หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 69 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ความรัก ความจริง ความยุติธรรม จากมุมมอง ๓ ศาสนา : ศาสนาอิสลาม พิมพ์
Tuesday, 10 August 2010

Image

ความรัก ความจริง ความยุติธรรม : ในห้วงเวลาฟื้นฟูสังคม

จากมุมมอง ๓ ศาสนา

คุณวินัย สะมะอุน นักวิชาการมุสลิม

Imageความรัก ความจริง ความยุติธรรม สิ่งเหล่านี้รวมเรียกว่า "สัจธรรมแห่งชีวิต" เป็นสิ่งซึ่งกำลังสูญหายไปจากสังคมของเรา เป็นต้นเหตุที่จะทำให้เกิดปัญหามากๆ เมื่อตอนที่เกิดเหตุการณ์เสื้อแดง มีนักข่าวช่องหนึ่งไปสัมภาษณ์ผมประมาณสักชั่วโมงได้ ซึ่งเป็นเรื่องการเมือง ส่วนใหญ่เรามักจะเข้าใจว่าไม่น่าจะมาเกี่ยวข้องกับเรื่องของศาสนา แต่ผมเรียนให้ทราบว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เราจะต้องเกี่ยวข้อง จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ ผมได้ให้สัมภาษณ์ไปว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับการชุมนุม ไม่ว่าจะมองในทางศาสนาหรือมองในทางกฎหมายก็ตาม การชุมนุมไม่ใช่เรื่องผิด เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นคนที่เขาไปชุมนุมกันอยู่ตรงนั้น ไม่มีใครเขาบอกหรอก พอเข้าไปชุมนุมแล้วจะต้องไปทำเหตุรุนแรง เผาบ้านเผาเมือง แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เราก็มีศาลที่จะมาตัดสิน แต่เราจะไปตัดสินกันเองก็คงจะไม่ได้ ผมก็พูดไปอย่างนั้น นักข่าวเขาก็บอกว่า เอ๊ะ ผมนี่เป็นพวกเสื้อแดงมั้ง ไปสรุปกันสั้นๆ แค่นั้น ผมก็เลยบอกเขาว่า คุณสัมภาษณ์ผมมาประมาณชั่วโมงเท่านั้น เวลาเอาไปออกจริงๆ กี่ตอนก็ตาม ต้องตัดตอนเอา ซึ่งทำให้คนเขาสงสัยเหมือนกับคุณสงสัยผม เพราะการที่คุณสงสัยแบบนั้นก็เนื่องมาจากว่าคุณไม่รู้จะเข้าข้างไหน หรือว่าคุณจะเป็นเสื้อแดงซะเอง ผมพูดในเชิงที่จะให้ก่อเกิดทัศนคติที่ดีระหว่างกันและกัน ถ้าผมจะพูดไปซ้ำเติมเสื้อแดง ก็ไม่ใช่ เพราะมันจะทำให้เหตุการณ์รุนแรงขึ้น หรือถ้าหากว่าผมจะไปพูดเพื่อเข้าข้างหรือว่าช่วยทางฝ่ายรัฐบาล มันก็จะไปซ้ำเติมเหตุการณ์

เพราะฉะนั้น ผมจึงเกิดความเข้าใจขึ้นมาว่า สิ่ง ๓ ประการนี้ ไม่ว่าจะเป็นความรัก ความจริง หรือความยุติธรรม ล้วนแล้วแต่เป็นสัจธรรมของชีวิต และเรามีสิทธิที่จะมองออกมาในรูปเดี่ยวๆ ความรักคืออะไร ความจริงคืออะไร และความยุติธรรมคืออะไร แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเราจะมองว่า ๓ สัจธรรม / ๓ คุณธรรม ตรงนี้มันอยู่ในหัวใจของเราเหมือนๆ กัน มันไม่เคยแยกกันอยู่ ว่าความรักอยู่ปอดทางขวา ความรักอยู่ที่หัวใจ ความเป็นธรรมอยู่ที่ปอดข้างซ้าย อะไรทำนองนั้น แต่เท่าที่ผมเห็นว่าเราจะต้องคิดให้เป็นก็คือ ต้องคิดว่ามันออกมาจากหัวใจดวงเดียวกันทั้งนั้น แล้วเจ้าคุณสมบัติของสัจธรรมของชีวิตนี้ก็เป็นสัจธรรมที่เกิดขึ้นในจิตใจของเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ถ้าอย่างนี้วิธีการแก้ไขปัญหาก็คือ เราจำเป็นต้องมาแก้ไขที่ปัญหาหัวใจของเรา ไม่ต้องไปแก้ที่คน แต่ละคนที่มีความรู้สึกอย่างนี้ หรือที่มีความรู้สึกตรงกันข้ามกับ ๓ ประการนี้ก็ตาม ถ้าหากว่าใครมีความรู้สึกตรงข้ามก็แสดงว่า คนนั้นเป็นคนที่ไม่เข้าใจในเรื่องของสัจธรรมของชีวิตที่จะนำไปสู่สิ่งที่ดีงาม ถ้าหากว่าไปสนใจในเรื่องตรงข้ามกับ ๓ ประการนี้ก็เข้าถึงสัจธรรมเหมือนกัน แต่สัจธรรมตัวนี้มันพาไปสู่ความเลวร้าย แต่สัจธรรมของชีวิตมนุษย์เรา กว่าจะบรรลุสู่ความสะอาดหมดจดก็คงจะต้องใช้วิธีการที่ลึกขึ้น แต่ในส่วนที่เราจะต้องเข้าใจในตัวของเราเองก็คือว่า ทั้ง ๒ ส่วนนี้มันสลับกันไปสลับกันมา และหน้าที่ของเราก็คือ ทำอย่างไรที่จะยับยั้งไอ้ส่วนที่มันเลว ให้เหลือแต่ส่วนที่เป็นความดี นั่นคือ เราได้ความบริสุทธิ์ นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าเราจำเป็นต้องทำความเข้าใจ

Imageเมื่อสักครู่นี้ผมนั่งฟัง อ.อคิน พูดไปตั้งแต่ตอนต้น พูดถึงเรื่องของชุมชน ผมก็เห็นว่า เรื่องของชุมชนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการที่เราจะสร้างสิ่ง ๓ ประการนี้ เริ่มตั้งแต่จุดแรกของประเทศ คือ ไม่ใช่สร้างลอยๆ กันขึ้นไป โดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือมหาดไทย อันนั้นอาจจะสร้างมาเป็นเชิงนโยบายก็ว่าไป แต่ในขณะเดียวกัน สถาบันที่เกิดขึ้นกับองค์กรชุมชน ผมว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่รัฐจะต้องให้ความสนใจ และก็ความเป็นหนึ่งของชุมชนเรามองกันที่ไหน ผมว่าถ้าเราจะไปมองกันที่กฎหมาย ก็ไม่ใช่ เพราะว่ากฎหมายมีฉบับเดียว ลงโทษเหมือนกัน มองกันที่รัฐธรรมนูญ ผมก็ว่าไม่ใช่ มันก็กฎหมายชนิดหนึ่งเหมือนกัน แต่เราจำเป็นจะต้องมองลงไปที่ความแตกต่างของชุมชน เพราะชุมชนไทยเรา เริ่มต้นกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนกระทั่งถึงกรุงศรีอยุธยา พอถึงกรุงศรีอยุธยานั้นมีคนจำนวนมาก คนเชื้อชาติต่างๆ ประมาณ ๑๐ กว่าเชื้อชาติ แล้วคนที่มีศาสนาต่างๆ อย่างน้อยที่เราเข้าใจกันเวลานี้ รัฐบาลก็ให้การสนับสนุนและให้ความสำคัญ ก็มี ๕ ศาสนาด้วยกัน ความหลากหลายและความแตกต่าง มันไม่ได้เกิดขึ้นมาในขณะนี้ ก่อนหน้านี้ไปจนถึงกี่ศตวรรษ กี่อาณาจักรก็ตาม เราจะเห็นว่า นั่นคือความแตกต่างที่มีอยู่ก่อนแล้ว เป็นแต่เพียงว่าเราจัดการกับความแตกต่างอย่างไม่เป็นสัจธรรม ไม่ได้เอาความรักไปจัดการ ไม่ได้เอาความจริงไปจัดการ หรือความจริงก็เป็นความจริงที่ฉันเชื่อแต่ไม่ยอมรับความจริงที่ท่านเชื่อ มันจึงไม่เกิดความเป็นธรรม ด้วยเหตุนี้ปัญหาก็ตามติดกันขึ้นมามากมายเหลือเกิน

ในหลักความเชื่อของอิสลามนั้น เราสอนในเรื่องของ ๓ ประการ เรื่องของความไว้วางใจ อย่างของพระไพศาล คนที่จะเป็นเพื่อนกัน คุณก็ต้องไว้ใจผม ผมก็ต้องไว้ใจคุณ คนที่จะขึ้นไปเป็นรัฐบาล คุณก็ต้องไว้ใจประชาชน ผมเลือกคุณ ผมก็ต้องเชื่อในคุณ เพราะถ้าหากว่าเราเริ่มต้นด้วยมิตรภาพ จะเป็นมิตรภาพระหว่างฝ่ายปกครองและฝ่ายถูกปกครอง มิตรภาพระหว่างพ่อแม่กับลูก หรืออะไรก็ตาม ต้องเริ่มต้นที่ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ถ้าหากว่าเราไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกันแล้ว ผมคิดว่าปัญหาก็เกิดขึ้น ในที่สุดจึงเกิดปัญหาเสื้อแดงกันไม่รู้จักจบรู้จักสิ้น ปัญหารากเหง้าของเรา จริงๆ มันเป็นปัญหาที่เราเพียงแต่พูด เราก็เข้าใจ คือ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวปัญหาที่ทำให้เกิดปัญหา แต่ไม่ใช่อยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่งและไม่ใช่ตัวเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วเราจะเอาเหตุการณ์นั้นมาเป็นต้นเหตุของงานเท่าไหร่ก็ตาม รัฐบาลกี่ยุค กี่สมัย ที่ผ่านมาแล้วไม่สามารถจะแก้ปัญหาได้ ก็เพราะว่าไม่พยายามที่จะมองย้อนหลังไปจนกระทั่งไปเจอกับสาเหตุของปัญหาต่างๆ เราไม่เคยสนใจ มีแต่องค์กรศาสนาเท่านั้น

Imageอย่างในชุมชนของเรา ชุมชนมุสลิมก็มีมัสยิดที่ผมเป็นอิหม่าม "อิหม่าม" ก็เป็นหัวหน้าของชุมชนมุสลิมที่อยู่ในมัสยิด ถ้าสังคมชาวพุทธก็มีวัด สังคมของชาวคริสต์ก็มีโบสถ์ เรามีองค์กรชุมชน ในเมื่อเรามีองค์กรชุมชน ถ้าเราจะไปมองดูรัฐธรรมนูญแล้ว เราก็จะเห็นอย่างชัดเจนเลยว่า ตั้งแต่เรื่องสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา ไปจนกระทั่งเรื่องของสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นต่างๆ นานา ผมคิดว่าพอแล้วสำหรับที่เราจะเอามาศึกษา เพื่อใช้ และก็เอามาสอน มาสั่ง มาอบรม แล้วก็มาจัดการกัน ผมว่าสิ่งเหล่านี้เพียงพอแล้วสำหรับกฎหมาย สำหรับตัวรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดความหลากหลายที่ผมเรียนว่า มันมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กระทั่งต้นรัตนโกสินทร์ และปัจจุบันนี้ ความแตกต่างหลากหลายเหล่านั้นมันอยู่อย่างนี้ พี่น้องมุสลิมเราก็เป็นเพื่อนชาวพุทธอยู่อย่างนี้มาตลอด ส่วนเหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนกระทั่งเราไปคิดว่า พุทธกับมุสลิมทะเลาะกัน เกลียดกัน มุสลิมกับคริสต์ก็ต้องเกลียดกัน เพราะอ้างปัญหาที่เกิดขึ้นตรงนั้นๆ ผมว่าถ้าคิดอย่างนี้มันไม่ไหว มันจะหยุดอยู่อย่างนี้ และก็จะเกิดเหตุการณ์มากมายตามมาคือ ปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนั้นที่ทำให้คน ๒ กลุ่มทะเลาะกัน ถ้าหากว่าเราเอาคำว่า เรื่องของความรับผิดชอบในทางศาสนาออกไป ก็เหลือแต่คนอย่างเดียว ไม่ได้บอกกันเลยว่าคนนั้นนับถือศาสนาอะไร พอเสร็จเรียบร้อยแล้วเขาก็จะไม่ไปซัดให้เป็นเรื่องของศาสนา อันนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ผมคิดว่า เราจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นแก่บรรดาผู้คนที่อยู่ในท้องถิ่น องค์กร มัสยิดที่ผมดูแลอยู่ มี "สัตบุรุษ" แปลว่า เป็นสมาชิกที่เป็นมุสลิม สมาชิกที่อยู่กับมัสยิดเราจะมีการจดทะเบียนอยู่ประมาณ ๒ พันครอบครัว ถ้าคิดเป็นประชากรก็เกือบ ๒ หมื่นคน แล้วสิ่งเหล่านี้เมื่อมันเกิดขึ้นมา มุสลิมเป็นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ตรงนั้น ผมอยู่ที่มีนบุรี แต่เดิมอยู่ที่ไทรบุรี บรรพบุรุษของผมมาเป็นเชลยสยาม แล้วผมนี่เป็นลูกเชลยรุ่นที่ ๔ ได้พยายามจะบอกให้รู้ว่า อดีตไม่ต้องสนใจหรอก เพราะเป็นเรื่องคนสมัยโน้น แต่เราในปัจจุบันจะทำอะไรของเราดีที่สุดขึ้นได้ สิ่งหนึ่งที่ผมเน้น จะได้เป็นกรณีศึกษาไปด้วยก็คือว่า ในสังคมของมนุษย์ และสังคมปัจจุบันของท้องถิ่นเรา ไม่ได้มีกันแต่เฉพาะพี่น้องมุสลิม แต่ว่าตรงนั้นน่ะมีคนที่นับถือศาสนาพุทธอยู่ด้วย และมีพี่น้องชาวคริสต์อยู่หน่อย และพอผมไปสืบดูใกล้ๆ ก็มีคนยิวเข้าไปอยู่ด้วยครอบครัวหนึ่ง ผมก็บอกเขาอยู่กันอย่างไร เราเป็นชนส่วนใหญ่ของพื้นที่ ถ้าหากว่าเราจะไปคิดกันที่อารมณ์ของเรา เราคงจะไปเหยียดหยาม ไปดูถูกเขา แล้วเราคงจะไปรังแกเขา ในฐานะที่เราเป็นคนส่วนใหญ่กว่า ผมใช้เครื่องกระจายเสียงที่เรียกว่า "เสียงตามสาย" ประมาณ ๗๐๐ กว่าลำโพง ที่ต้องอยู่ในครอบครัว ๒,๐๐๐ กว่าครอบครัว ผมพูดตอนเช้าทุกเช้าประมาณชั่วโมงหนึ่ง แล้วผมก็ได้บอกให้ชาวบ้านเข้าใจว่า ในศาสนาอิสลาม ในอัลกุรอานบัญญัติเอาไว้เลยว่า พระเจ้าได้สร้างคนที่มีความแตกต่างในทางเผ่าพันธุ์ หลากหลายเลยทีเดียว และก็ลงท้ายเหตุผลที่พระเจ้าได้สร้างความหลากหลายให้เกิดขึ้นในสังคมมนุษยชาติ พระเจ้ากำหนดไว้ชัดเจนว่า "แต่ละกลุ่มนั้นต้องมาทำความรู้จักซึ่งกันและกัน ไม่ใช่อยู่กันแบบหันหลังให้กัน ไม่ใช่อยู่กันแบบดูถูกกัน แต่อยู่กันเพื่อท่านทั้งหลายมาทำความรู้จักซึ่งกันและกัน คนเราในเมื่อมาทำความรู้จักซึ่งกันและกัน เมื่อรู้จักกันก็ต้องไว้ใจซึ่งกันและกัน มีความรักซึ่งกันและกัน และต้องมีความเมตตาซึ่งกันและกันอย่างแน่นอน" ถ้าหากว่าเราทำความรู้จักซึ่งกันและกัน

Imageแต่ในสังคมเล็ก สังคมใหญ่ สังคมชนบท หรือสังคมเมืองก็ตาม เรามักจะอยู่กันแบบไม่พยายามที่จะหันมาทำความรู้จักสังคมในตัวเมือง เรามักจะเห็นว่าอยู่ห้องแถวติดกัน บางทีไม่รู้จักกัน แต่สังคมชนบท อย่างสังคมบ้านเราเรียกคนชนบท ทำนา ทำการค้า ก็เป็นสังคมชนบทอย่างปัจจุบันนี้ก็เป็นสังคมชนบท เพราะฉะนั้นทุกคนจึงต้องทำความรู้จักซึ่งกันและกัน และเมื่อทำความรู้จักซึ่งกันและกัน ความรักมักเกิดขึ้น สิ่ง ๓ ประการ ผมว่าเริ่มต้นด้วย ทำความรู้จักกัน แล้วไมตรีเกิดขึ้นมา แล้วความรักมันก็จะตามมา ในอัลกุรอานย้ำเหลือเกินว่า ความรักอย่างเดียวไม่พอต้องมีความเมตตาพ่วงด้วย เพราะถ้าหาก ว่าเรามีแต่เพียงความรัก บางทีความรักเราจะไปแปลว่าเป็นเรื่องของกามารมณ์ก็ได้ และส่วนใหญ่ในโลกของทุนนิยม เราก็มักจะแปลความรักว่าเป็นเรื่องกามารมณ์ เป็นเรื่องของการรักทรัพย์สมบัติ เป็นเรื่องของการทำธุรกิจของตัวเองให้เต็มที่ เพราะฉะนั้นในคัมภีร์อัลกุรอานจึงเน้น ๒ คำนี้ ในภาษาอาหรับแปลว่า ความรัก ความเมตตา ทั้ง ๒ อย่างต้องไปด้วยกันเลย ถ้าเรามีแต่ความรักอย่างเดียว ไม่มีความเมตตา ความลำเอียงจะเกิดขึ้น และในคัมภีร์อัลกุรอานก็ได้สอนอีกว่า อย่าเกลียดกัน เพราะเกลียดกันนั้นจะทำให้หมดความศรัทธา สร้างความรักและขจัดความเกลียด ๓ คำนี้อยู่ในใจของมนุษย์

ทีนี้ปัญหาที่เกิดเวลานี้ก็เนื่องมาจาก เราไม่เข้าใจความทุกข์ ที่ผมว่านี้ ผมสกัดเอามาจากทฤษฎีที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลาม เราก็จะมองเห็นเลยว่า ปัญหาในเรื่องของจิตสำนึก ปัญหาในเรื่องของสิ่งที่จะเกิดขึ้นมา เราค้นลงไปให้พบ เข้าไปถึงกิจจะของคุณธรรมต่างๆ ที่ศาสนาทุกศาสนาสอนเหมือนกันหมด คือ ความรัก เพราะ ๓ ศาสนานั้นสอนเหมือนกัน แล้วก็อย่าไปเกลียด เราก็สอนเหมือนกัน ไม่มีอะไรที่แตกต่างกันเลย แตกต่างกันเป็นแต่เพียงว่า มีชุดจีวร มันเน้นเรื่องความแตกต่างของรูปแบบภายนอกเท่านั้นเอง แต่พอเราสกัดมาส่วนภายใน หลายอย่างเหลือเกินที่เรามารวมกันได้ และเรื่องเหล่านี้ไม่ได้สังกัดในเรื่องของศาสนาเลย ความรัก ความจริง ความยุติธรรม แต่ละคนเขาก็มีอย่างนี้ เป็นแต่เพียงว่าความแตกต่างกันในเรื่องคำสอนของศาสนาเท่านั้นที่ทำให้เราต้องรักษาอัตลักษณ์ของเราเอง ผมก็ต้องแสดงอัตลักษณ์ของมุสลิม แต่ผมก็ไม่ได้เกลียดชาวพุทธ ไม่เกลียดชาวคริสต์ อัตลักษณ์ของพุทธก็ต้องมี เราบอกจะมารักกันจนกระทั่งสัญลักษณ์นั้นหายไปเลยหรือ ความรักแค่อย่างนั้นหรือ รักจนกระทั่งไม่ต้องมีสัญลักษณ์อะไรแล้ว มันก็ไม่ใช่เหมือนกัน เราต้องมีสัญลักษณ์ของแต่ละคน ชาวคริสต์แต่งตัวแบบชาวคริสต์ พิธีกรรมแบบชาวคริสต์ แต่เราก็มีสิ่งที่อยู่ข้างใน ภายในของเราเหมือนกัน ผมว่าไม่แตกต่างอะไรกันเลย ภายนอกพิธีกรรมต่างๆ ที่อาจจะแตกต่างเท่านั้น แล้วถามว่า ความแตกต่างนั้นเราจะทำลายมันหรือเปล่า ก็ไม่ใช่ ก็รักษาอย่างนั้นเป็นเอกลักษณ์ของเรา และเป็นสิ่งที่พระเจ้าประทานให้ เป็นแต่เพียงว่าเมื่อพระเจ้าประทานความหลากหลายมา แต่เราไม่รู้จุดหมายของพระเจ้า แล้วก็ไปนั่งทะเลาะกัน เราไม่พยายามมาสร้างการรู้จักซึ่งกันและกัน ก็แปลว่าจะต้องมีการรู้จักในจิตซึ่งกันและกัน ทีนี้สิ่งหนึ่งที่จะตามมาจากการที่เราบีบคั้นคือ เราบีบมันจนกระทั่งมันไหล ออกมาเป็นน้ำกะทิ ออกมาแล้ว

Imageสิ่งที่ตามติดกันขึ้นมาจากคุณสมบัติ ๓ ประการ ก็จะทำให้เกิดอะไรบางอย่าง ทุกศาสนา สอนเหมือนกัน การให้ ทางศาสนา ท่านสอนเอาไว้อย่างนี้ "อย่าเป็นมือล่าง จงเป็นมือบน" สหายของท่านศาสดาถามว่า มือบนเป็นอย่างไร มือล่างเป็นอย่างไร ท่านศาสดาก็ตอบว่า "มือบน คือมือที่ให้" แสดงให้เห็นว่า การให้เป็นปัจจัยที่สำคัญในการที่จะสร้างสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า อย่างพระพุทธเจ้าท่านก็ให้ธรรมะ ให้สติ ให้ปัญญา อะไรต่างๆ นานา อย่างนี้เป็นต้น และก็อีกหลายอย่างที่เราจะต้องให้ซึ่งกันและกัน เราเรียกการให้ดังกล่าวเป็นภาษาอาหรับว่า "เศาะดะเกาะฮฺ" แปลว่า การทำทาน ผมจะยกคำพูดของท่านศาสดาสักประโยคหนึ่ง ท่านบอกว่า มนุษย์เราทุกคนสามารถที่จะให้แบบตลอดเวลา ในทุกวันที่ตะวันเดินผ่านดวงอาทิตย์ มันเดินผ่านเรา เราสามารถที่จะทำทานได้ ท่านก็สอนดังนี้ว่า หนึ่ง ท่านอยู่กับคน ๒ คน จะเป็นแฟน หรือเพื่อน หรืออะไรก็ตาม ท่านจะต้องมีความเป็นธรรม ความเป็นธรรมนั่นแหละที่จะให้ความเป็นธรรม ความยุติธรรมนั่นแหละคือ การทำทานชนิดหนึ่ง สอง ท่านบอกว่า ผู้ชายคนหนึ่งกำลังจะขึ้นไปบนพาหนะของเขา ท่านไปเห็นเขา และท่านก็ช่วยยกตัวเขาขึ้นไปบนพาหนะนั้น ก็คือการทำทาน สาม ก็คือ ยกขึ้นไป หรือว่าช่วยยกของขึ้นไป อย่างบ้านเราในปัจจุบันนี้ เวลาจะขึ้นรถเมล์ เราก็จะทำสองประการ เวลาเราเห็นคนแก่ เราจะช่วยยกพยุงตัวท่านขึ้นไป หรือเราเห็นว่าเขาถือของ เราจะมาช่วยถือ ก็เป็นการทำทานอย่างหนึ่ง ต่อไปท่านบอกว่า "คำพูดที่ไพเราะเพราะพริ้ง คำพูดที่ดี ถือเป็นการให้ทาน" และ "แต่ละก้าวเดินที่ท่านได้ก้าวเดินไปสู่การละหมาดก็เป็นการทำทาน" และอันสุดท้ายท่านบอกว่า "เมื่อท่านไปเห็นขยะอยู่บนทาง ท่านเสียเวลาก้มลงเอาขยะนั้นไปทิ้งเสีย เพื่อไม่ให้ความเดือดร้อนเกิดแก่ผู้ที่เดินหลังจากเราไป อันนั้นก็ถือเป็นการทำทาน"

เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด พอเรามาสรุปรวมยอดกันจริงๆ แล้วก็คือ คุณธรรมที่เราทุกคนจะต้องมี แล้วก็เราจำเป็นจะต้องอยู่ด้วยการให้ ไม่ได้อยู่โดยการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ให้ทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั่งให้ไมตรีจิตของเรา เวลาเจอหน้ากันก็ยิ้ม ยิ้มนั้นคือการให้ ท่านศาสดาสอนจากตรงนี้ ที่ท่านสอนเอาไว้ว่า เราไปเจอขยะชิ้นหนึ่งแล้วเราเก็บออกมาถือเป็นการให้ ยังมีอีกประโยคหนึ่งคือ อยู่ในยิ้ม "ท่านบอกว่าเวลาเราไปเจอกับใคร เราก็หัดยิ้มซะ เมื่อเรายิ้ม ผลบุญจากการยิ้ม เท่ากับเราทำทาน" ไม่ต้องไปเสียสตางค์ เสียโน่นเสียนี่กับใครหรอก แค่เพียงพอเจอใครแล้วเรายิ้ม นั่นแหละคือการทำทานแล้ว ผมมีนักเรียนที่ผมดูแลอยู่พันกว่าคน ที่มัสยิด ๓ โรงเรียน ผมจะให้คำพูดให้เขาจำเอาไว้ว่า "เวลาเจอคนให้ยิ้ม เวลาเจอขยะก็ให้เก็บ" ผมก็บอกกับเขาว่า คำขวัญ ๒ คำนี้นำไปท่องจำ

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >