หน้าหลัก arrow หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 180 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

กฎหมายห้ามการทรมานและอุ้มหาย : ความหวังในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม พิมพ์
Wednesday, 26 April 2023

Image


วารสารผู้ไถ่

ปีที่ ๔๔ ฉบับที่ ๑๒๑ ม.ค. - เม.ย. ๒๕๖๖



กฎหมายห้ามการทรมานและอุ้มหาย :

ความหวังในการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

ศราวุฒิ ประทุมราช
 

Image 

กรณีผู้กำกับโจ้ซ้อมทรมานผู้ต้องหาโดยใช้ถุงดำคลุมศีรษะจนผู้ต้องหาหายใจไม่ออกเสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจ ยังคงเป็นภาพและข่าวที่หลายท่านสะเทือนใจ หลายท่านอาจสะใจ และคิดกันไปต่างๆ นานา เช่นว่า เป็นผู้ร้ายปากแข็งก็ต้องเจอแบบนี้บ้าง หรือสงสารญาติพี่น้องของผู้ต้องหาที่เสียชีวิตบ้าง ฯลฯ อย่างไรก็ตามในแง่สิทธิมนุษยชน การซ้อมทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายโดยเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐถือเป็นอาชญากรรมและการละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกาย ที่ต้องมีมาตรการในการป้องกันและปราบปรามให้เจ้าหน้าที่รัฐ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง โดยการเคารพ ปกป้องและทำให้ทุกคนได้รับสิทธิ อันเป็นหน้าที่พื้นฐานของรัฐในการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน บทความนี้จึงขอนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายฉบับใหม่ที่ตราขึ้นเพื่อป้องกันและปราบปรามเจ้าหน้าที่รัฐมิให้กระทำการซ้อมทรมาน ลงโทษอย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และกระทำให้บุคคลสูญหาย

 

ความเป็นมา

ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment: CAT) ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน  ๒๕๕๐ และได้ลงนามรับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance: ICPPED) เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ซึ่งคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีมติเห็นชอบในหลักการการให้สัตยาบันต่ออนุสัญญา ICPPED เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ และเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐ ตามลำดับส่งผลให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาทั้งสองฉบับ กล่าวคือ การจัดให้มีมาตรการป้องกันมิให้เกิดการกระทำการทรมานฯ และการจัดให้มีการเยียวยาผ่านกลไกของ พ.ร.บ. ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และ พ.ร.บ. กองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘ การจัดทำรายงานและการนำเสนอรายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญา CAT ฉบับแรกในปี ๒๕๕๗ และจัดทำรายงานฉบับที่ ๒ ไปในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๑ โดยนำข้อสังเกตเชิงสรุป (Concluding Observations) และคำแนะนำต่าง ๆ ของคณะกรรมการประจำอนุสัญญาฯ มาพิจารณาร่วมด้วย ที่สำคัญประเทศไทยต้องจัดทำกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการทำให้บุคคลสูญหายด้วย ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่พระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้มีการประกาศใช้ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ โดยมาตรา ๒ ได้บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งจะมีการบังคับใช้ในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

 

ประเด็นสำคัญในการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ตามพรบ. นี้       

ก. มาตรการป้องกันการทรมานและการถูกอุ้มหาย

๑. กฎหมายนี้ได้นิยามความหมายของ "ผู้เสียหาย" ไว้กว้างกว่าในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

กล่าวคือ โดยให้รวมถึง สามี ภริยา ทั้งที่จดและไม่จดทะเบียน (แต่ไม่รวมถึงคู่ชีวิตที่ยังไม่มีกฎหมายรองรับ) บุพการี ผู้สืบสันดาน และผู้อยู่ในอุปการะ ทั้งที่จดและไม่จดทะเบียน ถือเป็น "ผู้เสียหาย" คือให้ดูตามสภาพความเป็นจริงว่าผู้นั้นเป็นครอบครัวเดียวกัน อุปการะเด็กตามความเป็นจริง แม้ไม่จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม ก็สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมและให้ได้รับการเยียวยาได้ด้วย

๒. ฐานความผิดตามกฎหมายนี้มี ๓ ประการ คือ ๑. เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจจับกุมและสอบสวน

กระทำการทรมานต่อร่างกายหรือจิตใจ ๒. กระทำการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมและย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น จับไปแล้วเรียกมาสอบสวนตีสาม เพื่อไม่ให้ได้หลับได้นอน เอาไปตากแดดนานๆ จับไปขังในห้องแอร์ที่เย็นจัดโดยไม่ให้ใส่เสื้อผ้า เป็นต้น และ . การทำให้บุคคลที่ถูกจับหายตัวไป โดยไม่แจ้งให้ญาติทราบว่าควบคุมตัวไว้ที่ไหน โดยการกระทำดังกล่าวต้องมีเจตนาที่จะรีดเอาข้อมูลเพื่อให้บุคคลนั้นรับสารภาพ หรือซัดทอดคนอื่นว่าเป็นผู้กระทำผิด

๓. เมื่อถูกจับกุมกฎหมายบัญญัติให้เจ้าหน้าที่ผู้จับกุมต้อง "บันทึกภาพและเสียง" อย่างต่อเนื่องตั้งแต่การ

จับกุมจนกระทั่งนำตัวมาส่งพนักงานสอบสวนหรือว่าปล่อยตัวไป

๔. เจ้าหน้าที่ที่จับกุมต้องทำบันทึกว่าใครเป็นหัวหน้าที่สั่งการให้ทำการจับกุม เจ้าหน้าที่ที่รับตัวผู้ถูกจับมาควบคุมต่อจากการจับกุมต้องทำบันทึกสภาพร่างกายและจิตใจก่อนนำตัวเข้าห้องขังและภายหลังนำตัวออกจากห้องขัง

 

ข. การสอบสวนและการเข้าถึงการใช้สิทธิทางศาล

๕. กฎหมายบัญญัติให้มีหน่วยงาน ๔ หน่วยงาน ที่สามารถทำการสอบสวนเมื่อมีการร้องเรียนว่ามีการทรมานหรืออุ้มหาย คือ พนักงานสอบสวนของตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองระดับนายอำเภอหรือผู้อำนวยการสำนักการสอบสวนและนิติการ อัยการและพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI โดยให้ผู้เสียหายสามารถไปแจ้งความที่หน่วยงานใดก็ได้ให้ทำการสอบสวน และหน่วยงานนั้นต้องแจ้งให้พนักงานอัยการทราบ เพื่อให้พนักงานอัยการเข้ามาเป็นผู้กำกับดูแลการสอบสวน

๖. ญาติ ตัวผู้เสียหายและผู้เสียหายเอง สามารถร้องต่อศาลให้ทำการไต่สวนฝ่ายเดียว เมื่อมีการร้องว่ามีการทรมานหรือจะมีการอุ้มหาย และศาลมีอำนาจสั่งให้เปลี่ยนสถานที่ควบคุม สั่งให้พบญาติ สั่งให้เข้ารับการรักษาพยาบาล หรือสั่งปล่อยบุคคลนั้น

๗. บุคคลใดก็ได้หากทราบว่ามีการทรมานหรืออุ้มหายให้ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย เพื่อให้ตรวจสอบกรณีร้องเรียนนั้นๆ และมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากคณะกรรมการฯ

๘. ให้ศาลคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นศาลรับฟ้องและพิจารณาคดีทรมานและอุ้มหาย โดยศาลนี้ให้ใช้ระบบไต่สวนในการค้นหาความจริง ซึ่งศาลสามารถเรียกให้หน่วยงานส่งตัวผู้ถูกจับกุมหรือให้ส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่นบันทึกการจับกุม มาให้ศาลพิจารณาได้ ทำให้การดำเนินคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว

๙. เจ้าหน้าที่ทหารที่ถูกหาว่ากระทำการทรมานหรืออุ้มหายบุคคลใด ให้นำตัวมาขึ้นศาลคดีทุจริตและ

ประพฤติมิชอบ ไม่ใช่ขึ้นศาลทหาร

๑๐. ผู้บังคับบัญชาที่ปล่อยปละละเลยหรือมีส่วนรู้เห็นในการทรมานหรืออุ้มหาย หรือทราบการกระทำ

ทรมานและอุ้มหายแต่นิ่งเฉยไม่ดำเนินการใดๆ ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดำเนินการอันเป็นความผิดตามกฎหมายนี้

๑๑. ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับทราบความคืบหน้าของกรณีที่ร้องเรียน หรือข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการ

จับกุม บันทึกการจับกุม จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยหน่วยงานนั้นๆ ต้องเปิดเผยให้ทราบ เช่น รวมถึงได้รับทราบความคืบหน้าของการดำเนินคดีด้วย

 

ค.การเยียวยา

๑๒. ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ในการแจ้งให้ผู้เสียหายทราบว่าตนมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและการเยียวยา และผู้เสียหายต้องแจ้งให้อัยการทราบว่าตนประสงค์ขอใช้สิทธิได้รับการเยียวยา

๑๓. ผู้เสียหายสามารถร้องศาลขอให้มีการเยียวยาความเสียหายเบื้องต้นได้ โดย ขอให้ยุติการทรมาน หรือการกระทำที่โหดร้ายฯ ให้เปลี่ยนสถานที่ควบคุม ขอให้ญาติ ทนายความ หรือบุคคลที่ไว้ใจได้พบเป็นส่วนตัว ขอให้มีการรักษาพยาบาลและการประเมินโดยแพทย์ทางนิติเวชศาสตร์และแพทย์ทางนิติจิตเวชศาสตร์ ทำบันทึกทางการแพทย์และการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ

 

ข้อห่วงใยต่อการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้

อย่างไรก็ตามในวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ รัฐบาลได้ตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๕ พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยอ้างว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติการตามกฎหมายและหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบการควบคุมตัว ยังมีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับความพร้อมด้านงบประมาณ การจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน ในการกำหนดมาตรการป้องกันการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ซึ่งการขอขยายระยะเวลาบังคับใช้นั้น หมายถึง ใน ๔ กรณี คือ ๑. การให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบการควบคุมตัวยังไม่ต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมตัว และแจ้งให้พนักงานอัยการและเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองในท้องที่ทราบโดยทันที  ๒. เจ้าหน้าที่ไม่ต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัว เช่น ชื่อ นามสกุล หรือตําหนิรูปพรรณ ฯลฯ  ๓. เจ้าหน้าที่สามารถปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัวได้ เพื่อมิให้ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ญาติ หรือทนายความ ใช้สิทธิยื่นคําร้องต่อศาลที่ให้ตรวจสอบว่ามีการทรมาน การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือกระทำให้สูญหาย และ  ๔. เจ้าหน้าที่มีสิทธิไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัวได้ โดยขอบังคับใช้กฎหมายห้ามทรมานฯ เต็มรูปแบบ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เป็นต้นไป

การขอขยายระยะเวลาบังคับใช้กฎหมายเช่นนี้ น่าเป็นห่วงว่าในการตรวจค้นจับกุมบุคคล หากเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ติดกล้องติดตามตัวเจ้าหน้าที่หรือ Body Cam  แล้ว จะเกิดการซ้อมทรมานหรือการปฏิบัติโดยมิชอบและยังเป็นการทำให้การตรวจ ค้น จับประชาชน อาจมีการรังแก รีดไถ หรือการประพฤติโดยมิชอบได้ ทั้งๆ ที่มาตรการที่กฎหมายกำหนดเช่นนี้ ย่อมเป็นการป้องกันตัวเจ้าหน้าที่เองว่าได้ดำเนินการตรวจค้นจับ โดยถูกต้องตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ปฏิบัติต่อประชาชนโดยสุภาพ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม แม้ฝ่ายตำรวจจะขอขยายระยะเวลาบังคับใช้กฎหมาย ๔ มาตรา ออกไป แต่กฎหมายห้ามการทรมานและอุ้มหายนี้ ก็ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่เพราะส่วนราชการอื่นที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่ ยังคงต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้  โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ประกาศจัดตั้ง "ศูนย์รับแจ้งเหตุ ทรมาน-อุ้มหาย" หรือ ศูนย์รับแจ้งการควบคุมตัวและดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.๒๕๖๕  ประชาชนที่พบเหตุเจ้าหน้าที่รัฐ กระทำการทรมาน โหดร้าย หรือทำให้บุคคลสูญหาย แก่บุคคลใด สามารถแจ้งได้ที่

- กรมการปกครอง ใน กทม. ตั้งอยู่ที่สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง (วังไชยา) ถ.นครสวรรค์ เขตดุสิต  ในภูมิภาคแจ้งที่ ที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐ ๒๓๖๕ ๙๕๕๔

- สำนักงานอัยการสูงสุด รับแจ้งเหตุตลอด ๒๔ ชั่วโมง โทร. ๐ ๒๔๓๔ ๘๓๒๕-๒๗ ต่อ ๖๐๑ - ๖๐๕ หรือแจ้งได้ที่ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ณ สำนักงานอัยการสูงสุด อาคารถนนบรมราชชนนี ชั้น ๑ แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กทม. และในทุกจังหวัด รวม ๑๑๓ แห่งทั่วประเทศ


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >