หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 93 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

ครบรอบ ๑ ปี พระสุพจน์ สุวโจ, ๒ ปี เจริญ วัดอักษร: วรพจน์ สิงหา รายงาน พิมพ์
Tuesday, 20 June 2006


ครบรอบ ๑ ปี พระสุพจน์ สุวโจ, ๒ ปี เจริญ วัดอักษร
และการอุ้มหาย ทนายสมชาย นีละไพจิตร

Image


๒ ปีกว่า ที่สมชาย นีละไพจิตร ทนายความมุสลิม ผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย และเป็น ๒ ปีที่เจริญ วัดอักษร ชาวบ้านผู้ลุกขึ้นมาคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอกถูกกระหน่ำยิงจนเสียชีวิต และเป็น ๑ ปีเต็มที่พระสุพจน์ สุวโจ ผู้ต่อสู้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นถูกลอบสังหารอย่างทารุณโหดร้ายด้วยของมีคมไม่ทราบขนาดและชนิด จนเกิดบาดแผลฉกรรจ์กว่า ๒๐ แผลทั่วร่างกาย



ทั้ง ๓ กรณีการสังหารและการถูกทำให้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ล้วนมีปมเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพลหรือเจ้าหน้าที่รัฐ จนกระทั่งปัจจุบัน คดีสะเทือนขวัญศาสนิกชน ตลอดจนนักสิทธิมนุษยชน ทั้งในและนอกประเทศทั้ง ๓ คดีนี้ ยังไร้ความคืบหน้าในการติดตามคนร้ายมาลงโทษ

มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ เครือข่ายศาสนิกชนแห่งประเทศไทย สภาองค์การมุสลิมแห่งประเทศไทย คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.) ร่วมกับองค์กรเครือข่าย จัดเสวนาโต๊ะกลม หัวข้อ “ปัญหา สาเหตุ และทางออกจากวิกฤตแห่งความรุนแรง ในมุมมองศาสนิกชน” ในงานครบรอบ ๒ ปี เจริญ วัดอักษร ๑ ปี พระสุพจน์ สุวโจ และการอุ้มหาย ทนายสมชาย นีละไพจิตร โดยมีการแลกเปลี่ยนสนทนาจากตัวแทน ๓ ศาสนา และนักวิชาการ มีผู้เข้าร่วมประมาณ ๔๐ คน ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องจากกรณีการจากไปของพระสุพจน์ สุวโจ นายเจริญ วัดอักษร และทนายสมชาย นีละไพจิตร เมื่อวันที่ ๑๗ - ๑๘ มิถุนายน ที่ผ่านมา ที่อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา ถ.ราชดำเนิน

พระกิตติศักดิ์ กิตติโสภโณ จากมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์พระกิตติศักดิ์ กิตติโสภโณ จากมูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ กล่าวว่า “ไม่รู้ว่าเราจะต้องไปงานศพคนดีกันอีกกี่งาน?” กรณีของพระสุพจน์ กรณีของคุณเจริญ วัดอักษร กรณีของทนายสมชาย เป็นเหมือนสะกดข่มและสยบคนที่เหลืออีกเป็นจำนวนมาก ว่าถ้ากล้าแข็งขืนขึ้นมาอย่างนี้อีกก็จะโดน แล้วไม่มีใครช่วยได้

“ซึ่งตรงนี้ ถามว่าใครได้ประโยชน์โดยตรงจากการตายของพระสุพจน์ คุณเจริญ วัดอักษร และทนายสมชาย คนที่ได้ประโยชน์โดยตรงอาจจะได้ประโยชน์ไม่มากนัก แต่เป็นเหมือนการสร้างบรรยากาศของความหวาดกลัว การฆ่าพระสุพจน์ ไม่ได้หมายถึงการฆ่าพระรูปหนึ่ง แต่เป็นเหมือนการตอกย้ำว่า พระก็ยังโดนฆ่า เพราะฉะนั้น ถึงตรงนี้ มันครบส่วนหมด ไม่ว่าจะเป็นอิหม่าม บาทหลวง พระหรือผู้นำชุมชน และอาตมามองว่า ทั้ง ๓ กรณี คือ กรณีของพระสุพจน์ กรณีของคุณเจริญ วัดอักษร กรณีของทนายสมชาย ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ และการที่คดีไม่คืบหน้า ก็ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ และอาตมาก็ไม่เชื่อว่า ถึงตอนนี้ คนในคณะรัฐมนตรีหรือคนในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะไม่รู้ว่าใครฆ่าพระสุพจน์ จะไม่รู้ว่าใครฆ่าคุณเจริญหรือทนายสมชาย”

ความรุนแรงในสังคมไทย เพิ่มขึ้นทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ และความรุนแรงบางอย่างเป็นความรุนแรงอย่างลึกซึ้ง ซึ่งส่งผลสะเทือนถึงผู้คนในรุ่นต่อๆ ไป บรรยากาศทางสังคมที่เกิดขึ้นไม่เปิดโอกาสให้ฝ่ายศาสนาได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างที่ควรจะเป็น ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม อาตมามองว่า ถึงปัจจุบัน รัฐเองก็ไม่ได้อยู่ในสภาพที่ไว้วางใจฝ่ายศาสนา ตรงนี้ในแง่หลักธรรมที่ถูกต้องของทั้ง ๓ ศาสนา ก็ถูกบ่อนเซาะจากการโฆษณาชวนเชื่ออย่างที่เราเห็นกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายรัฐและทุน เมื่อรัฐและทุนจับมือและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตรงนี้ฝ่ายที่อ่อนแอ ก็คือฝ่ายศาสนิกชน ในการที่ตัวเองจะดำเนินชีวิตภายใต้บรรยากาศความสงบร่มเย็น ก็ถูกกระทำให้กลายเป็นว่า บุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่ไม่ยอมรับการพัฒนา บุคคลเหล่านี้ไม่ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการลงทุน บุคคลเหล่านี้ไม่เอื้อต่อการที่ประเทศชาติจะพัฒนาไปในทางวัตถุ”

“อาตมามองว่าไม่ใช่ว่าเราไม่ยอมรับในการพัฒนา เพียงแต่ว่า การพัฒนานั้นควรจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน และน่าจะเป็นการพัฒนาที่มีมิติในเรื่องของจิตวิญญาณเสริมเข้าไปด้วย”

“เรื่องฝ่ายศาสนา เรื่องความเข้าใจในหลักธรรมของศาสนาต่างๆ อาตมามองว่ามันมีความก้าวหน้ายิ่งกว่าสมัยก่อนๆ ความร่วมมือกันระหว่างศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู ซิกข์ มีความร่วมมือกันไม่ว่าจะเป็นในส่วนของรัฐหรือเอกชน เพียงแต่ว่าตรงนี้ เราไม่สามารถขยายผลการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมได้ เพราะว่า บางเรื่องรัฐยังไม่ไว้วางใจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันศาสนาที่อิงอยู่กับรัฐ ยังไม่ไว้วางใจให้ศาสนิกชนได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างที่ควรจะเป็น”

คุณพ่อวิชัย โภคทวี พระสงฆ์คาทอลิกคุณพ่อวิชัย โภคทวี พระสงฆ์คาทอลิก กล่าวว่า “ทางคริสตศาสนา ความรุนแรงไม่สามารถสร้างสันติสุขที่แท้จริงได้ ความรุนแรงจะต้องแก้ไขด้วยสันติสุข และไม่ใช่การยอมสยบต่อความรุนแรง แต่หมายถึงเราต้องใช้ความดีเอาชนะความชั่ว เอาความสงบชนะความรุนแรง ความรุนแรงที่เราได้รับ ถ้าหากไม่สามารถเอาหลักธรรมเข้ามาใช้ มันจะเกิดความรุนแรงมากขึ้นอีก เช่น กรณีสงครามยาเสพติด มีการฆ่าตัดตอน ก็เป็นเหมือนการทำให้สังคมไทยเข้าสู่ความรุนแรง”

“ปัจจุบันนี้ทางฝ่ายศาสนิกยังไม่เห็นว่าปัญหาทั้งหมดที่เป็นอยู่นี้ มันเป็นปัญหาทางศีลธรรม หลายคนวิเคราะห์ว่ามันเป็นปัญหาทางการเมือง ปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นปัญหาสังคม แต่พื้นฐานจริงๆ คือ ปัญหาทางศีลธรรม ยกตัวอย่างเช่น คำว่า “บาป” ในภาษาคริสต์แปลว่า พลาดเป้า เราไปไม่ถึงในที่ที่ควรจะไป และเรามามะงุมมะงาหรากันอยู่ในตรงนี้ เกิดความสับสนวุ่นวายมากมาย ขณะเดียวกัน ทางคริสต์เรานี่ บาปก็คือความชั่วร้ายที่เป็นผลจากการพลาดเป้าหมายของมนุษย์ที่ควรจะไปให้ถึง ควรจะยึดหลักธรรมและควรจะบรรลุให้ถึงธรรมะ และในเมื่อสังคมเราเนี่ย มันไม่ได้มุ่งไปสู่ทางธรรม และการกระทำไม่ได้ใช้หลักการ ไม่ได้เอาจริยธรรมและศีลธรรมเป็นตัวตั้ง แต่กลับเอาผลประโยชน์เป็นตัวตั้ง ก็เลยทำให้สังคมทั้งหมดนั้นพลาด และปัญหาสังคมทั้งหมดอยู่ตรงนี้ ฝ่ายศาสนิกเมื่อมองไม่ถูก ก็คิดว่าไม่ใช่เรื่องของฉัน แต่ถ้าเมื่อไหร่เรารู้ว่าอันนี้เป็นเรื่องของธรรมะ เราก็จะเข้ามาช่วยกันแก้ไข และศาสนาจะเข้ามาเป็นจิตสำนึก เข้ามาเตือนสติได้”

“ความอยุติธรรมจำเป็นต้องยุติ แต่ต้องยุติด้วยวิธีแห่งสันติ คือเรามักจะมีความรู้สึกว่า ความรุนแรงต้องตอบโต้ด้วยความรุนแรง ซึ่งไม่ใช่ และขณะเดียวกัน ความสันติมักถูกมองว่าเป็นความขี้ขลาด หรือนิ่งเฉย ซึ่งความสันติเป็นความกล้าหาญมากกว่าความรุนแรง และการใช้สันติวิธีต้องเต็มไปด้วยความกล้าหาญและเต็มไปด้วยความรัก”

คุณพ่อวิชัย โภคทวี และรศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพ็ชรรศ.ดร.วไล ณ ป้อมเพ็ชร จากคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ กล่าวว่า “นอกจากความรุนแรงในสังคมไทยจะเพิ่มขึ้นแล้ว ยังขยายออกไปกว้างกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่น่าเป็นห่วงคือบรรดาเยาวชน ความรุนแรงได้เข้าไปสู่โรงเรียน เด็กนักเรียนมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น การแกล้งกัน ทำร้ายกันในระดับประถมฯ ไม่ใช่ระดับมัธยมฯ เหมือนเมื่อก่อน เวลาที่เราอยู่กันอย่างสันติอย่างเมื่อก่อน เมื่อก่อนเราอยู่กันอย่างสันติ เพราะมันยังไม่มีอิทธิพลจากภายนอกเข้ามาอย่ารวดเร็วขนาดนี้ เมื่อมีทุนนิยมเข้ามา มันรวดเร็วมาก จนเราตั้งตัวไม่ทันในการจัดกระบวนการทางสันติวิธี”

เตือนใจ ดีเทศน์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า “ความรุนแรงมี ๒ ระดับ คือระดับบุคคล ซึ่งมีเพิ่มขึ้น คือขาดความเมตตา ขาดความอดทน ขาดความสงบในจิตใจ และเกี่ยวข้องกับความรุนแรงระดับที่สอง คือโครงสร้างของนโยบายซึ่งมุ่งกระตุ้นโดยเอาเงินเป็นเป้าหมาย และเอาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมาย จึงนำไปสู่ความขัดแย้ง ความโกรธ ความขัดผลประโยชน์ และมีความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นมาก จิตใจของบุคคลขาดเมตตาธรรม ขาดความสงบสันติก็จะเกิดความรุนแรงทั้งในวิถีชีวิตและในโครงสร้างของรัฐบาลด้วย เมื่อประชาชนไม่เห็นด้วยกับโครงการของรัฐบาล รัฐบาลและคนของรัฐก็มองว่าประชาชนเป็นศัตรู”

“รัฐบาลเห็นแต่ดัชนีวัดความเจริญเติบโตทางรายได้ ซึ่งรัฐน่าจะวัดความเจริญเติบโตทางความสุขมากกว่า ตอนนี้ รัฐบาลต้องการให้ประเทศไทย มีความสามารถในการแข่งขัน เอาเศรษฐกิจเป็นตัวตั้งหมดเลย ในขณะที่ประชาชนอยากจะอยู่อย่างพอเพียง อยากจะอยู่อย่างอบอุ่น ชุมชนอบอุ่น แบ่งปันพึ่งพากัน และมีธรรมชาติที่ดี เราต้องทำให้เป้าหมายของประเทศได้รับการทบทวน ทั้งในระดับบุคคลและระดับผู้นำ แต่เราไม่สามารถหวังได้จากรัฐบาลและผู้นำในปัจจุบัน เพราะเป็นเป้าหมายที่สวนทางกับเป้าหมายของประชาชน และรัฐบาลทำให้คนชนบทเปลี่ยนวิถีชีวิต มีโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เอาที่สาธารณะไปออกเอกสารสิทธิ์ให้บุคคล ทำให้พื้นที่ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ถูกทำลายไป เราได้เห็นว่าเป้าหมายของรัฐบาลกับเป้าหมายของประชาชน อยู่คนละขั้ว อยู่คนละทิศ และตอนนี้เราถูกบดบังด้วยความมืดแห่งความโลภที่นำโดยรัฐบาล”

วิทยา วิเศษรัตน์ นักวิชาการมุสลิม กล่าวว่า “ทุกศาสนาไม่มีคำสอนใดที่ใช้ให้คนฆ่าคน ศาสดาบอกว่า เมื่อใดที่ผู้ปกครองระแวงสงสัยประชาชน ย่อมทำลายประชาชน คิดว่าเขาเป็นโจร คิดว่าเขาเป็นผู้ก่อการร้าย เมื่อผู้ปกครองปกป้องความชั่ว ความชั่วก็จะระบาดไปในสังคม ในศาสนาอิสลามศาสดามูฮัมหมัดไม่เคยรบกับใครก่อน มีแต่ให้อภัย”

Image“ปัจจุบัน เงินสามารถเอาชนะศาสนาได้แล้ว ชนะเพราะเราจะพูดแต่เรื่องเศรษฐกิจ เคยสนองไหมครับในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หลายปีแล้ว ไม่เคยพอเพียง มีแต่เมกะโปรเจ็กต์ แล้วเมกะโปรเจ็กต์ก็แบ่งส่วนให้นักการเมืองทั้งหลาย ฉะนั้นระดับรากหญ้าก็กินไม่ได้ เน่าไปหมดแล้ว ตัวอย่างเกี่ยวกับมุสลิม ตอนครูจูหลิงถูกทำร้าย มีการประโคมข่าว แต่ครูอีกโรงเรียนหนึ่งจำนวน ๘ คนถูกฆ่าตาย เขาไม่พูดถึง ทำไมถึงพูดถึง ก็เพราะเขาได้คะแนน รัฐได้คะแนนและสร้างข่าวอย่างใหญ่โต แต่ครูมุสลิมไม่รู้เท่าไหร่ที่ถูกฆ่าตาย ไม่มีการพูดถึง รัฐไม่ได้เล่นการเมืองในทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เขาเข้าทางศาสนา เขาเข้าทุกศาสนา ผมว่านี่คือตัวอันตราย”

ภิกษุณีธัมมนันทา จากวัดทรงธรรมกัลยา “การใช้ความรุนแรงยุติความรุนแรง เหมือนการที่เรากำลังยอมรับว่าความรุนแรงเป็นมาตรฐานที่ถูกต้องในการจัดการกับปัญหา”

“ในคณะสงฆ์เราก็อ่อนแอ แต่คณะสงฆ์ก็เป็นส่วนหนึ่งของชาติไทย ในเมื่อสังคมไทยขาดความรู้ที่ถูกต้อง ขาดความกล้าที่จะยืนหยัดกับความดีงาม แยกความถูกออกจากความผิด พระมีสมณศักดิ์ พอมีสมณศักดิ์แล้วนี่ กลัวการสูญเสียสมณศักดิ์ กลัวการที่จะไม่ได้ไต่เต้าขึ้นไปตามบันไดของสมณศักดิ์”

“ผู้นำจำเป็นต้องอยู่ในธรรม ถ้าผู้นำไม่อยู่ในธรรม ก็ไม่สามารถที่จะสร้างสรรค์สังคมไปในทางที่ดีได้ เพราะว่า มันก็จะติดอยู่กับโครงสร้าง ระบบโครงสร้างสังคมในปัจจุบันซึ่งเน้นตักตวงผลประโยชน์จากชาวบ้าน”

รสนา โตสิตระกูล จากมูลนิธิสุขภาพไทย “สังคมไทยขาดความสุข ทำให้คนก่อความรุนแรงหรือก่ออาชญากรรมมากขึ้น แต่ในช่วงที่ประชาชนมีความสุข อาชญากรรมจะลดลง”

“ทุกคนมีความโลภ แต่เวลาคุณไม่มีอำนาจ ความโลภก็ทำได้เล็กๆ น้อยๆ แต่เวลามีอำนาจ ความโลภก็จะขยายตัวอย่างมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาที่คุณมองว่าโลกทั้งโลกเป็นกำไร สังคมทั้งสังคมเป็นกำไร ความโลภของคนธรรมดาสามัญมีอยู่ทั้งนั้น แต่คุณทำได้น้อย ถ้าผู้นำไม่มีคุณธรรม และมองประเทศเป็นที่ทำมาหากิน มองสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นที่ทำมาหากิน สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า โลกทั้งหลายก็จะวิปริตตามทั้งหมด”

สุนีย์ ไชยรส จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า “ความรุนแรงในประเทศไทยรุนแรงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น กรณีของทนายสมชาย นีละไพจิตร เป็นการปกป้องสิทธิและกระบวนการยุติธรรม และความรุนแรงในสังคมไทยปัจจุบัน เป็นความรุนแรงที่ท้าทายรัฐธรรมนูญ ความรุนแรงอีกอย่างหนึ่งที่ประชาชนไม่สามารถเห็นได้ชัด แต่เป็นความรุนแรงที่หนักหน่วงมาก เช่น หลังรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๔๐ นี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ได้รวบรวมประเด็นเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน มีทั้งหมด ๒๑ คน ไม่ใช่ ๑๙ คน โดยเฉพาะชาวบ้านที่สู้เพื่อพิทักษ์ฐานทรัพยากรของชุมชน เสียชีวิตอย่างน่าสะเทือนใจ และการเสียชีวิตแบบนี้ มักจะจับใครไม่ได้เลย และความรุนแรงซึ่งมาจากกระบวนการยุติธรรม เป็นช่องโหว่ และนำไปสู่การที่ชาวบ้านถูกจับกุมคุมขัง”

Image“ความรุนแรงมีเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย เพราะว่าชาวบ้านตื่นตัวขึ้นมาเพื่อปกป้องสิทธิของตัวเอง และนำมาซึ่งการขัดต่อผลประโยชน์ของหลายฝ่ายมากขึ้น แต่ภาคประชาชนกลับถูกมองว่าหัวก้าวร้าวใช้ความรุนแรง ขัดแย้งกับโครงการของรัฐ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก ตอนนี้ผลกระทบที่ลงสู่ชุมชนกับทิศทางการพัฒนาที่เน้นแต่ตัวเลข ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง ได้นำมาซึ่งความรุนแรงและกระจายไปสู่ทุกภาคอย่างเสมอกัน หรือกรณีในสามจังหวัดภาคใต้”

สำหรับ การถูกลักพาตัวของทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนและประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิมแห่งประเทศไทย ซึ่งหายไปอย่างไร้ร่องรอย นับตั้งแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๔๗ หลังเป็นผู้รับทำคดีให้กับผู้ต้องหาชาวมุสลิมคดีเจไอถูกเจ้าหน้าที่รัฐทำร้ายด้วยวิธีต่างๆ นานา เพื่อให้ยอมรับข้อกล่าวหา ขณะเดียวกันยังเป็นผู้เคลื่อนไหวล่ารายชื่อ ๕๐,๐๐๐ ชื่อ เพื่อให้รัฐยกเลิกพระราชกำหนดฉุกเฉินในสามจังหวัดชายแดนภาคติที่ให้อำนาจอย่างล้นเหลือแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ

ส่วนเจริญ วัดอักษร ประธานกลุ่มอนุรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอกฯ และแกนนำคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอก ถูกยิงเสียชีวิตวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ หลังเดินทางกลับจากการยื่นหนังสือเรื่องการออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณะของกลุ่มนายทุนต่ออนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่รัฐสภา

และกรณีลอบสังหารพระสุพจน์ สุวโจ พระนักต่อสู้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งสวนเมตตาธรรม จ.เชียงใหม่ ถูกสังหารอย่างโหดร้ายทารุณ เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๘

รวมนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนเสียชีวิตภายใต้รัฐบาลทักษิณจำนวน ๑๙ ราย


วรพจน์ สิงหา รายงาน

---------------------------------------------------------------------

จาก เสวนาโต๊ะกลม หัวข้อ “ปัญหาสาเหตุ และทางออกจากวิกฤตแห่งความรุนแรง ในมุมมองศาสนิกชน”
วันที่ ๑๗ - ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๙ เวลา ๑๒.๓๐-๑๖.๓๐ น.
ณ ห้องประชุมใหม่ (อาคารชั้น ๒-ด้านหลัง) อนุสรณ์สถาน ๑๔ ตุลา สี่แยกคอกวัว ถ.ราชดำเนิน กรุงเทพฯ

จัดโดย มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ / ครอบครัวพระสุพจน์ สุวโจ / กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก จ.ประจวบคีรีขันธุ์
กลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือก / คณะทำงานปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน / มูลนิธิผสานวัฒนธรรม /
เครือข่ายศาสนิกชนแห่งประเทศไทย /สภาองค์การมุสลิมแห่งประเทศไทย
และ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ(ยส.)

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >