หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow “กองบุญข้าว” คุณธรรมที่แฝงอยู่ใน “ข้าว” ของชาวปกาเกอะญอ
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 292 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

“กองบุญข้าว” คุณธรรมที่แฝงอยู่ใน “ข้าว” ของชาวปกาเกอะญอ พิมพ์
Wednesday, 25 July 2007

กองบุญข้าว
คุณธรรมที่แฝงอยู่ใน ข้าว ของชาวปกาเกอะญอ

ธัญลักษณ์  นวลักษณกวี
ฝ่ายเผยแพร่เพื่อการมีส่วนร่วม ยส.

ลำนำบทหนึ่งของชาวปกาเกอะญอ กล่าวถึงคุณธรรมของ ข้าว ว่า ข้าวมีน้ำใจดี มีคุณธรรม มีใจเมตตา เลี้ยงชีวิตทุกคนไม่เลือกหน้า ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ตั้งแต่แม่ม่ายจนถึงเด็กกำพร้า

                               บือหมื่อ อะทิ โอะ เลอแล                ถิ่นกำเนิดข้าวอยู่ ณ ที่ใด
                               บือพอ อะทิ โอะ เลอแล                 
แหล่งกำเนิดข้าวอยู่ ณ ที่ใด
                               บือหมื่อ อะทิ เลอ ว่าแร                 
ถิ่นกำเนิดข้าวอยู่ไกลแต่ฟากโน้น
                               บือพอ อะทิ เลอ ว่าแร                   
แหล่งกำเนิดข้าวอยู่ไกลแต่ฟากโน้น
                               อะทู่ โด้ อะหล้า จวี่แย                    ต้นดกๆ ใบงามๆ
                               กว่าแก มื่อแม เดอ โพ่แค               เลี้ยงชีวิตทุกคนทั้งแม่ม่ายและกำพร้า

ข้าว ในความหมายของปกาเกอะญอ มีมิติของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่มีต่อมนุษย์และมิติเชิงวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ดังมีคำกล่าวว่า ข้าวมีอยู่ 9 เมล็ด เมล็ดที่ 1 เอาไว้สำหรับตัวเองเพื่อบริโภค เมล็ดที่ 2 สำหรับครอบครัว เมล็ดที่ 3 สำหรับญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง เมล็ดที่ 4 เพื่อคนยากจนที่มาขอในยามยาก เมล็ดที่ 5 เอาไว้บวชลูก  เมล็ดที่ 6 เอาไว้ค้ำจุนสังคมยุคพระศรีอาริย์ เป็นการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อช่วยกันสร้างสังคมใหม่  เมล็ดที่ 7 มีไว้เพื่อแลกกับแก้วแหวนเงินทอง เมล็ดที่ 8 เอาไว้เพื่อสร้างชุมชนเพื่อทำให้เกิดอารยธรรม เมล็ดที่ 9 เอาไว้เพื่อตัวข้าเมื่อข้าตายไปแล้ว

ImageImage
 ข้าว คือ ชีวิต สำหรับชาวปกาเกอะญอ (ภาพซ้าย)
 ขบวนแห่ข้าวเริ่มตั้งแต่เช้ามืดของวันงาน (ภาพขวา)

ImageImage
 เยาวชนทั้งหญิงและชาย ต่างรอคอยที่จะได้ร่วมงานนี้มาทั้งปี (ภาพซ้าย)
 เยาวชนปกาเกอะญอในชุดประจำเผ่าแบบเต็มยศจะหาดูได้ในงานสำคัญเท่านั้น (ภาพขวา)

ชาวปกาเกอะญอให้คุณค่ากับเรื่องคุณธรรมของข้าว  ดังมีคำสอนเรื่อง "ปือปาจะแน" หมายถึง แม่ม่ายลูกกำพร้า เล่าว่า ชุมชนแห่งหนึ่ง มีลูกกำพร้าคนหนึ่ง เขาเก็บเม็ดข้าวที่ไปตกตามชุมชน ได้มา 7 เม็ด แล้วนำมาปลูกที่บริเวณก้อนหินที่เขาเก็บได้ ในช่วงที่ไปเก็บข้าว เขาได้เจอแม่ม่ายคนหนึ่งเข้ามาในหมู่บ้านพอดี ช่วงนั้นชาวบ้านไปทำไร่กันหมด สุนัขก็ไล่กัดแม่ม่ายชราผู้นี้หนีจนกระทั่งไปติดอยู่ที่กอไผ่ เรียกใครให้ช่วยก็ไม่มีใครช่วย สุดท้ายลูกกำพร้าก็ไปช่วยแล้วพาไปที่บ้าน ช่วงนั้นเป็นช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ซึ่งชาวบ้านอดข้าวกันมาก ไม่มีข้าวจะกินกัน แม่ม่ายคนนั้นก็บอกให้ลูกกำพร้าไปเกี่ยวใบข้าวมา หนึ่งใบข้าวก็กลายเป็นข้าวงอกและโตขึ้นทุกวันจนกระทั่งข้าวนั้นสุก แม่ม่ายบอกให้ลูกกำพร้าไปเกี่ยวข้าว 7 ต้นนั้น เกี่ยวเท่าไรก็ไม่หมด สุดท้ายข้าวก็เต็มยุ้ง พอข้าวเต็มยุ้ง แม่ม่ายจึงบอกลูกกำพร้าว่า ลูกเอ๋ย ยายจะไปแล้วนะ แล้วเวลาเกี่ยวข้าวก็ให้คิดถึงยายยายแม่ม่ายได้กลายเป็นนกชื่อ "โทบีข่า" เป็นนกขวัญข้าว เรื่องเล่านี้บอกให้รู้ว่า นี่คือจิตวิญญาณของยายแม่ม่าย เพื่อให้ชาวปกาเกอะญอ ได้รักคนจนและลูกกำพร้า เพราะฉะนั้นเวลากินข้าวจงอย่าลืม เพราะข้าวมีจิตวิญญาณ ซึ่งจะคุ้มครองคนยากจนให้เป็นอย่างลูกกำพร้า

ชาวปกาเกอะญอจึงให้ความสำคัญกับ ข้าว เป็นอย่างมาก เห็นได้จากวิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอนับจากอดีตถึงปัจจุบัน แม้พวกเขาจะหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจตามกระแสโลก แต่พวกเขายังคงต้องกันพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้ปลูกข้าวเพื่อให้มีกินและมีเก็บ ไม่ให้ข้าวขาดหายไปจากยุ้งฉางประจำบ้านซึ่งพร้อมจะเปิดออกเพื่อแบ่งปันข้าวที่พวกเขามีเหลือ เพื่อเผื่อแผ่ให้แก่ผู้ทุกข์ยากได้เสมอ และนั่นเองจึงเป็นที่มาของ ธนาคารข้าว และ กองบุญข้าว

หากย้อนกลับไปสืบค้นถึงที่มาการเกิดขึ้นของธนาคารข้าวจึงได้พบว่า ในปี พ.ศ.2513 คุณพ่อมิชชันนารีคณะเบธาราม มองเห็นความเดือดร้อนของชาวบ้านที่ไม่มีข้าวกิน ต้องไปกู้ข้าวกู้เงินจากหมู่บ้านใกล้เคียงซึ่งคิดดอกเบี้ยแพง คุณพ่อจึงได้ตั้งธนาคารข้าวขึ้นเพื่อให้มีข้าวหมุนเวียนภายในชุมชนจนสามารถแก้ปัญหาขาดแคลนข้าวและความอดอยากของชาวบ้านได้ ต่อมาปี 2530 ศูนย์สังคมพัฒนาเชียงใหม่ จึงได้เริ่มจัดงานกองบุญข้าวเพื่อต่อยอดธนาคารข้าวที่มีอยู่ก่อนแล้ว โดยนำมารื้อฟื้นใหม่ให้เกิดแนวทางการพัฒนาบนพื้นฐานของคุณค่าศาสนาและวัฒนธรรมแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

Imageลุงชัย  สร้างกุศลในพสุธา ประธานเครือข่ายกองบุญข้าวรุ่นบุกเบิก เล่าให้ฟังถึงที่มาการเกิดขึ้นของกองบุญข้าวโดยการริเริ่มของศูนย์สังคมพัฒนาฯ ว่า  เริ่มต้นจากคุณพ่อนิพจน์  เทียนวิหาร เข้ามาให้แนวคิดผ่านผู้นำในหมู่บ้านแม่แสะ (อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่) แนวคิดนี้ก็มาจากวิถีของคนปกาเกอะญอดั้งเดิม ซึ่งเขาอาจลืมคิดถึงเพราะมีสิ่งภายนอกอย่างอื่นเข้ามา ชาวบ้านขณะนั้นยังชีพด้วยการปลูกชาเพื่อซื้อข้าว แต่บางคนก็ไม่ได้ปลูกชาต้องไปรับจ้างข้างนอกจึงมีปัญหาขาดแคลนข้าว ช่วงนั้นเด็กและเยาวชนเริ่มออกไปจากหมู่บ้าน ชาวบ้านเริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิต การช่วยเหลือเกื้อกูลเริ่มลดน้อยลง เมื่อเกิดกิจกรรมนี้จึงเป็นการรื้อฟื้นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ให้เห็นว่าถ้าขาดข้าวทุกอย่างจะไม่มี มีช้างก็ต้องขายช้าง มีควายก็ต้องขายควายเพื่อซื้อข้าวกิน แต่ถ้ามีข้าวทุกอย่างจะตามมา

วัตถุประสงค์หลักที่ก่อตั้ง คือ 1.เพื่อช่วยเหลือหมู่บ้านที่ขาดแคลน  2.เพื่อสืบทอดวัฒนธรรม  3.เพื่อให้การศึกษาเรียนรู้แก่คนรุ่นใหม่ ครั้งแรกจัดที่บ้านแม่แสะ ซึ่งเป็นบ้านของลุงชัยเอง ได้ข้าว 400 ถัง เป็นเงิน 2,000 บาท นำไปช่วยชาวบ้านหมู่บ้านละแวกใกล้เคียงที่มีความเดือดร้อนได้ 2 - 3 หย่อมบ้าน หย่อมละ 200 ถัง ต่อมาเริ่มที่เขตขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน จึงเกิดเป็นธนาคารข้าวขึ้น คนที่เอาข้าวมาร่วมทำบุญ ต่างเต็มใจมาให้ เนื่องจากเห็นความทุกข์ยาก เพราะเขาเคยลำบากหิวโหยมาก่อน ความช่วยเหลือนี้ไม่จำกัด ใครจะให้กี่ถังก็แล้วแต่ความสามารถ ครั้งแรกประสบความสำเร็จ ชาวบ้านอยากทำต่อ เช่น เขตแม่แจ่ม แล้วเขตอื่นๆ ก็ทำตาม ตั้งแต่นั้นก็จัดต่อเนื่องทุกปีจนถึงปัจจุบันนี้"

ลุงชัย เล่าให้ฟังถึงกิจกรรมกองบุญข้าวว่า การจัดจะมีเป้าหมายว่าจะช่วยเหลือใครบ้างตามวัตถุประสงค์ที่เราวางไว้ แต่ละเขตจะมีคณะกรรมการเขตดูแลว่าหมู่บ้านไหนต้องการธนาคารข้าว ต้องช่วยแม่ม่าย เด็กกำพร้ากี่คน กรรมการช่วยกันชี้แจงว่าจะจัดอย่างไร มีการสนับสนุนกลุ่มแม่บ้าน กองทุนหมุนเวียน เมื่องานเสร็จจะจัดสรรตามส่วน แบ่งเป็น 3 ส่วน  1) ให้ชาวบ้าน 70 %  2) ให้เครือข่าย 10 %  3) ให้เป็นกองทุนของเขต 20 % เพื่อเป็นทุนสำรองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น สืบเนื่องจากตอนจัดครั้งแรกขอบริจาคเฉพาะข้าว ต้องเอารถของศูนย์ฯ ไปขนข้าวแต่ละหมู่บ้านซึ่งมีค่าใช้จ่ายมาก ตอนหลังเลยบอกว่าถ้าไม่สามารถเอาข้าวมาได้ ให้เอาเงินมาแทน หมู่บ้านที่อยู่ไกลๆ จากที่จัด ก็มักจะเอาเงินมาช่วย ที่อยู่ใกล้ก็เอาข้าวมา และการรณรงค์จากภายนอก เช่น อบต. ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำที่ชาวบ้านใกล้ชิด มักจะเอาปัจจัย เอาเงินมาให้ การจัดแต่ละครั้งจึงได้ทั้งเงินได้ทั้งข้าว จัดแต่ละครั้งได้เงินอย่างต่ำ 2-3 หมื่นบาทในแต่ละที่ ได้ข้าวประมาณ 500 - 600 ถัง ถ้าเหลือปีๆ หนึ่งได้ 1,000 กว่าถัง เงินเป็นแสน ทุกๆ เขต

ImageImage
 ประธานเครือข่ายกองบุญข้าวชี้แจงวัตถุประสงค์งานกองบุญข้าว (ภาพซ้าย)
 คุณพ่อเจ้าอาวาสวัดคาทอลิกในเขตแม่ฮ่องสอนร่วมกันประกอบพิธีมิสซา (ภาพขวา)

ImageImage
 คุณพ่อแจกแผ่นปังในพิธีรับศีลมหาสนิท (ภาพซ้าย)
 อุปกรณ์เครื่องใช้เกี่ยวกับ ข้าว” (ภาพขวา)

สำหรับชาวปกาเกอะญอซึ่งส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก งานรณรงค์กองบุญข้าวถือเป็นงานประเพณีสำคัญงานหนึ่งในรอบปีเลยก็ว่าได้ และเป็นโอกาสที่คนภายนอกจะได้สัมผัสกับวัฒนธรรมประเพณีของปกาเกอะญอในเครื่องแต่งกายชนเผ่าที่สวยงามแปลกตา ทั้งยังได้รู้จักกับอุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ที่ประกอบกิจกรรมเกี่ยวกับ ข้าว แบบดั้งเดิมซึ่งปัจจุบันแทบจะหาไม่ได้แล้ว อย่าง คราด หรือที่ ปกาเกอะญอ เรียกว่า เผ่อ และ แถ่ อุปกรณ์ใส่คอควายใช้ไถนา

ในวันงานกองบุญข้าวจะเริ่มด้วยขบวนแห่ต้นเงินที่ได้รับบริจาคจากชาวบ้าน รวมทั้งข้าวเปลือกซึ่งถือเป็นหัวใจของงาน คุณพ่อเจ้าอาวาสวัดคาทอลิกในเขตนั้นจะประกอบพิธีมิสซา เสกข้าว และต้นเงิน  เมื่อเสร็จพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายสังคมพัฒนาจะสานต่อโดยจัดสรรเงินและข้าวที่ได้รับมาแจกจ่ายไปยังชาวบ้านในเขตและบริเวณใกล้เคียงซึ่งกลุ่มเป้าหมายนี้จะต้องเป็นผู้ที่ลำบากจริงๆ อาทิ ผู้สูงอายุ คนพิการ คนป่วย ฯลฯ เพื่อให้สำเร็จดังวัตถุประสงค์ของเครือข่ายกองบุญข้าวที่เน้นความต้องการของชุมชนเป็นหลัก ดังที่ลุงชัยช่วยอธิบายต่อว่า  ปัจจุบันนี้ ชาวบ้านเห็นความสำคัญของกองบุญข้าว เมื่อพูดถึงกองบุญข้าวก็จะมีทั้งเรื่องข้าว วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ ภูมิปัญญา ตอนนี้หลายหมู่บ้านอาจไม่มีความจำเป็นเรื่องข้าวแต่ยังมีปัญหาอื่นอยู่ กองบุญข้าวจึงสนับสนุนอย่างอื่นด้วย เช่น ช่วยเรื่องการศึกษา กองทุนฉุกเฉิน น้ำท่วม เมื่อก่อนมีเหตุการณ์ที่น้ำท่วมนาเสียหายหมด เราก็เข้าไปช่วยเหลือทั้งเงินทั้งข้าว   

งานรณรงค์กองบุญข้าวดำเนินอย่างต่อเนื่องมาสู่ปีที่ 19 ในปี 2550 นี้แล้ว ณ ปัจจุบัน มีเครือข่ายกองบุญข้าวเกิดขึ้นเกือบ 400 หมู่บ้าน ใน 16 อำเภอ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย อำเภอเมือง จอมทอง ฮอด แม่แจ่ม แม่วาง สะเมิง แม่อาย ฝาง ไชยปราการ อมก๋อย และพร้าว ส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วยอำเภอ สบเมย แม่สะเรียง แม่ลาน้อย ขุนยวม และปาย เครือข่ายที่เกิดขึ้นนี้ย่อมยืนยันได้ถึงความสำเร็จซึ่งล้วนมาจากความร่วมมือร่วมใจของชาวปกาเกอะญอเพื่อช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบปัญหาให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี แต่สิ่งที่เหนือไปกว่านั้นก็คือ การที่พวกเขายังคงยึดถือในคุณธรรมของ ข้าว  นั่นเพราะ ข้าว คือ ชีวิต ของพวกเขา 

ImageImage
 ข้าวเปลือกบริจาคจากชาวบ้านจะถูกนำไปแจกจ่ายให้ผู้ทุกข์ยาก

ลุงชัย กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า ยุคการเปลี่ยนแปลงนี้ คนเราคิดถึงตัวเงินมากกว่าข้าวจะทำให้มีปัญหา เช่น ทำแต่สวนผัก สวนกะหล่ำ จนลืมทำไร่ทำนา พวกนี้เราไม่อาจกำหนดราคาเองได้ เมื่อราคาดีก็ดีไป ขึ้นอยู่กับพ่อค้า แต่ข้าวเราสามารถกำหนดได้ ถึงแม้เรากำหนดราคาไม่ได้ เราก็มีข้าวกิน ข้าวเรากินทุกวัน วันละ 3 มื้อ ถ้าเราขาดข้าวแค่เดือน 2 เดือน ก็ต้องใช้เงินหลายตังค์ไปซื้อมา ปีนี้จึงรณรงค์เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ข้าวอยู่ได้ คนอยู่ได้เพราะข้าว   เพราะฉะนั้นเราต้องรักษาดินเพื่อปลูกข้าว เพราะถ้าไม่มีดินเราจะปลูกข้าวที่ไหน แล้วในที่สุดเราจะเอาอะไรกิน เราจึงต้องปลูกข้าวเพื่อจะได้มีชีวิตมีข้าวกิน  กองบุญข้าวจะสืบต่อไปได้ชั่วลูกชั่วหลานเพราะผู้ใหญ่และเยาวชนเข้าใจ ลุงจัดอบรมเยาวชนตามหมู่บ้าน ก็รู้สึกว่างานเกษตรไม่ได้น่ารังเกียจ ไม่ได้ต่ำต้อย แม้ไม่มีหน้ามีตา แต่เราน่าจะภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือคนอื่นให้มีข้าวกินได้ ถ้าออกไปหางานทำข้างนอกกันหมด แล้วใครจะปลูกข้าวให้กิน เราจึงต้องสืบทอด

ท้ายสุด ลุงชัย ยังได้ยกตัวอย่าง สุภาษิตของชาวปกาเกอะญอ  ที่ให้ความหมายและความสำคัญของ ข้าว ไว้ให้เราได้ฉุกคิดว่า ถึงแม้พายุจะแรงขนาดไหน เราไม่สามารถจะถืออะไรได้นอกจากตอข้าว  และถ้าภายนอกมืดทำอะไรไม่ได้นอกจากมีเทียนจุดให้มองเห็น เรายึด 2 อย่างเป็นหลัก เทียน เปรียบเหมือนประตู ตอข้าว หมายถึง ข้าวที่เรากิน ถ้าเราจะกินอย่างอื่นก็กินไม่ได้ แค่เรามีข้าวกินเราก็สบายใจแล้ว ถึงลูกจะไม่ได้เรียนก็ไม่เป็นไร ขอให้มีข้าวกิน   

Image

ข้อมูลอ้างอิง

ข้าวกับวัฒนธรรม
 : บทสัมภาษณ์จากบาทหลวงนิพจน์ เทียนวิหาร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและฝึกอบรมศาสนาและวัฒนธรรมชุมชน จาก http://www.montfort.ac.th/   
สังฆมณฑลเชียงใหม่   http://www.chiangmaidiocese.org

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >