หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ก้าวข้ามวงจรอุบาทว์ : พระไพศาล วิสาโล
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1271 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ก้าวข้ามวงจรอุบาทว์ : พระไพศาล วิสาโล พิมพ์
Friday, 09 April 2010
ก้าวข้ามวงจรอุบาทว์

มติชน ฉบับวันที่ 21 มีนาคม 2553

เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ไม่ว่าเราเป็นคู่กรณีหรือผู้สังเกตการณ์ เราไม่ควรให้ความขัดแย้งดังกล่าวบดบังความจริงขั้นพื้นฐาน นั่นคือทั้งสองฝ่ายล้วนเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับเรา ถึงเขาจะใส่เสื้อเหลืองหรือแดง เป็นเจ้าหน้าที่หรือผู้ชุมนุม เป็นไทยหรือพม่า เป็นพุทธหรือมุสลิม อย่าลืมว่าเขาเป็นมนุษย์เหนืออื่นใด ในทัศนะของชาวพุทธ ทุกคนที่เป็นคู่ขัดแย้งล้วนเป็นเพื่อนร่วมโลก ที่รักสุขเกลียดทุกข์เช่นเดียวกับเรา แม้เขาจะความเห็นต่างจากเรา เราควรมีใจกว้าง พร้อมยอมรับความแตกต่างทางความคิด ความคิดบางอย่างอาจจะไม่ถูกใจเรา ก็อย่าเพิ่งไปตีขลุมว่า เขาคิดผิด ขณะเดียวกันก็ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าความคิดของเราถูกร้อยเปอร์เซนต์ ถ้ายึดมั่นเช่นนั้นใจเราก็จะปิดและไม่ยอมรับความคิดของคนอื่นเลย

จะทำเช่นนั้นได้จำเป็นต้องมีสติ ไม่เช่นนั้นความกลัว ความโกรธ ความเกลียดจะครองใจเราได้ อันที่จริงความกลัว-โกรธ-เกลียดเป็นสิ่งที่ห้ามได้ยาก เพราะเรามีแนวโน้มที่จะมีอคติต่อผู้ที่เป็นคู่กรณีของเรา จนอาจจัดเขาเป็นคนละพวกกับเรา กระทั่งเห็นเป็นศัตรู ซึ่งก็จะยิ่งเพิ่มความกลัว-โกรธ-เกลียดให้รุนแรงขึ้น หรือแม้เราเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์ แต่ก็อาจตัดสินเขาไปในทางลบ ซึ่งทำให้มีอคติมากขึ้น แต่หากเรามีสติรู้เท่าทันอคติหรือความกลัว-โกรธ-เกลียด มันก็จะครองใจเราได้ยาก ทำให้เปิดใจรับฟังเขาได้มากขึ้น ในทางตรงข้ามถ้าใจเราถูกครอบงำด้วยความกลัว-โกรธ-เกลียดแล้ว ใจเราจะปิดทันที ไม่สนใจฟังเขา ใช่แต่เท่านั้นมันยังทำให้เราพลอยทุกข์หรือร้อนรุ่มไปด้วย ยิ่งถูกกระทบมากๆ ก็ยิ่งอดรนทนได้ยาก อาจลุแก่โทสะ ใช้ความรุนแรง หรือสนับสนุนให้มีการใช้ความรุนแรง

ความรุนแรงไม่ว่าทางกาย วาจา ทีแรกเราเป็นผู้กำหนดว่าจะแสดงออกมาอย่างไร แต่เมื่อได้ทำไปแล้ว เรากลับเป็นฝ่ายถูกมันกำหนดหรือถูกมันกระทำแทน มันไม่เพียงทำให้จิตใจเราหยาบกระด้างและเศร้าหมองเท่านั้น หากยังผลักให้เราถลำสู่วงจรอุบาทว์ที่ชื่อว่าการจองเวร วงจรแห่งการจองเวรจะทำให้เราจมปลักอยู่ในความรุนแรงและถอนตัวยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเมื่อคนอื่นถูกเราทำร้าย เขาก็จะตอบโต้เราด้วยความรุนแรงพอๆ กันหรือยิ่งกว่า ซึ่งย่อมทำให้เราเจ็บปวดและอดไม่ได้ที่จะต้องตอบโต้เขาอย่างรุนแรงเช่นกัน ยิ่งเจ็บปวดและโกรธแค้นมากเท่าไรก็ยิ่งยากจะหลุดจากวงจรอุบาทว์นี้ได้

ใช่แต่เท่านั้น ยิ่งใช้ความรุนแรงมากเท่าไร ทางเลือกที่เราจะใช้หนทางอื่นยิ่งมีน้อยลง มิใช่เพราะไม่มีหนทางที่ดีกว่า แต่เป็นเพราะความแค้นและความโกรธบงการให้เราใช้ความรุนแรงมากขึ้นเพื่อตอบโต้ ความแค้นและความโกรธในใจเรานั้นมิได้มาจากไหน แต่มาจากความรุนแรงที่เรามีส่วนก่อขึ้นด้วย ยิ่งใช้ความรุนแรงมากเท่าไร การจะหันไปใช้สันติวิธี(รวมทั้งการเจรจาหรือการให้อภัย) ก็ยิ่งกลายเป็นทางเลือกที่มีเสน่ห์น้อยลง เพราะถูกมองว่าเป็นความอ่อนแอและเสียหน้า แต่ใช่หรือไม่ว่านั่นเป็นความคิดของผู้ที่หลงติดในตรรกะแห่งความรุนแรง ยิ่งใช้ความรุนแรงก็ยิ่งหลุดจากตรรกะดังกล่าวได้ยาก ขณะเดียวกันยิ่งใช้ความรุนแรง ก็ยิ่งเชิญชวนให้อีกฝ่ายตอบโต้ด้วยความรุนแรง ซึ่งกระตุ้นให้เราใช้ความรุนแรงมากขึ้น ผลที่สุดทั้งสองฝ่ายจึงหลุดจากวงจรอุบาทว์นี้ได้ยาก และดังนั้นจึงบอบช้ำกันทุกฝ่าย

มองในแง่นี้ความรุนแรงจึงไม่ต่างจากยาเสพติด ที่เมื่อลองใช้สักครั้งหนึ่งแล้วก็ยากจะถอนตัวออกมาได้ จำต้องใช้เรื่อยไป ยาเสพติดนั้นทีแรกให้สุขเวทนาแก่ผู้เสพ ส่วนความรุนแรงนั้นก็ให้ความสะใจแก่ผู้ใช้ (รวมทั้งความสุขที่เกิดจากสารเคมีบางชนิดที่หลั่งในสมอง เช่นโดพามีน) แต่ในเวลาเดียวกันทั้งยาเสพติดและความรุนแรงก็ล้วนบั่นทอนทั้งกายและใจของผู้เสพผู้ใช้ทั้งสิ้น

แต่ถ้าความขัดแย้งมิใช่เป็นเรื่องของคนสองคนหรือสองกลุ่ม หากเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชนจำนวนมากที่มาชุมนุมเรียกร้อง ผู้ที่จมปลักอยู่ในวงจรนี้จะไม่ใช่แค่คู่กรณีเท่านั้น แต่ประเทศชาติทั้งประเทศก็จะถูกผลักเข้าไปอยู่ในวงจรแห่งการจองเวรด้วย และยากที่จะไถ่ถอนออกมาได้ เพราะเพื่อนพ้องครอบครัวของทุกฝ่ายจะถูกดึงเข้าสู่วงจรนี้ และนำไปสู่การตอบโต้ เมื่อต่างฝ่ายต่างตอบโต้และแก้แค้นกันไปมาความพินาศก็จะขยายวงกว้างจนดึงเอาผู้บริสุทธิ์เข้าไปพบกับความพินาศด้วย

วิธีเดียวที่จะหลุดจากวงจรแห่งการจองเวรได้ ก็คือการหยุดจองเวร นี้คือความจริงที่เป็นสากลทุกยุคทุกสมัย ดังพระพุทธองค์ตรัสว่า "แต่ไหนแต่ไรมา ในโลกนี้ เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร นี้เป็นกฎตายตัว" การไม่จองเวรไม่ได้หมายถึงการยอมจำนน แต่หมายถึงการหยุดตอบโต้ด้วยความรุนแรงหรือด้วยความโกรธเกลียด โดยอาจจะหันหน้ามาเจรจากันหรือมีคนกลางมาช่วยไกล่เกลี่ย แต่ดังได้กล่าวแล้วว่าเมื่อถลำเข้าสู่วงจรแห่งการจองเวรแล้ว เป็นการยากมากที่จะใช้วิธีอื่นที่ไม่ใช่ความรุนแรง เพราะความเคียดแค้นพยาบาทจะผลักดันให้หาทางตอบโต้อย่างสาสม

เป็นการดีกว่าหากเราใช้สันติวิธีตั้งแต่แรกเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่พอพูดถึงสันติวิธี ผู้คนก็มักเข้าใจว่าหมายถึงการอยู่เฉยๆ แท้ที่จริงแล้วสันติวิธีหมายถึงการกระทำเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมหรือสถานการณ์ ไปในทางสันติ โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน หรือโดยไม่ใช้ความรุนแรง ทางกายและวาจา สันติวิธีจึงเป็นทางสายกลางที่อยู่ระหว่างทางสุดโต่งสองทางคือ การยอมจำนนกับการใช้ความรุนแรง

สันติวิธีเป็นได้ทั้งการประท้วงโดยสงบ การไม่คบค้าสมาคม การลาออก การนัดหยุดงาน การไม่ซื้อสินค้า การดื้อแพ่งหรือขัดขืนอย่างอารยะ เป็นต้น มักเข้าใจกันว่าสันติวิธีจะใช้ได้ก็เฉพาะกับคนที่มีสถานะหรืออำนาจใกล้เคียงกัน หรือกับคู่กรณีที่ใช้สันติวิธีเหมือนกัน แต่ไม่อาจใช้ได้กับผู้ที่มีอำนาจหรืออาวุธอยู่ในมือ เพราะอาจถูกตอบโต้ด้วยความรุนแรงจนต้องยอมแพ้สยบราบคาบ

ความจริงก็คือวิธีการดังกล่าวสามารถนำมาใช้กับผู้มีอำนาจหรือผู้มีอาวุธในมือ ไม่ว่ารัฐบาล เจ้าอาณานิคม นายทุน หรือเจ้าพ่อ โดยประสบผลสำเร็จได้ด้วย ความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นได้มิใช่เพราะฝ่ายผู้มีอำนาจไม่ยอมใช้อาวุธหรือ เป็นสุภาพชน ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์นับครั้งไม่ถ้วนที่ผู้มีอำนาจใช้ความรุนแรงกับคู่กรณีที่ไร้อาวุธ จนถึงกับเลือดตกยางออกหรือสูญเสียชีวิต แต่นั่นมิได้หมายถึงความพ่ายแพ้ของสันติวิธี บ่อยครั้งการกระทำเช่นนั้นกลับนำความพ่ายแพ้มาสู่ผู้ที่ใช้ความรุนแรงเอง

เมื่อผู้มีอำนาจลงมือทำร้ายประชาชนที่มีเพียงแค่สองมือเปล่า เขาย่อมสูญเสียการยอมรับนับถือจากคนทั่วไปที่เห็นเหตุการณ์ หากผู้ที่ใช้ความรุนแรงนั้นเป็นรัฐบาล และผู้ถูกทำร้ายไม่ใช้ความรุนแรงตอบโต้ รัฐบาลย่อมสูญเสียความชอบธรรมในสายตาของประชาชนทั่วไป จนฐานะง่อนแง่นหรืออาจอยู่ไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ดังเกิดกับรัฐบาลในประเทศรัสเซีย (พ.ศ.2448) อินเดีย (พ.ศ.2473) เวียดนาม (พ.ศ.2506) หรือแม้แต่กรณี 14 ตุลาคม 2516 ก็อาจนับรวมอยู่ในตัวอย่างกลุ่มนี้ได้

ผู้รู้เรียกกระบวนการที่นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของผู้ใช้ความรุนแรงว่า "ยิวยิตสูทางการเมือง" คือการทำให้อำนาจของคู่กรณีที่ทำร้ายผู้ใช้สันติวิธี ย้อนกลับไปเป็นภัยแก่ตัวเขาเอง ดังการเล่นยิวยิตสู ซึ่งมีวิธีการทำให้คู่ต่อสู้พ่ายแพ้ โดยอาศัยพละกำลังของคู่ต่อสู้ที่ถั่งโถมเข้ามานั้นย้อนกลับไปทำให้เขาเสีย หลักล้มลง

ยิวยิตสูทางการเมืองจะมีพลังบั่นทอนอำนาจของผู้ใช้ความรุนแรงมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าอีกฝ่ายยึดมั่นในสันติวิธีเพียงใด หากฝ่ายหลังมีวินัยมั่นคงและอดทน ไม่ยอมตอบโต้ด้วยความรุนแรง แม้จะถูกทำร้ายเพียงใด ความรุนแรงนั้นจะย้อนกลับมาทำร้ายผู้ใช้อาวุธนั้นเอง ดังคานธีได้กล่าวไว้ว่า "อำนาจของทรราชจะวกกลับมาที่ตัวเขาเองเมื่อไม่พบกับการตอบโต้ เช่นเดียวกับเมื่อสะบัดแขนฟาดกับอากาศอย่างรุนแรง ผลก็คือกระดูกเคลื่อนและปวดร้าว"

เป็นเพราะผู้มีอำนาจหลายคนรู้ดีว่าการใช้ความรุนแรงกับประชาชนมือเปล่า จะส่งผลเสียย้อนกลับมาที่ตัวเอง จึงพยายามจัดการด้วยความไม่รุนแรง หรือไม่ก็หาทางยั่วยุให้อีกฝ่ายใช้ความรุนแรง ถ้าฝ่ายหลังไม่รู้จักอดกลั้นหรือไม่เข้าใจพลังของสันติวิธี หันไปใช้ความรุนแรงเมื่อใด เช่น ขว้างปาก้อนหินใส่เจ้าหน้าที่ เผาทำลายทรัพย์สิน หรือใช้อาวุธทำร้ายคนของรัฐ ก็จะเปิดโอกาสให้รัฐบาลสามารถใช้ความรุนแรงกับผู้ต่อต้านได้อย่างเต็มที่ โดยได้รับความเห็นใจจากประชาชนทั่วไปด้วยซ้ำ (แต่ถ้ารัฐบาลใช้ความรุนแรงเกินขอบเขต ก็อาจถูกประณามและอยู่ไม่ได้เช่นกัน ดังกรณีพฤษภาเลือด 2535)

ความรุนแรงไม่ได้ทำร้ายผู้ถูกกระทำเท่านั้น แต่ยังส่งผลร้ายกลับมายังผู้ที่ใช้ความรุนแรงด้วย แม้ความรุนแรงอาจจะนำชัยชนะมาได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็เป็นชัยชนะชั่วคราว มันแก้ปัญหาได้ในระยะสั้น แต่จะก่อให้เกิดปัญหาที่ถาวรหรือยั่งยืนตามมา

สันติวิธีให้ผลช้าก็จริง แต่เป็นผลที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตามเราจะมั่นคงในสันติวิธีได้ก็ต่อเมื่อมีสติ ไม่ปล่อยให้ความกลัว-โกรธ-เกลียดครอบงำใจ ในยามที่บรรยากาศกำลังร้อนแรง จึงควรที่เราจะดำรงสติให้มั่น หาไม่แล้วเราแต่ละคนก็คงไม่ต่างกับระเบิดที่ยังไม่ได้ถอดสลัก สามารถที่จะเป็นอาวุธร้ายแรงทำลายซึ่งกันและกัน และเผาผลาญบ้านเมืองให้พินาศได้

โดย...พระไพศาล วิสาโล

ที่มา คอลัมน์ มองอย่างพุทธ : http://www.budnet.org/


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >