หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow รู้ทันอารมณ์ : ภาวัน
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 1272 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

รู้ทันอารมณ์ : ภาวัน พิมพ์
Wednesday, 19 August 2009

รู้ทันอารมณ์

IMAGE ฉบับเดือน เมษายน 2552

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นศิษย์เอกรุ่นแรกๆ ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ปฏิปทาของท่านงดงาม อีกทั้งคำสอนของท่านก็ลุ่มลึก เพราะเกิดจากการปฏิบัติจนเห็นแจ้งในสัจธรรม

คราวหนึ่งมีคนถามท่านว่า "หลวงปู่ครับ ทำอย่างไรจึงจะตัดความโกรธให้ขาดได้" ท่านตอบสั้นๆ ว่า "ไม่มีใครตัดให้ขาดได้หรอก มีแต่รู้ทัน เมื่อรู้ทันมันก็ดับไปเอง"

ความโกรธนั้นก็เช่นเดียวกับอารมณ์อื่นๆ เราไม่สามารถตัดหรือกดข่มให้หายไปได้ การกดข่มนั้นทำได้อย่างมากก็แค่ขับไล่ให้มันหลบซ่อนอยู่ในมุมมืดของใจ เผลอเมื่อไรมันก็โผล่มาอาละวาดใหม่ บ่อยครั้งเรากลับพบว่ายิ่งกด มันยิ่งโผล่ ยิ่งอยากให้มันหาย มันยิ่งออกมารบกวน เหมือนกับวัยรุ่นเกเรที่ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ

วิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลในการจัดการความโกรธ คือรู้ทันมัน ปกติเวลาโกรธใคร ใจเราจะพุ่งไปที่คนนั้น คิดหาทางเล่นงานหรือจ้องตอบโต้เขา ไม่ด้วยคำพูดก็การกระทำ แต่ทันทีที่เราหันมามองใจของตน จนเห็นความโกรธที่เผาลนจิตใจ ความโกรธจะวูบลงทันที เหมือนกองไฟที่ถูกชักฟืนออกมา

ความโกรธลุกลามได้ก็เพราะเราหมกมุ่นครุ่นคิดถึงคนหรือเหตุการณ์ที่เราไม่ชอบ การหมกมุ่นครุ่นคิดเช่นนั้นไม่ต่างจากการเติมฟืนให้กับกองไฟ ยิ่งเติมก็ยิ่งร้อน แต่ทำไมถึงยังเติมไม่หยุด นั่นก็เพราะเราเผลอปล่อยใจไปตามความโกรธ แต่เมื่อใดที่เรากลับมารู้ทันความโกรธ หรือเห็นความโกรธกลางใจ ความโกรธก็อ่อนแรงเพราะขาดเชื้อ ไม่นานก็ดับไป

จะรู้ทันความโกรธได้ต้องมีสติที่รวดเร็ว ถ้าสติเชื่องช้า กว่าจะรู้ตัวว่าโกรธก็ด่าหรือทำร้ายเขาไปเรียบร้อยแล้ว แล้วก็มานั่งเสียใจที่ทำสิ่งนั้นลงไป

การรู้ทันความโกรธนั้น ใช้ได้ทั้งกับตัวเองและคนอื่น เวลาพ่อแม่เห็นลูกโกรธ ส่วนใหญ่มักบอกลูกว่า "อย่าโกรธๆ" หรือ "โกรธเขาทำไม" การสอนเช่นนั้นทำได้อย่างมากแค่กระตุ้นให้ลูกกดข่มความโกรธ ซึ่งได้ผลชั่วคราว จะดีกว่าหากแนะให้ลูกหันมามองใจของตน และรับรู้ถึงความโกรธที่เกิดขึ้น วิธีนี้จะช่วยให้ลูกรู้ทันความโกรธได้เร็วขึ้น

"โมน"เป็นเด็กอายุ ๓ ขวบ คราวหนึ่งโกรธป้ามาก แม่เห็น แทนที่จะห้ามลูกว่า "อย่าโกรธ" ก็ถามลูกว่า "ลูกโกรธใช่ไหม" ลูกตอบว่าใช่ แม่จึงถามต่อว่า "โกรธแค่ไหน เท่านี้หรือโกรธเท่าฟ้า" ลูกบอกว่าโกรธเท่าฟ้า ฟังดูน่าตกใจ แต่ไม่นานโมนก็หายโกรธ

แม่ไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่าการช่วยให้โมนกลับมารู้ตัวและเห็นอารมณ์ของตนเอง แต่การทำเช่นนี้มีความสำคัญมาก เพราะเมื่อโมนเห็นความโกรธของตน ความโกรธในใจก็อ่อนกำลังและดับลงไปในที่สุด

ใช่แต่ความโกรธเท่านั้น แม้แต่ความอยากก็ดับลงได้ด้วยการรู้ทันหรือเห็นมันอย่างต่อเนื่อง เย็นวันหนึ่งลูกสาววัย ๑๒ มาออดอ้อนแม่ว่าอยากได้ของเล่นชิ้นหนึ่งที่วางขายในร้าน เป็นไมโครโฟนเล็กๆ ที่เสียบปลั๊กแล้วสามารถร้องเพลงได้หมือนนักร้องจริงๆ พอแม่ถามราคา ก็ตกใจเพราะราคาสูงถึง ๔๐๐ บาท

ลูกรบเร้าว่าอยากได้มากจริงๆ แม่จึงตกลงกับลูกว่า แม่จะหักเงินค่าขนมของลูกครึ่งหนึ่งใส่กระปุกทุกวันจนกว่าจะครบ ๔๐๐ บาท อีกอย่างที่แม่อยากให้ลูกทำคือ ทุกเย็นเป็นเวลา ๑ อาทิตย์ให้ลูกเข้าไปที่ร้านนั้นและมองดูไมโครโฟน "แล้วให้สังเกตด้วยว่าทุกวันที่มองดู ใจหนูรู้สึกอย่างไร ชอบมันมากเหมือนเดิมทุกวันไหม"

ผ่านไป ๔ วันเท่านั้น ลูกก็มาบอกแม่ว่าไม่อยากได้แล้ว เมื่อแม่ถามว่าทำไม ลูกตอบว่า "เบื่อ" ลูกพูดต่อว่า "ดูนานๆ ก็เบื่อเอง เพราะไม่เห็นมีอะไร เก็บเงิน ๔๐๐ ไว้ดีกว่า"

เวลาเกิดความอยากได้นั่นได้นี่ เรามักทำตามความอยากทันที คือขวนขวายไปหามันมา จึงไม่มีโอกาสที่จะเห็นหรือรู้ทันความอยาก แต่หากเราลองไม่ทำตามมันดูบ้าง เช่น ไม่ซื้อหรือผัดผ่อนไปก่อน มันจะแสดงตัวให้เราเห็นอย่างชัดเจน ด้วยการ "โวยวาย"หรือดิ้นรนผลักดันให้เราคล้อยตามมันให้ได้ ตรงนี้เองหากเราลองตั้งสติและดูมันไปเรื่อยๆ ไม่ช้าไม่นานมันก็จะสงบลงไปเอง

อารมณ์ที่บั่นทอนจิตใจ ไม่ว่าความโกรธหรือความอยาก เปรียบเสมือนโจรที่กลัวคนเห็น ทันทีที่ถูกเห็น มันก็จะทนเฉยไม่ได้ ต้องล่าถอยไป เช่นเดียวกับความมืดที่แพ้แสงสว่าง

ถ้าไม่อยากให้โจรร้ายครองใจ ก็ขอให้หมั่นดูใจของเราอยู่เสมอ

โดย... ภาวัน

ที่มา คอลัมน์ ชวนสังคมคิด : http://www.budnet.org/

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >