หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1233 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


เข้าใจ "ความเหลื่อมล้ำ" ในสังคมไทย : ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์ พิมพ์
Tuesday, 10 August 2010

เข้าใจ "ความเหลื่อมล้ำ" ในสังคมไทย

โดย ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์ ประธานมูลนิธิชุมชนไท

Imageความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย มีมานานนมเนแล้ว ในสมัยก่อนก็มีอยู่ มันเป็นธรรมดาในสังคมตะวันออกเฉียงใต้ โดยทั่วไปเลยที่แนวความคิดเรื่องผู้ใหญ่ผู้น้อย คือถือว่า คนเกิดมาไม่เสมอกัน คนบางคนเกิดมาก็มีบุญ เรียกว่ามีบุญวาสนา ทำบุญมาแต่ปางก่อนก็อยู่ในสภาพที่ดี มีความร่ำรวย อยู่ในฐานะที่ดี มีตำแหน่งที่ดี ส่วนคนที่มีบาปมีกรรมมาก เกิดมาก็อยู่ในสภาพที่ไม่ดี สังคมไทยจึงต่างจากชาวตะวันตกตรงที่เชื่อกันว่าคนเกิดมาไม่เท่ากัน และความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น เราจะพบได้ทั่วๆ ไป ที่ผมไปพบมามันอยู่ที่ความยุติธรรมในระบอบการปกครอง การที่ถือว่าข้าราชการเป็นผู้มีอำนาจสูงกว่า ด้วยเหตุนี้บรรดาคนที่กระทำผิด คนที่มีฐานะต่ำต้อยเมื่อโดนลงโทษ คนที่มีฐานะดีก็มักจะรอดไปได้ ซึ่งผมก็เห็นมาตั้งแต่สมัยที่ผมเข้ามาทำงานครั้งแรกเกี่ยวข้องกับพวกตำรวจ อย่างคดีที่ทำ คนที่เล่นการพนัน ถ้าจะต้องติดคุก หากว่ามีเงินเอาไปให้ตำรวจก็รอดพ้นไปได้ เรื่องการเปลี่ยนผู้ต้องหาก็เปลี่ยนได้ แบบนี้เรียกว่าทำให้เกิดความไม่ยุติธรรม

ในภายหลังก็เพิ่มขึ้นและขยายตัวออกไปในท้องถิ่นหลายๆ แห่ง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ มาแล้ว ประมาณสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเราเริ่มจะพัฒนาประเทศตามแบบของอเมริกันเต็มที่ ระบบทุนนิยมเข้ามาค่อนข้างจะแรง นโยบายการพัฒนาประเทศเราให้น้ำหนักไปในด้านอุตสาหกรรมอย่างมาก ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นก็คือ ทรัพยากรที่ใช้พัฒนาก็เอามาจากในท้องถิ่น ทางด้านเกษตรกรก็ได้รับความทุกข์ยาก เมื่อก่อนนี้ ส่งข้าวออกต่างประเทศก็ต้องเสียภาษีที่เรียกว่า "พรีเมี่ยม" ซึ่งข้าวก็ต้องกดให้ราคาต่ำไว้ เพราะว่าคนจะได้เข้ามาทำงานในโรงงาน โรงงานจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าแรงสูง นโยบายของรัฐก็มีส่วนมากทีเดียวที่ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรม สมัยที่มีถนนมิตรภาพ เริ่มต้นที่จะสร้างเขื่อน ที่อื้อฉาวที่สุดคือ เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี แถวโขงเจียม ที่นั้นผมก็พบว่าชาวบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำตรงนั้น พอเขาจะสร้างเขื่อน น้ำมันจะท่วมหลายแห่ง เขาก็อพยพคนเหล่านี้ขึ้นไปอยู่ที่นิคมบนเนินเขาข้างบน ข้างล่างเขาทำเป็นอ่างเก็บน้ำ ผมเคยพบชาวบ้านในนิคมนี้ ที่ดินทำอะไรไม่ได้หรอก มันเป็นหินเป็นกรวดทั้งนั้น คุณคิดดูนะ อยู่บนนั้นแล้วมองเห็นที่ๆ เคยอยู่ต้องกลายเป็นน้ำเจิ่ง มันทุกข์ยากขนาดไหน แล้วสมัยนั้นเขาบอกว่า ขอให้เสียสละ ตอนนั้นชาวบ้านก็ไม่ได้ประท้วงกันเท่าไหร่ เขายอมนะ บอกขอให้เสียสละ เพื่อให้ชาติเจริญ สร้างเขื่อนน่าอายเพราะอย่างนี้ สมัยนั้นคนก็ยอมกันเป็นส่วนมาก ไม่ได้โต้เถียงอะไร ไปอยู่ในนิคมแต่ต้องไปหากินที่อื่น ความไม่ยุติธรรม ความเหลื่อมล้ำมันเกิดขึ้น

ทีนี้พอปัจจุบัน ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเขื่อนปากมูล การกระทำของรัฐเป็นการกระทำเพื่อส่วนกลางและเพื่อความร่ำรวยของประเทศ แต่ความร่ำรวยของประเทศไม่ได้ไปถึงคนยากจน มันอยู่ที่คนกระจุกหนึ่ง ผลที่เกิดขึ้นซึ่งปัจจุบันนี้จะรู้ว่าช่องว่างระหว่างคนยากจนกับคนรวยของประเทศเรามันไกลกันอยู่ตั้งเกือบ ๒๐ กว่าเท่า ซึ่งมันสูงมากๆ เกือบจะเรียกว่าเป็นที่สองรองจากประเทศบราซิล อ.นิธิ ท่านบอกผมว่า ถ้าความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนคนรวยมันสูงขนาดนี้ไม่มีทางที่ประเทศเราจะอยู่ได้อย่างสงบหรอก ไม่มีประเทศไหนที่จะสามารถอยู่ได้อย่างสงบถ้าหากมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูง

Imageทีนี้มาพูดถึงความเหลื่อมล้ำอย่างเรื่องที่ดิน นี่เป็นเรื่องที่ใหญ่มากที่ทำให้คนรู้สึกอึดอัดใจและไม่มีความสุข ปัญหาเรื่องการประท้วงใหญ่ที่เกิดขึ้น ที่มีเสื้อแดงอะไรพวกนี้ คือคนไม่พอใจในความไม่เป็นธรรม รู้สึกว่าตัวเองถูกเอาเปรียบในหลายเรื่อง ในความทุกข์ที่เขามีอยู่แล้ว และมีนักการเมืองเข้าไปยั่วยุและบิดผันให้มันเป็นเรื่องเพื่อจะทำให้ตัวเองได้ผลประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น มันก็เลยเกิดเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมา ทำให้เกิดจลาจล เกิดการประท้วง เกิดการฆ่ากัน นองเลือดกัน ทีนี้เมื่อเราต้องการเป็นประเทศอุตสาหกรรม เราต้องการจะเป็นประเทศที่ร่ำรวย มาตรฐานนี้ก็มาจากต่างประเทศเหมือนกันนะ ทำไมเราไม่วัดความเจริญของประเทศจากความสุขของคนในประเทศล่ะ แต่มาวัดเรื่องเงินเรื่องความร่ำรวย ความต้องการที่จะให้ประเทศก้าวหน้าเป็นประเทศอุตสาหกรรมไปได้เร็วมันจึงก่อให้เกิดความลำบากแก่คนอีกมากมาย ที่ผมเห็นๆ นี่ อย่างเรื่องการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแถวภูเก็ตและภาคใต้นี่เยอะมาก ก่อนหน้านั้นมีหลายแห่งที่รัฐต้องการจะสร้างให้เป็นที่ท่องเที่ยว ชาวบ้านเคยอยู่ ชุมชนเคยอยู่ ก็มีการไล่กัน ขับไล่ไป เพื่อที่จะให้พวกนายทุนมาสร้างสถานที่ท่องเที่ยว ที่ภูเก็ตพังงานี่เยอะมาก เมื่อสมัยที่เกิดสึนามิ หลายชุมชนเลยที่ๆ ชาวบ้านเคยอยู่ พอชาวบ้านหนีสึนามิไป กลับมาใหม่ กลายเป็นมีโฉนดของนายทุนเป็นของนักการเมืองก็เยอะ แล้วไปออกโฉนดมาได้ยังไงก็ไม่รู้ ที่ดินเป็นของชาวบ้านเคยอยู่กันมาเป็นร้อยๆ ปี แล้วกลับไปอยู่ไม่ได้ เอารถไถไปรื้อบ้านชาวบ้านก็มี มันเกิดขึ้นเยอะมาก ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาใหญ่

Imageปัญหาอีกเรื่องคืออุตสาหกรรมที่ไปทำน้ำเสีย ทำให้อากาศเสีย การเกิดมลพิษต่างๆ นานา เราก็ไม่ได้มีการควบคุมอย่างแท้จริง อย่างที่ขอนแก่น เรื่องน้ำเสีย ปัญหาใหญ่จริงๆ ก็คือ ข้าราชการของเราไปเข้าข้างกับนายทุนก่อสร้าง เวลากระทรวงอุตสาหกรรมมาตรวจ ผมได้ยินเลยตอนนั้น เอ๊ะ! ทำไมน้ำยังเสียอยู่เรื่อยนะ กระทรวงอุตสาหกรรมก็มาตรวจ มาตรวจยังไงเขาก็จัดการให้มันเรียบร้อยดูดี จนกระทั่งมีคนเขาบอกว่า เออ! ไอ้เครื่องบำบัดน้ำเสียของโรงงานเนี่ย ความจริงโรงงานเขาไปจ้างคนในกระทรวงอุตสาหกรรมออกแบบให้ เขาก็รู้อย่างนี้ ข้าราชการเรานี่ส่วนหนึ่งก็เหมือนกับว่าเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม แล้วคนจนก็มักจะไม่ค่อยมีสิทธิมีเสียงอะไร คือจะพูดอะไรก็ไม่ค่อยได้ อันนี้จากหลายแห่งที่ร้องเรียนเข้ามา มีเรื่องที่เรารู้ไม่ค่อยเท่าไหร่อย่างมาบตาพุด เขื่อนปากมูลที่เกิดเรื่องแล้วมันก็ดังขึ้นมาอย่างชัดเจน แต่ยังมีอีกเยอะแยะมากโดยเฉพาะเรื่องที่ดินหลังสึนามิที่ไม่ได้อื้อฉาวออกมาดังอย่างนี้ ไม่ได้มีการประท้วงออกมารุนแรง ทำให้เกิดปัญหาว่า ชาวบ้านในที่สุดร้องเรียนขึ้นมาก็ไม่ได้ผลอะไร เงียบหายไป ผลสุดท้ายก็ต้องประท้วง วิธีการเดียวคือ ปิดถนนเท่านั้น เขาเคยบอกผมว่า ไม่ปิดถนนก็ไม่มีเรื่องสิ ต้องเอาอะไรให้มันอื้อฉาว ไม่อย่างนั้นก็จะไม่มีผลอะไรเลย คือถูกรังแก ถูกเอาเปรียบยังไงก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้ เรื่องไหนพอประท้วง นักการเมืองเข้ามาใช้ประโยชน์กับมันก็กลายเป็นเรื่องที่ใหญ่ยุ่งขึ้นมา จากเรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่มากขึ้นทุกที

ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ใหญ่และรุนแรงมาก เมื่อไม่มีการควบคุมข้าราชการ จะปฏิรูประบบราชการหลายครั้งก็ปฏิรูปไม่ได้ ถ้าหากว่าราชการมีกฎหมายออกมาควบคุมโรงงานควบคุมนายทุน แต่ความจริงแล้วพอปฏิบัติจริงๆ ก็ทำไม่ได้ ซึ่งมันเป็นปัญหามาจากข้าราชการบ้าง นักการเมืองบ้างที่ร่วมมือกับราชการ ประชาธิปไตยของเราจึงไม่ไปไหน ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานและถ้าหากคนจะอาศัยปัญหาเหล่านี้ดึงมาใช้เป็นเครื่องมือในการที่จะทำลายประเทศชาติ ก่อให้เกิดความรุนแรง ก่อให้เกิดการปฏิวัติกันก็ทำได้ง่าย ปัญหาจึงมี ๒ เรื่องด้วยกัน หนึ่ง คือปัญหาเรื่องการปฏิบัติตัวของข้าราชการ สอง ปัญหาการปฏิบัติตัวของนักธุรกิจนายทุน เราสามารถที่จะออกกฎหมายมาช่วยควบคุมได้ แต่ความจริงกฎหมายก็มักจะไม่ได้ช่วยควบคุมเท่าไหร่ และในท้องถิ่น การเอาเปรียบมี ๒ ขั้น ๑.ข้าราชการร่วมมือกับนายทุน ๒.ส่วนกลางยึดครองหมดไม่ได้มีการกระจายอำนาจ ส่วนกลางก็ไปดึงหรือทำลายทรัพยากรของชาวบ้านของท้องถิ่นเข้ามา ทำความเดือดร้อนให้กับคนในท้องถิ่นเป็นอันมาก ซึ่งมันก็เกิดความเดือดร้อนกันอยู่ทั่วๆไป แล้วนักการเมืองก็อาศัยเรื่องความเดือดร้อนนี้ ดึงเอามาเป็นเหตุเป็นผลว่าตัวเองจะเข้ามาแก้ไขความเดือดร้อนโดยขอให้ช่วยสนับสนุนให้ตัวเองมีอำนาจด้วยวิธีการใดก็ตาม

Imageทีนี้คนก็ถามผมว่าทำไมถึงได้มีความแตกต่าง เราจะพูดเรื่องอำนาจก่อน คือว่าประชาธิปไตย เรามีการเลือกตั้ง การเลือกตั้งน่าจะทำให้เกิดประชาธิปไตย เราเลือกตั้งตัวแทนมาเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมและวางนโยบายออกกฎหมาย แต่ปรากฏว่านักการเมืองเวลาเข้ามาแล้วไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของคนส่วนรวม แต่กลับมาทำประโยชน์ให้ตัวเองหรือพวกตัวเองเท่านั้น นักการเมืองจะให้กับชาวบ้านก็แต่เวลาเลือกตั้งเท่านั้น เอาเงินไปแจก สิ่งนี้น่าสนใจ เพราะฉะนั้นปัญหาจริงๆ คือปัญหาการเลือกตั้ง การเลือกตั้งทำได้อย่างดีในประเทศตะวันตก แต่ในประเทศอย่างเราหรือประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาจะไม่ค่อยเวิร์ค ผมทำงานกับเกษตรกรอยู่ ๗ ปี เมื่อตอนผมไปทำงานกับกลุ่มเกษตรกรที่โคราชแถวปากช่อง ในปีหนึ่งจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการ/ประธานกรรมการ ของกลุ่มเกษตรกร ผมก็ออกแบบสอบถามว่า ท่านอยากได้คนที่จะมาเป็นประธานกรรมการของท่านแบบไหน เขาตอบว่า เลือกคนซื่อสัตย์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ผมก็ทดลองดูนะ ผมเดินไปถามพวกประธาน พวกกรรมการเกือบทุกคนเลย ผมถาม ประวัติคุณอยู่ที่ไหน เคยทำอะไรบ้าง ผมบอกได้ว่าไม่มีสักคนที่ผมจะเรียกว่าซื่อสัตย์ แปลกมากนะ คนหนึ่งเขาเคยทำงานเกี่ยวกับฐานทัพอเมริกัน เขาอวดว่าเคยเซ็นเช็คปลอม อีกคนหนึ่งอวดผมเหมือนกันว่าเคยไปคุมหัวหน้าแก๊งค์ล้วงกระเป๋าที่กรุงเทพฯ เขาบอกเพื่อนเขามาอวดว่ามีปากกาสวยราคาแพง เขาบอก "คืนนั้นผมเลยจัดการให้ลูกน้องผมไปล้วงกระเป๋าเอาปากกานั้นมาเลย" วันรุ่งขึ้นมาชูให้ดู นี่แหละปากกาได้มาแล้ว ซื่อสัตย์นี่ไม่มีสักคน แต่ทุกคนรวยนะ ไม่รวยก็มีเส้นสายกับพวกข้าราชการชั้นสูงในตัวจังหวัดทั้งนั้น ส่วนคนที่เขาเลือก ผมกลับไปหาชาวบ้าน ถามว่า ทำไมมันเป็นอย่างนี้ล่ะ เขาก็หัวเราะ บอกผมว่า "โธ่! อาจารย์ ผมก็ต้องเลือกคนรวยๆ เผื่อกลุ่มเราลำบาก มันจะได้เอาเงินลงมาแจก ลงมาช่วยพวกเราบ้างไงล่ะ ไอ้คนไหนมีเส้น ผมก็ต้องเลือกคนมีเส้นน่ะสิ" ก็เพราะว่าคนมีเส้นจะได้เอาอะไรต่ออะไรให้รัฐบาล ให้จังหวัดช่วยในกลุ่มได้บ้าง โดยสรุปแล้วเขาก็ไม่ได้เลือกตามที่บอกเราในแบบสอบถามว่า เลือกคนที่ซื่อสัตย์ แต่สิ่งที่เขาเลือกก็มีเหตุผลนะ แต่เขาไม่ได้บอกเหตุผลนั้นเพราะเขาคิดว่าเราไม่ได้คาดหวังถ้าบอกเหตุผลอันนั้น เราคงไม่ชอบ ใช่ไหม?

Imageผมมีตัวอย่างอีกเรื่อง คือวันหนึ่ง ผมนั่งเครื่องบินมากับผู้แทนราษฎรสองคนจากจังหวัดมุกดาหาร ท่านบอกผมว่า เมื่อก่อนอยู่พรรคประชาธิปัตย์นะ ลงเลือกตั้งที่มุกดาหารแล้วสอบตก ท่านบอกว่า คนอีสานไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์หรอก เพราะฉะนั้นท่านเลยเปลี่ยนพรรค เป็นพรรคเล็กๆ และก็ได้นะ ผมเลยถามท่านไปว่า "เออ! แล้วเลือกตั้งนี่มันต้องจ่ายเงินใช่มั๊ย?" ท่านบอก "ไม่มีหรอก ไม่มี ส.ส.คนไหนที่ไม่ซื้อเสียง" ท่านบอกรับรองได้เลย ผมถามคุณซื้อเสียงไหม ท่านบอก ซื้อเสียงเยอะ แต่ก็ยังมี ส.ส ที่สุจริตนะ อย่างน้อยสุจริตพอใช้ได้เลย ผมรู้จักคนหนึ่ง ท่านมาหาผมวันหนึ่ง ท่านบอกว่า "ผมไม่สมัครแล้ว ส.ส. ขอนแก่นนี่ ผมไม่เอาแล้ว ผมไม่เอาเด็ดขาด ผมไม่ไหวแล้ว คนแบมือขอ ผมไม่มีเงินให้แล้ว ผมหมดแล้ว แบบนี้ผมอยู่ไม่ไหว ผมไม่เป็น ส.ส.ที่นี่อีกแล้ว ผมจะไปลงสมัครที่ กทม." สุดท้ายแล้วก็สอบตก คงจะเดาได้

นี่แหละ ผมคิดว่าสังคมไทยอยู่ด้วยระบบอุปถัมภ์ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้วนะ แต่สมัยโบราณมันยังมีดีอยู่ว่า คนที่เป็นผู้อุปถัมภ์หมายความว่าคนที่รวยหน่อยก็ต้องช่วยเหลือคนจน ต้องดูแล ต้องรักษา ต้องช่วยเหลือ แต่ต่อมา พอทุนนิยมเข้ามามากๆ คนที่จะแจกเงินก็ไม่อยากแจก เพราะอยากจะไปซื้อของไว้ใช้ ก็ไม่ช่วยคนจนอีกต่อไป กลับขูดรีดคนจน แต่ปัญหาที่มันค้างคา ปัญหาใหญ่ในเมืองไทยคือ ทัศนะที่มากับระบบอุปถัมภ์ คือ การพึ่งคนอื่น คิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถ ตัวเองไม่สามารถที่จะช่วยตัวเองให้เจริญก้าวหน้า หรือว่าอยู่รอดได้ การที่ตัวเองจะอยู่รอดได้ ต้องมีเส้นมีสาย ต้องพึ่งคนอื่น จะเข้าทำงานก็ต้องอาศัยเส้นสาย การเลือกตั้งก็เหมือนกัน เขาไม่ได้เลือกคนมาเป็นผู้แทนของเขา ในหลายแห่งเขาเลือกคนมาเป็นผู้อุปถัมภ์เขานะ ฉะนั้น ถ้าใครให้เงินเขา เขาก็เลือก แล้วพอหลังจากเลือกแล้ว เขาก็ไปเรียกเงิน ขอโน่น ขอนี่ ตลอดเวลา จนกระทั่งรุนแรงกว่านั้น จนบอกว่า อยู่ไม่ไหวแล้ว เห็นไหม มันเป็นอย่างนั้น เขาไม่ได้เลือกคนมาเป็นผู้แทนที่จะไปออกความเห็น มองระยะไกล คือ คนที่เป็นผู้อุปถัมภ์คนอื่นขึ้นมาแล้วแบบนี้ เมื่อเลือกตั้งก็เหมือนเป็นผู้อุปถัมภ์ ที่ต้องอุปถัมภ์คนหมู่มาก ผู้แทนคนนั้นท่านเป็นตัวแทนสุจริต ท่านยังอยู่ไม่ได้เลย ท่านต้องหาเงินมาเพื่อแจกจ่าย เลี้ยงดู อุปถัมภ์อยู่ตลอดเวลา ท่านทำไม่ไหว ท่านต้องกลัว ท่านต้องหากินเพื่อตัวเอง แล้วผลที่เกิดขึ้นกับประเทศชาติโดยรวมเป็นอย่างไร ถ้าพอมองเห็นๆ กันอยู่

Imageทีนี้ปัญหาเรื่องการเลือกตั้ง มีปัญหาใหญ่เพราะอะไร เพราะอเมริกันใช่ไหม เพราะว่าการเลือกตั้งเป็นพิธีกรรมของประชาธิปไตยในประเทศตะวันตก พิธีกรรมนี้เหมือนกับเราจะดูว่าเป็นคริสต์หรือไม่เป็นคริสต์ ดูว่าเขามาโบสถ์หรือเปล่า มาเข้าพิธีกรรมของเราหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ถ้าประเทศไหนไม่มีการเลือกตั้งมันก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย ก็เพราะการเลือกตั้งเป็นอย่างนี้ บ้านเราจะทำอย่างไร บังคับให้เราเลือกตั้งอยู่ตลอดเวลา ก็เลยให้ดูพม่า พม่าจะจัดเลือกตั้ง ไม่ใช่เลือกตั้งแล้วเขาจะเป็นประชาธิปไตย แต่ว่าเขาต้องการโชว์ว่ามันเลือกตั้ง ทีนี้เราจะมาแก้ไขปัญหากันอย่างไร ปัญหามี ๒ อย่างด้วยกัน ปัญหาที่หนึ่งคือปัญหาความทุกข์ของชาวบ้าน ทุกข์จริงๆ ร้องเรียน ร้องยังไง มันก็ไม่มาถึง ไม่มีใครช่วยได้ และไม่มีช่องทางมาได้ แล้วผู้แทนราษฎรที่น่าจะเป็นช่องทางได้ มันไม่มาหรอก เพราะว่าอะไรที่ไปขัดผลประโยชน์ของเขา เขาก็ไม่เอา และเขาก็อยากทำให้ได้ผลประโยชน์ของเขาเอง เพราะฉะนั้นมันก็ไม่มีมาทั้งคู่

เราจึงมาคิดว่า อยากจะให้มีสภาประชาชน ให้ชุมชนที่มีเครือข่ายกันมาพูดคุยกัน มาถกกัน มีเวทีในหลายระดับ ระดับล่างคุยกันว่า มีปัญหาอะไรบ้างเกิดขึ้นมาเป็นช่องทางสู่สภาประชาชน และสภาประชาชนก็มีกลุ่มที่เรียกว่า ราษฎรอาวุโส (Senior Citizens) เป็นผู้ใหญ่ที่มีคนนับถือกันทั่วไป มาเป็นผู้แทนที่จะไปพูดคุยกับรัฐบาล คือเราหวังว่าสิ่งนี้จะช่วยควบคุมการทำงานของราชการได้ เพราะไม่มีอะไรที่จะสามารถปฏิรูประบบราชการหรือปฏิรูปสภาผู้แทนราษฎรได้ นอกจากประชาชนทำ เราต้องหาทางที่จะให้ประชาชนสามารถแสดงออกได้ ยังไงของพวกนี้ประชาชนก็ต้องเป็นผู้ที่เปลี่ยนทั้งนั้นแหละ จะเปลี่ยนรุนแรงหรือจะเปลี่ยนอย่างสงบ เราต้องหาวิธีการที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มันสงบให้ได้ ดังนั้นเราคิดว่า สภาประชาชนนี้อาจจะมีผลช่วยได้ ส่วนหนึ่งถ้ารวมกันมากๆ ก็อาจจะสร้างหรือบีบให้ผู้แทนราษฎรประพฤติตัวดีขึ้น และอีกอย่างหนึ่ง ทำงานเพื่อส่วนรวมมากขึ้น อาจจะสามารถบีบให้นักธุรกิจคิดถึงคนอื่น คิดถึงคนส่วนรวมมากขึ้น และบีบข้าราชการไม่ให้ร่วมมือกับนักธุรกิจเพื่อเอาเปรียบราษฎร ของเหล่านี้มันเกิดขึ้นมานานแล้ว มันเกิดขึ้นมาตลอดเวลา และไม่มีใครสามารถแก้ไขได้ จะแก้ไขได้ก็ต้องโดยประชาชนเอง!

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >