หน้าหลัก arrow ข่าวย้อนหลัง arrow คริสตศาสนิกชนกับประชาธิปไตย
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 54 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก

บทความล่าสุด

   อนึ่ง บทความ หรือข้อเขียนทั้งหมดที่นำลงเว็บไซต์ jpthai.org เป็นทัศนะเฉพาะของผู้เขียน
และไม่ผูกพันกับคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ

ทางเว็บไซต์ jpthai อนุญาตให้คัดลอกบทความ/ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้
แต่กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และแหล่งที่มาด้วย ขอบคุณค่ะ

 

Donation / สนับสนุนการดำเนินงาน

  • โอนเข้าบัญชี ในนาม
    คณะกรรมการคาทอลิกฯ แผนกยุติธรรมและสันติ 
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาห้วยขวาง บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 084-2-07639-2
    (กรุณา
    ส่งสำเนาการโอนเงินทางอีเมล์ ccjpthai@gmail.com)
    (หรือ ส่งสำเนามาที่ LINE:
    https://lin.ee/LdMulwv)

  • ทางธนาณัติ สั่งจ่ายในนาม “ปริญดา วาปีกัง” ตู้ ปณ. สุทธิสาร (10321)
    114 (2492) ถ.ประชาสงเคราะห์ ซอย 24 ดินแดง กรุงเทพฯ 10400

คริสตศาสนิกชนกับประชาธิปไตย พิมพ์
Thursday, 25 May 2006

คริสตศาสนิกชนกับประชาธิปไตย

โดยคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อความยุติธรรมและสันติ (ยส.)

1.  ทำไมพระศาสนจักรต้องเกี่ยวข้องกับสังคมและการเมือง

พระศาสนจักรกับการเมือง

Imageก. การเมืองตามความหมายทั่วไปคือ การบริการรับใช้ “เมือง” อันได้แก่กลุ่มชนต่าง ๆ ที่อยู่รวมกันเป็นประชาคมพลเมือง เมื่อทุกคนต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและกลุ่มชนต่าง ๆ ก็ต้องอยู่กันเป็นประชาคมพลเมืองก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีการเมือง การเมืองเป็นผลสืบเนื่องมาจากธรรมชาติของมนุษย์ การรับใช้ประชาคมหรือพลเมืองหรือการเมืองนี้ ย่อมเป็นหน้าที่ของพลเมืองทุกคน

เมื่อพระศาสนจักรคือ ประชากรของพระเจ้า ที่ยังอยู่ในสังคมมนุษย์ มีภาระหน้าที่นำแสงสว่างแห่งพระวรสารเข้าไปฉายในสังคมมนุษย์ “เพื่อส่งเสริมมนุษย์ให้ครบครันในทุกด้าน” ก็จำเป็นอยู่เองที่พระศาสนจักรต้องเกี่ยวข้องกับการเมืองด้วย

ข. ในการสัมพันธ์กับการเมืองนั้น พระศาสนจักรก็ยอมรับว่า สังคมการเมืองมีเอกลักษณ์ของคนซึ่งพระศาสนจักรจะไม่ยุ่งเกี่ยวด้วย ตราบใดที่ไม่มีการละเมิดศีลธรรม สิทธิมนุษยชนและความยุติธรรม

“เมื่อพิจารณาหน้าที่และอำนาจของพระศาสนจักรแล้ว ไม่มีทางจะเอาพระศาสนจักรไปปนเปกับประชาคมการเมืองได้ เพราะพระศาสนจักรก็ไม่ผูกมัดตัวเองกับระบอบการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะศาสนจักรเป็นทั้งเครื่องหมายและเครื่องคุ้มครองเกียรติอันสูงส่งของมนุษย์”

“ประชาคมการเมืองและพระศาสนจักรไม่ขึ้นแก่กัน และปกครองตนเองในเรื่องที่เป็นของแต่ละฝ่ายโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายก็รับใช้มนุษย์คนเดียวกัน ทั้งในทางส่วนตัวและทางสังคม แม้ในฐานะที่ต่างกันไม่เหมือนกัน และถ้าทั้งสองฝ่ายหาทางร่วมมือกันตามกาลเทศะให้ดีขึ้นเพียงไร ทั้งสองก็จะทำการรับใช้ดังกล่าว เพื่อประโยชน์ของทุกคนได้ผลดีเพียงนั้นด้วย” (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 76)

ค. พระศาสนจักรให้คุณค่าของระบบประชาธิปไตยเท่าที่ระบบนั้นประกันการมีส่วนร่วมของพลเมืองในการเลือกทางการเมือง เมื่อระบบนั้นรับรองให้แก่ผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครอง สามารถเลือกผู้ที่จะมาปกครองและรับผิดชอบต่อเขา และสามารถเปลี่ยนคณะผู้ปกครองด้วยสันติวิธีเมื่อถึงกาลเวลาที่เหมาะสม ดังนั้นพระศาสนจักรไม่สามารถสนับสนุนการจัดรูปแบบของกลุ่มการปกครองที่ใจคับแคบ ซึ่งนำอำนาจรัฐมาใช้เพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อเป้าหมายที่มีอุดมการณ์

ประชาธิปไตยที่แท้จริงเป็นไปได้เฉพาะในรัฐที่มีกฎหมายและตั้งยู่บนพื้นฐานของแนวคิดที่ถูกต้องเรื่องความเป็นบุคคลมนุษย์ จึงเรียกร้องให้มีเงื่อนไขที่จำเป็นบางประการสำหรับความก้าวหน้า ทั้งของบุคคลโดยการศึกษาและการอบรมในอุดมการณ์อันแท้จริง

2.  ภาระหน้าที่ของพระศาสนจักรในทางการเมือง

Imageก. เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูโลก กำลังแสวงหาสังคมที่ดีกว่า ในการแสวงหาเช่นนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ “การส่งเสริมมนุษย์” หรือ “การพัฒนามนุษย์ในทุกด้าน” เป็นการส่งเสริมให้มนุษย์มีความเป็นอยู่อย่างมนุษย์ และให้อยู่กันเยี่ยงมนุษย์ ซึ่งในการนี้ย่อมหมายถึงการป้องกันและส่งเสริมศักดิ์ศรีมนุษย์และความยุติธรรม

ในเรื่องเช่นนี้ และพระศาสนจักรถือเป็นภาระหน้าที่ของตน ที่จะเสนอตนเข้ารับดังข้อความในเอกสารสมณสาสน์การพัฒนาประชาชาติว่า “เมื่อพิจารณาปัญหาการพัฒนามนุษย์ในทุกด้าน โดยทุกแง่มุม ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่หนักอึ้งในปัจจุบัน พระศาสนจักรในฐานะเป็นผู้สันทัดเกี่ยวกับมนุษยชาติก็มีส่วนช่วยได้มากในทางนี้”

“เยี่ยงพระคริสต์ พระศาสนจักรอยู่บนโลกนี้ เพื่อเป็นพยานยืนยันถึงความจริง พระศาสนจักรต้องการช่วยมนุษย์ให้รอด มิใช่ตัดสินลงโทษ อยากรับใช้มนุษย์ มิใช่ให้มนุษย์รับใช้ตน พระศาสนจักรได้รับการสถาปนาขึ้นมา เพื่อสร้างอาณาจักรสวรรค์บนโลกนี้ มิใช่ถูกตั้งมาเพื่อครอบครองโลก ขอบข่ายการดำเนินการของพระศาสนจักรจึงแตกต่างกันมากกับของทางรัฐบาลต่าง ๆ ในโลก”

อย่างไรก็ดี พระศาสนจักรอยู่ในโลกนี้ ท่ามกลางมนุษย์ปัจจุบัน กำลังจับตาดูเหตุการณ์ต่าง ๆ ของโลกเพื่อรู้นิมิตหมายแห่งกาลเวลาแล้วพยายามให้ทุกคนเข้าใจความหมายของเหตุการณ์เหล่านี้ ตามหลักพระ     คริสตวรสาร

พระศาสนจักรมีส่วนร่วมกับมนุษย์ ในความหวังอันสูงสุดของพวกเขา รู้สึกระทมเมื่อเขาประสบความล้มเหลว สิ่งนั้นก็คือ ทัศนะอันกว้างใหญ่ไพศาลของมนุษย์แต่ละคนและของมนุษยชาติ” (พระสมณสาสน์ “การพัฒนาประชาชาติ” ข้อ 13)

3.  บทบาทของคริสตชน เป็นต้นฆราวาส ในเรื่องสังคมและการเมือง

ก. พลเมืองต้องมีความรักต่อปิตุภูมิอย่างซื่อสัตย์และด้วยจิตใจอันสูงส่ง ต้องไม่มีจิตใจคับแคบ หมายความว่าในขณะเดียวกันให้คำนึงถึงประโยชน์ของครอบครัวมนุษย์ทั้งมวล ซึ่งรวมกันเข้าชิดสนิทด้วยเครื่องผูกพันต่าง ๆ ระหว่างเชื้อชาติ ชนชาติ และประชาชนทั้งหลาย..... เกี่ยวกับเรื่องเลือกระบบจัดระเบียบกิจการ ต่าง ๆ ในโลกนี้

คริสตชนต้องรับนับถือความคิดเห็นอันชอบของคนอื่นแม้จะขัดแย้งกัน และต้องเคารพพลเมืองที่รวมกันเป็นหมู่ ป้องกันทัศนะ ความคิดเห็นของเขาด้วยความสุจริตใจ ส่วนพรรคการเมืองต่าง ๆ นั้น มีหน้าที่ต้องส่งเสริมสิ่งที่เขาเห็นว่าจำเป็นต้องทำเพื่อสาธารณประโยชน์ แต่เขาจะถือประโยชน์ส่วนตัวสำคัญกว่าสาธารณประโยชน์ไม่ได้เป็นอันขาด (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 75)

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมที่ยอมให้มีหลายพรรคหลายพวก เป็นการสำคัญมากที่เราจะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างประชาคมการเมืองกับพระศาสนจักรให้ถูกต้อง และต้องระมัดระวังแยกกิจการที่คริสตชนทำเป็นคน ๆ หรือเป็นหมู่ ๆ ในนามของเขาเองในฐานะเป็นพลเมืองตามมโนธรรมของเขา กับกิจการที่เขาทำในนามของพระศาสนจักรร่วมกับนายชุมพาบาลของเขา (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 76)

ข. คริสตชน เป็นต้นหนุ่มสาว ต้องสนใจรับการศึกษา อบรมหน้าที่พลเมืองและการเมือง การอบรมดังกล่าวนี้ ควรได้รับความเอาใจใส่ควบคุมอย่างกวดขัน เพื่อให้พลเมืองทุกคนมีส่วนร่วมในประชาคมการเมืองการเล่นการเมืองเป็นศิลปะที่ยาก แต่เป็นศิลปะมีเกียรติสูง ผู้ที่มีความสามารถหรืออาจมีความสามารถเล่นการเมืองต้องเตรียมตัวเองและตั้งใจเล่น โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและคิดหากำไรมิชอบ ต้องมีความฉลาดและมีความประพฤติดีในการต่อสู้กับความอยุติธรรมการกดขี่ต่อสู้ การไม่ยอมให้ผู้อื่นมีความคิดต่างกัน  และการปกครองตามอำเภอใจคน ๆ เดียว หรือของพรรค ๆ เดียวต้องอุทิศตนทำประโยชน์แก่ส่วนรวมด้วยความจริงใจ และเที่ยงตรง ด้วยความรักและความกล้าหาญในทางการเมือง (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 75 และออกตอเยสิมาอัดเวนีแอนด์ ข้อ 46)

ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า คริสตชนจะเล่นการเมืองได้ทุกชนิด การเมืองที่ล่วงเกินสิทธิมนุษยชนชั้นมูลฐาน เช่น ล่วงเกินเสรีภาพ ใช้ไม่ได้ หรือจะใช้เครื่องมือหรือวิธีที่มิใช่แบบพระวรสารสอน เช่น ความรุนแรงก็ใช้ไม่ได้ (การแพร่พระวรสารในโลกสมัยนี้ ข้อ 37) หรือจะเอาอุดมการณ์ที่ไม่เข้ากับหลักพระคริสตธรรมมาใช้ก็ไม่ได้เช่นกัน (ออกตอเยสิมาอัดเวนีแอนด์ ข้อ 26)

ค. ฆราวาสในขณะที่ทำงานตามหน้าที่อยู่กับทางโลก ก็สามารถและจำต้องทำงานอันประเสริฐประกาศข่าวดีให้โลก ต้องเต็มใจให้ความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจและสังคมแก่ชนชาติต่าง ๆ ที่กำลังพัฒนา การร่วมมือเช่นนี้เป็นสิ่งที่น่าชมเชย โลกจะได้อิ่มเอิบไปด้วยจิตตารมณ์ของพระคริสตเจ้า บรรลุถึงจุดหมายได้สำเร็จในความชอบธรรม ความรักและสันติสุข ฆราวาสต้องสวมบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่นี้ทั้งหมด เขาจะต้องร่วมมืออย่างจริงจัง คือ มีการแบ่งปันอย่างเหมาะสม จะได้ช่วยนำความเจริญมาสู่ทุกคนโดยอิสระอย่างมนุษย์และอย่างคริสตชน ยิ่งกว่านั้น ให้ฆราวาสร่วมแรงกันแก้ไขขนบธรรมเนียมและสถานการณ์ของโลกซึ่งอาจเป็นเครื่องนำให้เกิดบาป สิ่งเหล่านี้จะได้สอดคล้องเข้ากับหลักการความยุติธรรม สนับสนุนการปฏิบัติความดีงาม แทนที่จะเป็นอุปสรรคขัดขวาง (พระศาสนจักร ข้อ 35, 36)

4.   บทบาทของนักบวชและพระสงฆ์ในเรื่องสังคมและการเมือง

Imageก. พระสงฆ์ได้รับการคัดเลือกจากมวลมนุษย์และแต่งตั้งขึ้นเพื่อมนุษย์ สำหรับทำสิ่งที่เกี่ยวกับพระเป็นเจ้าและถวายแต่พระองค์ ซึ่งของถวายกับเครื่องบูชาสำหรับบาป ดังนั้นพระสงฆ์จึงดำเนินชีวิตอยู่กับมนุษย์อื่น ๆ เหมือนกับอยู่กับพี่น้อง พระเยซูเจ้าก็ทรงปฏิบัติเช่นนี้ พระองค์ทรงประทับอยู่ท่ามกลางชาวเรา และพอพระทัยเป็นเหมือนเราทุกอย่างนอกจากไม่มีบาป พระสงฆ์แห่งพันธสัญญาใหม่เนื่องจากได้รับเรียกและได้รับศีลบวชเหมือนถูกเลือกให้มาอยู่ในหมู่ประชากรของพระเจ้า แต่ไม่ใช่สำหรับแยกไปเสียจากประชากรที่กล่าวนี้ หรือจากมนุษย์คนใดเลย หากสำหรับอุทิศตนอย่างสิ้นเชิงแก่กิจการที่พระเป็นเจ้าทรงเรียกมาให้ทำนั้น พระสงฆ์เป็นผู้รับใช้พระคริสต์เจ้าไม่ได้ ถ้าไม่เป็นพยานและผู้แจกจ่ายชีวิตอย่างอื่นนอกจากชีวิตฝ่ายโลก พระสงฆ์จะรับใช้มนุษย์ไม่ได้เช่นเดียวกัน ถ้าตนออกห่างจากชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน หน้าที่ยังเรียกร้องเป็นพิเศษมิให้พระสงฆ์ปฏิบัติตนตามอย่างในโลก แต่เรียกร้องให้พระสงฆ์ดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางมนุษย์ในโลกนี้กับให้ประพฤติเยี่ยงนายชุมพาบาลที่ดี (ชีวิตสงฆ์ ข้อ 3)

พระสงฆ์ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ประกาศข่าวดี และอภิบาลสัตบุรุษสืบต่อจากพระคริสตเจ้าในพระศาสสนจักร จึงมีหน้าที่สำคัญยิ่งขึ้น ในการทำพระภารกิจของพระคริสตเจ้าที่ได้ทรงมอบให้กับพระศาสนจักรไว้คือ การการประกาศข่าวดี พัฒนามนุษย์ช่วยกอบกู้มนุษย์ให้เป็นอิสระจากบาปโดยช่วยกันปฏิรูปมโนธรรมและชีวิตทั้งของตนเองและทุกคนร่วมทั้งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างต่าง ๆ ที่ไม่ยุติธรรมดังกล่าวมาแล้วด้วย ทั้งนี้ ต้องเป็นไปในลักษณะพิเศษของนักบวช คือ เดินตามแบบฉบับของพระคริสตเจ้าตามจิตตารมณ์ของพระ และด้วยความเห็นชอบของผู้ใหญ่ในคณะของตน (ชีวิตนักบวช ข้อ 5)

อย่าได้มีผู้ใดคิดเลยว่า เมื่อถวายตัวแด่พระแล้ว นักบวชจะเป็นคนเหินห่างจากเพื่อมนุษย์หรือเป็นพลเมืองที่ไร้ประโยชน์ สำหรับสังคมบนแผ่นดินนี้ ถึงแม้ว่าบางครั้งนักบวชไม่มาปะปนกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันโดยตรง กระนั้นนักบวชเหล่านี้ก็อยู่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับเขาในดวงใจของพระคริสตเจ้า และมุ่งไปหาพระองค์เพื่อมิให้ผู้สร้างสังคมเหล่านี้ทำงานไปโดยไร้ประโยชน์เสียเปล่า (พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 46)

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >