เพียงแต่ลุงเขียนอีกแบบ ลุงเขียนว่า "วันนี้ ท้องฟ้าแจ่มใสมากนะครับ เสียดาย ผมมองไม่เห็น" ป้ายนี้ทำให้ผู้คนหลายคนตระหนักรู้ถึงคุณค่าของสิ่งที่พวกเขามี และพวกเขาก็เลยอยากขอบคุณหนูที่ช่วยเตือนให้พวกเขารู้คุณค่าเรื่องเล็กๆ เช่นนี้ที่หลายคนอาจมองข้ามไป

ในเรื่องราวเดียวกัน น่าสนใจว่ามุมมองที่ต่างกันกลับก่อเกิดผลลัพท์ที่ต่างกัน ข้อความแรกของเด็กน้อย ผู้คนที่รับรู้อาจรู้สึกสงสาร เห็นใจ หรืออาจรู้สึกเพิกเฉย ละเลย ขณะที่ข้อความประการหลังกลับสร้างสำนึกของความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และสร้างความตระหนักรู้ในคุณค่าของการมองเห็นโลกที่สดใส แน่นอนว่าจากมุมมองที่ต่างกัน สร้างปฏิกิริยาอารมณ์ความรู้สึกที่ต่างกัน

โยมนิโสมนสิการ การมีมุมมองความคิดที่แยบคาย ฟังดูอาจไม่ทันสมัยเหมือนการมีความคิดเชิงบวก ศัพท์ยอดนิยมที่ใช้ในแวดวงสังคม แต่สิ่งนี้ยังหมายถึงการยอมรับความจริงโดยไม่บิดเบือน และสิ่งสำคัญคือ การมุ่งเพื่อการสร้างกุศลจิตและตระหนักรู้ในธรรมะ เพื่อจิตใจไม่ตกเป็นทาสอารมณ์ ทาสของความคิด ทาสของกิเลส จนชีวิตขาดอิสรภาพที่แท้จริง มาฝึกโยมนิโสมนสิการกันเถอะ

โดย.....ชัยยศ ยโสธโร


ที่มา คอลัมน์ มองย้อนศร : http://www.budnet.org/

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >