หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 54 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สรุปเอกสาร น้ำแห่งชีวิต Aqua fons vitae : อัจฉรา สมแสงสรวง พิมพ์
Wednesday, 29 September 2021

Image


วารสารผู้ไถ่
ปีที่ ๔๒ ฉบับที่ ๑๑๖ พ.ค. - ส.ค. ๒๕๖๔

 

 

น้ำแห่งชีวิต Aqua fons vitae

เขียนโดย อัจฉรา สมแสงสรวง


 

Image

"เรากระหาย" (ยน ๑๙:๒๘) พระวาจาสำคัญก่อนที่พระเยซูเจ้าจะสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน  และ "ทุกคนที่กระหายมาหาเราและดื่ม" (ยน ๗:๓๗) คำตรัสของพระเยซูเจ้า เป็นเครื่องยืนยันถึง ชีวิตมนุษย์ต้องการน้ำ  เพื่อการดำรงอยู่ แม้แต่นักดาราศาสตร์เอง จะสามารถบอกได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ หรือไม่ ก็ต้องดูว่ามีน้ำหรือไม่ น้ำเป็นสสารเดียวในโลกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในรูปของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ไม่มีอะไร มีค่ามากไปกว่าน้ำ หากไม่มีน้ำก็จะไม่มีชีวิตบนโลก 

 

เดือนมีนาคม ปี ค.ศ.๒๐๒๐ สมณกระทรวงเพื่อส่งเสริมการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม ได้ออกเอกสาร Aqua fons Vitae น้ำแห่งชีวิต : แนวปฏิบัติเรื่องน้ำ เครื่องหมายแห่งเสียงร้องของคนยากจนและเสียงร้องของโลก ซึ่งเป็นเอกสารที่สะท้อนความห่วงใยของศาสนจักรคาทอลิก ต่อเสียงร้องของคนยากจน ต่อปัญหาเรื่องน้ำ ในฐานะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ทุกคน ทั้งๆ ที่ มติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (UN) ที่ ๖๔/๒๙๒  เมื่อเดือน กรกฎาคม  ๒๐๑๐ ได้รับรองสิทธิสากลด้านน้ำและสุขาภิบาล และยอมรับว่าการเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดและถูกสุขอนามัยเป็นสิทธิมนุษยชน  พร้อมกับกำหนดให้รัฐบาลต้องดูแลให้ประชาชนได้รับน้ำและสุขอนามัยที่มีคุณภาพ  เข้าถึงได้และราคาไม่แพง แต่ดูเหมือนรัฐบาลในประเทศต่างๆ ไม่สามารถผลักดัน หรือจัดการปัญหาเรื่องการเข้าถึงน้ำ การใช้น้ำ ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมดังกล่าว หรือเป็นไปอย่างล่าช้า

 

ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้คนทั่วโลกยังปรากฏ จากการเข้าไม่ถึงน้ำ ไม่มีน้ำที่สะอาดปลอดภัย สำหรับดื่มและใช้ในชีวิตประจำวัน การแปรรูปน้ำ และการใช้น้ำเพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์ ความไม่สมดุลของการจัดสรรน้ำ จากการเติบโตของภาคเมือง  การใช้น้ำเป็นอาวุธในกรณีพิพาท  รวมไปถึงการขาดความรับผิดชอบร่วมกันของพื้นที่น้ำข้ามพรมแดน 

 

น้ำมีบทบาทสำคัญต่อประวัติศาสตร์และอารยธรรมของมนุษยชาติ   นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน หลายศาสนายอมรับและให้คุณค่าแก่น้ำว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นฟูชีวิต หรือเชื่อมโยงน้ำกับเทพเจ้า หรือสิ่งสูงสุดต่างๆ ในคริสตศาสนา มีข้อเขียนที่เกี่ยวกับน้ำปรากฏในพระคัมภีร์ถึง ๑,๕๐๐ แห่ง น้ำให้คุณค่าอันสูงส่งผ่านทางพิธีกรรมและการถวายบูชา   น้ำชำระล้างมนุษย์จากบาป และทำให้เกิดใหม่เป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยน้ำและพระจิตเจ้า  และน้ำเป็นของขวัญของประทานจากพระเจ้า ไม่มีมนุษย์คนใดมีสิทธิเด็ดขาดในการใช้น้ำ 

 

ย้อนกลับไปในศตวรรษที่ ๑๓ นักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี ท่านตระหนักดีว่าน้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่าทั้งต่อชีวิตมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหมด น้ำคือกระจกเงาของธรรมชาติ  ท่านให้ความเคารพอย่างลึกซึ้งต่อน้ำว่าเป็นพี่สาว และได้รำพึงไตร่ตรองถึงทรัพยากรน้ำนี้ ไว้ว่า

multo utile et humile et preziosa et casta 
มีประโยชน์มาก อ่อนน้อมถ่อมตัว มีคุณค่าและบริสุทธิ์  

ขณะเดียวกัน คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก ก็ถือว่า น้ำเป็นทรัพยากรส่วนรวม ด้วยการบริหารจัดการที่เหมาะสม จะทำให้น้ำเป็นทรัพยากรส่วนรวมของครอบครัวมนุษยชาติทั้งมวล และสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ผู้นำศาสนจักรคาทอลิก ทรงห่วงใยต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง   

ในสมณสาสน์ Laudato si'  (ค.ศ.๒๐๑๕) พระองค์ทรงเรียกร้องคริสตชนและสมาชิกสังคมโลก ให้ร่วมกันดูแลรักษาระบบนิเวศ ซึ่งเป็นบ้านหลังใหญ่ของทุกคน ทรงกล่าวถึงปัญหาน้ำที่ไม่สะอาด การขาดแคลนน้ำ การใช้น้ำเป็นสินค้าเชิงพาณิชย์ และการครอบครองน้ำจากกลุ่มทุนมหาอำนาจได้ละเมิดสิทธิแห่งการอยู่รอดของมนุษย์  (อ้างอิง ข้อ ๒๗-๓๑)  

อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงเตือนทุกคนให้มีความกตัญญูรู้คุณ ต่อ "น้ำ"  ซึ่งเป็นของขวัญที่พระเจ้าทรงประทานแก่มนุษย์ เพื่อมนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และยังสานสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และระหว่างมนุษย์กับสิ่งสร้างอื่นๆ อย่างยั่งยืน

 

น้ำช่วยรังสรรค์สังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญาและศิลปะ แหล่งน้ำต่างๆ ได้เอื้อต่อการเดินทางและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ การประกอบอาชีพต่างๆ  เชื่อมความสัมพันธ์ของผู้คนที่อยู่ล้อมรอบ และช่วยให้คนมีโอกาสเรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน อาชีพต่างๆ ต้องอาศัยน้ำ นับตั้งแต่อาชีพกสิกรรมของคนที่อยู่บนภูเขา เรื่อยไปจนถึง อาชีพประมง และการขนส่งในทะเล

น้ำมีอิทธิพลต่อการตั้งชื่อสถานที่ สร้างแรงบันดาลใจให้กับวรรณกรรม ดนตรี และการแสดงออกทางศิลปะโดยทั่วไป น้ำยังเป็นสัญลักษณ์เสริมพลังความเข้มแข็งทางจิตใจ ความกระปรี้กระเปร่าทางร่างกาย ในงานสังคม งานเฉลิมฉลอง และเทศกาลต่างๆ และที่สำคัญ น้ำได้หล่อเลี้ยงความทรงจำร่วมของมนุษยชาติ น้ำต้นธารแห่งความงามอันน่าพิศวงได้ทำให้สุนทรียศาสตร์ของงานสร้าง และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม สมบูรณ์กลมกลืนกัน

 

น้ำเชื่อมโยงชีวิตทางสังคม และผสานสันติ บทบาทของบ่อน้ำในชีวิตทางสังคมสมัยโมเสส (เทียบ อพย ๒:๑๕) และของพระเยซูเจ้า (เทียบ ยน ๔: ๕-๑๕) การโต้เถียงกันเรื่องบ่อน้ำ ในสมัยของอับราฮัม (เทียบ ปฐก ๒๑: ๑๙-๓๐) เช่นเดียวกับสมัยของอิสอัค (เทียบ ปฐก  ๒๖: ๑๒-๒๒) กลายเป็นเครื่องมือเจรจาต่อรอง ทำข้อตกลง การพัฒนาและการแบ่งปันในที่สุด ด้วยคุณลักษณะเชื่อมประสาน  น้ำจึงมีคุณค่าต่อสันติภาพ เป็นสะพานขับเคลื่อนความร่วมมือ การเจรจาต่อรอง ระหว่างชุมชนและองค์กรต่างๆ  ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและการปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำ และการคลี่คลายปัญหาเส้นทางน้ำที่ข้ามพรมแดน หากเปิดโอกาสให้ผู้คนในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านในท้องถิ่น เรื่อยไปจนถึงผู้อยู่ในระดับตัดสินใจระหว่างประเทศ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการและแก้ไข ก็จะมีสันติภาพมากขึ้น 

 

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน น้ำ ซึ่งเป็นทรัพยากรของส่วนรวม กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ การเข้าถึงน้ำสำหรับบริโภคและอุปโภคในชีวิตประจำวัน การจะได้มาซึ่งน้ำที่สะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อน หรือแหล่งน้ำที่ปลอดจากมลพิษ ต้องมีค่าใช้จ่าย และมีชีวิตของผู้คนนับพันล้านคนเป็นตัวประกัน 

 

จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่า

ประชากร ๑ ใน ๙ คนในปัจจุบัน หรือ ๘๔๔ ล้านคน ยังประสบปัญหาไม่มีน้ำดื่มที่สะอาดปลอดภัย

เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ขวบประมาณ ๑.๕ ล้านคน เสียชีวิตในแต่ละปี

และเด็กๆ ต้องเสียวันเรียน ๔๔๓ ล้านวัน เนื่องจากป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำและสุขาภิบาล 

ผู้คน ๒,๐๐๐ ล้านคนไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน  และต้องถ่ายอุจจาระในที่โล่ง ๖๗๓ ล้านคน  

ผู้หญิงและเด็กใช้เวลาไปตักน้ำมาใช้ในครอบครัว ประมาณ ๒๐๐ ล้านชั่วโมงทุกวัน

ประชาชนอีก ๑.๓๗ พันล้านคนทั่วโลกขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือที่บ้าน ซึ่งก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโควิด-๑๙ และเชื้อโรคอื่นๆ 

ทั้งนี้ การล้างมือซึ่งเป็นพฤติกรรมง่ายๆ ไม่เพียงแต่ปกป้องเราจากการติดโรคเท่านั้น แต่ยังหยุดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น การขาดสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัย ทำให้ผู้หญิงถูกล่วงละเมิดทางเพศ และทำให้เด็กผู้หญิงต้องขาดเรียนอยู่บ่อยๆ บางประเทศที่ประสบสภาวะขาดแคลนน้ำ เกิดทาสรูปแบบใหม่ในการซื้อขายน้ำ มีเอกชนเข้ามาทำธุรกิจขายน้ำบริโภคอุปโภค โก่งราคาค่าน้ำและแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากผู้หญิง เป็นการชำระค่าน้ำ   

สารเคมีที่ปล่อยลงน้ำจากการปฏิบัติทางการเกษตรและทางอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดโรคหายาก (Rare dicease) ที่เกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ และความบกพร่องในการพัฒนาทางร่างกายของมนุษย์และสัตว์   

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงกล่าวว่า "ทุกวันนี้ มีเด็กๆ ที่ป่วยเป็นโรคที่หายาก และเป็นความทุกข์ของพ่อแม่อย่างมาก ความเจ็บป่วยจากโรคที่หายากนี้ มาจากความเจ็บป่วยของสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์เป็นผู้กระทำ สิ่งนี้เป็นจริงในทางวิทยาศาสตร์... หากเราสร้างแผลเปิดบนสิ่งมีชีวิต มันจะกลัดหนองและลุกลาม เมื่อเราใช้ธรรมชาติในทางที่ไม่ถูกต้อง ธรรมชาติก็ตอบสนองในรูปแบบเดียวกัน"

 

ทั้งนี้ หากแต่ละประเทศลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อดูแลเรื่องน้ำสำหรับประชาชนอย่างจริงจัง มีการคำนวณว่า ในทุกๆ ๑ ดอลลาร์ ที่ลงทุนไปเพื่อน้ำสะอาดปลอดภัย และสุขอนามัยที่ดี สามารถประหยัดเงินสำหรับค่ารักษาพยาบาล ไปถึง ๑๒ ดอลล่าร์ ทีเดียว  

 

น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการประกอบอาชีพของมนุษย์ มนุษย์ใช้น้ำจำนวนมากสำหรับภาคเกษตรกรรมที่ผลิตอาหาร ปศุสัตว์ และภาคอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ งานก่อสร้าง งานผลิตโลหะ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรืองานฝีมือต่างๆ งานขุดเจาะวัตถุดิบใต้ดิน และสำหรับสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ   

ทุกวันนี้  สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ฝนตกน้อย ฤดูแล้งยาวนานทำให้แหล่งน้ำจืดน้อยลง น้ำบาดาลมีความเค็ม การสร้างเขื่อนที่ทำให้เกิดการผันผวนของเส้นทางไหลของน้ำ ก่อให้เกิดความแห้งแล้งในพื้นที่ต่างๆ และระบบนิเวศก็เปลี่ยนไป  อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และสร้างมลพิษตกค้างทั้งในผืนดินและแหล่งน้ำ  นอกจากนี้ การเติบโตของประชากรและการขยายตัวของเมือง ทำให้การแย่งชิงใช้น้ำมีมากขึ้น รวมทั้งคุณภาพของน้ำจากระบบชลประทานก็อาจจะไม่สะอาด ปลอดภัย

 

น้ำยังเป็นพื้นที่ เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ทะเลมากมาย เป็นสื่อกลางในการเดินเรือและกิจกรรมเชิงพาณิชย์ของผู้คน ใต้ท้องทะเลเต็มไปด้วยสายเคเบิลที่นำส่งถ่ายโอนข้อมูลและการสื่อสาร  น้ำในฐานะพื้นที่ เผชิญสิ่งท้าทายหลายประการ โดยเฉพาะการประเมินความสมบูรณ์ของมหาสมุทรนั้นยากกว่าพื้นที่อื่นๆ มลภาวะที่เพิ่มขึ้น สิ่งปฏิกูล ขยะพลาสติกและไมโคร พลาสติก และสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม และสารเคมีทางการเกษตรที่ไหลรวมลงไปสู่ทะเล และมหาสมุทร รวมถึงการทำประมงพาณิชย์แบบทำลายล้าง ภาวะโลกร้อนที่ทำให้แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น

ทั้งหมดที่กล่าวนี้ คุกคามต่อชีวิตสัตว์น้ำ ป่าชายเลนและระบบนิเวศทางทะเล นอกจากนี้ ประเทศยากจนไม่มีสรรพกำลังลาดตระเวนพื้นที่ที่กำหนดของประเทศตน ก็มักถูกกองเรือจากประเทศอื่นๆ เข้ามาแย่งชิงทรัพยากรใต้น้ำในน่านน้ำของตนอาชญากรรมทางทะเล ทั้งโจรสลัดและการค้ามนุษย์ การปฏิบัติต่อแรงงานในเรือประมงเยี่ยงทาส ชะตากรรมของผู้อพยพหนีภัยทุกข์ยากหรือภาวะสงครามมาทางทะเล และอาศัยท่าเรือหรือชายฝั่งในพื้นที่ใหม่ที่ปลอดภัย เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ รวมทั้งชีวิตของคนที่ต้องอาศัยน้ำขึ้นน้ำลงของทะเล ไม่ว่าจะเป็นลูกเรือเดินเรือพาณิชย์ คนงานที่อู่ต่อเรือ กรรมกรท่าเรือ ชาวประมง ฯลฯ ที่อาจจะไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิในเรื่องสิ่งแวดล้อม  ความปลอดภัยจากการทำงาน รวมไปถึง เมื่อลำน้ำ ทะเล และมหาสมุทร เป็นพื้นที่คาบเกี่ยวพรมแดน ความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านจึงค่อนข้างซับซ้อน และต้องอาศัยการจัดการปัญหาที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะต้องใช้น้ำเป็นทูตในการเจรจา อย่างไรก็ตาม พื้นที่ก้นทะเล และมหาสมุทร รวมทั้งทรัพยากรที่อยู่ใต้ก้นทะเล เป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ ที่จะต้องได้รับการคุ้มครองและส่งมอบต่อไปยังชนรุ่นหลัง     

 

เอกสาร น้ำแห่งชีวิต เป็นงานเขียนที่เต็มด้วยบทอ้างอิงจากคำสอนด้านสังคม มติจากเวทีประชุมระดับสากล และข้อมูลงานวิจัยที่สะท้อนถึงผลกระทบที่มีต่อมนุษย์ในภาคพื้นดิน ที่น้ำดำรงอยู่ ความขัดแย้ง การกีดกัน การเลือกปฏิบัติ และการละเมิดสิทธิของผู้ด้อยโอกาส ที่ปรากฏตามเส้นทางที่น้ำไหลผ่าน และความละโมบของมนุษย์ ที่ตามไปฉวยเอาประโยชน์จากทะเล และก้นบึ้งมหาสมุทร

แม้จะเป็นข้อมูลครอบคลุมระดับโลก แต่พระศาสนจักรได้เสนอแนวทางปฏิบัติ โดยเน้นว่า การฟื้นฟูน้ำให้มีชีวิต ต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนวิธีคิดและการลงมือปฏิบัติ เริ่มจากแต่ละคน ควรใช้ชีวิตด้วยความสมถะ มีสติยั้งคิด ตื่นรู้ เพื่อเป็นอิสระจากสิ่งสะดวกสบายปิดกั้น จนไม่เห็นความเดือดร้อนของผู้ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ไปสู่ความร่วมมือกันในระดับครอบครัว ชุมชนหรือองค์กรวิชาชีพต่างๆ

และโดยเฉพาะหน่วยงานต่างๆในพระศาสนจักร ไปจนถึงระดับโครงสร้างที่ออกนโยบาย  และนำ ๔ หลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร  คือ ทุกคนต้องมีชีวิตอยู่อย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  ทุกคนต้องเข้าถึงความดีส่วนรวม หรือบังเกิดประโยชน์สุขแก่ทุกคน ทุกคนต้องร่วมมือกันสร้างความเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวกัน และทุกคนต้องปฏิบัติความยุติธรรมที่มีความรักต่อเพื่อนพี่น้อง มาเป็นบรรทัดฐานสำคัญ ให้มนุษย์ทุกคนได้ใช้น้ำ ปฏิบัติวัฒนธรรมแห่งความรักที่เป็นรูปธรรม หรือ ‘ไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง'  

 

ถึงเวลาที่เราต้องฟังเสียง ‘คร่ำครวญ' ของน้ำ... จากพื้นที่ต้นน้ำ ที่ไม่มีน้ำอีกต่อไป... จากห้วย หนอง คลอง บึง ที่เต็มไปด้วยขยะ และมลพิษ... จากแหล่งน้ำใต้ดิน ที่เต็มไปด้วยสารพิษตกค้าง... จากทะเลและมหาสมุทร ที่กลายเป็นแหล่งรองรับขยะจิ๋วไปจนถึงสุสานขยะชิ้นใหญ่ใต้ท้องทะเลลึก  และต้องฟังเสียงร้องของคนทุกข์ยากกลุ่มต่างๆ ที่ไม่สามารถเข้าถึงน้ำ เพื่อประทังชีวิต เพื่อหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณ และบรรลุบูรณภาพแห่งความเป็นมนุษย์    

"ข้าพเจ้ากระหายน้ำและพระองค์ทรงให้ข้าพเจ้าดื่ม" (มธ ๒๕:๓๕)

น้ำเพียงหยดเดียว หากมีพลังความรัก ก็ให้ชีวิตได้เสมอ

 

(หมายเหตุ) งานเขียนนี้ เป็นสรุปเอกสาร น้ำแห่งชีวิต ที่ออกโดย สมณกระทรวงเพื่อส่งเสริมการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม เมื่อเดือนมีนาคม ปี ๒๐๒๐  ผู้ใดสนใจเอกสารฉบับสมบูรณ์ ติดต่อที่ แผนกยุติธรรมและสันติ ตามที่อยู่ในวารสารผู้ไถ่

 


ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

ถัดไป >