หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow ความไม่เป็นธรรมในกระแสลดโลกร้อนและทางเลือกที่เราทำได้
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 343 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 124: เรียนรู้โลกยุคใหม่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ชีวิต จิตวิญญาณ!?
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 124


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ความไม่เป็นธรรมในกระแสลดโลกร้อนและทางเลือกที่เราทำได้ พิมพ์
Monday, 05 April 2010
ความไม่เป็นธรรมในกระแสลดโลกร้อนและทางเลือกที่เราทำได้

คุณจักรชัย โฉมทองดี นักวิจัยโครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (โฟกัส) และสมาชิกเครือข่ายลดโลกร้อนด้วยโลกที่เป็นธรรม"ความไม่เป็นธรรมในกระแสลดโลกร้อน"
โดย คุณจักรชัย โฉมทองดี นักวิจัยโครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (โฟกัส) และสมาชิกเครือข่ายลดโลกร้อนด้วยโลกที่เป็นธรรม
เรื่องคาร์บอนเครดิต - วิธีการหนึ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน โดยประเทศที่ร่ำรวยต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ได้ 5.2 % ซึ่งทำได้ยาก เขาจึงคิดเครื่องมือขึ้นมาว่าจะทำอย่างไรให้เขาลดก๊าซได้และยืนอยู่บนหลักการของการตลาดประสิทธิภาพสูงสุด เรื่องคาร์บอนเครดิต บอกว่าการตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดโลกร้อน เพราะต้นไม้ดูดซับคาร์บอนไว้ ประเทศกำลังพัฒนาอยากได้เงิน คิดว่าถ้าดูแลลดการตัดไม้ เราก็ควรได้คาร์บอนเครดิต เช่น ต้นประดู่หนึ่งต้นอายุ 5 ปี เมื่ออายุ 30 ปี จะดูดคาร์บอนได้กี่ตัน คิดออกมาเป็นเงิน ชาวบ้านมีต้นไม้อยู่เยอะก็ล้อมต้นไม้เอาไปขาย ส่วนประเทศพัฒนาแล้วเขาต้องลดคาร์บอน แต่ขี้เกียจลดไม่ต้องการเปลี่ยนชีวิต ไปให้ชาวบ้านปลูกต้นไม้หรือรักษาต้นไม้ที่ชาวบ้านมีอยู่ แล้วเอาเงินไปจ่ายให้ชาวบ้าน แล้วเขาปล่อยคาร์บอนต่อไป นี่เป็นเรื่องกลไกตลาดอีกเช่นกัน

ส่วนเรื่องของ REDD (Reducing Emission from Deforestation and Degradation in Developing Countries) หรือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา ตอนนี้ประเทศไทยกำลังนำร่องภายใต้ World Bank โดยกรมอุทยานฯ ไปเจรจา เขาคิดว่าถ้าล้อมป่าเสร็จ ชาวบ้านจะได้ออกมาจากป่า เขาจะดูแลป่าเอง คำนวณมามีต้นไม้เท่าไร ประเด็นคือ แล้วชุมชน ชีวิตชาวบ้าน คนที่อยู่กับป่าจะอยู่กันอย่างไร พี่น้องชนเผ่าจะอยู่กันอย่างไร ชาวบ้านเหล่านั้นเป็นคนก่อปัญหาโลกร้อนหรือเปล่า พี่น้องชนเผ่าปีหนึ่งปล่อยคาร์บอนต่อหัวเท่าไร ขณะนี้การเจรจาเรื่อง REDD ไม่ยอมรับสิทธิของพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่คำนึงถึงสิทธิของเขาในการดำรงชีวิตและใช้ประโยชน์จากป่า อีกอย่างคือการฉวยโอกาสของกลุ่มทุน ที่ได้ยินกันบ่อยๆ เช่น คอนเสิร์ตเพื่อลดโลกร้อน แข่งแรลลี่ลดโลกร้อน ทำได้ยังไง ถ้าอยู่เฉยๆ ก็ไม่ต้องไปเผาน้ำมันแล้ว ชัดที่สุดในบ้านเราคือ เรื่องการสร้างโรงงานนิวเคลียร์ ตามแผนพัฒนาพลังงานบอกว่าอย่างน้อยต้องมีหนึ่งโรง เรื่องนิวเคลียร์มีความเสี่ยงอยู่แต่เทคโนโลยีอาจควบคุมได้ แต่ที่สำคัญคือ เมื่อทำอย่างนี้ยิ่งเป็นการผูกขาดพลังงาน ทุกวันนี้พลังงานถูกผูกขาดโดยประชาชนไม่มีสิทธิเลย

คุณกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี/เครือข่าย Slow Food Thailand (กินเปลี่ยนโลก)"ทางเลือกที่เราทำได้เพื่อโลกของเรา"
โดย คุณกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี / เครือข่าย Slow Food Thailand
ระบบการทำอาหารให้เรากินทุกวันนี้ เปลี่ยนแปลงเป็นระบบอุตสาหกรรมมากขึ้นเรื่อยๆ การปลูกพืชผักก็ใช้ปุ๋ยเคมีเยอะมาก ทำให้เกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์ การผลิตต่างๆ ใช้เครื่องจักร ใช้สารเคมีมากขึ้น ไก่ที่เรากินทุกวันนี้มาจากฟาร์มขนาดใหญ่ของบริษัทใหญ่ถึง 70 % กลุ่มฟาร์มขนาดเล็ก 20 % การเลี้ยงไก่แบบพื้นบ้านเหลือแค่ 10 % เรากินไก่ที่มาจากระบบอุตสาหกรรมถึง 90 % กระบวนการผลิตสมัยใหม่ใช้สารเคมี ใช้พลังงานมากขึ้น และมีกระบวนการผูกขาดและสร้างความไม่เป็นธรรมในทุกๆ จุดที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหาร

เมื่อพูดถึงระบบอาหารต้องไม่มองเป็นจาน ต้องมองตั้งแต่ต้นทางคือผู้ผลิต การผลิต การขนส่ง การกระจาย การแปรรูป ทุกขั้นตอนมีมนุษย์เกี่ยวข้องและมีมิติของความเป็นธรรม มิติสิ่งแวดล้อม มิติสุขภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นประเด็นที่เราต้องมาให้ความสำคัญร่วมกัน ถ้าปรับตรงนี้ได้ โลกจะเปลี่ยน นอกเหนือจากการเปลี่ยนโดยวิถีชีวิตแล้ว วิถีความเชื่อและวัฒนธรรมก็ถูกทำให้เปลี่ยนด้วย เราถูกทำให้เปลี่ยนวัฒนธรรมการกิน ความเชื่อ ความชอบในการกิน ไปเข้าทางกระบวนการผลิตและการกระจายแบบอุตสาหกรรมมากขึ้น

สิ่งที่ต้องทำร่วมกันคือ เปลี่ยนการกินด้วยกัน เริ่มต้นจากการตั้งคำถาม เวลาพูดถึงอาหาร ต้องมองให้ไกลจากจานที่อยู่ตรงหน้า มองให้เห็นหน้าผู้ผลิต กระบวนการผลิต กระบวนการค้า การกระจายอาหารที่เกี่ยวข้องกัน จะทำให้เราเข้าใจว่าปัญหาอยู่ตรงไหนและเราจะมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงปัญหาได้อย่างไร หัวใจสำคัญของแนวคิดสโลว์ฟู้ด คือ Good เลือกอาหารดีมีคุณค่า สดใหม่ใส่ใจทุกขั้นตอนในการปรุง กินตามฤดูกาล ดีเพิ่มอีกคือเป็นอาหารที่ไม่ต้องเดินทางมาก อีกอย่างคือ Clean มาจากกระบวนการผลิตที่สะอาดทุกขั้นตอน จากดินที่ดี ปลอดสารเคมี ไม่ทำลายสุขภาพ และ Fair คือเป็นธรรม กระบวนการผลิต การกระจายเป็นธรรม นี่คือหลักในการเลือก

ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการกินเพราะเรากินทุกวัน วันละสามมื้อ หลายคนบอกว่าไม่ได้ทำกับข้าวกินเองมานาน แต่เรามีเวลาที่จะจัดการชีวิต แนะนำเพื่อนหลายคนที่บอกว่าไม่มีเวลาว่าอาทิตย์ละสองวัน ทำกับข้าวกินเองไม่ได้หรือ ลองไปจับจ่ายสิ่งที่ดีๆ จะช่วยสร้างความอิ่มอกอิ่มใจ ขบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ทุกคนต้องทำ เหมือนเรื่องลดโลกร้อนที่ต้องช่วยกันทำ ต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างด้วย นอกเหนือจากเปลี่ยนที่พฤติกรรมของเรา โครงสร้างการแก้ไขปัญหาโลกร้อนก็ยังไม่เป็นธรรม เราต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงโครงสร้างและพฤติกรรมผู้บริโภค

คุณชูเกียรติ โกแมน เกษตรกรผู้ทำฟาร์มผักปลอดสารพิษ และทำของใช้เองในบ้านคุณชูเกียรติ โกแมน เกษตรกรผู้ทำฟาร์มผักปลอดสารพิษ และทำของใช้เองในบ้าน
ผมจบปริญญาตรีด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เรียนเน้นการใช้เทคโนโลยีของจุลินทรีย์เป็นหลัก เกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสีย การกำจัดขยะ เพื่อออกไปรับใช้ภาคอุตสาหกรรม พอเข้าไปสู่ชีวิตการทำงานรู้สึกว่าเราถูกเอาไปทุกอย่าง ทั้งเรื่องของเวลาที่แทบไม่มีเวลาส่วนตัว ต้องตื่นแต่เช้าเพื่อเข้างานให้ทันแปดโมงเช้า เที่ยงกินข้าว ห้าโมงเย็นกลับบ้านหมดแรง ไม่ต่างกับไก่ในฟาร์ม ถูกบังคับให้อยู่ในระบบเช่นนั้น เมื่อมีรายได้เข้ามาก็หลงไปอยู่ช่วงหนึ่ง เป็นผู้บริโภคค่อนข้างเยอะ ใช้บัตรเครดิตสารพัด รู้สึกเหมือนถูกบังคับว่าต้องเสพ ต้องกิน พอเริ่มมาเป็นเกษตรกรรู้สึกว่าผมได้ชีวิตคืน ได้ทำอะไรหลายอย่างที่เราอยากทำเรื่องของเกษตรอินทรีย์เนื่องจากว่าเราจบมาด้านเทคนิคการใช้จุลินทรีย์ สอดคล้องกับการทำเกษตร ผมมองว่าเกษตรกรเป็นอาชีพที่มั่นคง ไม่มีใครเอาอาชีพเกษตรกรไปจากเราได้ พื้นฐานของประเทศเราทำเกษตรกรรม มากกว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมส่งสินค้าออก ผมลองผิดลองถูก ค้นคว้าหาความรู้ เวลามีปัญหาก็ไปถามจากผู้รู้บ้าง พอเริ่มทำรู้สึกว่าเราอยู่ได้ เราพึ่งตัวเองให้เยอะ พึ่งคนอื่นให้น้อยลง เป็นชีวิตที่มีความสุขมากว่าเดิมมาก เกิดความภูมิใจในตัวเอง

ในวันนี้เราพูดถึงการช่วยลดโลกร้อน เราต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง ถ้าไปเปลี่ยนในส่วนที่ใหญ่กว่าตัวเราก็เป็นเรื่องลำบาก ในแง่การเพาะปลูก เราปลูกผักสวนครัวที่บ้านง่ายๆ เราจะได้ผักที่สด สะอาด ทุกวันนี้เราถูกครอบงำโดย Modern Trade คนสมัยก่อนไม่มีโลตัส คาร์ฟูร์ แต่เขาดำเนินชีวิตอยู่ได้ ตอนนี้ผมทำทั้งน้ำยาซักผ้า ยาสระผม น้ำยาล้างห้องน้ำ สบู่ และกำลังทดลองทำยาสีฟันอยู่ ตอนที่ผมออกมาดำเนินชีวิตแบบนี้ ที่บ้านไม่มีใครสนับสนุน เขาคิดว่าทำไมถึงออกมาทำชีวิตตัวเองให้ลำบาก จริงๆ แล้วผมไม่ได้ลำบากเลย มีความสุขดีด้วยซ้ำไป

ผู้เข้าร่วมฟังเสวนาให้ความสนใจในเนื้อหาที่วิทยากรนำเสนอคุณอัจฉรา สมแสงสรวง ผู้อำนวยการแผนกความยุติธรรมและสันติ
มองว่าในที่สุดแล้วมนุษย์กลัวตายใช่ไหม จึงเกิดความห่วงใยในระดับสากลต่อวิกฤติอากาศ รณรงค์เรื่องลดอุณหภูมิ แต่ความกลัวตายของเราบางครั้งไปสร้างผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนา เช่น ชาวบ้านในละตินอเมริกาและชาวเขาในไทย ใช้นโยบายให้ภาคธุรกิจอยู่ได้และเติบโตต่อไป ดำเนินชีวิตของคุณไปปรกติ แต่ไปทำลายฐานชีวิต ต้นทุนทางสังคม เรื่องคาร์บอนเครดิตนักวิชาการมองว่าต่อไปจะเป็นกระแสของการแข่งขันและครอบครอง การซื้อขายคาร์บอนเหมือนกับศตวรรษที่ 14-15 ในยุคกลาง ก่อนจะมีการแยกตัวไปของโปรแตสแตนท์ ศาสนาเมื่อรุ่งเรืองมากก็มีการขายใบไถ่บาป ขุนนางสมัยนั้นที่เอาเปรียบชาวบ้านก็ไปซื้อใบไถ่บาป เหมือนโลกที่พัฒนาแล้วไม่สามารถลดการผลิตคาร์บอนของตัวเองได้ ต้องไปซื้อคาร์บอนเครดิตจากโลกที่สาม โดยที่การกระทำผิดยังทำได้ต่อไป เหมือนไปซื้อบุญมา ส่วนวัฒนธรรมการกินช้าๆ เหมือนวัฒนธรรมในวัยเด็กของเราที่ต้องอยู่ในครัวกับแม่ เช่นต้องหากากมะพร้าวมาก่อเตาถ่าน ทุกอย่างต้องมีศาสตร์และศิลป์ การหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ ดูว่าข้าวบานขนาดไหนแล้ว ทุกอย่างเวลาไม่ใช่ตัวกำหนด วัฒนธรรมในครอบครัวเกิดขึ้นตรงนั้น หรือถ้ามีคนป่วยก็จะทำแกงเลียงกินกัน สโลว์ฟู้ดเป็นการรื้อฟื้นคุณค่าวัฒนธรรม การหาความหมาย กลับไปหาชีวิตดั้งเดิมและทำให้ชุมชนเข้มแข็ง

(จากเสวนา "ความไม่เป็นธรรมในกระแสลดโลกร้อนและทางเลือกที่เราทำได้" จัดโดย คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม 2552 ที่ห้องประชุมชั้น 10 ตึกสภาพระสังฆราชฯ ช่องนนทรี)


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >