หน้าหลัก
หน้าหลัก
รู้จักยส
อยู่กับปวงประชา
ข่าวย้อนหลัง
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
ผู้ไถ่ : รายงานสถานการณ์
การศึกษาเพื่อสิทธิ&สันติภาพ
สื่อสิ่งพิมพ์ ยส.
มุมมองสิทธิฯ ในหนัง
กิจกรรม ยส.
คลังภาพ ยส.
เว็บบอร์ด ยส.
เว็บเพื่อนบ้าน
Facebook ยส.

ยส. (ยุติธรรมและสันติ)

จำนวนผู้เข้าชม
ขณะนี้มี 64 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

คลิก เขียนสมุดเยี่ยมคลิก เขียนสมุดเยี่ยม
ขอบคุณทุกท่าน
ที่แวะเข้ามาค่ะ

แนะนำสื่อ ฉบับล่าสุด


วารสารผู้ไถ่ ฉบับที่ 123: ชีวิต การต่อสู้ เพื่อความดีของกันและกัน กำลังใจ ความรัก และความหวัง
 วารสารผู้ไถ่
ฉบับที่ 123


วันสันติสากล 1 มกราคม 2024
 สารวันสันติสากล
1 มกราคม 2024
ปัญญาประดิษฐ์
และสันติภาพ


น้ำแห่งชีวิต (Aqua fons vitae)
 น้ำแห่งชีวิต
(Aqua fons vitae)
สมณกระทรวงเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนา
มนุษย์แบบองค์รวม


สมณลิขิตเตือนใจ...แอมะซอนที่รัก (QUERIDA AMAZONIA)
 แอมะซอนที่รัก
(QUERIDA AMAZONIA)
สมณลิขิตเตือนใจ...
ของสมเด็จ-
พระสันตะปาปาฟรังซิส


จงสรรเสริญพระเจ้า... การก้าวออกไปอย่างต่อเนื่องของเอเชีย
หนังสือแปล
จงสรรเสริญพระเจ้า...
การก้าวออกไป
อย่างต่อเนื่องของเอเชีย


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 2 และ3
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร
ภาคที่ 2 และ3
 


ประมวลหลักคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ภาคที่ 1
หนังสือแปล
Compendium...
ประมวลหลักคำสอน
ด้านสังคมของ
พระศาสนจักร ภาคที่ 1



หนังสือ Jesus CEO :  พระเยซูเจ้า นักบริหารชั้นนำ
หนังสือแปล
Jesus CEO :
พระเยซูเจ้า
นักบริหารชั้นนำ



หนังสือ เส้นทางสู่สิทธิมนุษยชนศึกษา
หนังสือ เส้นทางสู่
สิทธิมนุษยชนศึกษา


พระสมณสาสน์ความรักในความจริง : Caritas in Veritate
หนังสือแปล
Caritas in Veritate :

พระสมณสาสน์
ความรักในความจริง



โปสเตอร์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พ.ศ.2532
โปสเตอร์
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
แห่งสหประชาชาติ
พ.ศ.2532


เว็บเพื่อนบ้าน

แวดวงต่างประเทศ

Pax Christi International - PCI

ACPP - Hotline Asia


ดูเว็บอื่นๆ ในหมวด

เว็บน่าสนใจ

เว็บด้านสิทธิฯ

ข่าวสาร/บันเทิง

หน่วยงานองค์กรคาทอลิก


เด็กและเยาวชน กับ สื่อสารมวลชน ในยุคโลกไร้พรมแดน : ศราวุฒิ ประทุมราช พิมพ์
Wednesday, 24 October 2018

Image


วารสารผู้ไถ่

ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๑๐๗ พ.ค. - ส.ค. ๒๕๖๑

 

เด็กและเยาวชน กับ สื่อสารมวลชน ในยุคโลกไร้พรมแดน

ศราวุฒิ ประทุมราช

 


ในโลกยุคไร้พรมแดน ปัจจุบัน แม้จะสามารถเข้าถึงความรู้ในระดับต่างๆ ได้โดยง่ายผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยความรู้ด้านต่างๆ สามารถเข้าถึงได้จากสำนักคิดหรือแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ได้อย่างไม่จำกัดทั้งในระดับเนื้อหาและพื้นที่ ขณะเดียวกันท่ามกลางความรู้ไร้ขีดจำกัดดังกล่าว ก็ยังมีภัยมืดที่แฝงตัวเข้ามาโดยอาศัยอินเทอร์เน็ตที่หากเรารู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็อาจตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ หรือตกเป็นเหยื่อของอบายมุขรูปแบบต่างๆ

เราจึงเห็นข่าวการล่อลวงเยาวชนผ่านทางเพื่อนในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ไลน์ หรือแอปพลิเคชันสื่อสารไร้สายต่างๆ ดังนั้น ผู้ปกครองต้องดูแลและติดตามเด็กและเยาวชนของท่านให้รู้เท่าทันภัยต่างๆ ที่อาจแฝงเข้ามาหาเยาวชนในความปกครองของท่าน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและตระหนักรู้เท่าทันโลกไร้พรมแดนดังกล่าว

ในที่นี้ขอนำรายงานการวิจัยของ วีรพงษ์ พวงเล็ก มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เรื่อง สื่อลามกบนอินเทอร์เน็ต : อันตรายที่พึงระวังและแนวทางแก้ปัญหาต่อเยาวชนไทย มาเป็นกรณีศึกษาถึงอันตรายของสื่อลามกในโลกไร้พรมแดน และแนวทางที่ผู้ปกครองควรพิจารณาร่วมมือกันในการป้องกันมิให้บุตรหลานของตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสื่อลามก อันจะเป็นการช่วยพัฒนาเยาวชนของชาติให้เติบโตขึ้นเป็นบุคลากรคุณภาพของสังคมไทยและสังคมโลกต่อไป

งานวิจัยนี้ เริ่มต้นศึกษารูปแบบของสื่อลามกบนอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันเด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงเนื้อหาทางเพศหรือสื่อลามกบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกและง่ายดายทุกเวลา โดยรูปแบบของการเปิดรับสื่อลามกบนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

. เว็บไซต์ลามก เป็นเว็บไซต์ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางเพศ มีความคาบเกี่ยวระหว่างเว็บไซต์เพื่อความบันเทิงทั่วไป กับเว็บไซต์ลามก ซึ่งภาพที่เห็นภายนอกไม่มีความแตกต่างจากเว็บไซต์เพื่อความบันเทิงทั่วไปที่มีลักษณะของข่าวบันเทิง ฟังเพลงออนไลน์ ดาวน์โหลดเกมส์ หาเพื่อนทางอินเทอร์เน็ต และเว็บบอร์ดโพสต์รูป แต่เมื่อเข้าไปดูในบางพื้นที่ของเว็บไซต์เหล่านี้ จะมีส่วนของการแสดงเรื่องราวและเนื้อหาทางเพศอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเว็บบอร์ดที่ให้คนทั่วไปเขียนและส่งเรื่องราวต่างๆ ก็ปรากฏเนื้อหาของเรื่องเล่าทางเพศ (Sex Story) แกลลอรี่หรือห้องแสดงภาพแอบถ่าย (X Gallery) ภาพลามก และกระดานข่าว (Webboard) หรือกระทู้ที่แสดงความต้องการหาเพื่อน หาแฟน และเรื่องเซ็กส์ ตลอดจนการเขียนข้อความเสนอขายบริการทางเพศ มีการให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องเพศ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ขายสินค้าอุปกรณ์ที่ใช้ตอบสนองอรรถรสทางเพศ เช่น หนังลามกที่มีทั้งของไทยและต่างประเทศ เป็นต้น (ชายไทย รักษาชาติ, ๒๕๔๘)

. การติดต่อสื่อสารเครือข่ายสังคม (Social Network) เป็นการติดต่อสื่อสารจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมมากในกลุ่มวัยรุ่น เนื่องจากผู้ใช้ชอบนำภาพส่วนตัวและข้อมูลส่วนตัวประเภทลับเฉพาะขึ้นไปโพสต์บนเว็บอย่างเปิดเผย เพราะเชื่อว่าคนนอกกลุ่มที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าชมจะไม่มีวันอ่านพบ เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook) ซึ่งเป็นสังคมออนไลน์ที่วัยรุ่นในประเทศไทยนิยมมากที่สุด และเมื่อสำรวจถึงพฤติกรรมของการเข้าเว็บไซต์สังคมออนไลน์ของวัยรุ่น  พบว่าเป้าหมายอันดับแรกคือต้องการหาเพื่อนเพื่อพูดคุย จึงเป็นสิ่งที่ไม่แปลกหากวัยรุ่นปัจจุบันจะมีความรู้และความเชี่ยวชาญในทางไอที แต่สิ่งที่น่าห่วงน่าจะเป็นเรื่องการใช้งาน โดยเฉพาะในห้องสนทนาต่างๆ จะพบว่ามีการโพสต์ข้อความที่ลามกอนาจาร ชวนมีเพศสัมพันธ์เป็นจำนวนมาก

. การสนทนาออนไลน์ (Chat Line) คือ การที่คู่สนทนาสามารถสนทนาแบบกลุ่มและสามารถส่งข้อความตัวอักษร ภาพเคลื่อนไหว และเสียงของคู่สนทนา รวมไปถึงการสนทนาผ่านกล้อง (Web Camera) ที่สามารถเห็นภาพเคลื่อนไหวของคู่สนทนาได้ ซึ่งโปรแกรมการสนทนาหรือการพูดคุยสดๆ ที่มีการชักชวนและพูดคุยถึงเรื่องเซ็กส์ มีการสนทนาเกี่ยวกับการซื้อขายบริการทางเพศ การเผยแพร่สื่อลามกอนาจารทั้งในรูปแบบภาพนิ่ง และเปิดกล้องโชว์เรือนร่าง การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง และการมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น

. คลิปโป๊ คลิปลามก ที่นับวันจะยิ่งมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บนสื่ออินเทอร์เน็ต และสามารถกระทำการดาวน์โหลดเก็บไว้ดูในภายหลังได้อย่างง่ายดาย ซึ่งคลิปลามกพวกนี้มีทั้งคลิปที่ได้รับการยินยอมและไม่ยินยอมให้เผยแพร่ หากแต่เป็นที่นิยมของหมู่วัยรุ่นหรือเยาวชนทั้งหลาย จึงทำให้เกิดการระบาดหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

. การ์ตูนลามก เป็นอีกหนึ่งรูปแบบในการเผยแพร่ภาพลามกอนาจารและแสดงท่าทางการมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ตกันอย่างโจ่งแจ้ง และพบว่ามีการแลกเปลี่ยนภาพลามกและภาพการร่วมเพศอย่างไม่ปิดบังในเว็บไซต์จำนวนมาก ซึ่งมีทั้งภาพขาวดำ ภาพสี และภาพเคลื่อนไหว ที่สำคัญมีเด็กและเยาวชนเข้าไปดูได้ง่ายจากโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องเสียเงิน เสียเวลาไปหาซื้อ และปัจจุบันมีการพัฒนาโดยการแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งต้นฉบับของการ์ตูนลามกเหล่านี้มีให้ดาวน์โหลดมากมาย ทั้งในเว็บไซต์ของไทยและต่างประเทศ ทำให้มีเด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยหมกมุ่นอยู่กับการ์ตูนลามกจนกลายเป็นปัจจัยที่สร้างความเข้าใจผิดในเรื่องเพศ ซึ่งการ์ตูนลามกได้มีการเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตมานานแล้ว แต่มาดังขึ้นเพราะเกิดคดีกับเด็กชายวัย ๑๓  ขวบ ข่มขืนเด็กหญิงวัย ๗  ขวบ เพราะมีสาเหตุมาจากได้ดูการ์ตูนลามกทางอินเทอร์เน็ตจึงทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศขึ้น [๑]

. เรื่องเล่าทางเพศ (Sex Story) โดยเนื้อหาของเรื่องเล่าทางเพศนี้ คือการถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์ที่ผู้บริโภคสื่อสามารถเขียนส่งเข้ามายังเว็บไซต์ โดยไม่อาจหาข้อสรุปได้ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ซึ่งเนื้อหาที่ถูกนำเสนอเข้ามาถือว่าเป็นต้นแบบให้ผู้อ่านเรื่องเล่าทางเพศมีพฤติกรรมการเลียนแบบ และกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของผู้อ่าน นอกจากนี้หากเรื่องที่เขียนส่งมาเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมจรรยา เช่น การล่วงละเมิดทางเพศหรือการข่มขืนก็จะทำให้เกิดปัญหาสังคมที่ได้กล่าวถึงไว้แล้วตามมาอีกด้วย จึงทำให้สื่อลามกบนอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมกันในหมู่วัยรุ่น 

หากเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ไม่มีวิจารณญาณที่ดีพอในการวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์สาระหรือเนื้อหาสาระที่มากับสื่อ ก็อาจจะยอมรับสิ่งที่สื่ออินเทอร์เน็ตนำเสนอไว้ และคิดเอาเองว่าสิ่งที่สื่อนำเสนอนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจ อาจก่อให้เกิดทัศนคติและพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมตามมา และอาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา อาทิ การตั้งครรภ์ก่อนเวลาอันสมควร การล่วงละเมิดทางเพศ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการหามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาในการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชนไทย [๒] โดยหน่วยงานต่างๆ ของสังคมควรเข้ามามีบทบาทในการร่วมกันแก้ไขและป้องกัน ๔ บทบาทด้วยกัน คือ ๑. บทบาทของสถาบันครอบครัว ๒. บทบาทของสถาบันการศึกษา ๓. บทบาทของหน่วยงานรัฐบาล และ ๔. บทบาทของสื่อมวลชน

แต่ขออนุญาตนำเสนอเฉพาะบทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครองหรือสถาบันครอบครัว เนื่องจากเป็นสถาบันแรกและเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดในการบ่มเพาะให้เด็กและเยาวชนเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ

การรู้ให้เท่าทันลูกหรือบุตรหลานเรื่องการรับสื่อเว็บไซต์หรือสื่อลามกบนอินเทอร์เน็ตจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องติดตามเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบันให้ทันและควรหาความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสมหรือเนื้อหาลามกบนอินเทอร์เน็ตให้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการดีหากมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างบุตรหลานและผู้ปกครอง พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องมีวิธีจัดการที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้เด็กห่างไกลภัยจากสื่อดังกล่าว

ซึ่งมีวิธีการป้องกันอยู่ ๗ วิธีด้วยกัน [๓] คือ

. ต้องเข้าใจวัยและพัฒนาการของลูก เพราะเมื่อถึงวัยที่เขาอยากรู้อยากเห็นเรื่องเพศ  ก็ต้องให้ความรู้แก่ลูกด้วย อย่าให้ลูกเกิดความเข้าใจผิดว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องลี้ลับ เป็นเรื่องน่าเกลียดไม่ควรพูดถึง เพราะจะทำให้ลูกหลบๆ ซ่อนๆ ไม่กล้าพูดไม่กล้าถาม และถ้าลูกมีคำถามก็พยายามตอบคำถามให้เป็นเรื่องปกติธรรมดา

. สังเกตความเปลี่ยนแปลงของลูกทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และควรหมั่นถามถึงความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ โดยให้ลูกได้สังเกตด้วยตัวเองด้วย พร้อมทั้งสร้างบรรยากาศการพูดคุยให้เป็นเรื่องธรรมดาเหมือนเรื่องปกติที่พูดคุยเรื่องอื่นๆ ทั่วไป ก็จะทำให้ลูกหรือเด็กเกิดความไว้วางใจที่จะพูดคุยกับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง

. สร้างสัมพันธภาพด้วยการเป็นเพื่อน บอกลูกหรือเด็กในปกครองแบบตรงไปตรงมาว่าสามารถพูดคุยกับพ่อแม่ได้ทุกเรื่อง โดยอาจจะบอกความในใจ หรือเล่าเรื่องราวเมื่อสมัยพ่อแม่เป็นวัยรุ่น เพื่อให้ลูกหรือเด็กได้เข้าใจว่าทุกคนก็มีความอยากรู้อยากเห็นเรื่องเพศ พร้อมทั้งบอกให้ลูกเข้าใจว่าในยุคปัจจุบัน โลกอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทมาก พ่อแม่กังวลใจว่าอินเทอร์เน็ตบางครั้งก็เป็นภัยร้ายได้ หากลูกเปิดรับสารหรือเปิดรับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม

. ชวนลูกพูดคุยถึงข้อดีข้อเสียของอินเทอร์เน็ตและภาพที่ไม่เหมาะสมว่าเป็นอย่างไร และลองถามว่าถ้าไม่เหมาะสม ลูกมีความคิดเห็นอย่างไร การหมั่นตั้งคำถามจะทำให้พ่อแม่และผู้ปกครองเข้าใจว่าลูกคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างไร และสามารถให้คำแนะนำแก่ลูกได้อย่างถูกต้อง

. ตั้งกฎกติกาให้สมาชิกในครอบครัวสามารถคุยกันได้ทุกเรื่อง โดยบอกลูกว่าเมื่อลูกอยู่ในวัยที่โตเพียงพอ สามารถเข้าไปใช้อินเทอร์เน็ตได้เอง แต่เมื่อมีอะไรก็ขออย่าได้ปิดบังพ่อแม่ มีอะไรก็สามารถถามไถ่หรือปรึกษาหารือได้ทุกเรื่อง ซึ่งนั่นหมายความว่าพ่อแม่และผู้ปกครองก็ควรทำได้ตามนั้นจริงๆ ด้วย เพราะมิฉะนั้นแล้วลูกหรือเด็กในปกครองก็จะไม่ไว้วางใจในครั้งต่อไป

. ควรมีโปรแกรมป้องกันเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เพราะเดี๋ยวนี้มีโปรแกรมการป้องกันเข้าเว็บไซต์ลามก หรือเว็บไซต์ผิดกฎหมายได้ อย่างน้อยก็สามารถคัดกรองได้ในระดับหนึ่ง

. อย่าจัดให้มีคอมพิวเตอร์หรือให้ลูกหลานสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ในห้องนอนหรือห้องส่วนตัว ควรจัดไว้ในที่ที่ทุกคนในบ้านสามารถพบเห็นได้ อย่างน้อยก็เป็นการป้องปรามได้ หากในกรณีที่เด็กในปกครองติดหรือเข้าไปเปิดรับสื่อลามกบนอินเทอร์เน็ตไปแล้ว ก็ควรจะพูดคุยกับเด็กดีๆ และค่อยๆ เริ่มตั้งกฎกติกาใช้อินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง อย่าใช้วิธีดุด่า เพราะยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ

หากพ่อแม่และผู้ปกครองเข้าใจพื้นฐานความอยากรู้อยากเห็นตามวัย ก็จะสามารถยอมรับและใจกว้างพอที่จะให้เด็กในปกครองได้เรียนรู้ แต่หนทางที่ดีที่สุดคือ การเอาตัวของพ่อแม่เข้าไปแก้ปัญหาด้วยการชวนลูกทำกิจกรรมร่วมกัน สนับสนุนให้ลูกเล่นกีฬา เล่นดนตรี หรือความสามารถพิเศษอื่นๆ ที่ลูกหรือบุตรหลานสนใจ พร้อมกับชักจูงใจให้เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวอย่างจริงจังและสม่ำเสมอก็จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อทัศนคติและพฤติกรรมทางเพศให้กับบุตรหลานได้อีกระดับหนึ่ง

 

บทความนี้อาจไม่สามารถตอบคำถาม หรือใช้เป็นคัมภีร์สำหรับการสร้างภูมิคุ้มกันแก่เยาวชนให้ห่างไกลและรู้เท่าทันโลกไร้พรมแดน ได้อย่างชะงัด แต่อย่างน้อยคงเป็นแนวทางให้ผู้ปกครองและเยาวชนร่วมมือกันในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดแก่ครอบครัว ในโลกไร้พรมแดน เพื่อสร้างบุคลากรที่สงบ มีสันติในใจ และรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน



[๑] "การ์ตูนโป๊", ๒๕๕๒, ๔-๑๐ พฤษภาคม

[๒] บุปผา เมฆศรีทองคำ, ๒๕๕๒

[๓] สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน, ๒๕๕๓

 

 

ความคิดเห็น

เขียนความคิดเห็น
ชื่อ:
หัวเรื่อง:
BBCode:Web AddressEmail AddressBold TextItalic TextUnderlined TextQuoteCodeOpen ListList ItemClose List
ความคิดเห็น:



รหัส:* Code

Powered by AkoComment 2.0!

< ก่อนหน้า   ถัดไป >