หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 56 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


Hand to Hand ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สู่พี่น้องประชากรข้ามชาติจากผลกระทบโควิด-๑๙ พิมพ์
Tuesday, 27 April 2021

 

Imageวารสารผู้ไถ่
ปีที่ ๔๒ ฉบับที่ ๑๑๕ ม.ค. - เม.ย. ๒๕๖๔


จากมือถึงมือ : Hand to Hand

ปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
สู่พี่น้องประชากรข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบ
จากโควิด-๑๙ ระลอกที่สอง  

ธัญลักษณ์ นวลักษณกวี สัมภาษณ์ / เรียบเรียง


 

Image

จากการแพร่ระบาดจุดแรกที่ตลาดกลางกุ้งมหาชัย จ.สมุทรสาคร ส่งผลให้ทางจังหวัดต้องทำการล็อกดาวน์สถานประกอบการ ชุมชน และที่พักอาศัยของแรงงานข้ามชาติ ห้ามการเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกพื้นที่ชุมชนตลาดกุ้งโดยเด็ดขาด และเมื่อมีการสุ่มตรวจคัดกรองโรค พบว่ามีทั้งคนไทยและแรงงานข้ามชาติที่ติดเชื้อแบบมีอาการ และที่ยังไม่มีอาการ ยิ่งส่งผลให้กลุ่มแรงงานข้ามชาติในพื้นที่กักตัวได้รับผลกระทบ ประสบภาวะยากลำบากในการดำเนินชีวิต ด้านการกินการอยู่ และสภาพจิตใจที่ย่ำแย่ กังวลกับตนเองว่าติดหรือไม่ติด และส่งผลให้หลายครอบครัวต้องหยุดงานโดยปริยาย ทำให้ขาดรายได้ นอกจากนั้นยังมีเด็กๆ ลูกหลานแรงงานข้ามชาติอีกเป็นจำนวนมากที่ติดตามพ่อแม่เข้ามาอยู่ที่สมุทรสาครด้วย ยิ่งสร้างความวิตกกังวลว่าการติดเชื้อโควิด-๑๙ จะลุกลามไปสู่เด็กๆ และครอบครัว

และส่งผลทำให้จังหวัดสมุทรสาครต้องควบคุม เฝ้าระวัง มิให้มีการแพร่เชื้อโควิด-๑๙ ออกไปในวงกว้าง ในพื้นที่ที่ชุมชนแรงงานอยู่กันแบบกระจุกตัว สถานประกอบการต่างๆ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และมีมาตรการมิให้แรงงานข้ามชาติเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครด้วย

ในกลุ่มของผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะแรงงานข้ามชาตินั้น ชื่อของ แอลพีเอ็น (LPN) Labour Protection  Network หรือมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในฐานะองค์กรด้านแรงงานที่ทำงานคุ้มครองสิทธิแรงงาน ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติที่ถูกละเมิดสิทธิ มาอย่างยาวนาน

เมื่อสถานการณ์โควิด-๑๙ ระลอกใหม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร การช่วยบรรเทาทุกข์ให้ทุกคนได้มีรอยยิ้มและมีความหวังท่ามกลางโควิด-๑๙ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำในยามนี้ คุณสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) เล่าถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่สมุทรสาครในช่วงแรกที่ยังมีความสับสนวุ่นวาย

 "ระยะแรกพอข่าวออกว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อเท่านั้นเท่านี้ เขาก็ยังอยู่ด้วยกัน ยังไม่แยก เพราะโรงพยาบาลสนามก็ยังไม่เกิดขึ้น ทีมงานผมเข้าไปก็พบว่า ทุกคนมีความกังวลว่าไม่รู้ใครติด ใครเป็น ลูกฉันจะติดไหม ถ้าสามีฉันติด แล้วฉันติดไหม เพราะเขาก็ไม่รู้ตัวน่ะ"  

 "พอเกิดขึ้น เรามองว่า เราจะช่วยได้อย่างไรบ้าง เราก็เป็นห่วงว่าข้างในมีเด็กผู้ติดตามอยู่ไม่น้อยทีเดียว พวกเราก็ถือว่ากล้าหาญที่เข้าไปสำรวจข้างในที่รับรู้ว่ามันมีการระบาดหลายร้อยคน ที่เราเข้าไปตรงนั้นได้ก็เพราะระบบรัฐช่วงแรกยังทำอะไรไม่ถูก ไม่ทันสถานการณ์ ก็เลยทำให้เราสามารถเข้าไปสำรวจได้ แต่เราก็ป้องกันตัวเองอย่างเต็มที่โดยใส่ชุดป้องกัน ชุดพีพีอี ใส่เข้าไปในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง แมสก์ก็ใส่สองชั้น ใส่เฟซชิลด์ด้วย และอยู่ระยะห่างปลอดภัย"

"ข้อกังวลคือ เขาจะอยู่จะกินอย่างไร ไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ บางคนน้ำตาไหล เล่าว่า ลำบาก มาได้ของที่เราส่งไป บางที่เขาให้แค่หน้ากากอนามัยป้องกัน แต่เราแจกเรื่องการกินการอยู่ แจกไข่หนึ่งแผง ปลากระป๋อง ข้าวสาร ถ้าประหยัดๆ ได้ประมาณ ๒ อาทิตย์ ก็ช่วยยืดลมหายใจให้เขาได้อีกหน่อย อย่างน้อยทำให้ครอบครัวเขาไม่มีความเครียด"  

การให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้า เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราว ปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในเบื้องต้น นำมาสู่โครงการ ‘จากมือถึงมือ : Hand to Hand ปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สู่พี่น้องประชากรข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ รอบที่สอง' ซึ่งมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ร่วมกับภาคีความร่วมมือทั้งองค์กรภาคประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรภาคธุรกิจเอกชน เครือข่ายอาสาสมัครทางสังคมแรงงานข้ามชาติเมียนมาในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร หรือกลุ่ม MMLG และสื่อสารมวลชน ได้เข้ามาช่วยเหลือโดยจัดทำถุงยังชีพ บรรจุข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ แจกจ่ายเพื่อบรรเทาทุกข์ในเบื้องต้นแก่ครอบครัวแรงงานเมียนมา

"ทำให้ทางจังหวัดพยายามป้อนเรื่องชุดยังชีพเข้าไป ทางเราก็เตรียมหาชุดยังชีพเข้าไปเติมได้ประมาณ ๑,๕๐๐ ชุด เราตีไว้ประมาณ ๑,๕๐๐ ครอบครัว เพราะเราเชื่อว่าถ้าเราไปถึงมือผู้ประสบปัญหา เราน่าจะเห็นปัญหาได้ดีกว่า เพราะฉะนั้นเราก็นำไปแจกให้คนที่ประสบปัญหาโดยตรงกลุ่มหนึ่ง และกลุ่มที่สองคือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม คือพอเกิดระบาดปุ๊บ บางตึกบางห้องก็ล็อกดาวน์ตัวเอง ไม่อยากให้คนของเขาออกไปไหน ก่อสร้างก็ไม่อยากให้เคลื่อนย้ายไปนู่นไปนี่ งานก็ลดลง เมื่อเกิดปัญหาตรงนี้เราก็ให้พี่น้องอาสาสมัครที่เราอบรมมาประมาณ ๓-๔ ปีที่แล้ว และกระจายอยู่ตามชุมชน เขาจะรู้จุดว่าแรงงานอยู่ตรงไหนบ้าง เขาก็ชี้ได้ว่าตรงนี้จุดนี้ มีแรงงานเท่าไร ประมาณ ๑๐๐ ครอบครัว โอเคล็อกชื่อไว้ เสร็จแล้วเราก็เตรียมชุดยังชีพ แล้วนัดหมายเข้าไป วางแผนจะเดินแบบไหนอย่างไร คือเราไม่แจกหว่าน เพราะถ้าแจกหว่านก็ไม่พอ ต้องใช้วิธีนี้ เราต้องมีข้อมูล อาสาสมัครต้องมีเอกสารหลักฐานมาว่าชุมชนประสบปัญหาอะไรบ้าง"

ความช่วยเหลือของโครงการจาก ‘มือถึงมือ' ยังกระจายต่อไปยังพื้นที่รอยต่อที่พบการระบาดของโควิด-๑๙ ที่เริ่มลุกลามบานปลายออกไปยังจังหวัดใกล้เคียงกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ทำให้มีผู้เดือดร้อนอีกจำนวนมาก

คุณสมพงค์ "แล้วเราก็ไปช่วยรอบนอก ไม่ใช่เฉพาะสมุทรสาคร แต่เป็นข้อต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับมหาชัย บางขุนเทียน บางบอน สมุทรปราการ หลังๆ มีอยุธยา บางไทร แต่พื้นที่ LPN เรามีสำนักงานอยู่ที่ระยองอีกจุดหนึ่ง ทำกับแรงงานกัมพูชา เราก็ให้น้องๆ เจ้าหน้าที่เขาสำรวจ แล้วเอาของจากที่นี่ไป อีกส่วนหนึ่งก็ซื้อจากที่โน่นไปแจก"

โครงการแฮนด์ทูแฮนด์ จากมือถึงมือฯ จึงส่งผลให้มีผู้มีจิตศรัทธาอีกมากมายที่ได้เห็นภาพการทำงานช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติที่เผชิญวิกฤติโควิด-๑๙ เริ่มทยอยนำของมาบริจาคกันอย่างต่อเนื่อง

"เราทำงานกับสื่อด้วย อย่างไทยพีบีเอส หรือสื่อที่มาสัมภาษณ์เราก็ช่วยโปรโมทด้วยว่าตอนนี้เราทำอะไร เราทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนหนึ่งมูลนิธิกระจกเงาก็เป็นตัวช่วยประชาสัมพันธ์ร่วมด้วย ทำให้เราพอมีของไปช่วย และที่ช่วยได้มากคือ เครือข่ายพระสงฆ์ชาวเมียนมา พระอาจารย์อาชิน ติฮานยานา (Ashin Thihanyana) จาก Shwe Parami Free Education Center in Thailand ท่านตั้งศูนย์การเรียนและอบรมวันอาทิตย์ที่อำเภอบางเสาธง ซึ่งมีแรงงานข้ามชาติอยู่กันแถวโรงงานไก่ ผมก็ร่วมเป็นที่ปรึกษาของศูนย์ให้กับพระอาจารย์ รู้จักกันมานาน ช่วยเหลือกัน ด้วยความรักศรัทธาของพี่น้องแรงงานเมียนมา ก็ไม่ทิ้งกัน เวลามีน้ำท่วมที่เมียนมา ท่านก็ไปมอบของให้เพราะท่านทำแล้วมีความสุข ครั้งนี้ท่านก็ระดมคนบริจาคและแพ็คของยังชีพ ชุดละ ๕๐๐ บาท ประชาสัมพันธ์ในเพจของท่าน ผมก็ช่วยแชร์ในเพจผม พอได้เงินบริจาค ท่านก็ไปซื้อของมาแพ็คถุงยังชีพ อาทิตย์หนึ่งก็ได้แล้ว ๒๐๐ ชุด" 

"ในมิติของการทำงานพัฒนา ในที่สุดแล้วแรงงานต้องพึ่งพาตัวเองให้ได้ คือไม่ใช่การแจกทุกอย่าง จึงกลายเป็นว่า เพื่อนพี่น้องแรงงานที่เขาพออยู่ได้ มีเรี่ยวแรงกำลังพอมีเงินนิดหน่อย เขาก็บริจาค และบริจาคข้ามชาติพันธุ์ด้วยนะ อย่างเมื่อวานก็คุยกับหลวงพ่อ ผมบอกว่าผมจะไประยอง ท่านบอกว่าท่านสนใจจะบริจาคให้ชาวกัมพูชา ๑๐๐ ชุดด้วย จากพี่น้องแรงงานเมียนมา ถึงพี่น้องแรงงานกัมพูชา ผมใช้คำว่า ‘จากแรงงานเพื่อแรงงาน' ก็คือข้ามพรมแดนแล้ว เราก็ถือว่าเราได้ลงสมอง ลงความคิด ตั้งต้นด้วยศูนย์บาท อาศัยคอนเน็กชั่น อาศัยเครือข่ายกัลยาณมิตร ช่วยๆ กัน"

สำหรับโครงการแฮนด์ทูแฮนด์ จากมือถึงมือฯ คุณสมพงค์ วาดหวังว่าความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์เบื้องต้นให้แก่แรงงานข้ามชาติในประเทศ จะดำเนินไปจนถึงเดือนเมษายนนี้ แต่หากว่าสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-๑๙ ยังไม่สร่างซา ความเดือดร้อนของพี่น้องแรงงานข้ามชาติยังคงหนักหนาอยู่ โครงการก็คงดำเนินต่อไป ...จนกว่าเราจะผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

 

 

 

"วัฒนธรรมการดูแลเอาใจใส่ เป็นหนทางสู่สันติภาพ"

แนวทางการทำงานของ LPN

 ในการส่งเสริมสิทธิและคุณภาพชีวิตให้แรงงานข้ามชาติ

 

มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน LPN : Labour Protection Network : LPN

"LPN เป็นองค์กรด้านแรงงานที่มุ่งมั่นส่งเสริมคุณภาพชีวิต คุ้มครองสิทธิ ความเสมอภาค การพึ่งตนเอง และสรรค์สร้างการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ และกำลังต่อสู้เพื่อหยุดยั้งโศกนาฏกรรมของมนุษย์ที่อยู่เบื้องหลังอาหารทะเลที่ไม่ยั่งยืน"

 

"วัฒนธรรมการดูแลเอาใจใส่ เป็นหนทางสู่สันติภาพ"

ในทัศนะของคุณสมพงค์  สระแก้ว ผู้อำนวยการมูลนิธิฯ

วิสัยทัศน์ขององค์กรเราชัดเจน เรื่องการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ความเสมอภาคเท่าเทียม การพึ่งตัวเอง และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้าย การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เราต้องเข้าใจกัน เข้าใจหัวอกเขาหัวอกเรา น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ถ้าพี่น้องแรงงานที่มาอยู่เมืองไทย ถ้าเขาไม่ลำบาก ไม่แร้นแค้น เขาไม่มาหรอก ปัญหาคือเขาอยู่ไม่ได้ เขาจึงจำเป็นต้องมา เขาอยู่ที่นี่ ผู้ประกอบการหรือคนไทยต้องการให้เขาอยู่ในฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจก็ต้องดูแลคุ้มครอง คนไทยก็ต้องมองมิติคุ้มครอง มากกว่าควบคุม มองเรื่องของแบบแผนการดำเนินชีวิตที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขให้ได้

ผมว่าต้องเอาขาที่สามของอาเซียน คือประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน มาพูดเยอะๆ ขาของความหลากหลาย มิติทางวัฒนธรรมสังคม เพราะตัวนี้ทำให้ภาคเศรษฐกิจอยู่ได้ การมองเห็นเรื่องความงามของวัฒนธรรม ประเพณีการฟ้อนรำ วัฒนธรรมการบริโภคการกินที่ไม่แตกต่างไปจากคนไทยมากนัก รวมถึงเรื่องของมิติศาสนาที่คล้ายคลึงกัน ประเพณีเหมือนกัน เราก็อยู่ด้วยกันได้ เราไม่ต้องคิดไปจัดการเรื่องอื่นเลย แค่เราจัดการให้เขาอยู่อย่างถูกต้อง มีค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมน้อย เรามีความเป็นพลเมืองที่ใกล้ชิดกันอยู่แล้ว มันไม่ต้องไปแก้อะไรเลย คนไทยเอง อาจจะมองเขาเป็นแค่แขนกับขา มองแค่ว่ามีเรี่ยวมีแรงกายเท่านั้น ไม่ได้มองถึงภูมิปัญญาหรือวิธีคิดที่อยู่ข้างใน ถ้าเราเอาวิธีคิดมุมมอง ภูมิปัญญา มาประยุกต์ใช้ มาช่วยพัฒนา ดึงเขามามีส่วนร่วมพัฒนาบ้านเมืองเราหลายๆ มิติ นี่คือ แนวคิดการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ

เราต้องเปลี่ยนมายเซ็ต (Mindset) [๑] เราจะมองเขาแค่ใช้แรงกายเขาให้หนักๆ พอไม่สบายถีบหัวทิ้ง ไม่ได้ คิดว่าเขาอยู่เมืองไทย เมื่อเขากลับไปเขาน่าจะได้อะไรบ้าง นอกจากเงิน ก็ได้วิชาความรู้ติดตัว ทักษะอาชีพ ถ้าเขากลับบ้านไป เขาสามารถเอาสิ่งที่เขาเรียนรู้ในบ้านเราไปปรับใช้ได้ กุ๊กในเมียนมาส่วนหนึ่งก็มาจากทำงานร้านอาหารในเมืองไทย เขากลับไปเป็นกุ๊กที่เมียนมา ซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ ก็มาจากบ้านเรา LPN มีศูนย์ฯ เป็น ๑๐ ศูนย์ ที่บางขุนเทียน สมุทรสาคร เพชรบุรี แต่ละศูนย์ ก็มีเรียนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ บางศูนย์เรียนขับรถ บางศูนย์เรียนทำไอศกรีม เรียนเย็บผ้า ช่วยเขาสร้างอาชีพเมื่อเขากลับบ้าน เขาประกอบอาชีพได้ สมุทรสาครถ้าไม่มีแรงงานข้ามชาติก็พิการ กรุงเทพฯ ตามห้าง ตามร้านอาหาร ถ้าไม่มีเขา ก็ตายเหมือนกัน

 


[๑] ความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรม

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >