หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow คริสตชนกับการเมือง โดย สามสอ
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 96 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

คริสตชนกับการเมือง โดย สามสอ พิมพ์
Saturday, 27 May 2006

คริสตชนกับการเมือง

สามสอ

ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจว่า เรื่องศาสนาและการเมืองมิใช่เรื่องที่อยู่กันคนละขั้ว และโดยความเป็นจริงแล้ว ในสังคมทุกๆ สังคม  การเคลื่อนไปของสังคมต้องขึ้นอยู่กับการเมือง อันเป็นปัจจัยที่สำคัญ ทั้งนี้ การเมือง มิใช่เรื่องของปรากฏการณ์ที่เรารับทราบกันอยู่ในปัจจุบัน จากการเลือกตั้ง การประชุมสภาผู้แทนราษฎร หรือการสาดโคลนใส่กันระหว่างนักการเมือง โดยที่สื่อต่างๆ เป็นตัวกลางนำเสนอภาพความขัดแย้งนั้น ซึ่งหลายๆ ครั้งทำให้ภาพลักษณ์ของการเมืองเป็นเรื่องที่สกปรกและไม่น่าเข้าไปเกี่ยวข้อง

แท้ที่จริงแล้ว การเมืองเป็นสายสัมพันธ์ตามธรรมชาติที่จำเป็นเพื่อประสานส่วนต่างๆ ของสังคมเข้าด้วยกัน และมีเป้าหมายเพื่อการสรรค์สร้างและส่งเสริมให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม การเมืองที่แท้จริงต้องนำไปสู่การเคารพอิสรภาพของปัจเจกบุคคล ครอบครัว และกลุ่มต่างๆ เพื่อให้เกิดความผาสุก และเป็นเงื่อนไขที่จะช่วยให้บุคคลมนุษย์ไปสู่การเป็นคนดีที่แท้จริง การเมืองเป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งที่ชาวคริสต์จะใช้เพื่อชี้ให้เห็นพันธะของตนในการรับใช้เพื่อนมนุษย์ ซึ่งพันธะดังกล่าวนี้คือ นัยแห่งคุณค่าทางศาสนาหรือศีลธรรมที่ทุกคนพึงมี และนี่คือความสัมพันธ์ที่แยกกันออกไม่ได้ระหว่างศาสนา หรือจริยธรรมและการเมือง

พระเยซูเจ้ากับการเมือง

Imageเราสามารถเรียนรู้ ความรับผิดชอบซึ่งกันและกันระหว่างศาสนจักร (คริสตชน) กับการเมือง จากพระวรสารของนักบุญมัทธิว (มธ.) และนักบุญลูกา (ลก.) ซึ่งถือได้ว่าท่านเป็นนักการเมืองนิยม และพระวรสารของท่านถือได้ว่าเป็นพระวรสารทางสังคม  จากงานเขียนของนักบุญทั้งสอง แสดงให้เห็นว่าพระเยซูเจ้าทรงสนับสนุนคริสตชนให้ยึดถือจริยธรรมในการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง

เรื่องแรก พระเยซูเจ้า เป็นประจักษ์พยานว่า ในสังคมของชาวยิวนั้น อำนาจทางโลกและทางธรรมต้องสอดคล้องและหนุนเสริมกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง จริยธรรมทางศาสนาต้องเป็นตัวถ่วงดุลความถูกต้องชอบธรรม ให้เกิดขึ้นในมิติด้านการเมือง (รวมไปถึงด้านสังคมและเศรษฐกิจด้วย) ดังบทพระวรสาร ที่กล่าวถึงการเสียภาษีของชาวยิว ในสมัยที่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาวโรมัน  พระเยซูเจ้าทรงกล่าวว่า “หากเป็นของของซีซาร์ จงคืนให้กับซีซาร์ และของของพระเจ้า จงคืนให้กับพระเจ้า” (ลก. 20: 19-26) นั่นหมายความว่า พระเยซูเจ้า ทรงต้องการบอกแก่ชาวยิวว่า เมื่อเราอยู่ในสังคม จำเป็นต้องมีการกำหนดกฎระเบียบ หรือกติกา และประชาชนต้องยึดถือปฏิบัติตาม เพื่อให้สังคมโดยรวมมีความสงบ ต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎของบ้านเมือง ในขณะเดียวกันก็ต้องประพฤติปฏิบัติตนในฐานะที่เป็นคริสตชน และการเป็นคริสตชนที่ดีนั้น มิใช่เฉพาะการเอาตัวรอดเฉพาะตนเองตามบทบัญญัติของศาสนาเท่านั้น แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้มโนธรรมในฐานะผู้มีความเชื่อ เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมรอบข้าง หรือ เหตุการณ์ร่วมสมัยที่เกิดขึ้นในชุมชนของตน

เรื่องที่สอง การเป็นคริสตชนที่ดี ไม่เพียงแต่ประพฤติปฏิบัติตนไปตามกฎระเบียบของบ้านเมืองอย่างเดียวเท่านั้น แต่เราต้องทำหน้าที่เป็นประกาศก ประกาศออกไปถึงสิ่งไม่ถูกต้อง เรื่องไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นในชุมชนของเรา อาทิ  การปฏิบัติงานขององค์กรการเมืองระดับท้องถิ่น  หรือโครงการพัฒนาของรัฐบาล ที่ทำให้ชุมชนต้องสูญเสียผลประโยชน์ของชุมชน ไปเป็นผลประโยชน์ส่วนตนของนักการเมือง กองทุนช่วยเหลือหมู่บ้านในเรื่องต่างๆ  ที่ค่อยๆ กัดเซาะคุณธรรมที่ยึดความเป็นชุมชนคาทอลิกไป สิ่งที่น่าเสียดายที่สุด คือ ปัจจุบัน ศาสนจักรหรือวัด ไม่สามารถติดตามคริสตชนที่ต้องถูกกีดกันออกไปอยู่ที่อื่น ได้เหมือนกับอดีตที่วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนคริสตชน ด้วยเหตุนี้ การที่คริสตชนไม่ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองที่จะต้องช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องชอบธรรมในโครงสร้างทางบ้านเมืองแล้ว คริสตชนกำลังละเลยที่จะยืนยันความเป็นคริสตชนของตนเอง ในการทำหน้าที่บอกกล่าวร้องเรียนถึงสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลที่แฝงมากับภารกิจการเมืองต่อเรื่องนี้ ในพระวรสารของนักบุญมัทธิว ได้แสดงถึงความกล้าหาญของท่านยอห์น บัปติสต์ ที่ได้เตือนประชาชนผู้กระทำในสิ่งที่ฉ้อฉล ผิดศีลธรรมด้วยวิธีต่างๆ นานา โดยเฉพาะในกรณีที่กษัตริย์เฮโรด ได้กระทำผิดประเพณี โดยไปแต่งงานกับนางเฮโรเดียส ซึ่งเป็นภรรยาของน้องชายของพระองค์เอง ท่านยอห์น ได้ตำหนิการกระทำของเฮโรดว่าเป็นเรื่องที่ชั่วช้า ซึ่งต่อมาเฮโรดก็สั่งขังคุกท่านยอห์น และที่สุดท่านยอห์นก็ถูกตัดศรีษะ โดยภรรยาของเฮโรดคนนี้ (มธ.14: 1-12)

เรื่องที่สาม พระเยซูเจ้าทรงยืนยันว่า อำนวจทางศาสนาคือ อำนาจทางการเมืองด้วย (ลก.20:1-8) โดยนัยนี้ คงต้องทำความเข้าใจว่า ทั้งศาสนาและการเมืองเป็นเรื่องที่ชาวยิวในสมัยนั้น ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ศาสนามีบทบาทเอกที่จะชี้นำให้ระบอบการปกครองเป็นไปตามครรลองของสังคม และเมื่อสังคมมีสันติจากโครงสร้างการเมืองที่ยุติธรรมและชอบธรรมแล้ว ศาสนาก็ดำเนินบทบาทในการดูแลด้านชีวิตฝ่ายวิญญาณของคริสตชน ในที่นี้ หากอ่านพระคัมภีร์ตอนนี้จากสถานการณ์ปัจจุบัน อำนาจทางศาสนา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะกล่าวถึงบุคคลที่อยู่ในสถานะที่ชอบธรรมต่อการใช้อำนาจนี้ให้เป็นประโยชน์ อาทิ บรรดาพระสงฆ์ นักบวช เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ส่งเสริมให้คำแนะนำต่อคริสตชนในการเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง หรือทำหน้าที่เตือน หากมีปรากฏการณ์บางอย่างที่กำลังบิดเบือนการใช้อำนาจทางการเมือง นั่นคือ ผู้ที่อยู่ในสถานะของผู้นำ จะนิ่งเฉยไม่ได้กับสถานการณ์ความเป็นจริงทางสังคม เพราะเราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า การดำรงอยู่ของสังคมต้องมาจากกระบวนการทางการเมือง เพื่อการเข้าใจง่ายที่สุด คือ ทุกๆ เรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมต้องมาจากการตัดสินใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการเมือง

คำสอนด้านสังคมกับการเมือง
Imageในสมณสาสน์ Octogesima Adveniens ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาเอกสารคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร หลังสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 พระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ได้เสนอความคิดใหม่ต่อเรื่องการเมืองว่า “ชาวคริสต์มีหน้าที่ที่จะร่วมขบวนการแสวงหา... ร่วมจัดการระเบียบของสังคมและร่วมชีวิตทางการเมืองของสังคม” (24) นอกจากนี้ ในเอกสารฉบับเดียวกัน พระสันตะปาปาทรงย้ำว่า เรา (คริสตชน) ต้องมีส่วนร่วมทางการเมือง  และพยายามช่วยให้นักการเมือง และผู้ปกครองบ้านเมืองนำหลักการที่มีพื้นฐานด้านคุณค่าทางศาสนา (จริยธรรม) ไปใช้อย่างเหมาะสม พระองค์เตือนว่า บ่อยครั้งที่ผู้ที่ปฏิบัติตนเคร่งครัดตามข้อบังคับทางศาสนา ละเลยที่จะเชื่อมโยงความเชื่อของตนเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่เราคริสตชนไม่ค่อยให้ความใส่ใจต่อความเคลื่อนไหวทางบ้านเมือง  นอกจากนี้ ยังใช้อคติของตนในการตัดสินคริสตชนคนอื่น ในยามที่เขากำลังทำหน้าที่เป็นมโนธรรมทางสังคม  แต่กลับมืดบอดมองไม่เห็นคริสตชนจำนวนไม่น้อย ที่เข้าไปสู่ระบบดังกล่าว ได้สูญเสียเอกลักษณ์แห่งความเป็นคริสตชนไปกับโครงสร้างและอำนาจที่จอมปลอม
พระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย เมื่อยิ่งเป็นพระศาสนจักรของคริสตชนกลุ่มเล็กๆ ก็ต้องทำให้ความหมายของพลังเล็กๆ นี้สมบูรณ์   เราต้องเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคม อ่านเนื้อหาและจับใจความของบทเรียนการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างมีสติ ใจกว้าง จำเป็นที่จะเข้าถึงสาเหตุแห่งอคติของฝ่ายต่างๆ  เพื่อที่จะได้ทำหน้าที่ของตนในฐานะผู้รักษาแสงสว่างทางจิตใจ และเป็นดั่งเกลือรักษาความเค็ม แห่งศีลธรรม คุณธรรม และจิตวิญญาณ อันสูญสลายไม่ได้ แม้ว่าระบอบการเมืองจะหยุดทบทวนตัวเองเป็นช่วงๆ ก็ตาม

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >