หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 44 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


สรุปเส้นทางการต่อสู้ของพี่น้องเหมืองแร่ทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย พิมพ์
Tuesday, 26 January 2021

สรุปเส้นทางการต่อสู้ของพี่น้องเหมืองแร่ทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย

 เจ้าหน้าที่ฝ่ายสิทธิมนุษยชน ยส.

  Image

ภาพจาก https://www.facebook.com/เหมืองแร่-เมืองเลย-V2


สัมปทานเหมืองแร่ทองคำและความขัดแย้งในชุมชน

บริษัท ทุ่งคำ จำกัด เป็นบริษัทในเครือของ บริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด(มหาชน) และเป็นเจ้าของสัมปทานเหมืองแร่ทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย มีพื้นที่ทั้งหมด ๖ แปลง เนื้อที่ประมาณ ๑,๒๙๐ ไร่ เพื่อตอบสนองการส่งเสริมการขยายตัวของอุตสาหกรรม และเพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายของรัฐ

หลังจากเริ่มมีการสำรวจแร่ บริษัทได้เข้าไปสร้างเหมืองทองคำที่ภูทับฟ้า และดำเนินการประกอบกิจการการทำเหมืองอย่างเป็นทางการในปี ๒๕๔๙ มีการระเบิดหน้าดิน ขุดเจาะ ถลุงแร่ สกัดทองคำจากแร่โดยใช้สารไซยาไนด์ ทำให้เกิดฝุ่น ส่งผลให้ชาวบ้านมีปัญหาด้านสุขภาพ เกิดสารเคมีปนเปื้อนในแหล่งน้ำ สัตว์น้ำ ยางพารา พืชผลทางการเกษตรได้รับผลกระทบ ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลายเป็นอย่างมาก

จากการดำเนินการของบริษัท ชาวบ้านในพื้นที่รอบเหมือง ๖ หมู่บ้าน ได้รับความเดือดร้อน จึงเกิดการรวมตัวกันในนาม "กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด" ที่รวมตัวกันออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านการทำเหมือง และเรียกร้องให้มีการตรวจสอบผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการทำเหมือง เพราะชาวบ้านในชุมชนเริ่มล้มป่วย ชุนชนเริ่มมีความแตกแยก มีการคุกคาม ข่มขู่ ทำร้ายชาวบ้าน รวมถึงมีการดำเนินการทางกฎหมายหลายคดี

กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด ได้ดำเนินการเพื่อปกป้องบ้านเกิดของตนเอง ทั้งการเรียกร้อง ส่งข้อร้องเรียน ยื่นหนังสือต่อหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการตรวจสอบการดำเนินกิจการของเหมืองเรื่อยมา

 

คดีความระหว่างบริษัทและกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด

นับตั้งแต่เหมืองเริ่มดำเนินการ จนนำมาสู่ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชุมชน มีคดีความเกิดขึ้นหลายคดี ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีปกครอง ตลอดเวลากว่า ๑๐ ปี ที่ชาวบ้านต้องวนเวียนอยู่กับการขึ้นศาล ต้องมีคดีความติดตัว ขาดรายได้เพราะต้องหยุดงานไปศาล เผชิญความเสี่ยงจากการถูกข่มขู่ คุกคาม ทำร้ายร่างกาย รวมถึงมีชาวบ้านบางคนถูกตั้งค่าหัว ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้

ในช่วงเดือน มกราคม ๒๕๖๑ ชาวบ้านจำนวน ๑๖๕ คน ได้ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัทในข้อหาละเมิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมและกฎหมายสาธารณสุขต่อศาลจังหวัดเลย [๑]  ให้บริษัทชดใช้ค่าเสียหาย ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และชดใช้ค่าเสียหาย ค่าขาดรายได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับร่างกาย จิตใจ สุขภาพ ความเสียหายต่อระบบนิเวศ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการทำเหมือง  

 

บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ล้มละลาย

ธนาคารดอยช์ แบงก์ เอจี ธนาคารยักษ์ใหญ่ของเยอรมนี เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางขอให้บริษัท ทุ่งคํา จํากัด (จําเลย) ล้มละลาย กรณีไม่ปฏิบัติตามสัญญาส่งออกทองคำ [๒] มีคำสั่งลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด บริษัท ทุ่งคํา จํากัด ตามกฎหมายล้มละลาย ส่งผลให้บริษัท ทุ่งคำ จำกัด อยู่ในสถานะล้มละลาย

หลังจากบริษัทล้มละลาย จะเป็นอำนาจของกรมบังคับคดีในการดำเนินการต่างๆ บริษัทเองก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน บัญชี และเอกสารอื่นๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์สินต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ [๓] หลังจากนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการประกาศคำสั่งในหนังสือพิมพ์รายวันและนำไปลงในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้เจ้าหนี้ของลูกหนี้ (บริษัท ทุ่งคำ  จำกัด) ที่ต้องการจะได้รับการชำระหนี้ ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จำนวน ๑๗๖ ราย [๔]

ทางกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดพร้อมด้วยทนายความได้มีหนังสือแจ้งต่อศาลจังหวัดเลยว่าบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ได้ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เพื่อขอให้ศาลแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อให้เข้ามาดำเนินคดีแทนบริษัทฯ  เนื่องจากบริษัทฯ ไม่อาจดำเนินการใด ๆ ในคดีต่อไปได้ หลังจากศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามกฎหมายล้มละลาย

เดือนธันวาคม ๒๕๖๑ ศาลจังหวัดเลยพิพากษาสั่งบริษัทเหมืองแร่ทองคำ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกเหมือง โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดจนกว่าสิ่งแวดล้อมจะกลับสู่สภาพเดิมตามมาตรฐานราชการ  และเยียวยาค่าเสียหายผลกระทบจากเหมืองแร่ทองคำ ให้กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดทั้งหมด ๑๔๙ ครอบครัว ๆ ละ ๑๐๔,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕ ต่อปี

 

หลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

ในชั้นบังคับคดีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการนำทรัพย์สินของลูกหนี้ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ ต้องมีการตรวจสอบทรัพย์สิน นำยึด และขายทอดตลาดทรัพย์สินที่เป็นของสดเกิดความเสียหายได้ง่ายที่สุดก่อน ทรัพย์สินที่ตรวจสอบได้ในเบื้องต้นมี ๓ รายการ คือ ๑) สินแร่จำนวน ๑๙๐ ถุง ๒) เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ๓) อาคารและโครงสร้าง ๑๕ โซน ซึ่ง "สินแร่" นับเป็นทรัพย์สินที่เป็นของสด จึงต้องนำมาขายทอดตลาดก่อนทรัพย์สินรายการอื่นๆ

ในเดือนตุลาคม ๒๕๖๓ กรมบังคับคดีได้ทำการประกาศขายทอดตลาดสินแร่ ซึ่งในระหว่างที่มีการประมูลสินแร่ ก็เกิดเหตุการณ์ที่มีกลุ่มชายฉกรรจ์เข้าไปในพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านเกิดความสงสัยว่ากลุ่มชายดังกล่าวเป็นใคร และเข้ามาในพื้นที่ด้วยเหตุผลใด และมีเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นในพื้นที่อีกหลายครั้ง

เดือนมกราคม ๒๕๖๔ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไขนภาสตีล (ปราจีนบุรี) ชนะการประมูลสินแร่ และได้เริ่มทำการขนย้ายสินแร่ทองคำออกจากพื้นที่ โดยการเฝ้าจับตาดูของชาวบ้านและภาคีเครือข่ายต่างๆ เนื่องจากมีเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นในช่วงระหว่างที่มีการขนย้ายแร่ที่ถูกประมูลได้ออกจากพื้นที่

 

ฟื้นฟูเหมือง

การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในคำขอที่ชาวบ้านยื่นต่อศาล และนับเป็นข้อสำคัญกว่าการได้รับเงินค่าเสียหาย เพราะอาจกล่าวได้ว่าการปกป้องสิ่งแวดล้อมคือสิ่งที่ชาวบ้านต้องการมากที่สุด หลังจากศาลจังหวัดเลยมีคำพิพากษา การฟื้นฟูจึงเป็นสิ่งที่ชาวบ้านต้องการให้เริ่มดำเนินการให้เร็วที่สุด และเป็นหน้าที่ของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ที่ต้องจัดทำแผนฟื้นฟู และจัดตั้งคณะทำงานพิจารณา(ร่าง)แผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมบริเวณในและรอบเหมืองแร่ทองคำ

ส่วนทางชาวบ้านเองก็มีแผนการฟื้นฟูฉบับภาคประชาชน ที่เน้นเรื่องการฟื้นฟูศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และต้องการผลักดันร่างของตนเองให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูด้วย  เนื่องจากชาวบ้านเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่และได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองมาโดยตลอด ชาวบ้านจึงควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ แสดงความคิดเห็น ออกแบบแผนการฟื้นฟู และมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการฟื้นฟู ในขณะนี้อยู่ระหว่างการประชุมหารือเรื่องการจัดตั้งคณะทำงานพิจารณา(ร่าง)แผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมบริเวณเหมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไปถึงแผนการฟื้นฟูที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ว่าทางภาครัฐจะแสดงความจริงใจให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายจากการฟื้นฟูดังเช่นกรณีที่เคยผ่านมาในอดีต

๑๐ กว่าปีของการต่อสู้ ที่ชาวบ้านต้องเผชิญกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นต่อทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ภูเขาลูกแล้วลูกเล่าที่ต้องเสียไปจากการระเบิดเหมือง แหล่งน้ำที่ปนเปื้อนสารไซยาไนด์ที่มาจากกระบวนการสกัดแร่ สัตว์น้ำ อาหารที่อยู่ตามแหล่งน้ำได้รับผลกระทบไม่สามารถทำมาเป็นอาหารได้เหมือนก่อน ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ทำการเกษตร พื้นที่ปลูกยางพารา ที่เป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในชุมชน ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพและเก็บผลผลิตได้  อีกทั้งยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากภัยคุกคาม ทั้งการถูกข่มขู่ ติดตาม ก่อกวน ทำร้ายร่างกาย และถูกฟ้องคดีเพื่อสกัดกั้นการเคลื่อนไหวของประชาชน (SLAPP) [๕] การยุติการดำเนินการของเหมืองและการฟื้นฟูเหมืองจึงเป็นที่สำคัญที่สุด แม้ตอนนี้การทำเหมืองที่เลยจะยุติลงแล้ว แต่สถานการณ์การทำเหมืองก็ยังเป็นสิ่งที่น่าจับตามอง เนื่องจากยังมีการทำเหมืองในอีกหลายพื้นที่ และอาจมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น [๖]



[๑] ที่มา https://prachatai.com/journal/2018/10/79225

[๒] ที่มา https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/643184

[๓] เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คือ เจ้าพนักงานตามกฎหมายล้มละลาย ปฏิบัติงานในกรมบังคับคดี มีอำนาจ หน้าที่ในการจัดการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้หรือบุคคลล้มละลายและดำเนินการแบ่งทรัพย์สินที่รวบรวมได้ให้กับบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้หรือบุคคลล้มละลาย

[๔] ที่มา https://www.thailandplus.tv/archives/270318

[๕] อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับSLAPP ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/JPThai/posts/1710166385681209

[๖] ที่มา https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=3749622161766559&id=2251559374906186

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >